วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๙




Royal Thai Navy (RTN) documentary for Submarine day in 4th September 2021 show what appear first official photos of S26T submarine keel laying ceremony at Wuhan, China in 5 Sep 2019.
RTN also latter reveal current Submariner badge and transitional uniform for Submarine operators.



4 กันยายน วันเรือดำน้ำ วันที่กองทัพเรือได้รับมอบเรือดำน้ำ 2 ลำแรก เรือหลวงมัจฉาณุ และเรือหลวงวิรุณ เมื่อ 4 ก.ย.  2480 ถึงปีนี้ก็เป็นปีที่ 84 แล้ว และปีนี้ก็ครบรอบ 10 ปี ที่จัดตั้งกองเรือดำน้ำขึ้นมาใหม่ เมื่อ 1 เม.ย. 2554 ด้วย… 

ตอนที่ผมรับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำคนแรก เราคาดว่าจะได้เรือดำน้ำมือสองจากเยอรมันแบบยกกองเรือ 4 ลำ พร้อมอาวุธ  อะไหล่ อุปกรณ์สนับสนุนและการฝึกอย่างสมบูรณ์ในวงเงิน 7 พันล้านบาท พร้อมใช้งานภายใน 2 ปี 
พวกเราชุดบุกเบิกก่อตั้งกองเรือดำน้ำ เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและฮึกเหิมที่จะได้สานฝันของบรรพบุรุษทหารเรือไทยตั้งแต่ยุค ”เสด็จเตี่ย” กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์… 

เราคิดคำขวัญ “อำนาจใต้สมุทร พลังยุทธ์ที่วางใจได้ (Undersea Power, Reliable Combat Capability)” ด้วยหวังที่จะกระตุ้นเตือนให้ชาวกองเรือดำน้ำทุ่มเทกายใจ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด 
เพื่อให้เรือดำน้ำของราชนาวีไทยพร้อมปกป้องน่านน้ำและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มขีดความสามารถ… 

พวกเรารู้กันดีว่า เรือดำน้ำเป็นสุดยอดอาวุธทางเรือ ทั้งในทางป้องปรามและป้องกัน สามารถเพิ่มพลังให้ชาติที่อ่อนด้อยกว่าต่อกรกับชาติที่มีกำลังเหนือกว่าได้ ทัพเรือทุกชาติจึงต่างพยายามขวนขวายที่จะมีเรือดำน้ำให้ได้… 
แต่เรือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือไทยก็เหมือนเป็นเรื่องต้องคำสาป กว่าจะได้ก็ยากเย็นแสนเข็นเหลือเกิน ทุกครั้งที่เริ่มโครงการจัดหา จะมีคำถามว่าจำเป็นไหม จะเอาไปรบกับใคร คุ้มค่าไหม อ่าวไทยน้ำตื้นจะใช้ได้ยังไง ใช้อาวุธทางเรืออย่างอื่นแทนได้ไหม ฯลฯ 
แม้จะตอบได้หมดด้วยข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์และหลักการของสงครามทางเรือ แต่ผู้ต่อต้านก็ยังคัดค้านอยู่ร่ำไป… 

โครงการเรือดำน้ำมือสองจากเยอรมัน ดีลที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด ถูกล้มไปอีกจนได้… แต่เราก็ไม่ท้อถอย เปลี่ยนมาผลักดันให้มีการฝึกองค์ความรู้เรื่องเรือดำน้ำและจัดหาเครื่องฝึกศูนย์ยุทธการเรือดำน้ำ ให้กำลังพลของเราได้ศึกษาวิทยาการเรือดำน้ำไปพลางๆ… 
ในที่สุดเราจะได้เรือดำน้ำลำแรกใหม่ในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้แล้ว… แม้สถานการณ์โควิด-19 จะทำให้การจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 ต้องชะลอออกไป 
ผมก็เชื่อว่าน้องๆชาวกองเรือดำน้ำทั้งหลายจะยังคงมุ่งมั่นทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่ง “อำนาจใต้สมุทร พลังยุทธ์ที่วางใจได้” ของชาติและราชนาวี สืบต่อไป… 

