วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

โอกาสของเครื่องบินขับไล่ F-35 กับกองทัพอากาศไทย

Lockheed Martin has displayed Model of F-35A Lightning II Joint Strike Fighter at Defense and Security 2017 exhibition in Bangkok Thailand on 6-9 November. (My Own Photo)


Artist impression of Belgian Air Force and Polish Air Force, the future operators for F-35A Lightning II. (Lockheed Martin)

Lockheed Martin has presented its F-35 Lightning II cockpit demonstrator at Kaivopuisto Air Show 2021 in Helsinki, Finland from 6-7 August 2021. (Lockheed Martin)


F-35A CTOL (Conventional Take-Off and Landing) cockpit demonstrator


F-35B STOVL (Short Take-Off Vertical Landing) simulator


F-35C CV (Carrier Variant) cockpit demonstrator


Air Chief Marshal Naphadet Thupatemi, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force policy 2022 Statement in 5 October 2021.



การแถลงนโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕(2022) โดย พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศท่านปัจจุบัน ได้มีการกล่าวถึงนโยบายของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่จะดำเนินการปฏิบัติหลายด้าน
เช่นการศึกษาการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) อย่างอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลางติดอาวุธ RTAF U1-M(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html) ว่าควรจะไปในทิศทางใด
การพัฒนาระบบการฝึกศิษย์การบินทั้งการจัดหาเครื่องบินฝึกใบพัด T-6TH(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html) และเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/t-50th.html) และแนวทางการพัฒนาระบบเครือข่าย Data Link เป็นต้น(https://aagth1.blogspot.com/2018/12/link-t.html)

ในการตอบคำถามจากสื่อมวลชนหลังการถ่ายทอดสดการแถลงนโยบาย ผู้บัญชาการทหารอากาศท่านที่๒๘ ได้กล่าวถึงอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศท่านที่๑๐ พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้เป็นบิดาที่ถึงแก่กรรมไปเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒(2019) สิริรวมอายุ ๙๒ปีว่า
พล.อ.อ.ประพันธ์ เคยกล่าวไปเมื่อ ๔-๕ปีก่อนว่า กองทัพอากาศไทยน่าจะคิดถึงการมีเครื่องบินขับไล่ที่ดีกว่าในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องที่น่าสนใจคือเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35 Lightning II สหรัฐฯ เพราะเครื่องบินที่มีใช้งานแม้จะทันสมัยในปัจจุบันแต่ในอนาคตก็จะล้าสมัยไปในที่สุด
โดยอดีต ผอ.ทอ.ท่านนี้เป็นหนึ่งในผู้ผลักดันโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-16ab-2020s.html) ซึ่งมีสมรรถนะสูงกว่าเครื่องบินไล่ Northrop F-20 Tigershark ที่สหรัฐฯนำเสนอให้ไทยมากกว่าในช่วงเวลานั้น

การถอนทหารสหรัฐฯออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยที่ตามมาด้วยการรวมชาติเวียดนามในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๘(1975) การปฏิวัติอิหร่าน พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๒๒(1978-1979) ที่ทำให้สหรัฐฯเสียอาวุธสมรรถนะสูงที่ตนเคยขายให้ประเทศเหล่านั้นไปตกอยู่กับฝ่ายตรงข้าม
ทำให้ในช่วงต้นทศวรรษปี 1980s สหรัฐฯมีนโยบายที่จะไม่ส่งออกอาวุธระดับเดียวกับที่ตนเองใช้ให้มิตรประเทศ ในกรณีนี้ก็รวมถึงเครื่องบินขับไล่ F-16/79 ที่ใช้เครื่องยนต์ turbojet แบบ General Electric J79 ที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเครื่องยนต์ turbofan แบบ Pratt & Whitney F100 ที่ F-16 ใช้
ตัวเลือกที่สหรัฐฯและนักวิชาการขณะนั้นบอกว่าเหมาะสมที่สุดคือ F-20 เพราะเข้ากันได้กับ บ.ข.๑๘ข/ค F-5/F Tiger II ที่กองทัพอากาศไทยมีใช้งานอยู่ ตัวเลือกอื่นยังมีเครื่องบินขับไล่ Tornado ซึ่งเป็นรุ่นโจมตีมีขีดความสามารถจำกัด และเครื่องบินขับไล่ Mirage 2000 ที่ไม่คุ้นเคยกับระบบฝรั่งเศส

