วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยสาธิตการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D

















Air Chief Marshal Napadej Dhupatemiya, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) and General Chalermpol Srisawat, the Chief of Defence Forces of the Royal Thai Armed Forces (RTARF) in backseat of Gripen D 70101 and 70102 flying formation with Gripen C 70110  and Saab 340 ERIEYE 70203 during inspected Wing 7 Surat Thani RTAF base and capabilities within Network Centric Operations (NCOs) of Saab Gripen C/D fighter aircraft 701st Squadron and Saab 340B ERIEYE Airborne Early Warning (AEW) in 26 October 2021.

กองบิน ๗ ให้การต้อนรับผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารอากาศ และคณะ

พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วย พลอากาศเอก นภาเดช  ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ตรวจเยี่ยมกองบิน ๗ โดยได้รับชมสาธิตการปฏิบัติการทางอากาศโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง หรือ Network Centric Operation (NCO) 
ซึ่งกองทัพอากาศได้ปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองทัพเรือ เพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่การปฏิบัติการในรูปแบบ Multi Domain Operation (MDO) บนพื้นฐานการเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีของกองทัพไทย (National Link)

โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ยังได้ร่วมทำการบินสังเกตการณ์ในตำแหน่งที่นั่งหลังของเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ หรือ GRIPEN 39 C/D ในภารกิจการโจมตีเป้าหมาย Time Sensitive Target และภารกิจการบินรบในอากาศ เหนือพื้นที่อ่าวไทย 
เพื่อรับทราบสมรรถนะ และขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางด้วย

โอกาสนี้ นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์   ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน ๗ พร้อมด้วย รองผู้บังคับการกองบิน ๗, เสนาธิการกองบิน ๗, ผู้บังคับฝูงบิน ๗๐๑ และผู้บังคับฝูงบิน ๗๐๒ ให้การต้อนรับและจัดอากาศยานเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจ ณ กองบิน ๗ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่  ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔

การสาธิตสมรรถนะและขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง(NCO: Network Centric Operation) เพื่อการต่อยอดไปสู่การปฏิบัติการพหุภาคส่วน(MDO: Multi Domain Operation) บนพื้นฐานการเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีของกองทัพไทย(Data Link TH)
กองบิน๗ ได้ทำกาบินเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ก บ.ข.๒๐ก Saab Gripen D หมายเลข 70101 และ 70102 บินหมู่ร่วมกับ บ.ข.๒๐ Gripen C หมายเลข 70110 ฝูงบิน๗๐๑ และและเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 AEW/B Erieye ฝูงบิน๗๐๒ เหนืออ่าวไทย
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) เป็นการแสดงขีดความสามารถล่าสุดของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่ได้จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบบูรณาการจากสวีเดนตามโครงการ Peace Suvarnabhumi เข้าประจำการครบ ๑๐ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๔(2010) 

กองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) ได้มองการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเหล่าทัพ เช่นที่ระบบอำนวยการรบ Saab 9LV ที่ติดตั้งบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ร.ล.นเรศวร และเรือหลวงตากสิน
ที่ใช้เครือข่ายทางยุทธวิธี Link RTN สามารถเชื่อโยงเข้ากับเครือข่าย Link T ของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D และ บ.ค.๑ Saab 340 EIREYE(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_26.html) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น Link TH เครือข่ายทางยุทธวิธีของกองทัพไทย
โดยการแถลงนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) โดย พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศท่านปัจจุบัน ได้กล่าวรวมถึงแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่าย Data Link ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35.html)

เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D จำนวน ๑๑เครื่อง ในฝูงบิน๗๐๑ จากที่จัดหารวม ๑๒เครื่องโดยสูญเสีย บ.ข.๒๐ Gripen C หมายเลข 70108 ในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ตามแผนสมุกปกขาว 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) จะมีสองโครงการสำคัญคือ
โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุง บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D วงเงินราคากลาง ๖๒๙,๒๒๔,๒๐๐บาท($20,961,358 or 175,505,261 Swedish Krona) ซึ่งน่าจะเป็นการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/gripen-cd-ms20.html)
และโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D จำนวน ๑เครื่อง เพื่อให้ฝูงบิน๗๐๑ มีเครื่องครบ ๑๒เครื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๘(2023-2025) แต่ก็ไม่แน่ใจว่าบริษัท Saab สวีเดนจะเปิดสายการผลิตให้ได้หรือไม่ และตอนนี้กองทัพอากาศสวีเดนไม่มีเครื่องที่สำรองไว้เพื่อขายด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/gripen-e.html)