Flying formation of Royal Thai Air Force (RTAF)'s Lockheed Martin F-16AM and F-16BM 403rd Squadron, Wing 4 Takhli and Lockheed Martin F-16A and F-16A 103rd Squadron, Wing 1 Korat,
Northrop F-5E Super Tigris, 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani and Saab Gripen C/D 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani, Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli,
Dornier Alpha Jet A 231st Squadron, Wing 23 Udon Thani in opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2022 at Chandy Range, Lopburi, Thailand, 2 December 2021.
RTAF also reveal its capability of F-16AM/BM EMLU with Raytheon AIM-120C AMRAAM and Diehl IRIS-T air to air missiles, Elbit LIZARD 3 laser guided bombs and Sniper ATP targeting pod.
The number of Royal Thai Air Force's modernized F-5TH Super Tigris aircrafts might be decreased due recently F-5F TH serial 21105 crash that caused by bird strike
เรื่องราวของ F-5F หมายเลข 21105 เครื่องที่ตก ...เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ค (F-5F) ฝูงบิน 211 กองบิน 21 ประสบอุบัติเหตุ ระหว่างปฏิบัติภารกิจฝึกบินในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564
นักบินนาวาอากาศโท สุทธิเมศ อ่วมมา สามารถดีดตัวออกจากเครื่องร่มกางและลงสู่พื้นได้สำเร็จ แต่มีอาการบาดเจ็บที่ใบหน้าและลำคอ แขนซ้าย ขาซ้ายหัก …
โดยเครื่องบินเครื่องนี้เป็น F-5F หมายเลข 21105 แบบ 2 ที่นั่ง หมายเลข บ.ข. 18 ค 5/24 Serial No. 79-1692 หมายเลขหาง 91692 เป็น F-5 ฝูงที่ 2 ของกองทัพอากาศไทย
โดยทอ.ซื้อมาจากบริษัทนอร์ธรอป สหรัฐฯจำนวน 20 เครื่อง เป็น F-5E 17 เครื่อง และ F-5F รุ่น 2 ที่นั่ง 3 เครื่อง ในราคา 20,000 ล้านบาท มีการทาสีพรางแบบ Silver Gray ( Air Superiority Gray)
โดยสีพรางดังกล่าวจะช่วยในการปกปิดซ่อนพรางตลอดจนลดอันตรายจากการตรวจพบด้วยเรดาร์ข้าศึกได้เป็นอย่างดี บรรจุเข้าประจำการครบทั้งหมด 20 เครื่อง เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2524 ที่ฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี (สัญลักษณ์คือรูปงูจงอาง)
มี นาวาอากาศโท ธานี เอี่ยมจ้อย เป็นผู้บังคับฝูงบิน 403 สำหรับ F-5E/F ฝูงที่ 2 นี้เป็นคนแรก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ F-5 “Shark Nose” หรือม้าสีหมอกในประเทศไทย ...
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2537 เครื่องบินขับไล่ F-5E/F ฝูงนี้ ได้ย้ายฐานที่ตั้งจากดินแดนจงอางมาสู่รังอินทรี สังกัดฝูงบิน 211 กองบิน 21 อุบลราชธานี เนื่องจากฝูงบิน 403 ได้รับมอบเครื่องบินแบบใหม่ F-16A/B เข้าประจำการแทน ...
ต่อมาในปี 2557 ทอ.ได้ตั้งโครงการปรับปรุง F-5E/F ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นจากเครื่องบินขับไล่ในยุคที่ 3 ที่มีขีดความสามารถจำกัด ไม่พร้อมรับกับภัยคุกคาม เมื่อทำการปรับปรุงแล้วจะมีระบบอาวุธเทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 4.5 อย่าง F-16 และ Gripen
โดยทำการปรับปรุงทั้งหมด 14 เครื่องรวมเป็นเงิน 5,200 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ระยะที่ 1 จำนวน 10 เครื่อง และระยะที่ 2 จำนวน 4 เครื่อง กำหนดแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2565 นี้ โดยให้บริษัท Elbit อิสราเอลเป็นผู้ดำเนินการเรียกว่า F-5 TH“Super Tigris”
โดยปรับปรุงขีดความสามารถให้สามารถใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูง ติดตั้ง ELM-2032 Multimode Radar ติดตั้งระบบ Tactical Data Link แบบ Link-T ที่สามารถใช้งานในระบบบัญชาการของทอ.ไทย
มี Mission Computer (MC) สามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและติดตั้งซอฟท์แวร์ที่ทันสมัย, มีระบบแสดงข้อมูล Color Moving Map บนจอ Horizontal Situation Display รวมทั้งติดตั้งจอภายในห้องนักบินแบบ Multi Function Color Display (MFCD) 2 จอ
ติดตั้งเครื่องรับส่งวิทยุ ให้มีระบบป้องกันคลื่นรบกวนทางอิเล็คทรอนิค (ECCM) แบบ Have Quick II , ปรับปรุง Head Up Display (HUD) และติดตั้ง Up Front Control Pane (UFCP) ติดตั้งระบบ Digital Video and Data Recorder(DVDR) สามารถบันทึกภาพและเสียง
รวมทั้งมี Debriefing System ติดตั้ง Electronics Warfare System ที่ทันสมัย Radar Warning Receiver (RWR) and Countermeasure Dispenser System
ติดตั้งระบบ Embedded GPS/INS แบบ Fiber Optic Gyro พร้อมด้วย GPS Antenna เพื่อความถูกต้องและความแม่นยำในการเดินอากาศ เป็นต้น สามารถติดตั้งอาวุธนำวิถีที่ทันสมัยแบบ Iris-T, Derby, Python 5 ได้ ...
