Artist impression of Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockheed Martin F-35A
Lightning II. (My Own retouch)
Royal Thai Air Force has ambition to replacing its F-16A/B 4th generation
fighters of 103rd Sqaudron, Wing 1 Korat with F-35A 5th genneration fighters
by pushing procurement for Fiscal Year 2023. (https://www.facebook.com/people/Tanapol-Arunwong/100002183542138)
Royal Air Force (RAF)'s F-35B with MBDA ASRAAM (Advanced Short Range
Air-to-Air Missile) and Meteor BVRAAM (Beyond Visual Range Air-to-Air
Missile). (MBDA)
Royal Norwegian Air Force (RNoAF)'s F-35A with Raytheon AIM-9X Sidewinder on
outer under wings pylons. (Luftforsvaret)
ธรรมชาติของนักบินรบ(Combat Pilot) ทั้งสายนักบินขับไล่โจมตี นักบินลำเลียง
และนักบินเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นกำลังพลหลักของกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai
Air Force) จะมีบุคลิกโดยรวมที่มองสิ่งต่างๆไปข้างหน้าในระยะยาว
และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและอนาคต
นั่นทำให้การวางแผนคณะทำงานที่ศึกษาการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก
บ.ข.๑๙/ก F-16A/B
จึงมองไปที่แบบเครื่องบินที่มีสมรรถนะเหนือกว่าเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔/๔.๕
ที่กองทัพอากาศไทยมีในปัจจุบันคือเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35
Lightning II
ตามการให้สัมภาษณ์สื่อล่าสุดของผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปเตมีย์
ได้ให้ข้อมูลว่าการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 จะอยู่ที่จำนวน ๘-๑๒เครื่อง
ใช้งานแบบทวีกำลังร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)
ในรูปแบบ Loyal Wingman(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/boeing-loyal-wingman-uav.html)
อย่างไรก็ตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ว่าการขออนุมัติงบประมาณจัดหาเครื่องบินขับไล่
F-35 ระยะแรกจะมีขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) จะมีขึ้นได้หรือไม่
หรือจะเลื่อนออกไปก่อนอีกหลายปีก็ยังไม่ทราบตอนนี้(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-16ab-2020s.html)
ในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑
ก็ควรจะเริ่มต้นรับมอบเครื่องได้ในหลังปี พ.ศ.๒๕๗๓(2030) และแน่นอนว่าเมื่อเข้าสู่ทศวรรษปี 2030s เครื่องบินขับไล่ที่ไม่ใช่เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕
จะไม่มีโอกาสรอดในสงครามทางอากาศยุคหน้าอีกต่อไป
จากแผนเดิมในสมุดปกขาว 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ที่การทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑
ที่โอนย้ายไปรวมกับฝูงบิน๑๐๓ ที่ควรจะเริ่มในปีงบประมาณ ๒๕๖๖
ก็ถูกรวมความต้องการเป็นสำหรับฝูงบิน๑๐๓ ฝูงเดียว
โดยที่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ มีแผนจะโอนย้ายไปที่ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑
หลังการรับมอบเครื่องบินขับไล่ใหม่ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๗๑-๒๕๗๔(2028-2031)
ก็เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super
Tigris ที่ได้รับการปรับปรุงทั้ง ๑๓เครื่องแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-5th-super-tigris.html)
แต่การจะได้รับความเห็นชอบได้หรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
มันมีปัจจัยทั้งในไทยเองกับทางสหรัฐฯอยู่
