วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564

โอกาสของเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64E และ AH-1Z สหรัฐฯกับกองทัพบกไทยที่ยังคงถูกเลื่อนออกไป








US Army's Boeing AH-64 Apache attack helicopters in exercise Cobra Gold 2020.(https://www.facebook.com/AirlineWeek/posts/2624985747598846)





US Marine Corps's Bell AH-1Z Viper attack helicopters involve Amphibious Exercise during Cobra Gold 2020.(https://www.facebook.com/CobraGoldExercises)



Royal Thai Army's Bell AH-1F Cobra attack helicopters of 3rd Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center conduct Live Firing in exercise Cobra Gold 2020.(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/calfex-cobra-gold-2020.html)

1st Ammunition Depot, Ordnance Ammunition Depot Division, Ordnance Department, Royal Thai Army show data of anti-tank guided missiles that was procured or to be procured by RTA include US Lockheed Martin AGM-114 Hellfire for Boeing AH-6i Little Bird. 


Royal Thai Army was suspended plan to request US Foreign Military Sale (FMS) for new attack helicopters procurement by long term defense budget cut due Covid-19 pandamic. 

กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) มีความต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ราว ๖-๘เครื่องเพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตี ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra จำนวน ๗เครื่องที่ประจำการใน กองพันบินที่๓ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก
ซึ่งมีการเปิดเผยความต้องการมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ตามที่อดีตรัฐมนตรีกลาโหมในขณะนั้นกล่าวถึงตัวเลือก ฮ.โจมตีหลายแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/ah-1f.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_18.html)
อย่างไรก็ตามมีเพียงโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ Boeing AH-6i Little Bird ๘เครื่อง ในรูปแบบการขาย Foreign Military Sale(FMS) งบประมาณผูกพันต่อเนื่องปี ๒๕๖๒-๒๕๖๗(2019-2024) วงเงิน ๔,๒๒๖,๐๐๐,๐๐๐บาท($138,103,567) ที่ได้รับการดำเนินการ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/ah-6i.html)
เป็นโครงการที่สืบเนื่องจากการยกเลิกการจัดหา ฮ.ลาดตระเวนติดอาวุธ MD 530G จำนวน ๘เครื่องจากบริษัท MD Helicopters Inc.(MDHI) สหรัฐฯผ่านตัวแทนจัดจำหน่ายบริษัท Euro Intertrade Pte Ltd. สิงคโปร์(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/md-helicopters-fms.html)

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) มีการเปิดเผยถึงการประชุมแนวทางการดำเนินโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี ระยะที่๑ และเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) มีการเปิดเผยเอกสารรายจ่ายการลงทุน รายการก่อหนี้ผูกผันงบประมาณใหม่ วงเงินรวมตั้งแต่ ๑พันล้านบาทขึ้นไป
รวมถึงกองทัพบกไทยในรายการ ทบ.๑๔๒๑ คือ โครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี ระยะที่๑ งบประมาณผูกพันปี ๒๕๖๔-๒๕๖๖(2021-2023) เป็นการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ FMS ไทย-สหรัฐฯ วงเงินราว ๘,๔๕๒,๓๐๐,๐๐๐บาท($271,568,765)(ไม่แน่ใจในจำนวนวงเงินนัก เนื่องจากเอกสารไม่ชัดเจน)
การระบุการจัดซื้อในรูปแบบ FMS ที่เป็นความช่วยเหลือทางทหารของรัฐบาลสหรัฐฯต่อมิตรประเทศ ทำให้เป็นที่ชัดเจนว่าแบบตัวเลือกเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ของกองทัพบกไทยจะมีเพียงสองรุ่นเท่านั้นคือ เฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64E Apache และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Bell AH-1Z Viper
โดยความต้องการทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F ระยะที่๑ น่าจะมีจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งของทั้งหมดคือราว ๓-๔เครื่องเมื่อเทียบกับโครงการจัดหา ฮ.จากสหรัฐฯผ่านรูปแบบ FMS ก่อนหน้า เช่น เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๗๒ Airbus Helicopters UH-72A Lakota จำนวน ๖เครื่อง(ปัจจุบันเหลือ ๔เครื่อง)

การจัดหายุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯในรูปแบบ FMS มักจะมีการประกาศความเป็นไปได้ในการขายอย่างเป็นทางการโดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา Congress สหรัฐฯ
ทั้งนี้การอนุมัติความเป็นไปได้การขายของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯจะรวมข้อเสนอที่มีระบบเกี่ยวข้องทุกอย่างทำให้มีวงเงินโครงการรวมสูงกว่าที่จะจัดซื้อจริง เช่นโครงการ ฮ.ลว./อว.๖ AH-6i นั้น DSCA ประกาศที่วงเงิน $400 million แต่กองทัพบกไทยจัดซื้อจริงที่เพียง $138 million
แต่นั้นก็ทำให้เห็นถึงภาพรวมของระบบอาวุธอุปกรณ์ที่จะจัดหามากับโครงการ เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Lockheed Martin AGM-114 Hellfire สำหรับ ฮ.ลว./อว.๖ AH-6i ซึ่งสามารถติดตั้งใช้ได้กับทั้ง ฮ.โจมตี AH-64E Apache และ ฮ.โจมตี AH-1Z Viper
อีกทั้งการจัดซื้อในรูปแบบ FMS โดยมากจะเป็นระบบที่ยังมีสายการผลิตในปัจจุบัน ขณะที่การจัดซื้อในรูปแบบยุทโธปกรณ์ส่วนเกินที่ปลดประจำการจากกองทัพสหรัฐฯแล้วและถูกเก็บสำรองสงครามไว้นั้นมักจะเป็นความช่วยเหลือในรูปแบบ Excess Defense Articles(EDA)