ปัจุบันอายุการใช้งานของ F-5E/F จากเดิม 7,200 ชม.บิน หลังจากปรับปรุงแล้วสามารถใช้งานได้ถึง 9,600 ชม.บิน สามารถใช้งานต่อไปได้อย่างน้อย 15 ปี ...
สำหรับเครื่องบิน F-5F หมายเลข 21105 ที่ประสบอุบัติเหตุนี้ หลังจากที่ได้ปรับปรุงแล้วได้รับการบรรจุเข้าประจำการเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2562 …Photo Sompong Nondhasa
พิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี ๒๕๖๕ ณ ที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล ลพบุรี เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) กองทัพอากาศไทยได้เปิดเผยขีดความสามารถล่าสุดสำหรับเครื่องขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔
คือการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C AMRAAM พร้อมกับอาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยใกล้ IRIS-T และระเบิดนำวิถี laser แบบ LIZARD 3 ร่วมกับกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP และหมวกนักบินติดศูนย์เล็ง JHMCS(Joint Helmet Mounted Cueing System)
นับเป็นครั้งแรกที่เห็นชัดเจนว่า บ.ข.๑๙ F-16AM/BM ฝูงบิน๔๐๓ ทั้ง ๑๘เครื่อง สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถี AMRAAM ได้ และเป็นยังครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า F-16AM/BM สามารถใช้ระเบิดนำวิถี laser LIZARD 3 ร่วมกับกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP ได้ด้วย
อย่างไรก็ตามการแสดงขีดความสามารถล่าสุดนี้ของกองทัพอากาศไทยถูกกลบข่าวในอีกหนึ่งวันให้หลังเมื่อเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ค F-5F หมายเลข 21105 ตกขณะทำการฝึกที่สนามฝึกชัยบาดาล เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔ นักบิน ๑นายสามารถดีดตัวออกจากเครื่องได้และได้รับบาดเจ็บ
บ.ข.๑๘ค F-5F หมายเลข 21105 ดังกล่าวเป็นเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งเครื่องแรกจาก ๑๔เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงขีดความสามารถ F-5TH Super Tigris(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/f-5st-super-tigris-iris-t.html) การสูญเสียเครื่องจากการถูกนกปากห่างชนเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก
ขณะที่การทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ ยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/f-16ab-2020s.html) แต่เครื่องบินขับไล่ F-5E/F TH ก็สามารถจะใช้งานต่อไปได้ถึงราวปี พ.ศ.๒๕๗๕(2032) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)
(ถึงอุบัติเหตุนกบินชนจะเป็นเหตุสุดวิสัยที่เป็นปัญหาที่แก้ได้ยากในวงการบินทั่วโลก แต่ก็ยังถูกผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณโจมตีกองทัพอากาศอยู่ดีว่าใช้แต่เครื่องบินเก่าไม่ได้รบแค่ชนนกก็ตกนักบินก็ไม่ยอมตายต้องทนชดใช้ค่าเสียหายไปตลอดชีวิต ซึ่งเหลวไหลไร้ความรับผิดชอบมากๆ
สิ่งที่ทำให้ผู้เขียนเหนื่อยใจทุกครั้งเวลาอธิบายโต้แย้งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องคือว่า 'คนบางจำพวกจะเชื่อเฉพาะสิ่งที่ตัวเองอยากจะเชื่อเท่านั้น' บ่อยครั้งเลยที่พวกคนเหล่านี้มักจะตัดบทต่อการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องด้วยคำพูดไร้ความรับผิดชอบอย่าง "เออ..เรื่องนี้ผม/ดิฉันต้องรู้ไหมครับ/คะ!?"
แล้วบางทีผู้เขียนต้องยอมแพ้ที่จะพยายามโน้มน้าวผู้คนให้รับรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะอีกฝ่ายมีทักษะและประสบการณ์ในการโต้คารมและสร้างวาทะกรรมสูงกว่า คือเราถูกแต่เถียงแพ้เขาว่าอย่างนั้น อย่างบทความต่างๆที่ผู้เขียนพิมพ์มาต่อเนื่องถึง ๑๖ปี สำหรับคนพวกนี้ก็จบแค่คำว่า "ยาวไปไม่อ่าน!")
