วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อนาคตของเครื่องบินขับไล่ F-16A/B กองทัพอากาศไทยในทศวรรษปี 2020s

Royal Thai Air Force (RTAF)'s F-16A Block 15 ADF and F-16B Block 15 ADF of 102nd Squadron, Wing 1 Korat in Australia during exercise Pitch Black. (Australia's Department of Defence)


Royal Thai Air Force held transition ceremony for all remaining F-16A/B Block 15 ADF (Air Defense Fighter) from 102nd Squadron to 103rd Squadron in 28 September 2021. (RTAF)

All 16 of Lockheed Martin F-16A/B Block 15 ADF (Air Defense Fighter) in the line, when they had delivered to 102nd Squadron, Wing 1 Korat, Royal Thai Air Force. (Sompong Nondhasa)


102 Till we meet again 2021


Royal Thai Air Force's Air Power 2021, on testing follow its strategic plans for air operations.


Royal Thai Air Forec's 102nd Fighter Interceptor Squadron Days, 14 June 2021

The Cockpit of Royal Thai Air Force's F-16A Block 15 OCU similar to operated by 103rd Squadron, Wing 1. (unknow photo source)


Lockheed Martin was displayed model of its F-16V Block 70/72 Fighting Falcon (Viper) 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat at Defense and Security 2019. (My Own Photo)

Lockheed Martin aF-16 Block 70/72 Cockpit Demonstrator Simulator (https://twitter.com/USAmbCroatia/status/1116020728229449728)

ทอ. ย้าย F-16 ADF ไปฝูงบิน 103 ....
กองทัพอากาศ ได้กำหนดแนวทางการปรับโอนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.19/ก แบบ ADF ฝูงบิน 102 เพื่อดำรงการใช้งาน บ.ข.19/ก ในจำนวนที่เหมาะสมโดยสามารถดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ ตามความจำเป็น สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
และคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคตโดยให้ดำรงการใช้งาน บ.ที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และมีข้อข้ดข้องที่สามารถดำรงสภาพได้คุ้มค่าต่อการใช้งานระยะยาว ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างสูงสุด 
ในการนี้กองบิน 1 จัดพิธีปรับโอนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.19/ก แบบ ADF จากฝูงบิน 102 ไปสังกัดฝูงบิน 103 ในครั้งนี้ เพื่อระลึกถึงห้วงเวลากว่า 20 ปีที่อากาศยานแบบนี้ได้ประจำการในฝูงบิน 102 และยังแสดงออกถึงการเป็นฝูงบินที่มีภารกิจป้องกันและรักษาประโยชน์ของประเทศ
โดยมี นาวาอากาศเอก เจริญ  วัฒนศรีมงคล ผู้บังคับการกองบิน 1 เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ณ บริเวณลานจอดอากาศยาน กองบิน 1  ...ภาพ-ข่าว กองบิน 1

การเปลี่ยนแปลงด้านกำลังรบทางอากาศของกองทัพอากาศไทยที่สำคัญล่าสุด คือการปรับโอนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่เหลือทั้งหมดไปยังฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
ทำให้ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ มีสถานะเป็นฝูงบินว่างที่ไม่มีอากาศยานประจำการนับตั้งแต่ที่นำเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ชุดแรกจำนวน ๕เครื่องจากทั้งหมด ๑๖เครื่อง เข้าประจำการเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๕(2002) ตามโครงการ Peace Naresuan IV
การปรับโอนเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF ที่เคยประจำการในกองกำลังพิทักษ์ชาติทางอากาศ(ANG: Air National Guard) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) มีขึ้นหลังการประจำการครบรอบ ๓๐ปี ของ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองทัพอากาศไทยราว ๓ปี

เครื่องขับไล่ F-16A/B ADF (Air Defense Fighter) เป็นเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 15 ที่ได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถด้านการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM: Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) เพิ่มเติม
โดยติดตั้งระบบพิสูจน์ฝ่าย(IFF: Identification Friend or Foe) แบบ AN/APX-109 และปรับปรุง radar AN/APG-66A รองรับการใช้งานอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120 AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile)  
และติดไฟฉายกำลัง 150,000 แรงเทียนที่หัวเครื่องด้านหน้าซ้ายสำหรับการพิสูจน์ทราบอากาศยานในเวลากลางคืนด้วยสายตา ซึ่งเดิมเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ตั้งใจที่จะออกแบบให้มีขีดความสามารถการใช้อาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytheon AIM-9 Sidewinder เท่านั้น

ฝูงบิน๑๐๓ เป็นฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 15 OCU(Operational Capability Upgrade) ฝูงแรกของกองทัพอากาศไทยเคยมีเครื่องรวมทั้งหมด ๒๕เครื่อง ตามที่จัดหาในโครงการ Peace Naresuan I จำนวน ๑๒ เครื่องชุดแรกเข้าประจำการเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๑(1988) 
ต่อมาจัดหาเพิ่มเติมตามโครงการ Peace Naresuan II จำนวน ๖เครื่องมีพิธีบรรจุเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๔(1991) รวมเข้าประจำการในช่วงแรก ๑๘เครื่อง และต่อมาได้มีการรับมอบเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force)
เป็นเครื่องบินขับไล่ F-16A ๒เครื่อง และ F-16B ๕เครื่อง รวม ๗ เครื่อง(โครงการ Peace Carvin I) เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗(2004) ปัจจุบันมีเครื่องที่ปลดประจำการไปแล้วเช่น F-16A หมายเลข 10321(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html)

ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี เป็นฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงที่สองของกองทัพอากาศไทยที่จัดหาภายใต้โครงการ Peace Naresuan III จำนวน ๑๘เครื่อง โดยกองทัพอากาศไทยเป็นลูกค้ารายสุดท้ายในสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-16A/B
ซึ่ง F-16A/B Block 15 OCU ที่ประจำการในฝูงบิน๑๐๓ และฝูงบิน๔๐๓ นั้นมีความแตกต่างจาก F-16A/B รุ่นก่อนหน้าที่ผลิตก่อนหน้าหลายส่วนเช่นติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Pratt & Whitney F100-PW-220 ซึ่งมีสมรรถนะและความน่าเชื่อถือสูงกว่า ย.F100-PW-200 รุ่นก่อน
ห้องนักบินติดตั้งจอแสดงผลตรงหน้า(HUD: Head-Up Display) แบบกว้างเช่นเดียวกับที่ติดตั้งในเครื่องบิน F-16C/D แต่ไม่มีแผงควบคุมบูรณาการ(ICP: Integrated Control Panel) และคันบังคับควบคุมและคันเร่งแบบ HOTAS(Hands-On Throttle and Stick) ยังคงเป็นแบบมาตรฐาน

แผงเครื่องวัดประกอบการบินและอุปกรณ์ด้านหน้าของห้องนักบินยังคงรูปแบบจากรุ่น Block 15 เดิมคือมี เครื่องวัดเข็มตรงกลางหน้าและด้านขวา มีหน้าจอควบคุมระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับเครื่อง(SCP: Stores Control Panel) 
และจอแสดงผล REO(Radar Electro Optical) ตรงกลางด้านล่างสำหรับข้อมูลจากเรดาห์แบบ AN/APG-66 หรือภาพจากกล้องของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-65 Maverick, กระเปาะนำร่อง RUBIS และกระเปาะชี้เป้า ATLIS II ของบริษัท Thomson-CSF ฝรั่งเศส 
สำหรับการเดินอากาศในเวลากลางคืนและการใช้ระเบิดนำวิถี Laser ตระกูล Paveway II ทั้ง GBU-12 ขนาด 500lbs และ GBU-10 ขนาด 2,000lbs รวมถึงกระเปาะสงคราม Electronic แบบ AN/ALQ-131 เป็นต้น