เปรียบเทียบระหว่างเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z แล้ว Apache ดูจะเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกโดยมีฐานผู้ใช้งานนอกจากประเทศผู้ผลิตคือกองทัพสหรัฐฯ(US Army) เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการรับประกันถึงความพร้อมของระบบ
เฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผู้ใช้งานเฮลิคอปเตอร์โจมตี Apache ที่เป็นมิตรประเทศใกล้กับไทยนั้นรวมถึง สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐเกาหลี, ไต้หวัน และล่าสุดออสเตรเลียในอนาคต(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/ah-64e-apache.html)
ขณะที่เฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-1Z Viper นอกจากนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) ผู้ใช้งานหลัก(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/ah-1z.html) กลับประสบความสำเร็จในการส่งออกน้อยกว่ามาก คือมีผู้ใช้ที่สั่งจัดหาไปแล้วเพียงสองรายเท่านั้นคือ
บาห์เรน(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/bell-ah-1z.html) และสาธารณรัฐเช็ก(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/ah-1z-uh-1y.html) ส่วนปากีสถานยังไม่ส่งมอบเนื่องจากความขัดแย้งทางการทูตกับสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/z-10-t129-ah-1z.html)

AH-1Z มักจะถูกระบุโดยสื่อทางทหารในไทยหลายแห่งว่าเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F แต่ทว่าผู้เขียนยังไม่เห็นชัดเจนว่าระหว่าง ฮ.จ.๖๔ AH-64E Apache กับ ฮ.จ.๑ AH-1Z Viper กองทัพบกได้ตัดสินใจเลือกไปแล้วว่าจะจัดหา ฮ.โจมตีใหม่แบบใด
ในข้อเท็จจริงด้านคุณสมบัติทางเทคนิค AH-1Z มีความแตกต่างจาก AH-1F แทบจะเกือบทั้งหมด นอกจากปืนใหญ่อากาศสามลำกล้องหมุน M197 ขนาด 20mm และการรองรับระบบอาวุธพื้นฐานเช่นกระเปาะ LAU-61 ความจุ ๑๙นัดสำหรับจรวดอากาศสู่พื้น Hydra 70 ขนาด 2.75" แล้ว
AH-1Z ไม่มีอะไรเหมือน AH-1F Cobra เลยทั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turboshaft แบบ General Electric T700-GE-401C สองเครื่อง ระบบ Avionic และห้องนักบินแบบ Glass cockpit พร้อมหมวกนักบินติดจอแสดงผล Thales Top Owl ทำให้นักบินและช่างอากาศยานต้องเรียนรู้ใหม่เกือบหมดอยู่ดี
ด้าน AH-64E นั้นเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ออกแบบมาสำหรับกองทัพบกโดยตรง ซึ่งหลายประเทศที่ใช้ ฮ.ตระกูล Cobra เดิมส่วนใหญ่จะเลือก Apache ทดแทน อีกทั้งราคาเครื่องเฉพาะเครื่องเปล่ารวมเครื่องยนต์ไม่รวมอุปกรณ์และอาวุธระหว่าง AH-64E และ AH-1Z ก็ไม่ต่างกันมากแบบมีนัยสำคัญด้วย
(ผู้เขียนก็อยากจะทราบเหมือนกันว่ามีเอกสารหรือหลักฐานใดๆยืนยันแล้วหรือยังว่ากองทัพบกไทยได้เลือกแบบผู้ชนะโครงการเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่แล้ว?)

ไทยได้มีการตัดลดงบประมาณกระทรวงกลาโหมลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นครั้งที่สามโดยเป็นผลจากการระบาดของ Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html) รวมถึงประเด็นการโจมตีความน่าเชื่อถือของกองทัพโดยผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณ
ในส่วนของกองทัพบกไทยที่ได้รับผลกระทบจากการตัดงบประมาณกลาโหมประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ลงอีกปี ทำให้โครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี ระยะที่๑ จำนวน ๓-๔เครื่องด้วยวิธี FMS วงเงินราว ๘,๔๕๒,๓๐๐,๐๐๐บาท($$271,568,765) ยังคงถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
มีรายงานจากบางสื่อระบุว่าโครงการ ฮ.โจมตี อาจจะถูกเปลี่ยนไปเป็นการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60M Blackhawk เพิ่มเติมราว ๓เครื่อง จากที่มี UH-60L ๙เครื่อง, UH-60M ๓เครื่อง และ UH-60A ๓เครื่อง รวมแล้ว ๑๕เครื่อง ประจำการใน กองพันบินที่๙ ศบบ.
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าเป็นไปได้อีกทางที่น่าจะยังไม่มีการจัดหา ฮ.ทางยุทธวิธีใหม่ใดๆตอนนี้ ขณะที่ ฮ.จ.๑ AH-1F จำเป็นที่จะต้องถูกปลดประจำการไปเนื่องจากอายุการใช้งานเช่นเดียวกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑ Bell UH-1H ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/uh-1h.html)