เห็นนักการเมืองบางท่านโจมตีโครงการจัดหาเรือดำน้ำแล้วอดเศร้าใจไม่ได้ ผมเคารพความเห็นส่วนตัวของท่าน และเห็นด้วยว่าในสถานการณ์โควิด จำเป็นต้องทบทวนลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกัน 
แต่ก็ไม่น่าจะถึงกับตั้งข้อรังเกียจ ด้อยค่าเรือดำน้ำ (ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติ สามารถสร้างความครั่นคร้ามยำเกรงและช่วยพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเลมูลค่ามหาศาลได้) ขนาดนั้น… 

ชวนให้นึกถึงหลักคิดในการทำสงครามปราบเรือดำน้ำ (Anti-Submarine Warfare) ที่ต้องหาให้เจอก่อน ถึงจะต่อตีทำลายได้… 
การหาเรือดำน้ำให้เจอเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญมาก ต้องจำกัดพื้นที่ โฟกัสหาในบริเวณที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายโจมตีของเรือดำน้ำ ต้องระดมใช้เซ็นเซอร์ เครื่องมือและเทคโนโลยีตรวจหาที่หลากหลาย จากแพลตฟอร์มทุกมิติ ทั้งเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำและอากาศยาน 
แต่กระนั้นก็ยังการันตีไม่ได้ว่าจะหาเจอ… 

อีกแนวทางในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำก็คือขัดขวางไม่ให้เรือดำน้ำของฝ่ายตรงข้ามออกจากฐานทัพมาอาละวาดได้ ทั้งวางทุ่นระเบิดปิดทางเข้าออก และ/หรือโจมตีตั้งแต่เรือดำน้ำยังอยู่ที่ท่าเรือ 
หรือแม้แต่ใช้วิธีส่งสายลับไปจัดการกำลังพลสำคัญของเรือดำน้ำ ตามหลักคิดที่ว่าถ้าคนไม่พร้อมเรือดำน้ำก็ออกไปทำงานไม่ได้… 

แต่ที่ดูเหมือนจะแยบยลที่สุด ถ้าไม่อยากรบกับเรือดำน้ำ ก็คือทำให้คู่ต่อสู้ไม่มีเรือดำน้ำซะเลย แนวคิดนี้จะใช้ปฏิบัติการข่าวสารหรือไอโอให้เกิดกระแสต่อต้านโครงการจัดหาเรือดำน้ำ หรือโน้มน้าวล็อบบี้นักการเมืองให้ปฏิเสธโครงการ จนไม่สามารถจัดหาเรือดำน้ำได้… 
ขอเป็นกำลังใจให้ชาวกองเรือดำน้ำ ต่อสู้เอาชนะในปฏิบัติการสงครามปราบเรือดำน้ำทุกรูปแบบต่อไปครับ

ที่มา: พลเรือเอก สุริยะ พรสุริยะ อดีตผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองทัพเรือไทย ท่านแรก ดำรงตำแหน่ง ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔-๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕(2011-2012)

นับตั้งแต่ที่กองทัพเรือไทยมีการจัดตั้งกองเรือดำน้ำ กดน.ขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) โดยยกสถานะจากสำนักงานกองเรือดำน้ำที่ตั้งขึ้นมาก่อนหน้า จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ก็เป็นเวลาครบสิบปีแล้วกับผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำที่ดำรงตำแหน่งผ่านมา ๗ท่าน วาระละ ๑-๒ปี
กองทัพเรือไทยยังคงมองการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการมาตลอดจากหลายโครงการที่ล้มเหลวตั้งแต่เรือดำน้ำชั้น A19 Gotland สวีเดนในช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๔๑(1995-1998), เรือดำน้ำชั้น U206A(Type 206A) เยอรมนี และเรือดำน้ำ S26T จีนที่ลำแรกจะรับมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
การเลื่อนกำหนดจากเดิมในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ช้าลงไปหนึ่งปีนอกจากผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ยังเกี่ยวเนื่องกับการเลื่อนการสั่งจัดหาลำที่สองและลำที่สามจนถึงการยกเลิกโครงการทั้งหมด ซึ่งทางกองทัพเรือก็เริ่มที่จะเปิดเผยถึงโฉมหน้าของกลุ่มต่อต้านเรือดำน้ำไทยมากขึ้นครับ









Exercise CARAT 2021 (Cooperation Afloat Readiness and Training) between Royal Thai Navy and US Navy in 8 September 2021 include RTN's FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided missile frigate, FFG-421 HTMS Naresuan and FFG-422 HTMS Taksin; the Naresuan-class missile frigate and USN LPD-20 USS Green Bay; the San Antonio-class amphibious transport dock.

