วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๗


U.S. Air Force F-35 Lightning IIs from the 365th Fighter Squadron at Eielson Air Force Base fly side by side with Republic of Korea Air Force F-35s from the 151st and 152nd Combat Flight Squadrons 
as part of a bilateral exercise over the Yellow Sea, Republic of Korea, July 12, 2022. “Fight Tonight” readiness highlights the security and stability across the Korean peninsula and remains the number one priority for United States Forces Korea. (USAF/RoKAF)


Thailand scrambled two F-16s after a Myanmar MiG-29 violated Thai airspace on 30 June 2022. (Royal Thai Air Force/Tanapol Arunwong)



MiG-29B of Myanmar Air Force firing S-8 80mm rocket in B-8M1 20 round rocket pod during Exercise in September 2016.

MiG-29SM cockpit on MWD Myanmar state own TV channel.





On 31 July 2022, Royal Thai Air Force (RTAF ) explained impact to has only 2 fighter sqaudrons in 2032. with budget cut, it can't be submit Letter of Acceptance (LOA) to USA and production line is to long delay
RTAF white paper for F-16A/B replacement with F-35A from 2020s-2030s
1st batch Fiscal Year 2023-2026: 2 of F-35A aircrafts for 7,382 million Baht ($203 million)
2nd batch Fiscal Year 2026-2028: 4 of F-35A aircrafts for 14,628 million Baht ($403 million) 
3rd batch Fiscal Year 2029-2032: 6 of F-35A aircrafts for 21,924 million Baht ($604 million)
total: 12 of F-35A in one Fighter Squadron for 43,935 million Baht ($1,210 million)

Recently Myanmar Air Force air strike on Karen Ethnic militant involve Yak-130 light attack  and MiG-29 fighter aircraft with bombs, rockets and 30mm gun run near Tak province border Northern of Thailand on 30 June 2022
Due Myanmar Air Force's MiG-29 violated Thailand airspace during air strike on Karen ethnic Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) gave interview to media on need for F-35A to replace F-16.
But at 2023 Budget Resolutions Meeting in Thai Parliament on July 2022, Lawmakers from government and opposition parties is to pressure RTAF to suspend F-35 programme, 
Thai Parliament Committee for Defence to meet commanders of Royal Thai Armed Forces (RTARF) on 18 July 2022
The Committee from government and opposite parties decided to cut off RTAF's 2023 Defence budget include proposal to procurement for first batch of 2 of F-35A. 





ติดตามรับฟังและรับชมข้อมูลเชิงลึก จากกองทัพอากาศ ใน Special Ep. ครั้งนี้ พบกับ HOT ALERT ! " ภารกิจป้องกันทางอากาศ " ที่คุณยังไม่เคยรู้
Ep. พิเศษ นี้ เรามาตอบคำถามเรื่อง "การป้องกันทางอากาศ" ของกองทัพอากาศ กันค่ะ
"QRA คือ ?"
"เครื่องบิน Alert มีภารกิจแค่ บินสกัดกั้นจริงหรือ ?" 
" CAP คือ? " 
"Alert 5 Min หมายถึง?" 
และอีกหลายคำถามของทุกคน 
วันนี้เรามาฟังคำตอบของคำถามเหล่านี้กันค่ะ พวกเราเชื่อเหลือเกินว่า "ทุกคำตอบ" จะเป็นเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจมากๆ สำหรับทุกคน 
ซึ่งใน EP. พิเศษนี้ พวกเราได้โอกาสพูดคุยกับอีกหนึ่ง "นักบินรบ" มากความสามารถของกองทัพอากาศ เจ้าของ callsign : Valentine อดีตผู้บังคับฝูงบินสกัดกั้น มาพูดคุยให้ทุกท่านได้รับฟังและรับชมกันถึงภารกิจต่างๆ ของฝูงบิน Alert กัน ค่ะ
ทุกภารกิจเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ..และ..ผลประโยชน์ของภูมิภาคอาเซียน.. เพื่อความเป็นอยู่ของลูกหลานในอนาคต
RTAF FOR ALL

