Royal Thai Navy's PGB-561 HTMS Laemsing, M58 Patrol Gun Boat design by Thailand
company Marsun at Third Naval Area Command (3rd NAC) in Andaman sea.
Royal Thai Navy's the Krabi-class Offshore Patrol Vessel (OPV) OPV-551 HTMS
Krabi and OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan.
Royal Thai Navy's the Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV), OPV-511 HTMS
Pattani and OPV-512 HTMS Naratiwat.
From video presentation of statement for policy performance by Commandant of
Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) that need the results in the
first 100 days.
It show strength development programme of RTF, RTN with three projects on
Fiscal year 2023 include procurement for two of new Patrol Gun Boats, one of
new OPV and modernization of current two of Pattani-class OPV.
วิดีทัศน์การแถลงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
ที่ต้องการเห็นผลใน ๑๐๐ วันแรก
ตามที่ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ได้มอบนโยบายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
สำหรับเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนกองเรือยุทธการ
ให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ คือ เป็นกำลังทางเรือที่มีความพร้อมรบ
และพร้อมปฏิบัติในทุกภารกิจ นั้น
นโยบายสำคัญเร่งด่วนที่ต้องการเห็นผลสำเร็จภายใน ๑๐๐ วันแรก จำนวน ๕ ประการ
ได้ถูกมอบให้ไว้ เป็นความจำเป็นพื้นฐานที่ต้องการเร่งรัด
ให้มีผลสำเร็จเป็นรูปธรรม
เพราะจะเป็นรากฐานสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ให้เป็นผลสำเร็จในทุกภารกิจตลอดทั้งปีงบประมาณ ๒๕๖๕
โดยในห้วงที่ผ่านมา นโยบายสำคัญเร่งด่วนดังกล่าว
ได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี
จนมีผลการปฏิบัติที่ชัดเจน และจะดำเนินการต่อในไตรมาศที่ ๒ ต่อไป
บัญชีสื่อสังคม online ทางการของ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย กร.ทร.(RTF, RTN:
Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy)
ได้เผยแพร่วีดิทัศน์การแถลงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ที่ต้องการเห็นผลใน ๑๐๐ วันแรก
ตามที่งบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ได้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
พ.ศ.๒๕๖๔(2021) จนถึงเดือนมกราคม ๒๕๖๕ เป็นเวลากว่า ๑๐๐ วัน
นโยบายสำคัญเร่งด่วนมีด้วยกัน ๕ ประการประกอบด้วย
๑.การเตรียมความพร้อมของฝ่ายเสนาธิการรบ(Combat Staff)
ของกองเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกล
๒.การจัดทำแนวทางการเสนอโครงการเสริมสร้างกำลังรบของกองเรือยุทธการ
๓.การเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้าง
๔.การซ่อมบำรุงอาวุธยุทโธปกรณ์
๕.การปรับปรุงบ้านพักสวัสดิการ
วีดิทัศน์ของกองเรือยุทธการที่เผยแพร่ได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนหน้า
ทั้งแนวทางการนำเสนอโครงการเสริมสร้างกำลังรบให้มีกรอบและทิศทางการพิจารณาที่เหมาะสมและชัดเจน
การเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพเป็นธรรมและโปร่งใส
การซ่อมบำรุงเรือและอากาศยานให้มีการจัดลำดับความสำคัญและเป็นไปตามแผนกำหนดระยะเวลาการซ่อมทำในส่วนอู่เรือในสังกัดกรมอู่ทหารเรือ
ซึ่งยังรวมถึงการดำรงความพร้อมและการพัฒนาทางการฝึกกองทัพเรือประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.๒๕๖๕ นี้ด้วย
วีดิทัศน์ยังได้เปิดเผยถึงโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพเรือในส่วนกองเรือยุทธการประจำงบประมาณปี
พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ซึ่งจะต้องมีเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนในส่วนกองทัพเรือไทย