เรือหลวงนเรศวร ได้เข้าร่วมการฝึกผสม CARAT 2021 ซึ่งเป็นการฝึกระหว่าง ทร.ไทย และ ทร.สหรัฐฯ ซึ่งในการฝึกครั้งนี้ประกอบด้วย เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และ USS Greenbay ในวันที่ 8 ก.ย.64

ตลอดช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๔ มานี้การฝึกทางทหารภายในกองทัพไทยและการฝึกร่วมผสมกับกองทัพมิตรประเทศจะมีการปรับลดขนาดและปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกไปมาก เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ coronavirus Covid-19 ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
อย่างก็ตามการฝึกประจำปีทั้งการฝึกผสม Cobra Gold 2021 และการฝึกผสม CARAT 2021 ระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือสหรัฐฯยังคงมีการจัดการฝึกอยู่ เช่นเดียวกับกองทัพเรือสหรัฐฯได้ดำเนินการฝึกกับกองทัพเรือมิตรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น San Antonio คือ LPD-20 USS Green Bay กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ทพการฝึกกับเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถี ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช, ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ก็เป็นการแสดงความพร้อมของกองทัพเรือไทยเป็นอย่างดีว่าเรือรบไทยไม่ได้จอดอยู่ที่ท่าเฉยๆตลอดครับ








Royal Thai Navy's guided missile frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej and guided missile corvette FSG-441 HTMS Rattanakosin with Leonardo Super Lynx 300 helicopter sailed alongside Royal Australian Navy (RAN)'s L02 HMAS Canberra and FFH150 HMAS Anzac as part of Exercise AUSTHAI during Indo Pacific Endeavour 2021 in 7-12 September 2021.

ในห้วงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ที่ผ่านมานอกจากการการฝึกผสม CARAT 2021 กับกองทัพเรือสหรัฐฯ กองทัพเรือไทยยังได้ทำการฝึกผสม AUSTHAI 2021 ร่วมกับกองทัพเรือออสเตรเลียระหว่างวันที่ ๗-๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ในอ่าวไทยเช่นเดียวกันด้วย
เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Canberra เรืออู่ยกพลขึ้นบก L02 HMAS Canberra และเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Anzac เรือฟริเกต FFH150 HMAS Anzac เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกวางกำลังในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก Indo Pacific Endeavour 2021 ของกองทัพเรือออสเตรเลีย
นอกจากการฝึก AUSTHAI ร่วมกับเรือฟริเกต ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช และเรือคอร์เวต เรือหลวงรัตนโกสินทร์ ของกองทัพเรือไทย หมู่เรือกองทัพเรือออสเตรเลียยังได้ทำการฝึกกับมิตรประเทศอื่นเช่นการฝึก MASTEX 2021 กับกองทัพเรือมาเลเซียในการวางกำลัง Indo Pacific Endeavour 21 ครับ




Royal Thai Navy was conducted Keel laying ceremony for new thrid Panyi-class Tugboat at Asian Marine Service PCL (ASIMAR) in 13 September 2021.

กองทัพเรือไทยได้ทำพิธีวางกระดูกงูเรือลากจูงขนาดกลางลำใหม่ที่สร้างโดยบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)(ASIMAR: Asian Marine Service PCL) เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ โดยเป็นแบบเรือ Ramparts 3200 ของ บริษัท Robert Allan Ltd. แคนาดาเช่นเดิม
จึงเป็นที่เข้าใจว่าเรือลากจูงใหม่จะเป็นเรือลำที่สามในเรือลากจูงขนาดกลางชุดเรือหลวงปันหยี ต่อจาก เรือหลวงปันหยี 857 และเรือหลวงหลีเป๊ะ 858 ที่สร้างโดย บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด(Italthai Marine Limited) ที่เข้าประจำการไปก่อนหน้านี้ ซึ่งออกแบบให้สนับสนุนเรือดำน้ำได้
ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๗(2015-2024) ที่ต้องการเรือลากจูงใช้งานรวม ๘ลำ ทำให้เป็นที่เข้าใจว่าจะมีการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลางเพิ่มเติมอีก ๑ลำ ตามที่จะปลดประจำการเรือลากจูงขนาดเล็กชุดเรือหลวงกลึงบาดาล ๒ลำ ทำให้เหลือเรือลากจูงสามชุดจำนวน ๖ลำครับ


R600 8x8 wheeled Infantry Fighting Vehicle (IFV), the product of Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd. 


