วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ญี่ปุ่นกำลังดำเนินงานเครื่องบินขับไล่ยุคที่หก F-X ระหว่างรอข้อตกลงกับอังกฤษในโครงการ FCAS

Japan working on F-X fighter jet programme amid pending deal with UK on FCAS



Japan is seeking to improve its technology base before a potential deal is signed at the end of 2022 to merge the F-X and Tempest sixth-generation fighter programmes. (BAE Systems)




Japan's last industrial involvement in a fighter development project was the Mitsubishi F-2. (Japan Air Self-Defense Force)

ตามความเคลื่อนไหวที่ถูกสร้างขึ้นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการควบรวมโครงการระบบการรบทางอากาศยุคอนาคต(FCAS: Future Combat Air System) ของสหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/tempest.html)
และโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X ของญี่ปุ่น ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นแปดรายกำลังมีส่วนร่วมเชิงลึกของพวกตนในการพัฒนาระบบและโครงสร้างต่างๆของเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต

ทางการสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่นกล่าวที่จะหารือในขอบเขตของความร่วมมือโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X/FCAS ที่นำไปสู่ข้อตกลงในสิ้นปี 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/bae-systems-f-x.html)
ในระหว่างนั้นกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังมองหาความเชี่ยวชาญภายในประเทศที่มากยิ่งกว่าสำหรับการพัฒนาวิทยาการที่เกี่ยวข้องของโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X

สิ่งนี้กำลังได้รับการขับเคลื่อนโดยข้อเท็จจริงที่ว่าการมีส่วนร่วมครั้งสุดท้ายของญี่ปุ่นในโครงการพัฒนาเครื่องขับไล่(คือเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi F-2) คือเมื่อ 27ปีก่อน
"สถานการณ์โดยรอบอุตสาหกรรมการผลิตได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก" สำนักงานจัดซื้อจัดจ้าง, วิทยาการ และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology & Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวกับ Janes

"ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทาง digital ได้รับการส่งเสริมในภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศของญี่ปุ่นยังไม่ได้เข้าถึงจุดนั้นในขณะนี้" ATLA ญี่ปุ่นกล่าว
เพื่อสร้างสะพานเชื่อมช่องว่างทางวิทยาการ กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกำลังมองหาการสนับสนุนทางอุตสาหกรรมที่มากยิ่งขึ้นสำหรับระดับการพัฒนาระบบอากาศยาน, เครื่องยนต์ หรือ Avionic จากอุตสาหกรรมภายในประเทศ

ผู้รับสัญญาหลักคือบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ญี่ปุ่นกล่าวว่า บริษัทจะออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for Information) แก่ภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นมากกว่า 40ราย
โดยความร่วมมือกับบริษัท MHI ซึ่งรวบรวมข้อมูล "อย่างเข้มงวด" ในฐานะผู้รับสัญญาหลัก ATLA ญี่ปุ่นกล่าวว่าตนกำลังทำงานกับกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นที่จะจัดตั้งกรอบการทำงานที่จะทำให้สามารถเข้าถึงแนวทางได้ "ทั่วทั้งญี่ปุ่น" ครับ