วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565

ปากีสถานกำลังจัดหาเครื่องบินขับไล่ J-10 จีน

Minister: Pakistan Bought Chinese J-10 Jets To Counter India’s Rafales


China's the People's Liberation Army Air Force (PLAAF) J-10C fighter jet in a training.





PLAAF's J-10C fighter jet was displayed at Airshow China 2021 in Zhuhai from 28 September to 3 October 2021.



เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2021 รัฐมนตรีมหาดไทยปากีสถาน Sheikh Rasheed Ahmed ประกาศ ณ งานต่อสาธารณชนใน Rawalpindi ว่ากองทัพอากาศปากีสถาน(PAF: Pakistan Air Force) จะทำการแสดงการบินผ่านโดยใช้เครื่องบินขับไล่ "JS-10" จำนวน 25เครื่องใหม่ที่จัดซื้อจากจีน 
ในพิธีสวนสนามวันชาติปากีสถาน(Republic Day) ในวันที่ 23 มีนาคม 2022 เขาเสริมว่าเครื่องขับไล่ใหม่เหล่านี้จะตอบโต้เครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale กองทัพอากาศอินเดีย(IAF: Indian Air Force) 36เครื่องที่จัดหาจากฝรั่งเศส(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html)

Ahmed น่าจะกล่าวอ้างถึงเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีเครื่องยนต์เดี่ยว J-10 Vigorous Dragon ที่สร้างโดย Chengdu Aerospace Corporation(CAC) ในมณฑล Sichuan ในเครือ Aviation Industry Corporation of China(AVIC) กลุ่มรัฐวิสาหกิจผู้ผลิตอากาศยานของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ได้รับการพัฒนาในช่วงปี 1980s-1990s เครื่องบินขับไล่ J-10 มีแนวคิดการออกแบบเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาแต่สมรรถนะสูงเช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ F-16 สหรัฐฯ และมีความร่วมที่มาด้วยกันจากโครงการเครื่องบินขับไล่ Lavi อิสราเอลที่ยกเลิกไปเช่นเดียวกัน

ไม่มีการยืนยัน(หรือปฏิเสธ)อย่างเป็นทางการจากจีนหรือปากีสถานในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ J-10 ตั้งแต่ที่รัฐมนตรีมหาดไทยปากีสถาน Ahmed แถลง ซึ่งได้รับการรายงานเบื้องต้นโดยสื่อในภูมิภาคเอเชียใต้ จำนวนเครื่องที่สั่งจัดหาไม่เป็นที่ชัดเจนเช่นกัน
ขณะที่รัฐมนตรี Ahmed กล่าวถึง 25เครื่องในหนึ่งฝูงบินจะพร้อมในพิธีสวนสนามวันที่ 23 มีนาคม 2022 แหล่งข้อมูลอื่นอ้างว่าจำนวนจัดหาที่แท้จริงอยู่ที่ทั้งหมด 36เครื่องในสองฝูงบิน(ฝูงบินละ 18เครื่อง)

ถ้าการกล่าวอ้างของรัฐมนตรี Ahmed ว่าเครื่องบินขับไล่ J-10 กองทัพอากาศปากีสถานจะทำการบินก่อนวันชาติปากีสถานในเดือนมีนาคม 2022เป็นความจริง หมายความว่ารัฐบาลปากีสถานได้ทำการสั่งจัดหาเครื่องอย่างเป็นความลับมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว
ตามที่การจัดหาอากาศยานโดยปกติจะเวลาหลายปีในการดำเนินการไม่ใช่แค่หลายเดือน หลังจากนั้นแม้ว่าการเจรจาจะเสร็จสิ้นไปแล้ว มันต้องใช้เวลาในการผลิตเครื่องบินและทำการฝึกนักบินที่จะปฏิบัติการกับเครื่องบินแบบใหม่ทั้งหมด

ปากีสถานซึ่งเป็นพันธมิตรกับจีนมายาวนานได้แสดงความสนใจในเครื่องบินขับไล่ J-10 เป็นครั้งแรกย้อนกลับไปได้ในปี 2006 แต่เลือกที่จะทำการผลิตเครื่องบินขับไล่เบา JF-17 Thunder ร่วมกับจีนแทน
เครื่องบินขับไล่ JF-17 Block III รุ่นล่าสุดซึ่งได้นำขีดความสามารถสงครามนอกระยะสายตา(BVR: Beyond-Visual-Range) อย่างสำคัญ(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/jf-17b-14.html)