ความแตกต่างของเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 15 ADF ฝูงบิน๑๐๒ และเครื่องบินขับไล่ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ และฝูงบิน๔๐๓ จึงมีค่อนข้างน้อย อย่างเช่นห้องนักบิน F-16A/B ADF จะใช้จอ HUD รุ่นแก่าแบบจอแคบ และมีเครื่องบันทึกวีดิทัศน์ติดตั้งไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ของกองทัพอากาศไทยนั้นยังมีขีดความสามารถที่จำกัดในบางประการ เมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔ รุ่นใหม่ๆที่มีสายการผลิตในช่วงปี 1980s-1990s เช่นใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศได้เฉพาะ AIM-9P/L/M Sidewinder 
เช่นเดียวกับกระเปาะนำร่อง RUBIS ที่ไม่มีระบบชี้เป้าสำหรับอาวุธนำวิถี laser และกระเปาะชี้เป้า ATLIS II ที่ไม่มีระบบสร้างภาพความร้อน infrared ในตัวทำให้มีข้อจำกัดในการใช้ชี้เป้าหมายเวลากลางคืนหรือสภาพอากาศปิด 

เครื่องบินขับไล่ F-16C/D ที่บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผลิตและขายให้หลายประเทศในช่วงปี 1990s นั้นมีสมรรถนะสูงกว่า F-16A/B ของกองทัพอากาศไทย ช่วงนั้นกองทัพอากาศไทยจึงมองหาเครื่องบินขับไล่ใหม่โดยเฉพาะที่มีสมรถนะการใช้อาวุธอากาศสู่อากาศสูงกว่า F-16A/B
(บริษัท General Dynamics ได้ขายกิจการโรงงานอากาศยาน Fort Worth ให้บริษัท Lockheed ในปี 1993 ต่อมา Lockheed ควบรวมกิจการกับบริษัท Martin Marietta ในปี 1996 และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Lockheed Martin)
ดั้งนั้นในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) กองทัพอากาศไทยเคยมีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas F/A-18C/D Hornet จำนวน ๘เครื่องในฐานะว่าที่เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐(ต่อมาบริษัท Boeing ได้ควบรวมกิจการบริษัท McDonnell Douglas ในปี 1997) 

แต่ทว่าจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) ทำให้ค่าเงินบาทไทยลดลงไปอย่างมากจนไม่สามารถดำเนินการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D ได้อีกต่อไป แต่กองทัพอากาศไทยยังคงมีความต้องการที่จะคงอัตราฝูงบินขับไล่ขั้นต่ำที่ ๕ฝูงบิน
จึงได้มีการเจรจากับสหรัฐฯในการเปลี่ยนแปลงสัญญา โดยเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F/A-18D ที่สั่งผลิตไปแล้วถูกนำเข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps) และจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF จำนวน ๑๖เครื่องแทน
นับเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกของกองทัพอากาศไทยที่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ BVR โดยต่อมาได้จัดหาเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D จำนวน๑๒ เครื่องเข้าประจำการฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)

เครื่องบินขับไล่ F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ และฝูงบิน๔๐๓ ได้รับการปรับปรุงตามโครงการระยะที่๑ Falcon UP และระยะที่๒ Falcon STAR(STructural Augmentation Roadmap) เพื่อยืดอายุโครงสร้างอากาศยานจากเดิมที่ใช้งานได้เพียง ๔,๐๐๐-๕,๕๐๐ชั่วโมงบิน เป็น ๘,๐๐๐ชั่วโมงบิน 
ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ นั้นได้ผ่านการปรับปรุง Falcon UP ไปก่อนแล้ว จึงเข้ารับเฉพาะโครงการระยะที่๒ Falcon STAR เช่นเดียวกับ F-16A/B จำนวน ๗เครื่องที่ได้รับมอบจากสิงค์โปร์ 
ซึ่งการดำเนินการปรับปรุงยืดอายุโครงสร้างอากาศยานตามโครงการ Falcon UP/STAR นี้ได้รับการดำเนินการโดย บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries Co.,Ltd.) ภายในประเทศไทย

