วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วิเคราะห์ขีดความสามารถเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่า

Walkaround on collected photos for assess capabilities of Myanmar Air Force's Mi-35P attack helicopters from Russian Helicopters




One of rarely high definition photos for Myanmar Air Force's Mil Mi-35P 'Hind-F' attack helicopter was flying over Naypyidaw during Myanmar Armed Forces day in 27 March 2015. (https://www.irrawaddy.com, https://mmmilitary.blogspot.com)


Mi-35M's pilot/commander station in back cockpit with Russian label panel. (https://rg.ru)


Mi-35P's back cockpit, the export version of Mi-24P (early 2000s productions) with English label panel. (https://en.topwar.ru)

กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei) มีความต้องการขีดความสามารถเฮลิคอปเตอร์โจมตีมาตลอด ตามความต้องการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) ตั้งแต่ช่วงปี 2000s เป็นต้นมา
เพื่อการสนับสนุนกองทัพบกพม่า(Myanmar Army, Tatmadaw Kyee) ในการโจมตีกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆในพื้นที่รัฐชายแดน ซึ่งการวางกำลังด้วยเฮลิคอปเตอร์บนฐานปฏิบัติการส่วนหน้ามีความอ่อนตัวมากกว่าการใช้เครื่องบินรบจากสนามบินฐานทัพอากาศหลักในเมืองใหญ่
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35P(NATO กำหนดรหัส Hind-F) ที่จัดจากรัสเซียนับเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีแท้(dedicated attack helicopter) แบบแรกของกองทัพอากาศพม่า ซึ่งเดิมใช้เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปติดอาวุฑ เช่น Mil Mi-2 หรือ PZL W-3 Sokol เป็นต้น ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้งาน







The first batch of Myanmar Air Force's Mi-35P was spotted at Rostov-on-Don, Russia in September 2010 and February 2011. (https://russianplanes.net)

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ชุดแรกสำหรับกองทัพอากาศพม่าถูกพบที่ Rostov-on-Don ในรัสเซีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานอากาศยานสำนักออกแบบ Mil ในเครือ Russian Helicopters กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตอากาศยานปีกหมุนของรัสเซีย
Mi-35P ที่เป็นรุ่นส่งออกเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-24P ที่รัสเซียใช้งานเองในลายพราง 'จระเข้'(crocodile) สีเขียวสองโทนพื้นท้องสีฟ้าอ่อน ที่มีพบมีหมายเลขเช่น 6801, 6802, 6803, 6809, 6810, 6811 และ 6812 ถูกถ่ายภาพไว้ได้ในเดือนกันยายน 2010 และเดือนกุมภาพันธ์ 2011
ทางการรัสเซียให้ข้อมูลว่าตนได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P แก่พม่าจำนวน 10เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/pantsir-s1-orlan-10e.html) แม้ว่าจะมีข้อสงสัยด้านจำนวนเครื่องแท้จริงส่งมอบทั้งหมดก็ตาม

รัสเซียเป็นผู้ส่งออกเฮลิคอปเตอร์โจมตีรายใหญ่อันดับสองของโลกคือที่ร้อยละ29 ที่รวมเฮลิคอปเตอร์โจมตีตระกูล Mi-24 ถึง 521เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/mi-24-mi-28nm.html, https://aagth1.blogspot.com/2018/08/mi-28ne-mi-35m.html)
เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35M ที่เป็นรุ่นส่งออกล่าสุดที่มีหลายประเทศจัดหาไปแล้วมีความแตกต่างจากรุ่นที่ใช้งานในกองทัพรัสเซียในบางจุด เช่นห้องนักบินมีพื้นสีดำแทนสีฟ้า และมีป้ายบอกชื่อตำแหน่งอุปกรณ์เป็นภาษาอังกฤษ
ขณะที่ผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกคือสหรัฐฯที่ร้อยละ62 รวมเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64 Apache ถึง 1,542เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/ah-64e-ah-1z.html)









Myanmar Air Force's Mi-35P was fielded in exercise.

มีรายงานว่ากองทัพอากาศพม่าได้นำเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ปฏิบัติการรบจริงในการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธ์ตั้งแต่ปี 2013 ทั้งในรัฐคะฉิ่นทางตอนเหนืนติดพรมแดนจีน และรัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยงติดไทย(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/mi-35p-4.html)
โดย Rostec รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมความมั่นคงรัสเซียที่ Russian Helicopters อยู่ในเครือได้รับผิดชอบการซ่อมบำรุงเครื่องทั้งที่การส่งกลับไปยังศูนย์ซ่อมบำรุงที่มหานคร Saint Petersburg รัสเซีย และในพม่า(https://aagth1.blogspot.com/2016/06/mi-35p-4.html)
Mi-35P ได้มีส่วนร่วมในการฝึกร่วมภายในกองทัพพม่าต่อเนื่อง โดยแสดงขีดความสามารถในการใช้อาวุธทั้งปืนใหญ่อากาศ 30mm สองลำกล้องความจุ 250นัด และจรวดอากาศสู่พื้น S-5 ขนาด 57mm ในกระเปาะ UB-32 ความจุ 32นัด และ S-8 ขนาด 80mm ในกระเปาะ B-8 ความจุ 20นัด