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่ารัฐบาลปากีสถานแสวงหาการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ J-10 ที่มีสมรรถนะสูงกว่า เช่นเดียวกับการเพิ่มความคุ้นเคยกับเครื่องในการเยือนและการฝึกร่วมกับกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force)
ปากีสถานน่าจะจัดหาเฉพาะเครื่องบินขับไล่ J-10C รุ่นล่าสุดที่ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ WS-10B หรือ WS-10C ที่จีนสร้างมากกว่าเครื่องยนต์ไอพ่น AL-31F รัสเซียที่ใช้ในเครื่องบินขับไล่ J-10A และ J-10B รุ่นก่อนเพื่อลดความยุ่งยากทางการเมืองในการจัดซื้อ

เครื่องบินขับไล่ J-10C จีนยังมีคุณสมบัติติดตั้ง AESA(Active Electronically Scanned Array) radar ขั้นก้าวหน้า และสามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล PL-15 ได้(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/j-10c.html)
ตามที่กองทัพอากาศทั่วโลกได้เพิ่มความชื่นชอบในเครื่องบินขับไล่ขนาดหนักพิสัยไกล เครื่องบินขับไล่เบาพิสัยสั้นที่ราคาถูกกว่าที่ดึงดูดหลายประเทศเช่นปากีสถานและคู่แข่งของตนอินเดีย ที่มีความเป็นไปได้ในการเผชิญหน้าการรบทางอากาศใกล้พรมแดนของพวกตน

ตัวอย่างเช่นในปี 2019 เครื่องบินขับไล่จากอินเดียและปากีสถานถูกยิงตก โดยอินเดียอ้างการสังหารได้ 1เครื่อง และปากีสถานอ้างการสังหารได้ 2เครื่อง อย่างไรก็ตามการยืนยันจากภาพถ่ายมีเพียงซากเครื่องบินขับไล่ MiG-21 อินเดีย 1เครื่องที่ตก(นักบินดีดตัวได้) 
เช่นเดียวกับเศษชิ้นส่วนของอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile) ที่น่าจะทำการยิงจากเครื่องบินขับไล่ F-16 ปากีสถานเครื่องหนึ่ง

กองทัพอากาศปากีสถานจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ฝูงบินแรกของตนในปี 1980s และต่อมามาพวกมันได้ทำการยิงเครื่องบินขับไล่ของอดีตสหภาพโซเวียตและอัฟกานิสถานตก 5-10เครื่องในพรมแดนอัฟกานิสถาน-ปากีสถาน
ในระหว่างปี 2000s กองทัพอากาศปากีสถานได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-16C/D ที่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามปากีสถานมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากขึ้นในช่วงทศวรรษล่าสุด และการสนับสนุนเบื้องหลังกลุ่ม Taliban ในอัฟกานิสถานมายาวนาน

นี่จึงนำไปสู่ความเสื่อมถอยของความสัมพันธ์ของปากีสถานกับสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯได้เพิ่มความสัมพันธ์กับอินเดียมากขึ้น ในบริบทนี้ แม้ว่าการขายเครื่องบินขับไล่ F-16 เพิ่มเติม 8เครื่องจะได้รับการอนุมัติในเดือนเมษายน 2021
แต่กองทัพอากาศปากีสถานไม่สามารถจะมั่นใจได้ว่าตนจะยังคงเข้าถึงเครื่องบินขับไล่ F-16 และชิ้นส่วนอะไหล่, การปรับปรุง และอาวุธต่างๆจากสหรัฐฯได้อยู่ สถานะความสัมพันธ์ที่แย่ลงระหว่างสหรัฐฯ-ปากีสถานจูงใจให้ปากีสถานกลับมาสนใจเครื่องบินขับไล่จีนใหม่

ซึ่งปากีสถานได้เริ่มต้นการจัดหาเครื่องบินรบจากจีนในปี 1960s ตั้งแต่เครื่องบินขับไล่ F-6 เครื่องบินโจมตี A-5C และเครื่องบินขับไล่ F-7P/PG ทั้งหมดเป็นรุ่นส่งออกที่จีนสร้างโดยมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ MiG-19 และเครื่องบินขับไล่ MiG-21 รัสเซีย
ถ้าเครื่องบินขับไล่ J-10 ถูกส่งมอบให้ปากีสถาน พวกมันน่าจะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ Mirage III ROSE จำนวน 87เครื่องของกองทัพอากาศปากีสถานเป็นหน่วยแรก