ตรงนี้มองไปแค่ที่ว่าโครงการสามารถผ่านความเห็นชอบในชั้นต่างๆทั้งภายในไทยและสหรัฐฯ
ในแง่การจัดสรรงบประมาณผูกพันประจำปีงบประมาณเพื่อที่จะให้สามารถจัดหาเครื่องได้แล้วเท่านั้น
การจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL(Conventional Take-Off and Landing) จำนวน
๑๒เครื่อง แบ่งเป็นสามระยะในงบประมาณผูกพันต่อเนื่องสองปีระยะละ ๔เครื่อง
มองว่าอย่างไรวงเงินที่ต้องใช้สูงเกินไปที่จะได้รับเห็นชอบจากกระทรวงกลาโหมไทย
คณะรัฐมนตรีไทย และรัฐสภาไทยอยู่ดี
ดูจากการจัดหาล่าสุดของกองทัพอากาศไทยคือการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒
บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH ระยะที่๔ จากสาธารณรัฐเกาหลีเพียง
๒เครื่อง ที่จะทำให้ฝูงบิน๔๐๑ มีรวม ๑๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/07/t-50th.html)
ถ้านำมาปรับใช้กับโครงการจัดซื้อ F-35A
โดยสมมุติว่าราคาตัวเครื่องรวมสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่น อะไหล่ อาวุธ การฝึก
การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกจะอยู่ที่เฉลี่ย $145 million ต่อเครื่อง
เริ่มต้นที่ F-35A ๘เครื่อง แบ่งเป็น ๔ระยะ ระยะละ ๒เครื่อง
งบปประมาณผูกพันต่อเนื่องระยะละสามปี
โครงการซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A ระยะที่๑ จำนวน ๒เครื่อง งบประมาณผูกพันปี
พ.ศ.๒๕๖๖-พ.ศ.๒๕๖๘(2023-2025) จะใช้งบประมาณคราวๆที่ $290-300
millionหรือคราวๆราวๆ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท สี่ระยะ รวม ๑๒ปี
๘เครื่อง+ตัวเลือกเพิ่มอีก ๔เครื่อง อาจจะพอเป็นไปได้
การจัดซื้อ F-35 ของกองทัพอากาศไทย ก็น่าจะเป็นการจัดหาในรูปแบบการขาย Foreign
Military Sales(FMS)
ที่ประกาศการอนุมัติความเป็นไปได้การขายของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯโดยสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA:
Defense Security Cooperation Agency)
ที่เห็นได้จากการจัดหาของประเทศต่างๆว่าเป็นราคาที่รวมตัวเครื่องบิน
เครื่องยนตร์สำรอง อะไหล่ อุปกรณ์ และอาวุธที่เกี่ยวข้อง
ถ้าสหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายรูปแบบ FMS สำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35
แก่ไทย ก็จะเป็นราคาที่รวมทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเช่นความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน ๘เครื่อง
รวมเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ F135-PW-100 ๑๐เครื่อง(ติดตั้งมาในตัวเครื่อง ๘
กับเครื่องยนต์อะไหล่ ๒) อุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องมือ เอกสารที่เกี่ยวข้อง
และการฝึกนักบินและช่างอากาศยาน
รวมถึงอาวุธที่จำเป็นเช่น ปืนใหญ่อากาศ GAU-22/A ขนาด 25mm ๑๐กระบอก
พร้อมกระสุนจำนวนหนึ่ง อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Raytehon AIM-9X
Sidwinder, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytehon AIM-120C-7 AMRAAM
และอาวุธอากาศสู่พื้นอื่นๆ
แต่ในการดำเนินการจริงในการขายรูปแบบ FMS
ทางไทยมักจะไม่ได้จัดซื้อในจำนวนวงเงินเต็มที่สหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้ให้
ตัวอย่างสุดคือโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ Boeing
AH-6i กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ๘เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)
ที่สหรัฐฯอนุมัติที่วงเงิน $400 million แต่จัดซื้อจริงเพียง $138,103,567(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/ah-6i.html) ฉะนั้นการจัดหา F-35A