First Win II Multi Purpose Vehicle (MPV) 4x4, the product of Thailand's company Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.
Naval Transportation Department, Royal Thai Navy announced Panus Assembly is winner for 2 of Eight-wheel drive (8x8) Amphibious Armored Personnel Carrier and Chaiseri is winner for 6 of Four-wheel drive (4x4) Armoured Multi-Purpose Vehicles.

ตามที่กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือไทย ประกาศเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ว่า บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด(Panus Assembly Co.,Ltd.) ไทย เป็นผู้ชนะการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง(8x8) ชนิดลำเลียงพล จำนวน ๒ คัน วงเงิน ๙๙,๙๐๐,๐๐๐บาท($3,080,387)
และบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย เป็นผู้ชนะการจัดซื้อรถหุ้มเกราะอเนกประสงค์แบบขับเคลื่อน ๔ ล้อ (แบบ 4x4) จำนวน ๖ คัน วงเงิน ๙๙,๙๐๐,๐๐๐บาท($3,080,387) มีขึ้นให้หลังเพียงราวหนึ่งเดือนตั้งแต่มีการประกาศโครงการ
เป็นครั้งแรกที่ยานเกราะล้อยาง R600 8x8 ของ Panus ได้รับการจัดหาจากกองทัพเรือไทย ส่วนของ Chaiseri ก็เป็นยืนยันความน่าเชื่อถือของรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 ที่ได้รับการสั่งจัดหาในระยะที่๒ ซึ่งทั้งสองโครงการเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยครับ




Two of three Norinco VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles Royal Thai Marine Corps (RTMC), Royal Thai Navy (RTN) was unveiled during Farewell ceremony for Commander-in-Chief of RTN Admiral Chatchai Srivorakan retirement in 27 September 2021.

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาพิธีสวนสนามยานยนต์ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นย. และและหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการของผู้บัญชาการทหารเรือแต่ละท่าน มักจะมีการเปิดตัวยุทโธปกรณ์ภาคพื้นดินใหม่ล่าสุดที่ถูกนำเข้าประจำการ
โดยพิธีสวนสนามยานยนต์เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ก็เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก หรือยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vessel) แบบ Norinco VN16 จีนของนาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทย ที่ในระยะที่๑ จำนวน ๓คัน
ซึ่งตามแผนการปรับโครงสร้าง กองร้อยรถถัง กองพันยานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน ที่ยังมีความต้องการยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ระยะที่๒ อีก ๓คัน รวมทั้งหมด ๖คันนั้น แม้ว่าจะเป็นจำนวนน้อยมากแต่ก็ถูกผู้ไม่หวังดีต่อชาติโจมตี นย.มาตลอดว่าสิ้นเปลืองครับ









personnels from Thailand's Royal Thai Armed Forces include Royal Thai Army and Royal Thai Air Force have involved in United Nation Peacekeeing exercise "Shared Destiny 2021"
at Henan Province, China with Chinese People's Liberation Army, Mongolia and Pakistan.





ทหารช่างไทย เข้าร่วมการฝึกด้านการรักษาสันติภาพ ด้วยกระสุนจริง ระดับนานาชาติ  ภายใต้รหัสการฝึก " Shared Destiny " ณ มณฑลเหอหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- การฝึกปฏิบัติการร่วมรักษาสันติภาพ พร้อมยุทโธปกรณ์และเครื่องมือช่าง ได้แก่ รถ รวป. (Dongfeng Mengshi CSK-181 Protective Assault Vehicle) รถถากถาง (Bulldozer) รถขุด (Excavator) รถตักล้อยาง (Wheel Loader) รถยนต์บรรทุกเทท้าย (Dumper)  
- การฝึกยุทธวิธีรักษาสันติภาพ และฝึกการใช้อาวุธประจำกาย ปพ. แบบ ๙๒ (Operation of 92 type pistol)  และ ปยล. แบบ ๙๕ (Operation of 95 type rifle)