ซึ่งเครื่องบินขับไล่ Mirage III ROSE ปากีสถานยังคงค่อนข้างเก่าแม้ว่าจะบูรณาการระบบ avionic สมัยใหม่, ระบบนำร่องดาวเทียม และ radar แบบ Grifo อิตาลีก็ตาม Mirage III ถูกวางกำลังในฝูงบินที่7(No.7 Squadron "Bandits") ณ ฐานทัพอากาศ Masroor ใกล้ Karachi
เช่นเดียวกับฝูงบินฝึกที่22(No.22 Training Squadron) และฝูงบิน Sky Bolts ณ โรงเรียนผู้บังคับการรบ(CCS: Combat Commander’s School) ใน Punjab

รัฐมนตรี Ahmed และผู้ให้ความเห็นปากีสถานรายอื่นได้แสดงความเห็นคาดการณ์การจัดหาเครื่องบินขับไล่ J-10 ในฐานะ "การตอบโต้" ต่อเครื่องบินขับไล่ Rafale ที่กำลังถูกส่งมอบให้อินเดีย
เครื่องบินขับไล่ J-10C ดูปรากฎว่าจะมีขีดความสามารถเหมือนเครื่องบินขับไล่ F-16 ด้วยระบบตรวจจับและอาวุธที่จะเพิ่มพูนขีดความสามารถสงครามทางอากาศของกองทัพอากาศปากีสถาน

แม้ว่าเครื่องบินขับไล่ J-10 ของจีนมีความสูญเสียจากอุบัติเหตุจำนวนหนึ่ง ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับระบบ computer ที่ออกแบบเพื่อรักษาเสถียรภาพทางอากาศพลศาสตร์ที่ไม่เสถียรของโครงสร้างอากาศยาน นี่ยังเป็นความจริงที่เหมือนกับงานทางวิศวกรรมของ F-16 เมื่อหลายปีก่อน
อย่างไรก็ตามเครื่องบินขับไล่ J-10 ไม่ได้มีสมรรถนะเหนือกว่าเครื่องบินขับไล่ Rafale ซึ่งมีอัตราส่วนแรงขับต่อน้ำหนักเหนือกว่า และน่าจะเสริมด้วย AESA radar และระบบสงคราม electronic(EW: Electronic Wafare) jammer ป้องกันตนเองที่มีขีดความสามารถสูงกว่า

ผู้วิพากษ์วิจารณ์บางรายจึงกล่าวถากถางว่าการซื้อ J-10 เป็นเพราะรัฐบาลปากีสถานไม่มีความสามารถจะแสวงหาตัวเลือกอื่นได้ และนักการเมืองปากีสถานอย่างน้อยหนึ่งรายได้วิจารณ์การซื้อ J-10 โดยแย้งว่าปากีสถานควรจะลงทุนในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ของตนเอง
ถึงกระนั้นเครื่องบินขับไล่ J-10C จะมีขีดความสามารถมากกว่าเครื่องบินขับไล่ JF-17 และน่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ PL-15 จีนที่มีระยะยิงไกลกว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120C ที่ใช้กับเครื่องบินขับไล่ F-16 ของกองทัพอากาศปากีสถาน

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ PL-15 ซึ่งนำวิถีด้วยส่วนค้นหา AESA radar คาดว่าจะมีระยะยิงที่ระหว่าง 200-300km(108-162nmi) แม้ว่าอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ PL-15E รุ่นส่งออกจะจำกัดระะยะยิงที่ 145km(78nmi)
มากกว่านั้น AESA radar ของ J-10(แม้ว่าจะไม่ทราบคุณลักษณะ) อาจจะให้การหยั่งรู้สถานการณ์ที่แหลมคมเมื่อต่อกรกับเครื่องบินขับไล่อินเดียที่ไม่มี AESA radar นอกเหนือจาก Rafale

การยืนยันการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ J-10 ควรจะมีตามมาในต้นปี 2022 ถ้าการแถลงของรัฐมนตรี Ahmed ถูกต้อง ถ้าเป็นจริงมันจะเป็นเครื่องหมายถึงอีกหลักก้าวย่างในการโอบอุ้มปากีสถานของรัฐบาลจีนในฐานะผู้อุปถัมภ์
ก้าวใหญ่สำหรับภาคอุตสาหกรรมการบินของจีนซึ่งเคยล้มเหลวที่จะส่งออกเครื่องบินขับไล่ขั้นก้าวหน้าที่มากกว่า และประวัติศาสตร์บทใหม่ในการแข่งขันด้านการบินทางทหารระหว่างอินเดียและปากีสถานครับ