กระทรวงกลาโหมไทย คณะรัฐมนตรีไทย และรัฐสภาไทย ก่อนวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ จำนวน
๓ โครงการคือ
๑.โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ปืน จำนวน ๒ ลำ
๒.โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน ๑ ลำ
๓.โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี จำนวน
๒ ลำ
ปัจจุบัน กองเรือตรวจอ่าว(Patrol Squadron) กตอ. มีเรือตรวจการณ์ปืน ตกป.(Patrol
Gun Boat) ประจำการอยู่สามชุดคือ ชุดเรือหลวงสัตหีบ ๖ลำคือ ร.ล.สัตหีบ(521),
เรือหลวงคลองใหญ่(522), เรือหลวงตากใบ(523), เรือหลวงกันตัง(524),
เรือหลวงเทพา(525) และเรือหลวงท้ายเหมือง(526)
ชุดเรือหลวงหัวหิน ๓ลำคือ ร.ล.หัวหิน(541), เรือหลวงแกลง(542)
และเรือหลวงศรีราชา(543) และชุดเรือหลวงแหลมสิงห์ ๑ลำคือ ร.ล.แหลมสิงห์(561)
ซึ่งเรือตรวจการณ์ปืนทั้งสามชุดทุกลำเป็นเรือที่สร้างภายในประเทศไทย(https://aagth1.blogspot.com/2016/09/blog-post_21.html)
ร.ล.แหลมสิงห์ แบบเรือ M58 Patrol Gun Boat ที่ออกแบบโดยบริษัท Marsun
ไทยเป็นเรือตรวจการณ์ปืนชุดล่าสุดเข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016)
จึงมีความเป็นไปได้มากว่ากองทัพเรือไทยจะสั่งจัดหาเรือตรวจการณ์ปืนใหม่จากบริษัทในไทยเพื่อทดแทนเรือเก่าที่มีอายุการใช้งานมานาน(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-marsun-cssc-csoc.html)
กองเรือตรวจอ่าวมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตกก.(OPV: Offshore Patrol Vessel)
ประจำการอยู่สองชุดคือ ชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี(511) และ
ร.ล.นราธิวาส(512) ที่สร้างในสาธารณรัฐประชาชนจีน(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/lloyds-register-type-071e-lpd.html)
และชุดเรือหลวงกระบี่ ๒ลำคือ ร.ล.กระบี่(551) และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์(552)
ซึ่งมีพื้นฐานจากแบบเรือ 90m OPV ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/mou.html) ที่สร้างในไทยโดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ สัตหีบ ชลบุรี
ตามที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) กับ
บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock) และ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน)(CHO
THAVEE PLC) มีความร่วมมือในการเสนอแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแก่ฟิลิปปินส์ในปี
๒๕๖๔ ที่ผ่านมา
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ทั้งสองลำที่เข้าประจำการในปี
พ.ศ.๒๕๔๘(2005)
ที่จะได้รับการปรับปรุงความทันสมัยตามรายละเอียดในนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ
พ.ศ.๒๕๖๓(2020) คือติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet MM40 Block 3
และปืนกลขนาด 40mm ใหม่
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ทั้งสองลำที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013)
และ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ตามลำดับ ยังไม่ชัดเจนว่าความต้องการเรือ ตกก.ใหม่
๑ลำนี้จะเป็นการต่อเรือชุด ร.ล.กระบี่ เพิ่ม หรือจะเปลี่ยนแบบเรือใหม่
ตามที่กองทัพเรือมีความต้องการเรือ ตกก.อีก ๒ลำรวม ๖ลำ
อย่างไรก็ตามข้อมูลของ
๓โครงการที่กล่าวมานี้ทั้งหมดเป็นโครงการของกองเรือตรวจอ่าว
จึงยังไม่ชัดเจนว่าจะมีโครงการจัดหาเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชลำที่๒
ของกองเรือฟริเกตที่๑(1st Frigate Squadron)
ที่สาธารณรัฐเกาหลีจะถ่ายทอดวิทยาการเพื่อสร้างในไทยอยู่ด้วยหรือไม่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/dsme.html)