ของกองทัพอากาศไทยก็เป็นไปได้มากที่จะมีรายละเอียดในข้อตกลงที่จะทำให้วงเงินที่ใช้จริงต่ำกว่าที่สหรัฐฯอนุมัติความเป็นไปได้
เช่นจัดซื้อเครื่องบินขับไล่โจมตี F-35A ระยะที่๑ งบประมาณผูกพันต่อเนื่องสามปี
๒๕๖๖-๒๕๖๘ อาจจะมีเพียง F-35A จำนวน ๒เครื่อง เครื่องยนต์ F135-PW-100 ๔เครื่อง
อุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องมือ เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการฝึกนักบินและช่างอากาศยาน
อาวุธอาจจะเอาแค่ที่จำเป็นเบื้องต้นเช่น ปืนใหญ่อากาศ GAU-22/A พร้อมกระสุน,
อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9X สัก ๑๖นัดรวมลูกฝึก ไม่เอา AIM-120C-7
หรืออาวุธอากาศสู่พื้นอื่นๆ อย่างระเบิดนำวิถี laser Paveway เพราะมีใช้อยู่แล้ว
หรือสั่งแยกอีกโครงการ รวมถึงอาวุธใหม่อย่างระเบิดนำวิถีดาวเทียม JDAM และ SDB
ถ้าจะให้ F-35A ใช้อาวุธได้ตามนโยบาย common fleet
เช่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T
ก็ทำได้เพราะเครื่องบินขับไล่ F-35B
สหราชอาณาจักรก็ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ASRAAM
และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล Meteor ของ MBDA
โดยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MBDA Meteor
คาดว่ามีแผนจะนำมาติดกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑
กองบิน๗ กองทัพอากาศไทยเมื่อได้รับปรับปรุงมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/gripen-cd-ms20-software.html)
แต่การจะให้สามารถติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T
ก็ต้องจ่ายค่าวิจัยพัฒนาในการบูรณาการระบบให้กับเครื่องเหมือน บ.ขฝ.๒ T-50TH(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/iris-t.html) กับเครื่องบินโจมตีเบา AT-6TH(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html)
นั่นทำให้เป็นไปได้ที่การจัดหา F-35A ของไทยจะมาพร้อมกับ AIM-9X
ที่ตำบลอาวุธใต้ปีกคู่นอกสุด ถ้ามองจากนอร์เวย์ที่เครื่องบินขับไล่ F-16AM/BM
ของตนที่ติด IRIS-T เหมือน บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓
ของไทยแต่เครื่องบินขับไล่ F-35A นอร์เวย์ติด AIM-9X ไม่ใช่ IRIS-T
F-35A มาตรฐาน Block 3F
ปัจจุบันสามารถใช้อาวุธส่วนใหญ่ที่กองทัพอากาศไทยมีใช้ในปัจจุบันได้
เช่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120C-7 ที่ใช้กับ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D
สามารถติดตั้งในห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวของ F-35 ได้ ๔นัด
และตำบลอาวุธใต้ปีกแบบรางคู่ได้ถึง ๘นัด
ในมาตรฐาน Block 4/4+ ที่จะมาในอนาคต(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/lockheed-martin-f-35.html)
จะมีการเพิ่มขีดความสามารถการใช้อาวุธมากขึ้นเช่นเพิ่มจำนวน AMRAAM ในห้องเก็บอาวุธภายในลำตัวเป็น ๖นัด รวมถึงการใช้อาวุธตามความต้องการของลูกค้าส่งออกเช่น Meteor และน่าจะรวมถึง IRIS-T ถ้าประเทศอื่นรวมถึงไทยต้องการ
ความสำเร็จของเครื่องบินขับไล่ F-35 ในเดือนมกราคม 2022
มีการส่งมอบรวมทุกรุ่นมากกว่า ๗๕๐เครื่อง มียอดคำสั่งซื้อรวมมากกว่า
๓,๐๐๐เครื่องจาก ๑๕ประเทศ ทำการบินสะสมเกือบ ๔๗๐,๐๐๐ ชั่วโมงบิน
และวางกำลังในการรบจริงแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-35a.html)
ขณะเดียวกันถ้าใช้วิธีนี้ก็ต้องยอมรับว่ากว่าจะรับมอบเครื่องครบ ๘-๑๒เครื่อง
จะต้องใช้เวลานาน แบบเดียวกับที่เกิดกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH
แต่ความเร่งด่วนสถานการณ์ตอนนี้ต่างกันมากกับช่วงตั้งโครงการจัดหา บ.ข.๑๙/ก