Final Inspection for new four of Airbus Helicopters H225M (EC725) multirole helicopters serial 20309, 20310, 20311 and 20312 delivered to 203rd Squadron, Wing 2 Lop Buri, Royal Thai Air Force (RTAF) in 9 December 2021.
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศตรวจรับเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๑๑ (EC 725) ขั้นสุดท้าย จากบริษัท แอร์บัส เฮลิคอปเตอร์ (AIRBUS HELICOPTER)
พลอากาศเอก ชานนท์ มุ่งธัญญา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในการตรวจรับเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๑๑ (EC 725) ขั้นสุดท้าย จากบริษัท แอร์บัส เฮลิคอปเตอร์ (AIRBUS HELICOPTER)
ตามที่ กองทัพอากาศ ได้ดำเนินโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลาง สำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ ระบบส่งกำลังบำรุง ระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบริหารและหลักสูตรการฝึกอบรม นักบิน และเจ้าหน้าที่สนับสนุน
โดยมี นาวาอากาศเอก อานนท์ สิริปริญญา รองผู้บังคับการกองบิน ๒ ให้การต้อนรับ ณ อาคารกองบังคับการฝูงบิน ๒๐๓ กองบิน ๒ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔
ทั้งนี้ โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยเริ่มโครงการจัดหาตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ เป็นต้นมา และการตรวจรับเฮลิคอปเตอร์แบบที่ ๑๑ ขั้นสุดท้าย การตรวจสอบอุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นไปตามความต้องการของทางราชการ
โดย พลอากาศเอก ชานนท์ มุ่งธัญญา เป็นผู้แทนกองทัพอากาศ ลงนามตรวจรับร่วมกับ Mr. Vincent DEBRULE ; Head of Region APAC ผู้แทนบริษัท แอร์บัส เฮลิคอปเตอร์ (AIRBUS HELICOPTER)
การตรวจรับขั้นสุดท้ายของเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(Airbus Helicopters H225M) หมายเลข 20309, 20310, 20311 และ 20312 จำนวน ๔เครื่องเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔ มีขึ้นให้หลังเพียงสองสัปดาห์(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/ec725.html)
หลังจากบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปส่งมอบเครื่องตามโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ ระยะที่๔ จำนวน ๔เครื่องที่ลงนามในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/ec725.html) รวมทั้งหมด ๑๒เครื่อง
ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่าฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี น่าจะได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725 ครบตามที่ต้องการแล้ว โดยเครื่องที่จัดแสดงได้ติดตั้งปืนกลอากาศ FN MAG ขนาด 7.62mm พร้อมอุปกรณ์ต่างเช่น กล้อง Electro-Optical และอุปกรณ์กู้ภัยอื่นๆครบถ้วนครับ
The Modernized Alpha Jet TH (Dornier Alpha Jet) attack aircraft serial 23114 of 231st Squadron, Wing 23 Udon Thani, Royal Thai Air Force (RTAF) has been painted in special scheme, Seen during visiting activities on December 2021.
กองบิน ๒๓ ให้การต้อนรับ นายทหารนักเรียนหลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ ๑๓๘ คณะอาจารย์ และเจ้าหน้าที่
นาวาอากาศเอก วิศรุต จันทประดิษฐ์ ผู้บังคับการกองบิน ๒๓ มอบหมายให้ นาวาอากาศเอก ณรงค์เดช ห่อเย็น รองผู้บังคับการกองบิน ๒๓ ให้การต้อนรับ นาวาอากาศเอก ศิริพงษ์ ศรีตุลานุกค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
พร้อมด้วยนายทหารนักเรียนหลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ ๑๓๘ คณะอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงาน ศึกษาภูมิประเทศ และศึกษาองค์ประกอบกำลังอำนาจแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และได้เดินทางมาศึกษาดูงาน ณ กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๔
ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A คือชุดภาพที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet TH หมายเลข 23114 ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแล้วถูกทำสีลายพรางพิเศษ
ซึ่งมีขึ้นราวสามเดือนหลังจากที่ บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ เครื่องแรกที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยทำการทำการบินครั้งแรกของตนเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ซึ่งทำในสีรองพื้น(Color Primer) สีเหลือง(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/alpha-jet.html)
โครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.จ.๗ Alpha Jet TH จำนวน ๑๔เครื่อง โดยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน Thai Aviation Industries(TAI) ไทย และบริษัท RV Connex ไทย เป็นไปตามนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development ระยะ ๑๐ปีครับ
Air Chief Marshal Naphadet Thupatemi, the Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force give the intent to acquired F-35A 5th genneration fighters alongside with Unmanned Aerial Vehicle platfroms,
similar to Boeing Australia Loyal Wingman or Kratos XQ-58A Valkyrie in future.