เครื่องบินขับไล่ F-20 ที่ต้นแบบสามเครื่องตกไปสองเครื่องโดยมีนักบินลองเครื่องเสียชีวิตไปสองนายขณะการเดินสายสาธิตในต่างประเทศจนทำให้ไม่มีลูกค้าเลย การที่กองทัพอากาศไทยยืนยันจะจัดหา F-16A/B เท่านั้นไม่เอา F-16/79 ที่ต่อมาสิงคโปร์ก็จัดหาตามจึงเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ก็ได้พิสูจน์ตนเองมาตลอดระยะเวลาที่ประจำการมาเกิน ๓๐ปีแล้วว่าเป็นกระดูกสันหลังของของกำลังรบทางอากาศของกองทัพไทย ผ่านการจัดหาในโครงการ Peace Naresuan I,II,III,IV และเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสิงคโปร์(Peace Carvin I)
ตามทีมีการปรับโอน F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ที่เหลือทั้งหมดไปยังฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช ในเดือนกันยายน ๒๕๖๔ แผนในสมุดปกขาว 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ระบุสองโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน F-16 ทั้งสองฝูงบินรวม ๒๔เครื่อง

แม้ว่าการให้สัมภาษณ์ของ ผอ.ทอ.ดังกล่าวจะเป็นเพียงการมองอนาคตในระยะยาวไม่ใช่แผนการจัดหา ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาแนวคิดความต้องการโครงการ(COPR: Concept of Project Requirements) และแนวคิดการปฏิบัติการ(CONOPS: Concept of Operations) ล่วงหน้าเป็นเวลาหนึ่งก่อน
ก่อนหน้านี้เครื่องบินขับไล่ F-35 ถูกกล่าวมาถึงบ้างแล้ว ในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ที่ พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศท่านที่๒๖ ปฏิเสธข่าวการจัดหาฝูงเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่ทันสมัยสูงและราคาแพงในขณะนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/software.html)
ซึ่งที่ผ่านมาบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯผู้ผลิตได้เสนอเครื่องบินขับไล่ F-16V Block 70/72 ของตนให้ไทยและอินโดนีเซียเพราะมองว่ามีความเหมาะสมด้านราคาและระบบสนับสนุนที่ทั้งสองชาติมีอยู่แล้วมากกว่า F-35 เช่นที่เห็นได้จากงานแสดง Defense & Security ในไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-lockheed-martin-f.html

F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ ที่มีสายการผลิตแบบเดียวในปัจจุบันที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกเป็นจำนวนมาก ด้วยจำนวนที่ส่งมอบไปแล้วมากกว่า ๗๐๕เครื่อง จากสั่งจัดหามากกว่า ๓,๐๐๐เครื่องในเดือนตุลาคม ๒๕๖๔ ทั้งกลุ่มชาติหุ้นส่วนและการขายรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS)
นอกจากเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force)(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35a-b61-12.html) กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2021/08/f-35c.html
และนาวิกโยธินสหรัฐฯ(USMC: US Marine Corps)(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-35b-ddh-183-js-izumo.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/07/f-35c.html) ผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35 ระดับนานาชาติที่เข้าประจำการแล้ว กำลังจัดหา หรือเลือกจัดหาแล้วกว่า ๑๓ชาติ 

ประเทศที่ใช้งานเครื่องบินขับไล่ F-35 เหล่าประกอบด้วยเช่น สหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/f-35b.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/06/f-35b-apache-hms-prince-of-wales.html), อิตาลี(https://aagth1.blogspot.com/2018/01/f-35b.html), 
เนเธอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2019/02/f-35a.html), ออสเตรเลีย(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/f-35a.html), เดนมาร์ก(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-35a.html), นอร์เวย์(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-35a.html),