กองทัพอากาศ  ดำเนินการจัดการทดสอบการใช้กำลังทางอากาศ  ประจำปี 2565
พลอากาศเอก คงศักดิ์  จันทรโสภา  ผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ  ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมปฏิบัติการในการทดสอบการใช้กำลังทางอากาศ  กองทัพอากาศ ทั้ง 3 แห่ง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
- ตรวจความพร้อมหน่วยบินที่เข้าร่วมทดสอบฯ  และเยี่ยมชมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมของหน่วยบินขับไล่สกัดกั้นที่จะทำการขึ้นบินสกัดกั้นอากาศยานที่ไม่ทราบฝ่ายเข้าล้ำน่านฟ้าของประเทศไทย (Hot scramble)  ณ กองบิน 4 (อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์) 
- ตรวจความพร้อมการปฏิบัติการทางอากาศ  ณ กองบิน 1 (อำเภอเมืองนครราชสีมา  จังหวัดนครราชสีมา) 
- ชมภาพสถานการณ์การทดสอบใช้กำลังทางอากาศ และ ชมการสาธิตการปฏิบัติการทางอากาศ  ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล  (อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี)
สำหรับการทดสอบการใช้กำลังของกองทัพอากาศ  (Air Operations)  กำหนดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 10 มิถุนายน 2565 โดยมี พลอากาศโท ตากเพชร พินพันธุ์ รองผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็น ผู้อำนวยการทดสอบการใช้กำลังของกองทัพอากาศ ประจำปี 2565 
มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการบัญชาการและควบคุมการปฏิบัติทางอากาศในการปฏิบัติทางอากาศยุทธวิธีต่าง ๆ และการป้องกันทางอากาศรวมถึงการปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น 
อีกทั้งยังทดสอบในภารกิจที่มิใช่การรบในการทดสอบการลำเลียงผู้ป่วยในระบบการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์กองทัพอากาศร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โดยจัดตั้งศูนย์ควบคุม ณ กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ  
ทั้งนี้ กองทัพอากาศ  มีความมุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยปฏิบัติในการประสานการปฏิบัติระบบป้องกันภัยทางอากาศ และการควบคุมสั่งการ  พัฒนาคน อาวุธ กลยุทธ์ที่ฉลาด และสานต่อขีดความสามารถในการช่วยเหลือประชาชน เพื่อพิทักษ์รักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ

กองทัพอากาศ นำเครื่องบิน F-16 ขึ้นบินลาดตระเวนรบ บริเวณแนวชายแดน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก หลังตรวจพบอากาศยานทางทหาร บินล้ำแดน
พลอากาศตรี ประภาส  สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า วันนี้เวลา 11.16 น. หน่วยงานของกองทัพอากาศได้รายงานการตรวจพบอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บินล้ำแดนบริเวณอำเภอพบพระ จังหวัดตาก  
โจมตีกองกำลังชนกลุ่มน้อยบริเวณแนวชายแดนและบินล้ำแดนเข้ามายังพื้นที่ประเทศไทย ก่อนเป้าหมายจะจางหายไปจากระบบเรดาร์เฝ้าตรวจการณ์ของกองทัพอากาศในเวลาต่อมา 
นอกจากนี้ยังตรวจพบเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติภารกิจอยู่ห่างจากแนวชายแดนบริเวณดังกล่าว ระยะทางประมาณ 5 ไมล์ทะเล (Nautical Mile) แต่มิได้ล้ำแดนมายังพื้นที่ประเทศไทยแต่อย่างใด  
กองทัพอากาศ จึงได้มีคำสั่งให้เครื่องบินขับไล่แบบที่ 19 หรือ F-16 จำนวน 2 เครื่อง ขึ้นบินลาดตระเวนรบทางอากาศทันที บริเวณแนวชายแดนอำเภอพบพระ จังหวัดตาก 
และได้สั่งการผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ ประจำสถานเอกอัครทูต ณ ย่างกุ้ง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อแจ้งเตือนและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีกในอนาคต
กองทัพอากาศจะติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังเหตุการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงพื้นที่ตามเขตแนวชายแดน ตลอด 24 ชั่วโมง 
ขอให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่นว่ากองทัพอากาศจะมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจการป้องภัยทางอากาศอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตยและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนชาวไทยเป็นสำคัญ