กองทัพอากาศเตรียมแผนงานการจัดหาอากาศยานรบหลักแบบใหม่
พล.อ.อ.นภาเดช ธูปเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เปิดเผยถึงแผนงานการจัดหาอากาศยานรุ่นใหม่เพื่อเตรียมการทดแทนอากาศยานขับไล่รุ่นเก่าที่ทยอยหมดอายุการใช้งานต่อสื่อมวลชน
โดยระบุถึงเครื่องบินรบแบบF-35A ไลท์นิ่ง2 ของบริษัทล็อคฮีทมาร์ติน พร้อมรายละเอียดในการเจรจาที่ต่อหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐและบริษัทให้มีความใกล้เคียงกับความต้องการของกองทัพอากาศได้มากที่สุด
“F-35เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากภาพรวมของกำลังทางอากาศสำคัญอย่างยิ่งในการรบสมัยใหม่ และจะรบแพ้ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ข้างล่างแหลกราญ สิ่งที่ทำให้กำลังทางอากาศแพ้ไม่ได้มีอยู่ 3 ประการ คือ
ต้องมีอาวุธต้องที่มีคุณภาพ และไม่ใช่เป็นของ Second best แต่ต้องเป็น The best ทั้งเครื่องบินและการส่งกำลังบำรุง ไม่เช่นนั้นของที่บอกว่าดีที่สุดก็จะง่อยเปลี้ยเสียขาไม่สามารถไปสู้รบปรบมือกับใครได้
นอกจากนั้น ต้องมีความน่าสะพรึงกลัว ใครได้ยินแล้วต้องขวัญหนีดีฝ่อ แค่มีประจำการก็เป็นการใช้งานเชิงนามธรรม อีกทั้งกองทัพอากาศจะต้องมีขีดความสามารถในการร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับเพื่อนบ้านได้ “
ผบ.ทอ.ได้กล่าวถึงคุณลักษณะความต้องการของอากาศยานรุ่นใหม่ โดยยังให้ความสนใจกับการปฏิบัติการทางอากาศที่ทันสมัยมากขึ้น
“ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรบด้วยการใช้ loyal wing man ซึ่งเป็นเครื่องบินไร้คนขับสมรรถนะสูงทำหน้าที่ลูกหมู่ของเครื่องบินขับไล่ ซึ่ง ทอ. ออสเตรเลียและบริษัทโบอิ้งได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ลูกหมู่ของF/A-18E/F
โดยการปฏิบัติงานลูกหมู่จะเครื่องบินที่สามารถติดอาวุธได้ และสามารถบินเข้าเป้าหมายไปล่วงหน้า 100-150 ไมล์ ในขณะที่ เครื่องบินแม่ ซึ่งเป็นเครื่องหลักยังอยู่ข้างหลัง
แต่แนวคิดของออสเตรเลียเกิดขึ้นหลังแนวคิดของร็อคฮีดมาร์ตินกับF-35 แต่ wing man AI ของF- 35 ชื่อว่าXQ-58A Valkyrie เปรียบเหมือนเครื่องบินรบอีกหนึ่งเครื่องที่ไร้นักบิน แต่สามารถทำภารกิจโดยการควบคุมจากF-35
ซึ่งถือว่า น่าสนใจระดับ force multiplier หรือการรบแบบทวีกำลัง เราไม่จำเป็นที่จะมีF- 35 เต็มฝูง อาจจะเป็นครึ่งฝูง 8 ถึง 12 เครื่อง แต่เราใช้ Valkyrie เพื่อเป็นเครื่องลูกหมู่ต่อไป ซึ่งจะประหยัดมาก
ขณะนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักนักแต่เทคโนโลยีเหล่านี้จะก้าวกระโดด ดังนั้นหากกองทัพอากาศไทยได้รับการสนับสนุนทั้งจากคนไทยด้วยกัน จากการเมือง และอื่นๆ ประกอบกับถ้างบประมาณเพียงพอ ก็น่าจะขยับกำลังทางอากาศเข้าสู่ในมิติที่สมบูรณ์มีความเข้มแข็งและก็ไม่แพ้ เป็นที่อุ่นใจ”
ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยใช้เครื่องบินรบแบบF-16A/B ,JAS-39C/DและF-5 TH เป็นเครื่องบินรบหลักโดยF-16A/Bชุดแรกเข้าประการมากว่า35ปี อากาศยานทั้งหมดเป็นอากาศในยุคที่ 3 และ 4 ในขณะที่F-35ได้รับการยอมรับว่าเครื่องบินรบยุคที่5ที่ได้รับคำสั่งสร้างมากที่สุดในขณะนี้
การประกาศเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Cutting Edge Air Operation for Quality Air Force ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ที่มีการเปิดเผยโดย โฆษกกองทัพอากาศ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๔
เป็นการยืนยันครั้งที่สองว่ากองทัพอากาศไทยมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II สหรัฐฯในอนาคต โดยอธิบายว่าปัจจุบันราคาของ F-35A อยู่ราว $80 million ต่อเครื่องต่อเครื่อง ซึ่งใกล้เคียงหรือต่ำกว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen สวีเดนที่เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕-๔.๗๕
นอกจากนี้ F-35 ยังเป็นเครื่องขับไล่ยุคที่๕ เพียงแบบเดียวที่มีสายการผลิตจำนวนมากและส่งออกหลายประเทศทั่วโลก เหมือนกับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-16A/B ในอดีตที่มีการวิเคราะห์กองทัพอากาศไทยไม่ควรจัดหาและสหรัฐฯไม่น่าขายให้ แต่สุดท้ายก็จัดหามาได้และใช้มาเกิน ๓๐ปี
ล่าสุดผู้บัญชาการทหารอากาศเปิดเผยในระหว่างการพาคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมกิจการของกองทัพอากาศไทยที่เขาใหญ่(สถานี Radar) ถึงความต้องการที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35 สหรัฐฯเป็นครั้งที่สาม โดยมองที่จะใช้งานร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle)