Some of Myanmar Air Force's Mi-35P attack helicopters was upgraded with new TV/FLIR Electro-Optic (Israeli Controp iSky-50HD (DSP-HD)). https://aagth1.blogspot.com/2017/10/mi-35p-tvflir.html

อย่างไรก็ตามจากชุดภาพต่างๆที่รวบรวมได้ เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ของกองทัพอากาศพม่ามีความแตกต่างจาก Mi-35P ที่ประจำการในกองทัพบกอินโดนีเซีย(Indonesian Army, TNI-AD: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Darat) ราว 7เครื่องซึ่งเป็นรุ่นส่งออกที่ใกล้เคียงกัน
ขณะที่เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ของอินโดนีเซียมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น 9M114 Shturm-V(NATO กำหนดรหัส AT-6 Spiral) และ 9M120 Ataka(NATO กำหนดรหัส AT-9 Spiral-2) รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ 9M39 Igla-V
แต่ ฮ.โจมตี Mi-35P ของกองทัพอากาศพม่าหลายเครื่องที่พบไม่การติดตั้งกล้องเล็ง Raduga และตัวส่งสัญญาณวิทยุที่ใต้หัวเครื่อง ซึ่งจำเป็นสำหรับการใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถีด้วยคลื่นวิทยุแบบ SACLOS(Semi-Automatic Command to Line of Sight) ทั้ง Shturm และ Ataka





The 72th and 73th Anniversary of Myanmar Air Force ceremony in 15 December 2019 and 2020 at Meiktila Air Base. https://aagth1.blogspot.com/2020/12/y-12-beechcraft-1900-g-120tp.html

เฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P ของกองทัพอากาศพม่ามีบางเครื่องเท่านั้นที่ติดกล้องเล็ง Raduga และตัวส่งสัญญานวิทยุควบคุมอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Shturm และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น Ataka ซึ่งสามารถติดตั้งได้ที่ตำบลอาวุธคู่ปลายและคู่กลางคานปีกอาวุธสี่ตำบลรวม 8นัด
แต่ ฮ.โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่าส่วนใหญ่จะมีเพียง 'เปลือก' ในตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้เท่านั้น และมี Mi-35P อย่างน้อยหนึ่งเครื่องที่ได้รับการติดตั้งกล้องตรวจการณ์ชี้เป้าหมาย EO/IR(Electro-Optical/Infra-Red) แบบ Controp iSky-50HD(DSP-HD) อิสราเอล
นอกจากระบบป้องกันตัวมาตรการต่อต้าน(countermeasure) เครื่องจ่ายเป้าลวงพลุไฟ(Flare)และแถบโลหะ(Chaff) สองชุด สามแถว แถวละ 32ชุดรวม 192ชุด ยังมีการพบว่า Mi-35P กองทัพอากาศพม่ามีการติดตั้งเครื่องกรองความร้อน Infrared ที่ท่อไอเสียเครื่องยนต์ด้วย

การขาดขีดความสามารถการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่าในบางเครื่อง เป็นที่เข้าใจได้ว่าน่าจะมีเหตุผลในการลดราคาเครื่องในการจัดซื้อลงโดยการตัดอุปกรณ์และขีดความสามารถบางอย่างออกไปเพื่อให้มีราคาโครงการจัดหาที่ถูกลง
ซึ่งภัยคุกคามที่ ฮ.โจมตี Mi-35P กองทัพอากาศพม่าต้องเผชิญเป็นหลักคือกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเทือกเขาที่มีขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศจำกัด เช่น ปืนกลหนักต่อสู้อากาศ และอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศประทับบ่ายิง(MANPAD: Man-Portable Air-Defense System)
ดั้งนั้นการใช้ระบบควบคุมการยิงศูนย์เล็งสะท้อนแสง(reflex sight)ตระกูล ASP-17 พื้นฐาน เสริมด้วยจอแสดงผลอเนกประสงค์สำหรับแผนที่และเครื่องวัดประกอบการบิน 1-2จอ และอาวุธปืนใหญ่อากาศและจรวดอากาศสู่พื้นไม่นำวิถี จึงยังเพียงพอสำหรับเป้าหมายที่จะโจมตีของกองทัพพม่า



อย่างไรก็ตามในการรบกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธ์ุล่าสุดหลังการรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ 2021(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/ch-3a-uav.html) มีรายงานที่ระบุว่ากองทัพอากาศพม่าได้สูญเสีย Mi-35P ของตนไปแล้ว 1เครื่อง(หรืออาจจะเป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mi-17 ก็ได้) 
กองทัพพม่าจะประเมินภัยคุกคามที่ตนจะต้องเผชิญกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งบังคลาเทศที่มีปัญหาพรมแดนทางทะเล-ทางบกและประเด็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา หรือแม้แต่ไทยที่ในความเป็นจริงแล้วพม่าไม่เคยไว้ใจที่ไทยยังให้การสนับสนุนกลุ่มชาติพันธ์และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าแบบไม่เปิดเผยอยู่
สะท้อนได้จากการฝึกจำลองสถานการณ์การทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านของพม่าที่รวมถึงการโจมตีทางอากาศทางลึกเช่นที่ตั้งทางทหารในเชียงใหม่ของไทยด้วย แม้ว่า Mi-35P กองทัพอากาศพม่าอาจจะมีขีดความสามารถบางด้านที่จำกัด แต่ก็สามารถเพิ่มขึ้นได้ไม่ยากและประมาทไม่ได้ครับ