F-16A/B ฝูงแรก Peace Naresuan I ในปี พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๑(1985-1988)
ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๓๔(1979-1991)
นั้นไทยเรายังมีภัยคุกคามจากกองกำลังต่างชาติที่วางกำลังประชิดชายแดนและส่งกำลังมารุกล้ำเขตไทยเป็นระยะๆ
อีกยังมีชาติมหาอำนาจฝ่ายตรงข้ามโลกเสรีมาวางกำลังเครื่องบินรบที่ทันสมัยกว่าและสนับสนุนปฏิบัติการของกองกำลังต่างชาติต่อไทยด้วย
(ในกรณีพิพาทบ้านร่วมเกล้า ๒๕๓๐-๒๕๓๑(1987-1988) ที่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ F-5
ของกองทัพอากาศไทยถูกฝ่ายตรงข้ามยิงตก
ยังมีนักเรียนโรงเรียนหนึ่งได้รวมเงินบริจาคจะซื้อ F-5 เครื่องใหม่ให้เลย
แม้ว่าจะไม่ได้มีจำนวนมากพอจะซื้อได้ก็ตาม
แต่ก็เป็นการแสดงออกถึงความรักชาติช่วงนั้น)
แต่การจัดหา F-35 ภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๖
มันมีสองปัจจัยทั้งภายในไทยคือปัญหาเศรษฐกิจกับภาวะโรคระบาดที่ยาวนาน
ที่ส่งจะผลให้กระทรวงกลาโหม คณะรัฐมนตรี และรัฐสภาไทย
ไม่สามารถจะอนุมัติตามที่กองทัพอากาศไทยเสนอมาได้
แม้ว่าจะมีการวางแผนและชี้แจงอย่างดีก็ตาม
กับปัจจัยจากทางสหรัฐฯ รัฐบาลสหรัฐฯกับสภา Congress สหรัฐฯจะอนุมัติขาย F-35
ให้ไทยหรือไม่ ถ้ามองว่าเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ สำหรับส่งออกมิตรประเทศนี้
มีชั้นความลับสูงเกินกว่าที่จะขายให้แม้จะเป็นมิตรประเทศมายาวนานอย่างไทยที่มีความสัมพันธ์กับมหาอำนาจฝ่ายตรงข้ามเช่นจีนก็ตาม
และบริษัท Lockheed Martin
สหรัฐฯผู้ผลิตจะวิเคราะห์ตลาดแล้วว่าไทยจะเป็นลูกค้าสำหรับ F-35 ของตนได้หรือไม่
ซึ่งที่ผ่านมาเสนอเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๔.๕ อย่าง F-16V Block 70/72 มาตลอด(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-lockheed-martin-f.html)
ไทยจะใช้วิธีต่อรองเหมือนกับที่จะซื้อ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ฝูงสอง Peace Naresuan
III ปี พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๘(1991-1995) หรือเครื่องบินขับไล่ F/A-18C/D ที่ยกเลิกไปในปี
พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๔๑(1996-1998) ถ้าสหรัฐฯไม่ยอมขายจะไปซื้อเครื่องบินขับไล่
Mirage 2000 ฝรั่งเศสแทนไม่ได้
เพราะฝ่ายการเมืองสหรัฐฯ และบริษัท Lockheed Martin
รู้ดีว่ากองทัพอากาศไทยไม่มีตัวเลือกอื่นสำหรับเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ นอกจาก
F-35 ของตน และขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕
ไม่สามารถทดแทนด้วยเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕ หรือ ๔.๗๕ ได้
หรือกล่าวได้ว่าถ้ากองทัพอากาศไทยบอกว่าถ้าสหรัฐฯไม่ขาย F-35A ให้เราจะไปซื้อ
Rafale ฝรั่งเศสแทน สหรัฐฯก็จะบอกกับ ทอ.ไทยแค่ว่า "ตามสบายเรื่องของคุณ"
แบบเดียวกับที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถูกขัดขวางการจัดหา F-35(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/rafale-f4-80.html)
แต่ถ้ากองทัพอากาศจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องบินขับไล่ยุคที่๕
ของรัสเซียเช่นเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-57 ที่สายการผลิตยังไม่พร้อมส่งออก
หรือเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-75 Checkmate ที่ยังไม่มีต้นแบบบินขึ้นจริงเลย(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/su-57-f-22-f-35.html)
หรือของจีนเช่นเครื่องบินขับไล่ FC-31 จีนที่มีเพียงต้นแบบทดสอบไม่กี่เครื่อง
โดยเครื่องบินขับไล่ J-20