เบื้องต้นการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน ๘-๑๒เครื่องทดแทน บ.ข.๑๙ F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ จะมีการเสนอคณะรัฐมตรีและรัฐสภาในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) โดย F-16A/B ฝูงบิน๑๐๓ จะโอนย้ายไปฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ ทดแทน บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F
การใช้งานร่วมกับ UAV จะเป็นในรูปแบบ Loyal Wingman เช่นเดียวกับที่ Boeing Australia ออสเตรเลีย-สหรัฐฯพัฒนา(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/boeing-loyal-wingman-uav.html) หรือ Kratos XQ-58A Valkyrie แต่จะสามารถผ่านการอนุมัติได้จริงหรือไม่ก็ไม่ทราบครับ
Aeronautics Orbiter 3B UAVs(Unmanned Aerial Vehicles) of 104 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy
Thailand's domestic NAX Seaplane was displayed in exhibition for 100 anniversary of Fly Navy since 7 December 1921 at Aviation Museum of Naval Air Division during 7-8 December 2021.
The potential candidates for Royal Thai Navy's land-based land-based Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle (MALE UAV) comprising 3 aircrafts might be included
Elbit Systems Hermes 900 (Kochav), IAI Heron TP (Eitan), Aviation Industry Corporation of China (AVIC) Wing Loong II and GA-ASI MQ-9 Reaper.
กิจการ 'บินนาวี' กองทัพเรือไทยที่เริ่มต้มมาตั้งแต่วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๔(1921) ถึงปัจจุบันเป็นเวลาครบรอบ ๑๐๐ปี จากเครื่องบินทะเลใบพัดปีกสองชั้นจนถึงเครื่องบินทะเล NAX ที่พัฒนาโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ จากเฮลิคอปเตอร์สู่ยุคที่เคยมีเครื่องบินรบไอพ่น
การพัฒนากำลังอากาศยานของกองการบินทหารเรือ กบร. กองทัพเรือไทยคือการเสริมสร้างกำลังระบบอากาศยานไร้คนขับ อย่างระบบที่พัฒนาใยประเทศเช่น MARCUS-B ที่ทดสอบบนเรือหลวงจักรีนฤเบศรไปล่าสุด(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/marcus-b.html) และจากต่างประเทศเช่น Orbiter 3B(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/orbiter-3b-uav.html), Schiebel Camcopter S-100(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/blog-post.html) และ Boeing Insitu RQ-21 Blackjack(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/rq-21-blackjack.html) เป็นต้น
ล่าสุดโครงการซื้ออากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง จำนวน ๑ ระบบ(๓เครื่อง) โดยวิธีคัดเลือก โดยสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ(NAMO: Naval Acquisition Management Office) วงเงิน ๓,๙๖๒,๐๔๐,๐๐๐บาท($118,693,250) มีแหล่งที่มาราคากลาง ๔บริษัทคือ
บริษัท Israel Aerospace Industries(IAI) อิสราเอล, บริษัท Elbit Systems Ltd อิสราเอล, บริษัท China National Aero-Technology Import & Export Corporation(CATIC) สาธารณรัฐประชาชนจีน และบริษัท General Atomics Aeronautical Systems, Inc.(GA-ASI) สหรัฐฯ
แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดคุณสมบัติ แต่เข้าใจว่าระบบอากาศยานไร้คนขับที่เป็นไปได้น่าจะมีเช่น Elbit Hermes 900 และ IAI Heron TP อิสราเอล, ตระกูล AVIC Wing Loong จีน และตระกูล GA-ASI MQ-9 สหรัฐฯ ซึ่งน่าจะไม่มีความต้องการจะใช้เป็นอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธครับ
Royal Thai Marine Corps (RTMC), Royal Thai Navy (RTN) demonstrate sea to shore operation capability of its VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles of Marine Assault Amphibian Battalion, Marine Division during visiting for RTMC Headquarters by 64th class pre-cadet students of Royal Thai Armed Forces Academies Preparatory School (AFAPS) in 16 December 2021.
R600 8x8 wheeled armoured vehicle and AFV-420P Mosquito 4x4 (Armoured Fighting Vehicle-420 Panus), the products of Thailand company's Panus Assembly Co.,Ltd.