เบลเยียม(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/f-35a-f-16.html), โปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-35a.html) และสวิตเซอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/f-35a-patriot.html) รวมถึงการแข่งขันในฟินแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/f-35a-fa-18ef-ea-18g.html)
แคนาดาเป็นหุ้นส่วนโครงการ JSF แต่กำลังมีการแข่งขันเครื่องบินขับไล่ใหม่เช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/boeing-lockheed-martin-saab.html) ส่วนตุรกีถูกตัดจากโครงการ JSF จากการจัดหาระบบ S-400 รัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/f-35a.html)
ในกลุ่มชาติ ASEAN มีเพียงสิงคโปร์ที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Take-Off Vertical Landing) ๔เครื่องและมีตัวเลือกเพิ่มอีก ๘เครื่องรวม ๑๒เครื่องโดยคาดว่าจะได้รับมอบในปี 2026(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/f-35-4-8.html)

สำหรับความเป็นไปได้ในกองทัพอากาศไทยน่าจะเป็นเฉพาะเครื่องบินขับไล่ F-35A รุ่นขึ้นลงตามแบบ(CTOL: Conventional Take-Off and Landing) ซึ่งเป็นรุ่นมาตรฐานสำหรับกองทัพอากาศส่วนใหญ่ที่มีราคาต่อเครื่อง $80 million ตามที่ Lockheed Martin ตั้งเป้าจะลดราคาในสายผลิตของตน
ต่างจากผู้ใช้กลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิกทั้งญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสิงคโปร์ที่จะนำ F-35B มาปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินของตน กองทัพอากาศไทยไม่น่าจะมีแนวคิดที่จะนำ F-35B มาวางกำลังบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
แม้จะเป็นที่น่าสนใจว่าทั้งสหราชอาณาจักร อิตาลี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสิงค์โปร์ให้ F-35B อยู่ในสังกัดกองทัพอากาศและวางกำลังบนเรือของกองทัพเรือตนก็ตาม(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-35b-av-8b.html, https://aagth1.blogspot.com/2017/09/blog-post_9.html)

ถึงจะมีรายงานปัญหาหลายอย่าง(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/f-35.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/06/f-35.html) แต่นับแต่ที่มีการผลิตเครื่องชุดทดสอบจริงเครื่องแรกในปี 2006 และเข้าประจำการมา ๑๕ปี F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ปลอดภัยมากที่สุดแบบหนึ่ง
อุบัติเหตุตกที่เกิดจนถึงขณะนี้มีเพียงสี่ครั้งคือ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯตกในเดือนกันยายน 2018 นักบินดีดตัวปลอดภัย(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/f-35.html), F-35A ญี่ปุ่นตกทะเลในเดือนเมษายน 2019 นักบินเสียชีวิต(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/f-35a_15.html),
F-35A กองทัพอากาศสหรัฐฯตกในเดือนพฤษภาคม 2020 นักบินดีดตัวอาการคงที่ และ F-35B นาวิกโยธินสหรัฐฯชนกลางอากาศระหว่างการฝึกกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-130J ในเดือนกันยายน 2020 นักบินได้รับบาดเจ็บขณะดีดตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความผิดพลาดของนักบิน

F-35 มีนวัตกรรมที่ปฏิวัติการรบทางอากาศหลายอย่าง ทั้งคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก Stealth ห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัว ระบบตรวจจับแบบบูรณาการ AN/APG-81 AESA(Active Electronically Scanned Array) radar และ AN/AAQ-40 EOTS(Electro-Optical Targeting System)
F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่เข้าประจำการจริงที่ห้องนักบินติดตั้งจอแสดงผลขนาดใหญ่ PCD(Panoramic Cockpit Display) และหมวกนักบินติดจอแสดงผล HMDS(Helmet-Mounted Display System) โดยไม่มีจอภาพตรงหน้า HUD(Head-Up Display)
การควบคุมเครื่องผ่านคันบังคับควบคุมและคันเร่งแบบ HOTAS(Hands-On Throttle and Stick) และจอ PCD นั้นสะดวกและมีระบบอัตโนมัติต่างๆช่วยเป็นจำนวนมาก การฝึกนักบินผ่านเครื่องจำลองการบิน(Flight Simulator) นั้นประหยัดมีประสิทธิภาพ ทั้งลดจำนวนเครื่องในรูปแบบการทวีกำลังรบ

