วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยทดสอบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS บนเรือหลวงอ่างทอง








Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) with Thailand companies SDT Composites and Pims Technologies was demonstrated MARCUS (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) operation onboard helicopter flight deck of LPD-791 HTMS Angthong, the Landing Platform Dock in 10 June 2021.



A scale model of MARCUS 2 VTOL UAV.

Clip: MARCUS VTOL UAV was flight operation on HTMS Angthong.
สาธิต MARCUS
https://www.facebook.com/watch/?v=868823907181271

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ โดย พล.ร.ต.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผอ.สวพ.ทร. ได้จัดแสดงการสาธิตการทำงานของอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS 
เพื่อปฏิบัติภาระกิจลาดตระเวนและพิสูจน์ทราบเป้าหมายทางทะเลร่วมกับ ร.ล.อ่างทอง ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พล.ร.อ.สิทธิพร มาศเกษม รองผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงเข้าร่วมชมการสาธิต 
โดยกำหนดสถานการณ์สมมติเป็นการปฏิบัติของ ศรชล.ภาค 1 สั่งการให้ ร.ล.อ่างทอง ที่กำลังลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบ ค้นหา พิสูจน์ทราบ และจับกุมเรือต้องสงสัยว่าจะลักลอบนำเข้าสารอันตรายเพื่อใช้สร้างสถานการณ์ในพื้นที่สำคัญทางภาคตะวันออก 
ต่อมา ร.ล.อ่างทอง ได้ตรวจพบเรือ 1 ลำ มีพฤติกรรมต้องสงสัย จึงใช้ MARCUS เข้าพิสูจน์ทราบ ก่อนที่จะส่งชุดตรวจค้นเข้าปฏิบัติการต่อไป

กองเรือยุทธการร่วมทดสอบการปฏิบัติการของอากาศยานไร้คนขับ MARCUS ที่พัฒนาโดย สวพ.ทร. เตรียมนำมาใช้ในภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

วันที่ 10 มิ.ย.64 พล.ร.อ.สิทธิพร  มาศเกษม รองผู้บัญชาการทหารเรือ ชมการสาธิตการปฏิบัติการของอากาศยานไร้คนขับที่ดำเนินการพัฒนาโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ (สวพ.ทร.) 
ภายใต้ชื่อโครงการอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล กองทัพเรือ (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System:MARCUS) 
โดยมี พล.ร.อ.สุทธินันท์  สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ , พล.ร.ท.โกวิท  อินทร์พรหม ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 1 , 
พล.ร.ต.อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ , พล.ร.ต.อาภา  ชพานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ 
ตลอดจนผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองเรือยุทธการ ให้การต้อนรับ บน ร.ล.อ่างทอง ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 

โดยกำหนดสถานการณ์สมมติเป็นการปฏิบัติของ ศรชล.ภาค 1 สั่งการให้ ร.ล.อ่างทอง ที่กำลังลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบ ค้นหา พิสูจน์ทราบ และจับกุมเรือต้องสงสัยว่าจะลักลอบนำเข้าสารอันตรายเพื่อใช้สร้างสถานการณ์ในพื้นที่สำคัญทางภาคตะวันออก 
ต่อมา ร.ล.อ่างทอง ได้ตรวจพบเรือ 1 ลำ มีพฤติกรรมต้องสงสัย จึงใช้ MARCUS เข้าพิสูจน์ทราบ ก่อนที่จะส่งชุดตรวจค้นเข้าปฏิบัติการต่อไป

จากวัตถุประสงค์ในการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ MARCUS ตามที่ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในวงเงิน 10 ล้านบาท ที่ได้ทำการพัฒนาให้มีขีดความสามารถ
-ขึ้น-ลงในพื้นที่จำกัด (ทางดิ่ง) ที่อากาศยานแบบปีกนิ่งทั่วไปไม่สามารถทำได้
-พัฒนาระบบควบคุมและสั่งการทางยุทธวิธีทางอากาศ (Tactical-Based Aerial Command Control System:TBACCS) ให้สามารถสั่งการพ้นระยะสายตา หรือในบริเวณจุดอับสัญญาณของการสื่อสารได้ 
การสาธิตในครั้งนี้ได้นำกล้องตรวจการณ์ของ UAV นารายณ์ ติดตั้งเข้ากับระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าในทะเลอีกด้วย ซึ่งการปฏิบัติการในครั้งนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