จีนใช้เองเท่านั้นไม่ส่งออกเช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ F-22 สหรัฐฯ
ก็เสี่ยงจะถูกสหรัฐฯคว่ำบาตรเช่นที่กดดันให้อินโดนีเซียยกเลิกการจัดหาเครื่องบินขับไล่
Su-35SK รัสเซีย
รวมถึงเครื่องบินขับไล่ KAI KF-21 สาธารณรัฐเกาหลี Block I
ยังเป็นเครื่องยุคที่๔.๗๕ อยู่ ต้นแบบเครื่องแรกจะบินในปี 2022
นี้ที่อินโดนีเซียเข้าร่วมโครงการด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/su-35.html,
https://aagth1.blogspot.com/2021/10/kf-21.html)
ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม ASEAN
กำลังจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงเช่นเครื่องบินขับไล่ Su-30SME จำนวน
๖เครื่องกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force)
ที่ยังรวมการจัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศขั้นสูง(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/pantsir-s1-orlan-10e.html)
หรือมีแผนที่จะจัดตั้งการวางกำลังอากาศยานร่วมรัสเซียและจีนในประเทศเช่นที่ฐานทัพอากาศเชียงขวางในลาว(Jointed
Air Force Base)
ซึ่งภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกกำลังเป็นพื้นที่แข่งขันของชาติมหาอำนาจรวมถึงจีนที่เข้ามาแสวงหาความร่วมมือกับมิตรประเทศและกดดันประเทศฝ่ายตรงข้ามของตน
แม้ว่าไม่มีการส่งสัญญาณถึงการปะทะกันโดยตรงอย่างชัดเจนก็ตาม
แต่พัฒนาการด้านกำลังทางอากาศเหล่านี้เครื่องบินขับไล่ยุคที่๔
ที่กองทัพอากาศไทยมีในปัจจุบันไม่สามารถจะรับมือได้อีกแล้ว
การที่ไทยจะไม่สามารถจัดหา F-35
เพื่อสร้างความได้เปรียบทางอากาศได้จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก
หลังเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๕ นี้อยากจะเห็นว่าทางบริษัท Lockheed Martin
สหรัฐฯผู้ผลิตจะมีความเคลื่อนไหวที่ตอบสนองการแสดงออกถึงความปรารถนาต่อเครื่องบินขับไล่
F-35 ของกองทัพอากาศไทยหรือไม่อย่างไร(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-35-f-16.html)
ที่เห็นได้ความสำเร็จล่าสุดในตลาดยุโรปคือสวิตเซอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-35a-patriot.html) และฟินแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-35a-hx.html) ที่ได้เลือกเครื่องบินขับไล่ F-35A
เป็นเครื่องบินขับไล่ใหม่สำหรับกองทัพอากาศตน
มีสาธารณรัฐเช็กที่มองหาเครื่องบินขับไล่ใหม่มาแทน Gripen C/D
ที่จะหมดสัญญาเช่ากับสวีเดน รวมถึงสเปนที่มองจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35B
มาทดแทนเครื่องบินโจมตี EAV-8B Harrier II จนถึงการแข่งขันในแคนาดา(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-35-2021.html)
งานแสดง Defense and Security 2022 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑
กันยายน ๒๕๖๕ ที่จะถึงนี้ ก็ไม่ทราบว่าคิดว่า Lockheed Martin
จะนำเสนอส่วนจัดแสดงของตนด้วยเครื่องบินขับไล่ F-35A
ตามที่กองทัพอากาศไทยยืนยันความปรารถนาล่าสุดของตนสามครั้งแล้วหรือไม่
งานล่าสุด D&S2019 Lockheed Martin ได้จัดแสดงแบบจำลองเครื่องบินลำเลียง
C-130J ในการทดแทนเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๓ และแบบจำลอง F-16V
และเครื่องจำลองการบิน F-16 Block 70/72 Cockpit Demonstrator สำหรับทดแทน บ.ข.๑๙
F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒
งาน D&S2022 ที่จะถึงนี้ Lockheed Martin จะนำแบบจำลอง F-35A ฝูงบิน๑๐๓ กับ
F-35 Cockpit Demonstrator มาหรือไม่? หรือจะประเมินตลาดแล้วว่าเสนอ F-16V ดีกว่า
เพราะมองว่ายังไงเราก็ไม่มีเงินพอซื้อ หรือรัฐบาลสหรัฐฯ กับสภา Congress
สหรัฐฯไม่อนุมัติขาย F-35 ให้เราอยู่ดีครับ