ต่อมาในโครงการปรับปรุงระยะที่๓ F-16AM/BM EMLU(Enhanced Mid-Life Update) สำหรับ F-16A/B ฝูงบิน๔๐๓ จำนวน ๑๘เครื่องแบ่งเป็นสามระยะ ระยะละ ๖เครื่อง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔-๒๕๕๖(2011-2013), ๒๕๕๖-๒๕๕๘(2013-2111) และ ๒๕๕๘-๒๕๖๐(2015-2017) 
ตามเอกสารที่ประกาศโดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓(2010) ระบุว่าโครงการปรับปรุง F-16AM/BM EMLU ทั้ง ๑๘เครื่องนี้มีวงเงินที่ประมาณ $700 million 
ซึ่งทาง TAI ผู้ดำเนินการปรับปรุงในไทยโดยความร่วมมือถ่ายทอดการทำงานกับ Lockheed Martin สหรัฐฯ เคยกล่าวว่าเป็นโครงการปรับปรุงความทันสมัยของ F-16 ที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุดในโลก(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-16ab.html)

เครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐานใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 50/52(ยกเว้นเครื่องยนต์) ประกอบด้วยการติดตั้งระบบอุปกรณ์ใหม่ต่างๆ เช่น Modular Mission Computer, radar AN/APG-68(V)9, 
ระบบพิสูจน์ฝ่าย AN/APX-113, ระบบจัดการสงคราม electronic AN/ALQ-213 (EWMS: Electronic Warfare Management System), ชุดจ่ายเป้าลวง AN/ALE-47, เครือข่ายทางยุทธวิธี Link-16, หมวกนักบินติดจอแสดงผลและศูนย์เล็งแบบ JHMCS(Joint Helmet Mounted Cueing System) 
และกระเปาะชี้เป้าหมาย AN/AAQ-33  Sniper Advanced Targeting Pod(ATP) สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ IRIS-T(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/iris-t.html) และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C AMRAAM

ตลอดระยะเวลาที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑-๒๕๖๔ หรือราว ๓๓ปี กองทัพอากาศไทยสูญเสียเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ไปน้อยมากเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่แบบอื่นที่ประจำการมาก่อนหน้า หรือกองทัพอากาศชาติอื่นที่มีเครื่องบินขับไล่ F-16 ใช้งาน
ฝูงบิน๑๐๓ สูญเสีย บ.ข.๑๙ F-16A หมายเลข 10316 ตกระหว่างการบินฝึกที่สนามฝึกใช้อาวุธชัยบาดาล ลพบุรีในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘(2015) นักบินเสียชีวิต และ F-16A หมายเลข 10318 มีรายงานว่าถูกจำหน่ายหลังเกิดอุบัติเหตุขณะลงจอดในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗(2004)
ฝูงบิน๔๐๓ สูญเสีย บ.ข.๑๙ F-16A หมายเลข 40315 ตกขณะฝึกบินที่จังหวัดตากเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓ นักบินเสียชีวิต ต่อมาฝูงบิน๔๐๓ รับมอบ F-16A หมายเลข 10317 ที่โอนมาจากฝูงบิน๑๐๓ เพื่อทดแทนและได้รับการปรับปรุงเป็นเครื่องบินขับไล่ F-16AM EMLU

ฝูงบิน๑๐๒ สูญเสีย บ.ข.๑๙ก F-16B ADF หมายเลข 10202 และ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10212 ในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ที่จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างการฝึกร่วมผสม Cobra Gold 2011 ซึ่งนักบินทั้งสามนายดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัย
ต่อมา บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10208 ไถล่ตกทางขับเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๘ นักบินดีดตัวได้ปลอดภัย มีรายงานว่าเครื่องเสียหายจนถูกจำหน่าย รวมแล้วตลอดระยะเวลาที่เข้าประจำการกองทัพอากาศไทยสูญเสีย บ.ข.๑๙ F-16A/B ไปเพียง ๖เครื่อง นักบินเสียชีวิต ๒นาย
ในการบินหมู่อำลาของ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ จะเห็นเครื่องทำการบินได้ ๙เครื่อง(๑เครื่องเป็นเครื่องถ่ายภาพ) เมื่อรวมกับเครื่องที่เหลือในฝูงบิน๑๐๓(ตัด F-16B หมายเลข 10304, F-16A หมายเลข 10305, 10321, 10323)หลังการปรับโอนจะทำให้มีเครื่องรวม ๑๘+๑๒เครื่องหรือ ๓๐เครื่อง

