วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ญี่ปุ่นเปิดเผยแผนพัฒนาทาง Digital สำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X

Japan reveals digital development plan for F-X fighter


A JASDF F-35A fighter aircraft. 

A conceptual image of Japan's future F-X fighter aircraft, released by the Japanese MoD. (Japanese MoD)




The effort is also aligned with Japan's modern fighter aircraft practices in countries such as the United States.

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ร่างเค้าโครงพันธกรณีเพื่อนำเทคนิคและวิทยาการการวิศวกรรม digital มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X ของญี่ปุ่น
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes ว่าความเคลื่อนไหวเพื่อนำวิธีการ digital ดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของหลายความพยายามในโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X
ที่จะบรรลุผลการยกระดับในคุณภาพและประสิทธิภาพตลอดทั้งการออกแบบ, การพัฒนา, การผลิต และการดำรงสภาพ ของอากาศยาน

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวว่าความพยายามยังเป็นการสอดคล้องกับการฝึกเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่ในประเทศต่าง อย่างเช่นสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร
จากบริษัทต่างๆซึ่งถูกคาดว่าจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/lockheed-martin-mitsubishi-f-x.html)
"การเปลี่ยนแปลง digital มีศักยภาพที่จะสร้างผลกระทบที่สำคัญกับทุกระยะของการวิจัยและพัฒนา(R&D: research and development), สายการผลิตจำนวนมาก และการบำรุงรักษายุทโธปกรณ์กลาโหม" โฆษกจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes

โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเสริมว่าทั้งกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นและกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น(JSDF: Japan Self-Defense Forces) "ตระหนักถึงความสำคัญของความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง"
เกี่ยวกับวิศวกรรมทาง digital และกำลังทำงานที่จะบูรณาการขีดความสามารถดังกล่าว โดยมุ่งเป้าที่จะสามารถจะ "จัดหาและปฏิบัติงานยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าอย่างมีประสิทธิภาพ"
ตามตัวอย่างที่โฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นชี้ให้เห็นถึงโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นที่ดำเนินการวิจัยในการประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมระบบเปิด(OSA: Open Systems Architecture) 

สถาปัตยกรรมระบบเปิดซึ่งผ่านระบบต่างๆที่มีความเข้ากันได้และเชื่อต่อกันได้ที่จะพัฒนาบนระบบภารกิจประจำเครื่องบินขับไล่ F-X อย่างเช่น ระบบควบคุมการยิง, ระบบนำร่อง, ระบบสื่อสาร และระบบสงคราม electronic(EW: Electronic Warfare)
"การประยุกต์ใช้ OSA ทำให้เราสามารถที่จะเพิ่มการเพิ่มขยายของเครื่องบินขับไล่ดังกล่าว ที่การปรับปรุงในอนาคตของระบบย่อยสามารถจะมีขึ้นที่ค่าใช้จ่ายต่ำและในช่วงเวลาอันสั้นโดยปราศจากการซ่อมคืนสภาพหลัก
เราตั้งใจที่นำวิทยาการเหล่านี้มาใช้กับเครื่องบินขับไล่ F-X" โฆษกจากกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/f-x.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/03/fx.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/01/f-x.html)