เทียบกับรัสเซียที่เครื่องบินขับไล่ Su-57 สายการผลิตยังไม่พร้อมสำหรับส่งออก(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/rosoboronexport-asean-su-57.html) และเครื่องบินขับไล่ Su-75 Checkmate ที่ยังไม่มีต้นแบบจริง(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/sukhoi-checkmate.html)
เครื่องบินขับไล่ FC-31 จีนที่ยังมีต้นแบบเพียง ๒เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/07/avic-fc-31.html) และเครื่องบินขับไล่ KF-21 สาธารณรัฐเกาหลีที่เครื่องรุ่นแรก Block I ยังเป็นเพียงเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๗๕ เท่านั้นแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/08/kf-21.html)
F-35 เป็นตัวเลือกเครื่องบินขับไล่ยุค๕ ที่เป็นไปได้มากที่สุดของกองทัพอากาศไทยในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ในระยะยาวทั้ง F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ และ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ ด้วยความต้องการสองฝูง๒๔เครื่อง เหลือเพียงฝูงเดียว ๑๒เครื่องในกองบิน๑

ที่ผ่านมาเครื่องบินขับไล่ F-35 ถูกมองว่ามีราคาและค่าใช้จ่ายการปฏิบัติการที่สูงเกินกว่าที่กองทัพอากาศไทยจะรับได้ ในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ จึงควรจะเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕ เช่นเครื่องบินขับไล่ F-16V หรือเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen สวีเดนมากกว่า
แต่ในอดีตที่ผ่านมาการจัดหา บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ในอดีตก็เคยมีข้อโต้แย้งในลักษณะนี้มาแล้ว ถ้าดูจากภัยคุกคามจากกองกำลังต่างชาติด้านพรมแดนตะวันออกที่มีโซเวียตรัสเซียสนับสนุนด้วยเครื่องบินขับไล่ MiG-23 ที่สมรรถนะสูงกว่า F-5E/F ของกองทัพอากาศไทยในขณะนั้น
เมื่อเข้าสู่ทศวรรษปี 2030s เครื่องบินขับไล่ที่ไม่ใช่เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ จะไม่มีโอกาสรอดในสงครามทางอากาศยุคหน้าอีกต่อไป ดังนั้นถ้ากองทัพอากาศไทยได้รับงบประมาณมากพอที่จะจัดหา F-35 ได้ก็ควรจะทำ และสหรัฐฯก็ควรจะอนุมัติการขายให้ถ้ายังมองว่าไทยเป็นพันธมิตรหลักของตนอยู่ 

อย่างไรก็ตามการระบาดของ Covid-19 ต่อเนื่องหลายปีที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ไทยตัดลดงบประมาณกลาโหมมาต่อเนื่องสามครั้งแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html) จึงเป็นไปได้ยากที่กองทัพอากาศไทยจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ได้ในเร็วๆนี้
โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ ๑๒เครื่องทดแทน บ.ล.๘ C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/c-130h.html) ที่มีความจำเป็นกว่ายังถูกเลื่อนออกไป ผู้ผลิตอากาศยานต่างๆอาจจะมองว่าไทยไม่ใช่โอกาสการแข่งขันของตนในตอนนี้(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/eurofighter-typhoon.html)
อีกประเด็นคือความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่มีแนวคิดเป็นภัยความมั่นคงที่ใช้สื่อไร้จรรยาบรรณสร้างข่าวเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อ จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการโจมตีกองทัพอากาศไทยเพื่อต่อต้านการจัดหาอากาศยานทุกรูปแบบ ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องในอนาคตอีกยาวเกินกว่าที่จะคาดการณ์ได้ถูกต้องครับ
(ผู้ไม่หวังดีต่อชาติพวกนี้เริ่มพูดถึงการ 'สร้างประเทศใหม่' โดยมีคอสตาริกาเป็นแบบอย่าง ประเทศที่ปราศจากทหาร-ตำรวจ ให้ประชาชนติดอาวุธปกป้องตัวเองเหมือนยุคบ้านป่าเมืองเถื่อน ไม่ก็ใช้ 'หุ่นยนต์' ทำหน้าที่แทนทหาร-ตำรวจ เพราะไม่ต้องจ่ายเงินเดือนและไม่ต้องกลัวว่าจะทำรัฐประหารด้วย)