วันที่ ๑๗ ธ.ค.๖๔ พัน.รนบ.พล.นย. จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ของหน่วย ร่วมแสดง ในงานสนับสนุนการศึกษาดูงานหน่วย นย. ของ นตท. ชั้นปีที่ ๑ (รุ่นที่๖๔) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ รร.ตท.สปท. ณ บริเวณลานสวนสนาม ด้านหน้า บก.นย.
โดยจัดยุทโธปกรณ์ของหน่วย ร่วมตั้งแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์( Static Display) ของ พล.นย. และจัดแสดงการสาธิตการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก ร่วมกับ กำลังพลของ พัน.ลว.พล.นย. ณ บริเวณพื้นที่ อ่าวเตยงาม ค่ายกรมหลวงชุมพร นย. อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ได้สาธิตปฏิบัติการของยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vessel) แบบ Norinco VN16 เป็นครั้งแรกระหว่างการเยี่ยมชมของคณะนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่๑ รุ่น๖๔ โรงเรียนเตรียมทหาร เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔
ซึ่งมีขึ้นให้หลังราวสามเดือนหลังจากที่เปิดตัวในครั้งแรกระหว่างพิธีสวนสนามยานยนต์ในโอกาสอำลาเกษียณอายุราชการนายทหารเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2021/09/vn16.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/05/vn16.html)
ปัจจุบัน กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย. มียานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จำนวน ๓คัน(มีแผนจัดหาเพิ่ม ๓-๙คัน) ประจำการร่วมกับถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 จำนวน ๑๒คันที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดยบริษัท Chaiseri ไทย
ภายที่เผยแพร่ล่าสุดในเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ โดยบริษัท Panus Assembly ไทยยังแสดงถึงต้นแบบรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก R600A 8x8 ที่ได้รับการดัดแปลงใหม่ สำหรับความต้องการรถหุ้มเกราะล้อยาง(8x8) ชนิดลำเลียงพล จำนวน ๒ คัน สำหรับกองทัพเรือไทย
ซึ่ง Panus ไทยเป็นผู้ชนะโครงการโดยวิธีคัดเลือก วงเงิน ๙๙,๙๐๐,๐๐๐บาท($3,080,387) ราคาต่อหน่วยคันละ ๔๙,๙๕๐,๐๐๐บาท($1,540,240) เข้าใจว่ายานเกราะล้อยาง R600A จำนวน ๒คันจะถูกส่งให้นาวิกโยธินไทยเพื่อทดสอบการใช้งานต่อไป เป็นการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของไทย
กองทัพเรือไทย และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI(Defence Technology Institute) ได้เสร็จสิ้นโครงการพัฒนาต้นแบบยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 8x8 ไปแล้วและมีโครงการพัฒนาต้นแบบยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก(AAV: Amphibious Assault Vehicle) ใหม่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/dti-aav.html)
Chinese Hudong Zhonghua shipyard was launched a Type 071E (Yuzhao)-class landing platform dock (LPD) for the Royal Thai Navy (RTN) on 23 December 2021, the nameplate at the stern confirms that ship name is "HTMS Chang (III)".
The commissioning ceremony of UMS Minye Kyaw Htin (72), the former chinese People's Liberation Army Navy (PLAN)'s Type 035 Ming-class submarine on 24 December 2021, 74th Anniversary of the Myanmar Navy.
Myanmar Navy to be order two of Russian Project 636 Improved Kilo set to delivere in 2025.
การปล่อยเรือลงน้ำของเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E สำหรับกองทัพเรือไทย เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) ที่อู่เรือ Hudong-Zhonghua เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔ มีขึ้นให้หลังราวสองปีนับตั้งแต่ลงนามในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/type-071e-lpd.html)
เรืออู่ยกพลขึ้นบก ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) วงเงินราว ๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200,460,066.6) นี้จะเสริมกำลังแก่เรือหลวงอ่างทอง(ลำที่๓) ซึ่งเป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ชุดแรกและชุดเดียวของกองทัพเรือไทยในขณะนี้ ในภารกิจต่างรวมถึงการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆได้เป็นอย่างมาก
ร.ล.ช้าง(ลำที่๓) ยังถูกระบุว่าจะเป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ(Submarine Tender) ให้เรือดำน้ำ S26T ที่ลำแรกจะไดรับมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html) ขั้นต้นเรือจะได้รับการติดตั้งเฉพาะเครื่องยนต์ระบบเดินเรือและสื่อสารพื้นฐาน ไม่รวมระบบอาวุธ
ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นที่พื้นสำคัญในการเข้ามามีอิทธิพลของชาติมหาอำนาจ เห็นได้จากการฝึกผสม ARNEX 2021 ครั้งแรกระหว่างรัสเซียและ ASEAN ห้วงวันที่ ๑-๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ ที่กองทัพเรือไทยเข้าร่วม(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/arnex-2021-asean.html)
การส่งมอบเรือดำน้ำชั้น Type 035B มือสองจากจีน UMS Minye Kyaw Htin(72) แก่กองทัพเรือพม่า ทำให้เมื่อรวมกับเรือดำน้ำชั้น Project 877EKM Kilo รัสเซียมือสองจากอินเดีย UMS Minye Theinkhathu(71) กองทัพเรือพม่ามีเรือดำน้ำในประจำการแล้ว ๒ลำจากแผนที่จะมีรวมทั้งหมด ๔ลำ
มีรายงานว่ากองทัพเรือพม่ากำลังจัดหาเรือดำน้ำ Project 636 Improved Kio ใหม่ ๒ลำที่คาดว่ารัสเซียจะส่งมอบในปี 2025 กองทัพเรือไทยจึงมองจะเพิ่มขีดความสามารถสงครามปราบเรือดำน้ำของตนรวมถึงการจะตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลใหม่อีกครั้งในปี ๒๕๖๕(2022) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/blog-post_7.html)
R.I.P., Enstrom 480B traning Helicopter of Royal Thai Army Aviation School was crash during flight training, killed 2 pilots of Flight instructor and Flight trainee on 14 December 2021 at Nakhon Sawan Province.