คุณลักษณะของอากาศยานไร้คนขับ MARCUS ประกอบด้วย
-ความกว้างปีก 3.4 เมตร 
-น้ำหนักขึ้นบิน 24 กิโลกรัม
-ความเร็ว ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-ระยะเวลาปฏิบัติการบนอากาศ ประมาณ 1 ชั่วโมง
-ระยะบินไกลสุด 15 กิโลเมตร และกำลังพัฒนาในรุ่นต่อไปให้สามารถบินได้ไกลสุด 40 กิโลเมตร

อากาศยานไร้คนขับ MARCUS ได้ผ่านการทดสอบทดลองจากหน่วยปฏิบัติงานทั้งทัพเรือภาค , ศรชล.เขต และหน่วยบิน ว่าสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการตรวจสอบและถ่ายภาพเป้าหมายในทะเล ได้ตามวัตถุประสงค์ 
อย่างไรก็ตามเพื่อให้ MARCUS มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องพัฒนาระยะเวลาในการปฏิบัติงานในอากาศให้ได้มากกว่า 1 ชั่วโมง  
ซึ่งคณะวิจัยฯ กำลังดำเนินการปรับโครงสร้างลำตัว , เพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่และอื่นๆ เพื่อให้ MARCUS สามารถตอบสนองความต้องการทางยุทธวิธีได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเป็นต้นแบบงานวิจัยที่จะสามารถนำเข้าสู่สายการผลิตให้แก่กองทัพเรือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากจะเปรียบเทียบ MARCUS ที่กองทัพเรือวิจัยจนเป็นผลสำเร็จในครั้งนี้สามารถเทียบคุณสมบัติได้ใกล้เคียงกับอากาศยานไร้คนขับแบบ ORBITER-3B ที่กองทัพเรือจัดหาจากประเทศอิสราเอล 
โดยปล่อยยิงแบบ Launcher ในวงเงิน 50 ล้านบาท ต่อ 1 ชุด (อากาศยาน 1 เครื่อง และชุดควบคุม 1 ชุด) 
แต่ MARCUS จะใช้งบประมาณในการผลิตเพียงไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อชุด อีกทั้งยังสามารถขึ้นลงทางดิ่งที่จะสามารถตอบสนองการปฏิบัติการร่วมในทะเล ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

อากาศยานไร้คนขับ MARUS จะถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของงานวิจัยที่เข้าสู่สายการผลิต ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปี งบประมาณ 64 ที่มอบให้ว่า
 “ขับเคลื่อนงานวิจัยของกองทัพเรือให้สามารถนำไปสู่ภาคการผลิต และเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม”

กองกิจการพลเรือน กองเรือยุทธการ

การทดสอบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS(Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) บนเรืออู่ยกพลขึ้นบก เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) นับเป็นความสำเร็จล่าสุดของโครงการวิจัยและพัฒนา
โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ร่วมกับภาคเอกชนไทย คือ บริษัท SDT Composites ผู้ออกแบบและผลิตโครงสร้างอากาศ และบริษัท Pims Technologies ผู้พัฒนาระบบควบคุมการบินและการสื่อสาร(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/marcus.html)

กองทัพเรือไทยได้มีการจัดหาอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กทางยุทวิธีอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิถีขนาดเล็ก(Small Tactical UAS)แบบ Orbiter 3B จำนวน ๖เครื่องจากบริษัท Aeronautics Defense Systems อิสราเอล เข้าประจำการในฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ
ซึ่งมีการนำมาใช้งานจริงในหลายภารกิจทั้งการฝึกและการปราบปรามการทำผิดกฎหมายในทะเล(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_14.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/05/orbiter-3b-uav.html)

อย่างไรก็ตามอากาศยานไร้คนขับ Orbiter 3B UAV นั้นมีข้อจำกัดด้านระบบส่งที่ต้องใช้แท่นรางดีดส่ง และรับกลับโดยการติดร่มชูชีพ ซึ่งไม่สะดวกในการนำมาใช้ปฏิบัติการบนเรือผิวน้ำแม้ว่าจะมีดาดฟ้าบินเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ก็ตาม จึงมีความต้องการ UAV ที่รูปแบบเหมาะสมกว่าอยู่ 
ความต้องการอากาศยานไร้คนขับปีกหมุนใช้งานทางทะเลก็มีการจัดหา Schiebel Camcopter S-100 แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/blog-post.html) การพัฒนา MARCUS UAV จึงเป็นแนวการพึงพาตนเองที่พิสูจน์ความสำเร็จได้จากสายการผลิตจำนวนมากของ Narai UAV ครับ