จากสถานการณ์ที่กองทัพอากาศพม่าส่งเครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา Yak-130 ซึ่งมีปัญหาความพร้อมเพราะมีรายงานว่าถูกกลุ่มต่อต้านทหารพม่าก่อวินาศกรรมที่ฐานบิน และเครื่องบินขับไล่ MiG-29SM ซึ่งแบบหลังเป็นเครื่องบินที่ไม่เหมาะกับการโจมตีภาคพื้นดินนักเพราะติดอาวุธอากาศสู่พื้นได้น้อย
ทำภารกิจสนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด(CAS: Close Air Support) โจมตีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ Karen ที่บุกยึดฐานฮูเกรทะหรืออูเกรทะของกองทัพพม่า ตรงข้ามอำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) เครื่องบินขับไล่ MiG-29 พม่าได้ล้ำน่านฟ้าไทย ๑๕วินาที
กองทัพอากาศไทยได้ตอบสนองโดยทำภารกิจลาดตระเวนทางอากาศ(CAP: Combat Air Patrol) ซึ่งถูกพบว่าประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16AM ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ และเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ ควบคุมน่านฟ้าไทยหลังจากนั้นเพื่อไม่ให้มีการรุกล้ำอีก

เครื่องบินขับไล่ MiG-29SM ของกองทัพอากาศพม่าซึ่งได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแล้วนั้น ยังคงมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่พื้นได้จำกัดเฉพาะลูกระเบิดและจรวดอากาศสู่พื้น และภารกิจโจมตีภาคพื้นดินจะไม่ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศเลย อีกทั้งยังมีพิสัยการบินที่สั้นด้วย
จากข่าวที่รวบรวมได้ระบุว่าขณะนี้กองทัพอากาศพม่ากำลังมีปัญหาเรื่องความพร้อมอากาศยาน เช่นเครื่องบินขับไล่ JF-17 ที่มีปัญหาการซ่อมบำรุงจนพบการใช้ปฏิบัติการลดลง เครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา Yak-130 ที่ถูกก่อวินาศกรรมจนมีการจับกลุ่มทหารอากาศพม่าที่เชื่อว่าสนับสนุนกลุ่มต่อต้าน
ซึ่งการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังกู้ชาติกลุ่มชาติพันธุ์ Karen ที่ส่งกำลังเข้าตีฐานฮูเกรทะหรืออูเกรทะของกองทัพบกพม่านี้จนแตกและกองทัพพม่าพยายามจะทำลายและยึดคืน แม้จะรู้ดีว่าไทยสนับสนุนกะเหรี่ยงอยู่เบื้องหลังแต่ฝ่ายกองทัพพม่ายังคงระวังไม่ให้ถึงขั้นต้องยิงกับทหารไทยตรงๆอยู่

(ว่ากันตรงๆช่วงแรกที่ผู้เขียนเริ่มมีความสนใจเข้ามากศึกษาและติดตามสถานการณ์สงครามภายในของพม่าตั้งแต่เมื่อ ๒๐กว่าปีก่อน ผู้ก็เคยสงสารและเห็นใจกลุ่มชาติพันธุ์และกองกำลังกู้ชาติต่างๆที่หนีภัยสงครามและต่อสู้เพื่ออิสรภาพของพวกตนจากการรุกรานและกดกดขี่ของทหารพม่าอยู่หรอก 
แต่เวลาผ่านไปผู้เขียนก็เห็นความจริงหลายๆอย่างบางทีกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ก็ไม่ได้น่าสงสารหรือน่าเห็นใจอย่างที่คิดตอนแรก ตรงกันข้ามเลยคือพวกเขาฉลาดมาก แล้วก็เจ้าเล่ห์ขี้โกงพอตัวด้วย ถ้าเอาเปรียบอะไรได้ก็จะเอาเปรียบ แล้วก็ชอบเรียกร้องเรื่องต่างๆให้พวกตนเองโดยไม่สนวิธีการด้วย
อย่างช่วงหลังที่ผ่านมานี้กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์มักพยายามขยายความรุนแรงของสถานการณ์ที่ตนสู้กับทหารพม่าโดยจงใจให้ฝั่งไทยมีความเสียหายจากกระสุนและระเบิดที่ยิงมาตกใส่ แต่พอไทยไม่ตอบโต้โดยการช่วยพวกตน ก็ใช้ช่องทางสื่อที่ตัวเองมีโจมตีว่าไทยเป็นพวกเดียวกับเผด็จการพม่า

