วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565

กองบิน๑ กองทัพอากาศไทยนำเครื่องบินขับไล่ F-16A ADF ประจำการในฝูงบิน๑๐๓ หลังย้ายจากฝูงบิน๑๐๒




Captured shots from presentation video of Wing 1 Korat Royal Thai Air Force (RTAF) base show F-16A  Block 15 ADF (Air Defense Fighter) serial 10335 tail number 820989 of 103rd Sqaudron after transited from 102nd Sqaudron. (Wing 1 RTAF)




Royal Thai Air Force's F-16A Block 15 ADF serial 10216 tail number 82-0989 when it was in 102nd Sqaudron, Wing 1. (https://www.facebook.com/groups/441463545871708)




Royal Thai Air Force's decommisioned F-16A Block 15 ADF serial 10207 of 102nd Sqaudron was moving to standing display at Wing 1 RTAF base's gate. (https://www.facebook.com/groups/441463545871708)



Ep.6 How falcon fly
กว่าแปดทศวรรษที่กองบิน 1 ได้ปฎิบัติภารกิจปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้าไทย รับใช้กองทัพอากาศและประเทศชาติ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมากองบิน 1 ได้มีอากาศยานเข้าประจำการหลายแบบด้วยกัน

สำหรับกองทัพอากาศแล้วเครื่องบินถือว่าเป็นทรัพยากรหลักที่สำคัญในการปฎิบัติภารกิจ โดยในปัจจุบันกองบิน 1 ได้มีอากาศยาน ที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพอากาศประจำการอยู่ 
โดยเครื่องบินนี้เป็นเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ แบบที่ 19 ของกองทัพอากาศ หรือที่เรารู้จักดีในชื่อของ เอฟ 16 Fighting Falcon ผลิตจากบริษัท General Dynamic ประเทศสหรัฐอเมริกา 
โดยเครื่องบินชนิดนี้เป็นเครื่องบินขับไล่ไอพ่นอเนกประสงค์ที่มีความเร็วเหนือเสียงสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทุกกาลอากาศ และเจ้าเหยี่ยวฝูงนี้ก็ประจำการอยู่ที่กองบิน 1 ฐานบินโคราชมาเกือบ 40 ปีแล้ว

ถึงแม้ว่า F-16 จะทำมาจากโลหะและวัสดุผสมต่างๆ ที่มีน้ำหนักรวมกันมาก แต่ก็ยังสามารถลอยตัวไปในอากาศได้นั้น อาศัยหลักการ คือ จะต้องมีแรงขับที่ทำให้ตัวเครื่องบินมีความเร็วไปทางด้านหน้าเพื่อให้ปีกของเครื่องบินปะทะกับอากาศที่ไหลผ่านปีกไปเร็วขึ้น 
กระแสอากาศที่ไหลมาปะทะผ่านไปทางด้านล่างปีกจะทำให้เกิดแรงดันจากด้านล่างปีกขึ้นไปด้านบน อันเนื่องมาจากความดันของกระแสอากาศด้านบนของปีกจะยิ่งลดลง 
เมื่อความเร็วของเครื่องบินเพิ่มสูงขึ้น และแรงดันของกระแสอากาศภายใต้ปีกเพิ่มขึ้นจึงดันตัวขึ้นเป็นแรงยกทำให้เครื่องบินสามารถลอยตัวขึ้นไปได้ในอากาศตราบเท่าที่เครื่องบินยังมีความเร็วเพียงพออยู่

ขุมพลังของ F-16 นั้นมาจากเครื่องยนต์กังหันก๊าซซึ่งเป็นเครื่องยนต์โรตารีที่ดึงพลังงานจากการไหลของก๊าซเผาไหม้ มีคอมเพรสเซอร์ควบคู่กับกังหัน (Turbine) ที่มีห้องเผาไหม้อยู่ระหว่าง ในเครื่องยนต์ของเครื่องบิน 
ส่วนประกอบหลักทั้งสามนี้ มักเรียกว่า "เครื่องกำเนิดก๊าซ" สำหรับ บข.19/ก ใช้เครื่องยนต์แบบ เทอร์โบแฟน แบบ F-100-PW-220 ของบริษัท Pratt & Whitney
เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน (Turbofan) เป็นเครื่องยนต์กังหันก๊าซที่ทำงานโดยการบีบอัดอากาศด้วยคอมเพรสเซอร์ ผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศที่ถูกบีบอัด จากนั้นจึงเผาไหม้ส่วนผสมดังกล่าวในห้องสันดาป (Combustion Chamber) จนเกิดความร้อนและมีแรงดันสูง ทำให้เกิดแรงขับมหาศาล