แม้ว่าจะเข้าประจำการทีหลังแต่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF เป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯมาก่อนโครงสร้างจึงใกล้จะหมดอายุการใช้งานแล้วในขณะนี้ โดยการปรับโอนจากฝูงบิน๑๐๒ ไปฝูงบิน๑๐๓ ก็เพื่อเป็นการดำรงสภาพความพร้อมใช้งานของเครื่องให้ได้นานที่สุด
ตามแผนในสมุดปกขาว 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) โครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ ๑๒เครื่องทดแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ควรจะเริ่มระยะที่๑ งบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๙(2023-2026) และระยะที่๒ งบ.ปี ๒๕๖๘-๒๕๗๑(2025-2028) ระยะละ ๖เครื่อง
ให้หลังโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ ๑๒เครื่องทดแทนเครื่องลำเลียงแบบที่ ๘ บ.ล.๘ Lockheed C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ที่ควรจะเริ่มระยะที่๑ ใน งป.ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๘(2022-2025) จำนวน ๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/c-130h.html)

แต่ทว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจมาต่อเนื่องหลายปี ทำให้รัฐบาลไทยมีการตัดงบประมาณกระทรวงกลาโหมลงอย่างต่อเนื่องมาสามครั้งแล้ว และน่าจะลดลงต่อเนื่องอีกหลายปีงบประมาณ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)
ส่งผลโดยตรงให้โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H ถูกเลื่อนออกไป รวมถึงโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-16A/B ADF ก็ไม่สามารถจะเริ่มต้นตามแผนที่วางไว้ได้เช่นกัน ถ้ามองจากประวัติศาสตร์กองทัพอากาศไทยสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง 
ยุค ฝูงบิน๑๒ กองบิน๑ ดอนเมือง หลังปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๗ก F-86L ในปี พ.ศ.๒๕๑๐(1967) ก็เป็นฝูงบินว่างถึง ๑๑ปี ก่อนมีการปรับโครงสร้างกำลังใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๒๐(1977) และนำเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F เข้าประจำการในฝูงบิน๑๐๒ ปี พ.ศ.๒๕๒๑(1978)

ต่อมาช่วงที่เครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่ประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ในฝูงบิน๑๐๒ หลังโอน บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ไปฝูงบิน๗๐๑ ก็ถูกโอนไปฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ทดแทนเครื่องบินโจมตี บ.จ.๕ OV-10C ที่ปลดในปี พ.ศ.๒๕๔๓(2000) เป็นฝูงบินว่าง ๒ปี
แม้ว่าที่ผ่านมาบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯมุ่งมั่นที่จะเสนอเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ของตนเพื่อทดแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่เห็นได้ในงานแสดง Defense and Security(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-lockheed-martin-f.html
เช่นเดียวกับบริษัท Saab สวีเดนที่มองจะได้รับการสั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen ฝูงที่สองจากกองทัพอากาศไทย แต่รายอื่นเช่นเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ยังไม่แสดงท่าทีชัดเจน(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/eurofighter-typhoon.html)