'นรม.และ รมว.กห. แสดงความเสียใจครอบครัวทหารที่เสียชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจสหประชาชาติ'
พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.และ รมว.กห. ได้แสดงความเสียใจกับครอบครัวของ จ.ส.อ.เกียรติศักดิ์ ประพันธ์อนุรักษ์ สังกัดกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ ไทย / เซาท์ซูดาน 
ที่เสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลว ระหว่างปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในภารกิจของสหประชาชาติ ณ ค่าย UNMISS เมืองจูบา สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน
โดย นรม.และ รมว.กห. ขอให้กองทัพไทย ประสานกองกำลังสหประชาชาติ เคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตกลับไทยเพื่อประกอบพิธีทางศาสนาอย่างสมเกียรติ และขอให้กองทัพบก ดูแลสิทธิของกำลังพลที่เสียชีวิตและให้การช่วยเหลือครอบครัวต่อไป

ขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัย กองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ ไทย/เซาท์ซูดาน ผลัดที่ 2 ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวทหารที่เสียชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในภารกิจของสหประชาชาติ

กองทัพไทยได้แสดงบทบาทการมีส่วนร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิก ภารกิจรักษาสันติภาพที่กองทัพไทยเข้าร่วมก็มีหลายประเทศ ในอดีตเช่น กัมพูชา ติมอร์เลสเต อิรัก เลบานอน ไลบีเรีย บุรุนดี ในปัจจุบันคือซูดานใต้(South Sudan)
การฝึกการรักษาสันติภาพรหัส Shared Destiny 2021 ที่มณฑลเหอหนาน จีนในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ที่ผ่านมาร่วมกับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน, มองโกเลีย และปากีสถาน ก็เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศตามพันธกิจของชาติสมาชิกสหประชาชาติ
อย่างไรก็ตามการฝึก Shared Destiny 2021 กลับไม่มีสื่อกระแสหลักรายใดให้การรายงาน สื่อทหารบางรายที่รายงานก็ชี้นำไปในทางที่ว่ากองทัพไทยแสดงท่าทีเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารกับจีนเป็นการเลือกข้างที่อันตรายต่อประเทศ ซึ่งเป็นการใส่ร้ายทหารไทยที่ทำภารกิจ UN อย่างมากครับ




Thailand's Defence Technology Institute (DTI) announced middle price of joint research and development programme for CS/AH2 105mm lightweight howitzer prototype with Chinese firm Norinco. 

Thailand initiates light gun technology project
Thailand's Defence Technology Institute (DTI) has initiated a project to procure and develop technologies based around China's 105 mm CS/AH2 light howitzer.

โครงการวิจัยร่วมและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งขนาด 105mm แบบ CS/AH2 ระยะที่๑ วงเงิน ๔๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,439,712) ที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ประกาศราคากลางเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ นั้น
โดยแหล่งที่มาราคากลาง(ราคาอ้างอิง) สองรายมีผู้ยื่นใบเสนอราคารายเดียวคือบริษัท POLY TECHNOLOGIES, INC. จีน รวมถึงการกำหนดแบบระบบทำให้เป็นที่ชัดเจนว่าโครงการนี้ของ DTI ไทยจะมีพื้นฐานจากระบบปืนใหญ่สนามรุ่นส่งออกของ Norinco รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมความมั่นคงจีน
ยังไม่ชัดเจนว่าต้นแบบ ปบค.105mm ดังกล่าวเป็นความต้องการของกองทัพบกไทยหรือเหล่าทัพอื่น แต่มีรายงานเพิ่มเล็กน้อยว่าปลัดกระทรวงกลาโหมไทยมีการตั้งโครงการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาปืนใหญ่เบา(Light Gun) ขนาด 105mm แบบลากจูง ซึ่งอาจจะเป็นโครงการเดียวกันครับ




Airbus Helicopters H135 trainer helicopter serial 20203 of 202nd Squadron, Wing 2, Royal Thai Air Force.

กองบิน ๒ ให้การต้อนรับ เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศ และคณะ เยี่ยมชมกิจการ กองบิน ๒ 
พลอากาศตรี ไพฑูรย์  ไล้เลิศ เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศ พร้อมคณะ เยี่ยมชมกิจการ กองบิน ๒ เพื่อเข้าชม 
อากาศยาน เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๑๓ (H135) ของฝูงบิน ๒๐๒ กองบิน ๒ ในโอกาศที่ขึ้นทะเบียนประจำการใหม่ เพื่อประโยชน์ในการบันทึกประวัติของพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ 
โดยมี นาวาอากาศเอก ชวภณ  ยิ้มพงษ์ ผู้บังคับการกองบิน ๒ ให้การต้อนรับ ณ ฝูงบิน ๒๐๒ กองบิน ๒ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔

การปรากฎภาพอย่างเป็นทางการของเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๓ ฮ.๑๓ Airbus Helicopters H135 หมายเลข 20203 ที่เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ โคกกระเทียม ลพบุรี เป็นการยืนยันว่ากองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องเข้าประจำการแล้วตามกำหนดส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๔ แล้ว
กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหา ฮ.๑๓ H135 จำนวน ๖เครื่อง วงเงิน ๑,๓๒๗,๗๙๑,๑๐๐บาท($43,353,707) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เพื่อใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกใหม่ในฝูงบิน๒๐๒ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/h135.html) หลังปลด ฮ.๘ Bell 206B
การกำหนดแบบเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๓ สำหรับเฮลิคอปเตอร์ H135 ยังเป็นการยืนยันว่าเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๒ ฮ.๑๒ Sikorsky S-70i จำนวน ๕เครื่อง ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๑ รักษาพระองค์ กองบิน๒ ได้ถูกกำหนดแบบอย่างเป็นทางการในบันทึกประวัติพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศเช่นกันครับ




Royal Thai Air Force (RTAF) held Farewell and Decommissioning ceremony for its the last of Bell UH-1H Combat Search and Rescue (CSAR) helicopters of 203rd Squadron, Wing 2 Lop Buri in 23 September 2021.

“WELCOME HOME UH-1H”
In 1968 RTAF received the Hueys from United states designating as helicopter type 6.
For the past 53 years UH-1H has contributed to many missions especially in disaster relief. Even the time has come for Huey to be farewell but the stories will last forever.
"We leave no man behind"

พิธีปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ ฮ.๖ (UH-1H)
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ กองทัพอากาศได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์แบบ UH-1H จากกองทัพสหรัฐอเมริกา โดยกองทัพอากาศได้กำหนดชื่อว่า “เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖” หรือ ฮ.๖ 
ตลอดระยะเวลา ๕๓ ปี ที่ เฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๖ หรือ UH-1H ได้ปฏิบัติภารกิจมากมาย โดยเฉพาะการช่วยเหลือประชาชนในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ถึงเวลาที่ต้องทำการปลดประจำการ แต่เกียรติประวัติที่เคยรับใช้และปกป้องประเทศชาติจะยังคงอยู่ตลอดไป

พิธีปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบที่๖ ฮ.๖ Bell UH-1H Huey ณ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ จังหวัดลพบุรี กองทัพอากาศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ที่ประจำการมานานถึง ๕๓ปี ถือเป็นจุดสิ้นสุดการใช้งานเฮลิคอปเตอร์ตระกูล Bell Huey ในกองทัพไทย
โดยที่ทดแทนด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ Airbus Helicopters EC725(H225M) ๑๒เครื่อง ในฝูงบิน๒๐๓(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/airbus-helicopters-tai.html) ในช่วงปีที่ผ่านมากองบิน๒ ได้ที่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอัตราจัดยุทโธปกรณ์ใหม่ในหลายส่วน
ทั้งการจัดตั้งฝูงบิน๒๐๒ ขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ ฮ.๑๓ H135 ที่จะใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกใหม่ในข้างต้น การนำ ฮ.๑๒ S-70i เข้าประจำการในฝูงบิน๒๐๑ รักษาพระองค์ ร่วมกับ เฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๐ ฮ.๑๐ Sikorsky S-92A แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการจัดซื้อที่ใช้เวลานานจากงบประมาณที่จำกัดครับ








The Modernized Dornier Alpha Jet A of 231st Squadron, Wing 23, Royal Thai Air Force was First Flight in 31 August 2021.



กองบิน ๒๓ ให้การต้อนรับ คณะอาจารย์ และ นักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ชั้นปีที่ ๕ เยี่ยมชมกิจการ กองบิน ๒๓ 
นาวาอากาศเอก สุรศักดิ์ เสสะเวช ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ ให้การต้อนรับ พันเอก นิมิตร ผ่องกิตร์ อาจารย์หัวหน้าส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 
พร้อมคณะอาจารย์ และนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ชั้นปีที่ ๕ จำนวน ๒๐ คน เยี่ยมชมกิจการกองบิน ๒๓ ณ กองบิน ๒๓ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔

วิดีทัศน์ที่เผยแพร่ในช่อง Youtube ของ พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง แสดงถึงความคืบหน้าล่าสุดของโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ที่ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔
เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet จำนวน ๑๔เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยวงเงิน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,998,781) ได้มีการติดตั้งห้องนักบินแบบ Glass Cockpit จากบริษัท CMC Electronics แคนาดา ด้วยจอแสดงผลสีสามจอและจอภาพตรงหน้า(HUD: Head-Up Display) ใหม่
คันบังคับลักษณะเดียวกับเครื่องบินขับไล่ F-16 เช่นเดียวกับเครื่องบินโจมตี A-6TH และ Link-TH datalink ดำเนินการโดยภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยคือบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย และบริษัท RV Connex ไทย นับว่ามีความคุ้มค่าอย่างมากครับ








102nd Fighter Interceptor Squadron "Star" FINAL TEAM 2002-2021.
Wing 1 Korat, Royal Thai Air Force held transition ceremony for all remaining F-16A/B Block 15 ADF (Air Defense Fighter) from 102nd Squadron to 103rd Squadron.


กองบิน ๑ จัดพิธีปรับโอน เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ ฝูงบิน ๑๐๒
กองทัพอากาศ ได้กำหนดแนวทางการปรับโอนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก แบบ ADF ฝูงบิน ๑๐๒ เพื่อดำรงการใช้งาน บ.ข.๑๙/ก ในจำนวนที่เหมาะสมโดยสามารถดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ ตามความจำเป็น 
สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคตโดยให้ดำรงการใช้งาน บ.ที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี และมีข้อข้ดข้องที่สามารถดำรงสภาพได้คุ้มค่าต่อการใช้งานระยะยาว ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างสูงสุด
ในการนี้กองบิน ๑ จัดพิธีปรับโอนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก แบบADF จากฝูงบิน ๑๐๒ ไปสังกัดฝูงบิน ๑๐๓ ในครั้งนี้ เพื่อระลึกถึงห้วงเวลากว่า ๒๐ ปีที่อากาศยานแบบนี้ได้ประจำการในฝูงบิน ๑๐๒ 
และยังแสดงออกถึงการเป็นฝูงบินที่มีภารกิจป้องกันและรักษาประโยชน์ของประเทศโดยมี นาวาอากาศเอก เจริญ  วัฒนศรีมงคล ผู้บังคับการกองบิน ๑ เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ ณ บริเวณลานจอดอากาศยาน กองบิน ๑

กองทัพอากาศไทยจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF จำนวน ๑๖เครื่องที่เคยประจำการใน Air National Guard กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ภายใต้โครงการ Peace Naresuan IV เข้าประจำการในฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕(2002)
ตลอดระยะเวลาที่ประจำการฝูงบิน๑๐๒ ได้สูญเสียเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ก F-16B ADF หมายเลข 10202 และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10212 ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ที่จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างการฝึกร่วมผสม Cobra Gold 2011 ซึ่งนักบินสามนายดีดตัวได้อย่างปลอดภัย
ต่อมาเครื่องบินขับไล่ F-16A ADF หมายเลข 10208 ไถล่ตกทางขับในปี พ.ศ.๒๕๕๘ นักบินดีดตัวได้ปลอดภัย มีรายงานว่าเครื่องเสียหายจนต้องจำหน่าย(W/O: Write-Off) ทำให้เครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF ของฝูงบิน๑๐๒ เหลืออยู่ที่จำนวน ๑๓เครื่อง

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีปลดประจำการ F-16A ADF หมายเลข 10207 พร้อมกับไปเครื่องบินขับไล่ F-16B Block 15 OCU หมายเลข 10321 ฝูงบิน๑๐๓(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html)
ทำให้ฝูงบิน๑๐๒ จะมีเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF เหลืออย่างมากที่สุด ๑๒เครื่อง ตามที่มีภาพถ่ายการบินหมู่ ๙เครื่อง(ทำการบินจริง ๑๐เครื่อง ๑เครื่องเป็นเครื่องถ่ายภาพ) อำลาก่อนการโอนย้ายไปฝูงบิน๑๐๓ แสดงว่ายังมี F-16A/B ADF ที่ทำการบินได้ราว ๙เครื่องเป็นอย่างต่ำ
ตามแผนในสมุดปกขาว 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) โครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ ๑๒เครื่องทดแทน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ จะมีขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๖๖(2023) แต่การตัดงบประมาณกลาโหมต่อเนื่องจากผลกระทบ Covid-19 ทำให้ไม่น่าจะมีการตั้งโครงการได้ในช่วง ๕ปีนี้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)