ก็น่าแปลกใจที่ว่าเดิมทีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเวลาเข้ามาลี้ภัย, รับการรักษาพยาบาล และหางานทำในไทย แม้แต่การสนับสนุนอาวุธอุปกรณ์อย่างดีและที่ปรึกษาจากชาติตะวันตกไทยเราเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้มาตลอด แต่ช่วงหลังๆคนรุ่นใหม่ชอบโจมตีคนไทยผ่านสื่อสังคม online ของตนไปเสีย
เห็นได้จาก Page Facebook หรือช่อง Youtube ที่เผยแพร่เป็นภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย จะให้ข้อมูลและลงภาพที่บอกว่ากองกำลังของพวกตนทันสมัยกว่ากว่าไทย ทั้งที่ก็เห็นได้จากภาพจริงๆว่าเครื่องแบบอุปกรณ์และอาวุธเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีขายในร้านขายปืนในไทย
ประกอบผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่ใช้เหตุการณ์นี้เป็นโอกาสที่หาได้ยากสำหรับพวกตนที่หามานานในการโจมตีทำลายกองทัพอากาศ ซึ่งที่ผ่านมากองทัพอากาศไทยเป็นหน่วยงานที่มีการประชาสัมพันธ์ต่อภาคประชาชนดีที่สุดมาตลอด จนเกิดคำพูดว่า "ทหารอากาศที่ดีคือทหารอากาศที่ตายแล้ว!" ไปแล้ว)

อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศไทยที่ไม่ได้ทำภารกิจ Quick Reaction Alert(QRA) ภายในเวลาอันรวดเร็วเพียงพอซึ่งถือว่าเป็นข้อผิดพลาด ความโกรธแค้นที่ได้ถูกปลุกปั่นโดยสื่อไร้จรรยาบรรณที่ไม่หวังดีต่อชาติใช้เป็นโอกาสทำลายความเชื่อถือของกองทัพอากาศไทยต่อประชาชนไปจนหมดสิ้นแล้ว
การขยายผลถึงการที่มีชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่ถือสองสัญชาติเสียชีวิตในการโจมตีทางอากาศในฝั่งพม่า และมีทรัพย์สินคนไทยได้รับความเสียหายทั้งรถยนต์ที่ถูกสะเก็ดลูกระเบิดยิง 40mm จากภาคพื้นดินแต่ก็ถูกบิดเบือนว่ามาจากกระสุนปืนใหญ่อากาศ 30mm ของเครื่องบินขับไล่ MiG-29 พม่า
ระหว่างประชุมคณะกรรมาธิการกลาโหมของรัฐสภาเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้ตำหนิและเรียกร้องการลงโทษต่อผู้บัญชาการทหารอากาศและทหารอากาศทุกนายต่อเหตุที่เกิดขึ้นว่าเป็นการเสียศักดิ์ศรีทางอธิปไตยของไทย

ถึงผู้บัญชาการทหารอากาศจะอธิบายขีดความสามารถและความจำเป็นของเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ F-35A ในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ก็ตามแต่ตอนนี้กระแสสังคมมีแต่จะย้อนกลับมาทางเดียวคือ "ฉันต้องรู้ไหม!?" จากประชาชนที่ต้องการให้มีการลงโทษกองทัพอากาศ
ประกอบกับเหตุผลด้านเศรษฐกิจจากโรคระบาด Covid-19 และการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องรักษาฐานเสียงของตนแล้ว ส่งผลให้ในที่สุดคณะกรรมาธิการงบประมาณกลาโหมประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) มีมติให้กองทัพอากาศไทยยกเลิกแผนจัดหา F-35 ๒เครื่องแรกในปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕
F-35 อาจเป็นความพยายามที่ล้มเหลวของกองทัพอากาศที่ส่งผลร้ายแรงต่อกำลังรบทางอากาศเมื่อเข้าสู่ปี 2030s ฝูงบิน๑๐๒ ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ จะไม่มีเครื่องบินใหม่ทดแทน F-16 รวมถึงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ ที่จะต้องปลดประจำการในช่วงนั้นด้วย

ฝูงบินขับไล่โจมตีพหุภารกิจ(multi-role figther) ของกองทัพอากาศไทยอีก ๑๐ปีหลังจากนี้หรือ พ.ศ.๒๕๗๕(2032) อาจจะเหลือเพียงสองฝูงบินคือ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ที่เป็นช่วงสุดท้ายของอายุการใช้งาน และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗
ขณะที่เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ ก็น่าจะปลดประจำการแล้ว ทำให้เหลือเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ข.๒ T-50TH ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ และเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6TH ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔ อีกสองฝูงบิน รวมมีเครื่องบินรบ(combat aircraft) เพียงสามถึงสี่ฝูงบิน
การตัด F-35A ระยะแรก ๒เครื่องวงเงินประมาณ ๗,๓๘๒,๐๐๐,๐๐๐บาท($203,217,970) โดยให้เหตุผลว่าให้รอสหรัฐฯอนุมัติการขายที่ชัดเจนแก่ไทยก่อน ดูจะไม่ตรงกับการทำงานที่กองทัพอากาศไทยดำเนินมาตลอด และไม่สอดคล้องกับที่มีหลายประเทศทั่วโลกจะจัดซื้อในเดือนกรกฎาคมนี้ครับ






former F-5T of Republic of Singapore Air Force (RSAF) that was transfer to Thailand's RTAF has displayed at National Aviation Museum of the Royal Thai Air Force.

