วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565

กองทัพเรือไทยพิจารณาการจัดหาเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชลำที่สองจาก DSME เกาหลีใต้

Thailand mulls second frigate order from South Korea’s DSME 















Royal Thai Navy (RTN) frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej. (Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy)



มารู้จักเรือรบแห่งราชนาวีไทย ไปกับผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
สัปดาห์นี้ เรามาทำความรู้จักกับเรือใหม่ที่ทันสมัยที่สุดลำหนึ่งของกองทัพเรือ คือ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันสังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1 มี นาวาเอกสมนึก  ชูวงศ์อภิชาติ เป็นผู้บังคับการเรือ 
เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เทียบเท่าเรือพิฆาต (Destroyer) แบบเรือพัฒนามาจากแบบเรือพิฆาต ชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) ของกองทัพเรือเกาหลีใต้ 
มีโอกาสอยู่รอดสูงในสภาพแวดล้อมของการสู้รบและการปนเปื้อนทางนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ทนทานต่อลมพายุในทะเลได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 6 ขึ้นไป มีความเร็วสูงสุด 30 นอต ระยะปฏิบัติการไกล 4,000 ไมล์ทะเล กำลังพล 141 นาย สามารถปฏิบัติการรบ 3 มิติ ทั้งผิวน้ำ ใต้น้ำ และทางอากาศ 
ขึ้นประจำการเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562 เดิมมีชื่อเดิมคือ เรือหลวงท่าจีน โดยเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562 ขณะที่เรือกำลังเดินทางออกจากเมือง Danang สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 
กองทัพเรือได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อเรือว่า"เรือหลวงภูมิพลอดุลเดช”  ชื่อภาษาอังกฤษ” H.T.M.S.BHUMIBOL ADULYADEJ" 
ตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรมหาราช อันเป็นที่รักและเคารพยิ่งของปวงชนชาวไทย นำความปลื้มปีติและความภาคภูมิใจมาสู่กองทัพเรือและกำลังพลประจำเรืออย่างหาที่สุดมิได้ 
และชื่อเรือ ยังมีความหมายว่า “พลังแห่งแผ่นดิน-อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้” ซึ่ง ภูมิพล หมายถึง “พลังแห่งแผ่นดิน” อดุลยเดช หมายถึง “อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้” 
เมื่อเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ออกทะเลปฏิบัติภารกิจ ในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคม พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล 
จึงเปรียบเสมือน King of the sea ที่ไม่มีอริราชศรัตรูไหนอาจเทียบได้ ชื่อของเรือหลวงลำนี้ จะถูกจารึกไว้ในจิตใจของราชนาวีไทยทุกคนตลอดไป

รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี Wook Suh เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีกลาโหมไทย เมื่อวันที่ ๑๙-๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ที่ผ่านมา
การหารือรวมถึงปัญหาความมั่นคงต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน, ความร่วมมือด้านกลาโหมทวิภาคีระหว่างไทยและสาธารณรัฐเกาหลี และการจัดหาเรือฟริเกตจากสาธารณรัฐเกาหลีเพิ่มเติมสำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมไทยประเมินว่าความร่วมมือด้านกลาโหมทวิภาคีได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานความสัมพันธ์ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์
โดยหวังที่จะขยายความร่วมมือของไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีผ่านการแลกเปลี่ยนการศึกษาทางทหาร, การฝึกผสม และกลุ่มที่ปรึกษาประจำร่วมในกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี Suh อ้างถึงโครงการเรือฟริเกตเป็นพิเศษในความสัมพันธ์ที่จะเป็นความร่วมมือด้านกลาโหมทั้งสองฝ่ายที่จะแสดงความหวังว่าอาจจะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันต่อการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces)
กองทัพเรือไทยได้จัดหาเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชในปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) จากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd.(DSME) สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/10/blog-post_18.html)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตอบรับว่าไทยกำลังพิจารณาการจัดหาเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชลำที่สองตามมากับสาธารณรัฐเกาหลี "ไทยพร้อมที่จะขยายความร่วมมือด้านกลาโหมกับเกาหลีใต้อย่างรอบด้านโดยเร็วที่สุดตามที่สถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
เราหวังที่จะประสานงานกับเกาหลีใต้สำหรับรายละเอียดความร่วมมือโดยผ่านช่องทางกับกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้และสำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) ของเกาหลีใต้" นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมไทยกล่าว

โครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) ในความต้องการจัดหาเรือรบผิวน้ำสมัยใหม่จำนวน ๒ลำ อย่างไรก็ตามข้อตกลงสำหรับการจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองยังไม่บรรลุผลเป็นรูปธรรมในขณะนี้
แหล่งข่าวในบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลียืนยันกับ Naval News ว่าการสั่งจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองน่าจะบรรลุผลเสร็จสิ้นและได้รับการลงนามได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) นี้

ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช มีพื้นฐานจากแบบเรือ DW3000F ของ DSME สาธารณรัฐเกาหลี ที่เป็นการพัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Gwanggaeto the Great(KDX-I) ที่ประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy)
เรือได้รับพระราชทานนามชื่อเรือตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรมหาราช ถูกส่งมอบในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018) และถูกพิจารณาว่าเป็นเรือรบที่ทรงอำนาจที่สุดของกองทัพเรือไทย

เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชติดตั้งระบบอำนวยการรบ Saab 9LV, radar ตรวจการณ์แบบ Sea Giraffe 4A and Sea Giraffe AMB ของบริษัท Saab สวีเดน(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/gripen-cd.html) ตัวเรือติดตั้ง sonar หัวเรือและลากท้ายของบริษัท Atlas Elektronik เยอรมนี 
ปืนเรือหลัก Leonardo 76mm, ปืนรองปืนกล MSI ขนาด 30mm ๒แท่นยิง, แท่นยิงแนวดิ่ง Mk. 41 VLS(Vertical Launching System) ๘ท่อยิงพร้อมอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ESSM๓๒นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon Block II นัดและ Torpedo เบาสามท่อยิง ๒แท่นยิง

คุณลักษณะหลัก
ระวางขับน้ำเต็มที่: 3,700 tonne
ความยาวเรือ: 124m
ความกว้างเรือ: 14m
กินน้ำลึก: 8m
ความเร็วสูงสุด: 33 knots
ระยะทำการ: 4,000 nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 18 knots
กำลังพลประจำเรือ: ๑๔๑ นาย

อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่กองทัพเรือไทยได้ตัดสินใจที่จะเลื่อนการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T ลำที่๒ และลำที่๓ จากจีน(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) โดยไม่นำโครงการเข้าไปในการขออนุมัติงบประมาณกลาโหมของไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือไทยได้ปฏิเสธรายงานของสื่อไทยว่ากองทัพเรือไทยจะจัดหาเรือฟริเกตใหม่แทนเมื่อยังไม่สามารถจัดหาเรือดำน้ำได้ โดยเน้นว่ากองทัพเรือไทยมีมีข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงไม่สามารถมีโครงการใหญ่ใดๆได้ตอนนี้ครับ