ทบ.เสียใจสูญเสีย 2 นักบินจากเฮลิคอปเตอร์ฝึก ประสบอุบัติเหตุที่ จ.นครสวรรค์
วันนี้ (14 ธ.ค.64) เวลา 09.30 น ได้เกิดเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ฝึกแบบ 480 สังกัดโรงเรียนการบินทหารบก ประสบอุบัติเหตุตกที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ โดยเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างภารกิจทำการฝึกบินหมู่นอกที่ตั้ง ในหลักสูตรศิษย์การบินทหารบก ชั้นประถม รุ่นที่ 66
ออกเดินทาง จาก จ.ลพบุรี ปลายทางที่จ.นครสวรรค์ โดยระหว่างเตรียมลงจอดที่สนามบินเกษตรได้เสียการควบคุม จนเกิดอุบัติเหตุทำให้อากาศยานเสียหาย และมีผู้เสียชีวิต 2 นาย
ได้แก่ พ.ท.ปานพงษ์ บรรจงเปลี่ยน ตำแหน่งครูการบิน โรงเรียนการบินทหารบก และ ส.ท.ชนากร เปี่ยมเจริญ ตำแหน่ง ศิษย์การบินทหารบก รุ่นที่ 66
ขณะนี้กองทัพบกได้ส่ง “คณะกรรมการสอบสวนและวิเคราะห์สาเหตุอากาศยานอุบัติเหตุระดับกองทัพบก” ลงพื้นที่เข้าตรวจสอบเหตุการณ์และรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในที่เกิดเหตุแล้ว พร้อมกันนี้ได้เคลื่อนย้ายกำลังพลที่เสียชีวิตไปประกอบพิธีทางศาสนา
ทั้งนี้เฮลิคอปเตอร์ฝึกแบบ 480 เป็นอากาศยานที่กองทัพบกใช้ในการเรียนการฝึกในหลักสูตรการบินและประจำการมาตั้งแต่ ปี 2555
กองทัพบกขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการบิน ที่ได้ทุ่มเท เสียสละ และเสียชีวิตโดยฉับพลันในระหว่างปฏิบัติหน้าที่
โดยกองทัพบกจะดูแลจัดการด้านพิธีศพ สิทธิกำลังพลและการอำนวยความสะดวกให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตอย่างดีที่สุด พร้อมกับจะเร่งดำเนินการตรวจสอบสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
14 ธันวาคม 2564
เช้าวันนี้เวลา 09.40 น. เฮลิคอปเตอร์ฝึก แบบ 480 (Enstrom 480B) หมายเลข 5146 ของ ศูนย์การบินทหารบก ลพบุรี ประสบอุบัติเหตุตกบริเวณข้างไปรษณีย์หน้าค่ายจิรประวัติ จ.นครสวรรค์ เครื่องกระแทกพื้นไฟใหม้
มีผู้เสียชีวิต 2 นาย คือนักบิน พ.ท.ปานพงษ์ บรรจงเปลี่ยน และ ส.ท.ชนากร เปี่ยมเจริญ ...
ข้อมูลของ ENSTROM 480 B เป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึก 3-5 ที่นั่ง เครื่องยนต์ GASTURBINE แบบTURBOSHAFT ROLLS ROYCE รุ่น 250 - C20W กำลัง 420 SHP จำนวน 1 เครื่อง ความเร็วเดินทาง 115 KNOT พิสัยบิน 301 กม. ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 341 ลิตร ...