หลังจากที่เครื่องบินลอยไปในอากาศแล้ว ในการบินจะต้องมีการเลี้ยว บินไต่ระดับ บินลดระดับ เพื่อให้ได้ท่าทางต่างๆตามยุทธวิธีของการรบในอากาศ ซึ่ง F-16 ก็จะมีพื้นบังคับหลัก (Control Surface) ดังนี้
- หางเสือเลี้ยว (RUDDER) สำหรับบังคับทางเลี้ยว
- หางเสือขึ้นลง (ELEVATORS) สำหรับบังคับให้เครื่องบินปักลงหรือเงยขึ้น
- ปีกเล็กเอียง (AILERONS) สำหรับบังคับเครื่องบินให้เอียงซ้ายหรือเอียงขวา

วีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่โดย กองบิน๑ โคราช กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ในช่อง Youtube และสื่อสังคม Online ของ ที่เป็นชุดการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๕
เป็นการแนะนำถึงเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙ Lockheed Martin F-16A Fighting Falcon ที่ประจำการในฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ ตั้งแต่การเยี่ยมชมเครื่องจำลองการบน สำรวจเครื่องบินขับไล่ F-16A ที่จอดในโรงเก็บ และโรงซ่อมบำรุงเครื่องยนตร์ที่สามารถทำได้ภายในประเทศ
ส่วนหนึ่งของวีดิทัศน์ยังได้เปิดเผยถึงภาพเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF(Air Defense Fighter) ฝูงบิน๑๐๓ หมายเลข 10335 และสายการผลิต 820989 ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9M Sidewinder และกระเปาะ ACMI(Air Combat Maneuvering Instrumentation)

ภาพเคลื่อนไหวสั้นๆนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A ADF ที่โอนย้ายจากฝูงบิน๑๐๒ ไปรวมที่ฝูงบิน๑๐๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ได้ถูกทำสีและเครื่องหมายใหม่ของฝูงบิน๑๐๓ แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-16ab-2020s.html)
ขณะที่เมื่อยังประจำการในฝูงบิน๑๐๒ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ไม่ได้การลงเลขสายการผลิตบนแพนหางเหมือน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ ที่จัดหาในโครงการ Peace Naresuan I, II และ Peace Carvin I กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force)
สายการผลิต 82-0989 ของ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10335 จึงบ่งชี้ว่าเครื่องนี้เดิมคือ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10216 ที่เดิมเคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ถูกจัดหาในโครงการ Peace Naresuan IV เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๖(2003)

ไม่มีการเปิดเผยว่ามี บ.ข.๑๙ F-16A ADF ที่โอนย้ายจากฝูงบิน๑๐๒ จำนวนกี่เครื่องที่ถูกนำเข้าประจำการในฝูงบิน๑๐๓ แต่ถ้านับจาก บ.ข.๑๙ F-16A หมายเลข 10325 สายการผลิต 870399 หนึ่งใน ๗เครื่องที่จัดหาจากสิงคโปร์ในปี พ.ศ.๒๕๔๘(2005) ที่เป็นหมายเลขล่าสุดในฝูงบิน๑๐๓ นั้น
อาจจะทำให้คาดได้ว่าจะมี บ.ข.๑๙ F-16A ADF อย่างน้อย ๑๐เครื่องที่ถูกนำเข้าประจำการฝูงบิน๑๐๓ ตั้งแต่หมายเลข 10326, 10327, 10328, 10329, 10330, 10331, 10332, 10333, 10334 และ 10335 ซึ่งการจะยืนยันได้ต้องรอให้มีการเผยแพร่ภาพเครื่องหมายเลขอื่นเปิดเผยตามมาภายหลัง
ภาพการเคลื่อนย้าย บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10207 สายการผลิต 81-0690 มาจัดตั้งแสดงที่หน้าประตูกองบิน๑ ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ ก็เป็นหนึ่งในเครื่องที่ถูกปลดประจำการไปตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/f-16a-adf-f-16b-l-39zaart.html)

ฝูงบิน๑๐๓ ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ในโครงการ Peace Naresuan I จำนวน ๑๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988), โครงการ Peace Naresuan II จำนวน ๖เครื่องในพ.ศ.๒๕๓๔(1991) และ Peace Carvin I จากสิงคโปร์จำนวน ๗เครื่อง รวมทั้งหมด ๒๕เครื่อง
ฝูงบิน๑๐๒ ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ในโครงการ Peace Naresuan IV จำนวน ๑๖เครื่อง ซึ่งจนถึงปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ของกองบิน๑ มีการสูญเสียจากอุบัติเหตุต่างๆ และปลดประจำการเนื่องจากโครงสร้างอากาศยานหมดอายุแล้วจำนวนหนึ่ง
กองทัพอากาศไทยต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ในงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ซึ่งมองไปยังเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ แบบ Lockheed Martin F-35 Lightning II ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/01/f-16ab-f-35a.html)