อย่างไรก็ตามจากที่งบประมาณกลาโหมของไทยจะถูกตัดต่อเนื่องหลายปีจนกองทัพอากาศไทยไม่สามารถจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่แทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ซึ่งอาจจะยาวไปถึงการทดแทน F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ ที่ควรจะเริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๑(2028) ด้วย
มีความเป็นไปได้มากว่าบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่ต่างๆทั่วโลกจะประเมินว่า กองทัพอากาศไทยจะไม่ใช่โอกาสในการแข่งขันของตนตลอดช่วงปี 2020s นี้ เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ Typhoon และเครื่องบินขับไล่ Rafale ที่ผิดหวังกับกองทัพอากาศมาเลเซียเพราะไม่มีงบประมาณพอตั้งโครงการ
อีกทั้งเมื่อเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ จำนวน ๑๔เครื่องต้องปลดประจำการลงราวปี พ.ศ.๒๕๗๕(2032)(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/gripen-cd-ms20.html) กองทัพอากาศไทยอาจต้องยอมรับว่าตนจะเหลือฝูงบินขับไล่เพียง ๓ฝูงเท่านั้น

จากข้อจำกัดต่างๆดังกล่าวส่วนตัวผู้เขียนจึงมีความเข้าใจว่าตลอดช่วงทศวรรษปี 2020s ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๗๓(2021-2030) เป็นไปได้มากว่ากองทัพอากาศไทยอาจจะไม่สามารถจัดตั้งโครงการจัดหาอากาศยานใหม่ทดแทนหลักของตนได้เลยไปต่อเนื่ออีกไม่ต่ำกว่า ๕-๑๐ปี  
ที่รวมถึงโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ จนถึงเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ ที่ควรจะเริ่มต้นก่อนถึงปี 2030 ที่ซึ่งตอนนั้นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔ เช่น F-16V หรือ Gripen C/D/E/F อาจจะไม่ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตแล้ว
ขณะที่เครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ คาดว่าจะประจำการต่อได้ถึงอย่างน้อยราวปี พ.ศ.๒๕๗๘(2035) แนวทางการปรับปรุง F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ เป็นมาตรฐาน F-16V เช่นที่ไต้หวันทำกับ F-16A/B Block 20 ของตนอาจจะไม่คุ้มค่าเนื่องจากอายุการใช้งานโครงสร้างที่เหลืออยู่น้อย

การจะต้องจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่สองฝูงบินจำนวนถึง ๒๔เครื่องอาจจะถูกเลื่อนไปจนปี 2030s ทำให้กองทัพอากาศไทยอาจจะมองไปที่เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ในจำนวนน้อย เช่นเครื่องบินขับไล่ F-35A ที่เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบเดียวในปัจจุบันที่มีสายการผลิตและเข้าประจำการจริงแล้ว
อย่างไรก็ตามในกลุ่มชาติ ASEAN ที่ผ่านมาสหรัฐฯไม่ได้นำเสนอเครื่องบินขับไล่ F-35 ให้ไทยหรืออินโดนีเซียโดยมองว่า F-16 มีความเหมาะสมกับระบบส่งกำลังบำรุงของไทยมากกว่า ต่างกับที่จะขายเครื่องบินขับไล่ F-35B ให้สิงคโปร์โดยพิจารณาจากระดับความสำคัญด้านความมั่นคงที่สูงกว่า 
เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบอื่นเช่น Su-57 และ Su-75 รัสเซีย หรือ FC-31 จีนก็เป็นไปได้น้อยที่กองทัพอากาศไทยจะสนใจเนื่องจากความเข้ากันได้กับระบบพื้นฐาน ซึ่ง ๑๐-๑๕ปีข้างหน้าเป็นเวลาที่นานเกินไปที่จะบอกได้ว่า แผนรับมือภัยคุกคามอย่าง 'แผนเฉลิมอากาศ' จะยังคงใช้อยู่หรือไม่ครับ
(ถ้ามองในแง่ร้ายมากๆ การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของกลุ่มที่มีแนวคิดเป็นภัยความมั่นคงของชาติที่จะตั้งเป้าจะให้เกิดขึ้นช่วงในปี 2023-2024 เมื่อถึงปี 2030s เราอาจจะไม่มีกองทัพอากาศไทย RTAF: Royal Thai Air Force แล้ว และอาชีพ 'ทหาร' กับ 'ตำรวจ' จะเป็นคำศัพท์โบราณที่เลิกใช้แล้วก็ได้)