ทบ.จัดหามาในปี 2554 16 เครื่อง และปี 2562 6 เครื่อง ...Cr. ภาพโดย Ball Kittidej
ก่อนอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ฝึก ฮ.ฝ.480 Enstrom 480B โรงเรียนการบินทหารบก ศูนย์การบินทหารบก กองทัพบกไทย ตกที่จังหวัดนครสวรรค์ทำให้ครูการบิน พันโทปานพงษ์ บรรจงเปลี่ยน และศิษย์การบิน สิบโทชนากร เปี่ยมเจริญ เสียชีวิตสองนาย เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔
เดิม รร.การบิน ทบ. มี ฮ.ฝ.480 Enstrom 480B อยู่ ๒๒เครื่อง โดยจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ๑๖เครื่อง และ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ๖เครื่อง ซึ่งเครื่องแรกเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ฝึก ฮ.ฝ.๓๐๐ HUGHES/SCHWEIZER 300C ที่ใช้งานมานาน
รร.การบิน ทบ. เป็นแหล่งผลิตนักบินหลักของกองทัพบกและเหล่าทัพอื่น ทั้งยังเปิดโอกาสให้ศิษย์การบินทหารชั้นประทวนเลื่อนยศเป็นนายทหารสัญญาบัตร(ร้อยตรี)ได้ แม้ว่าเครื่องจะมีอายุการใช้งานไม่นานและได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี แต่ก็ยังถูกผู้ไม่หวังดีต่อชาติมาสมน้ำหน้าให้กับผู้เสียชีวิตครับ
The Operators of Royal Thai Army (RTA), Royal Thai Navy (RTN) and Royal Thai Air Force (RTAF) was fire testing for domestic MOD963 rifles and MOD963AR carbines at 9th Infantry Division, Fort Surasi, Kanchanaburi Province in 5 November 2021.
Weapon Production Center (WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC), Ministry of Defence of Thailand Announced the median price to procure of Machines in testing production line for domestic Rifles 5.56mm duration 1 year (2022)
ปัญหาของปืนเล็กยาว MOD 963 20" และปืนเล็กยาวจู่โจม MOD 963 AR 14.5" ขนาด 5.56x45mm NATO ซึ่งมีพื้นฐานจากปืนเล็กยาวตระกูล NARAC556 ที่พัฒนาโดยบริษัท NRC ไทย ที่กระทรวงกลาโหมไทยสั่งจัดหาก็ได้ถูกเปิดเผยขึ้นมาเป็นระยะๆต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี ๒๕๖๔ นี้
ทั้งปัญหาความล่าช้าในผลิตปืนต้นแบบความยาวลำกล้อง 20", 16" และ 14.5" จำนวน ๑๖กระบอก ที่ส่งมอบช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓(2020)-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ และปืนเล็กยาว MOD963 และปืนเล็กยาวจู่โจม MOD963AR จำนวน ๒๕กระบอกที่ส่งมอบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กันยายน ๒๕๖๔
เป็นระยะเวลา ๑๖เดือนทีบริษัท NRC สามารถผลิตปืนส่งมอบให้ได้เพียง ๔๑ กระบอก อีกทั้งยังมีรายงานข้อบกพร่องและอาการชำรุดถึง ๑๗รายการ การที่ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท. จะทดลองผลิตปืนเองน่าจะแก้ปัญหานี้ได้ครับ
16th Cavalry Battalion, 5th Infantry Division, Fort Thepsatri Srisoonthorn, 4th Army Area, Royal Thai Army (RTA) farewell to ageing M41A3 light tanks and transitioned from Tank Cavalry Battalion to Reconnaissance Cavalry Battalion (wheeled) with V-150 4x4 wheeled armoured vehicles.
การปลดประจำการรถถังเบา M41A3 จากกองพันทหารม้าที่๑๖ กองพลทหารราบที่๕ โดยเปลี่ยนอัตราจัดจากกองพันทหารม้ารถถังเป็นกองพันทหารม้ารถถังเป็นกองพันทหารม้าลาดตระเวน(ล้อยาง)ใช้รถเกราะล้อยาง V-150 นั้นทำให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่๔ ไม่มีหน่วยใช้รถถังอีกต่อไป
หน่วยสุดท้ายที่ยังคงใช้ ถ.เบา M41A3 คือ กองพันทหารม้าที่๔ รักษาพระองค์ กองพลที่๑ รักษาพระองค์ ซึ่งยังคงมีการฝึกภาคสนามประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ อยู่ โด M41A3 ส่วนหนึ่งได้ปลดจากหน่วยใช้งานเดิมไปเก็บรักษาใน กองคลังยุทโธปกรณ์ กรมสรรพาวุธทหารบก จังหวัดสระบุรี แล้ว
นี่น่าจะเป็นสัญญาณว่ารถถังเบา M41A3 ที่กองทัพบกไทยประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕(1962) ได้เข้าสุดช่วงสุดท้ายก่อนการใช้งานแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาปลดประจำการจากทุกหน่วยก็ไม่แน่ใจว่าจะมีการจัดหารถถังใหม่มาทดแทนได้ครบหรือต้องเปลี่ยนอัตราจัดบางหน่วยใหม่หรือไม่ครับ