“น้องใหม่ในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ”
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ มีข่าวดีมาเล่าสู่กันฟังค่า!!!! 
เมื่อวันที่ 5 ก.ค.65 เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ค หรือ F-5F Tiger II หมายเลข ทอ.9/60 ได้เข้ามาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ฯ อย่างเป็นทางการแล้วค่ะ ถือเป็นเครื่องบินลำดับที่ 98 ที่เข้ามาอวดโฉมในพิพิธภัณฑ์ฯ ค่ะ
เครื่องบินเครื่องนี้มีประวัติที่มาตั้งแต่ พ.ศ.2526 กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-5F เข้าประจำการ ต่อมาก็ได้ดำเนินการปรับปรุงขีดความสามารถและกำหนดชื่อใหม่เป็นเครื่องบินขับไล่ F-5T
ในปี พ.ศ.2553 กองทัพอากาศสิงคโปร์ก็ได้เริ่มปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ F-5T และได้มอบเครื่องบินขับไล่ F-5T หมายเลข 853 เครื่องนี้ให้กองทัพอากาศไทยเพื่อสนับสนุนโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5 TH Super Tigris 
และได้กำหนดแบบเป็นเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ค หรือ F-5F Tiger II
หลังจากปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ F-5F Tiger II แล้ว ก็ได้นำเครื่องบินมาตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ และในเร็วๆ นี้ ท่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศก็จะถูกติดตั้งเพื่อให้เครื่องบินเครื่องนี้ตั้งแสดงอย่างสมบูรณ์แบบค่ะ
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติขอขอบคุณกองบิน 21 กรมช่างอากาศ กรมขนส่งทหารอากาศ สำนักผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สนับสนุนการเคลื่อนย้ายและตั้งแสดงเครื่องบินในครั้งนี้ด้วยค่ะ
แอดมินขอเชิญชวนเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกท่าน เข้ามาถ่ายรูปกับน้องใหม่ของพิพิธภัณฑ์ฯ ได้เลยค่ะ
เปิดให้บริการ : วันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 15.30 น. หยุดวันจันทร์ วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดกรณีพิเศษ
แล้วอย่าลืมถ่ายภาพ และแชร์ภาพสวย ๆ มาให้แอดมินได้ชมกันด้วยนะคะ รวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ที่คอมเมนท์ได้เลยค่า 
พิกัดเครื่องนี้ ตั้งแสดงอยู่บริเวณหน้าอาคาร 3 สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ฯ ได้เลยค่ะ


Royal Thai Air Force's Inspection committee was conducted Factory Acceptance Testing (FAT) 10 of Beechcraft T-6TH trainer aircraft at Textron Aviation Defense facility in USA.

คณะกรรมการตรวจรับ T-6TH โดย พล.อ.อ.ชานนท์ มุ่งธัญญา ได้ตรวจความพร้อมเครื่องขั้นสุดท้าย ณ โรงงานผลิต (FAT Test) ก่อนการส่งมอบ 
ซึ่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และผ่านมาตรฐานการบินตรวจรับของ ทอ. โดยมี นบ.ลองเครื่องต้นแบบ ทอ. น.อ.สุรศักดิ์ เสสะเวช บินตรวจสอบครบทั้ง 10 เครื่อง ในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จของโครงการซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกนักบินกองทัพอากาศในอนาคตอันใกล้นี้
โครงการจัดซื้อ T-6TH ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้พัฒนาจาก T-6C นับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ ในการจัดหาเครื่องบินทดแทน เครื่อง PC-9 ซึ่งได้ประจำการมานานกว่า 31 ปี




Royal Thai Air Force (RTAF)'s Airbus H135 training helicopters of 202nd Squadron, Wing 2. 
Airbus Helicopters has completed the delivery for all 6 of H135 helicopters to RTAF.

การที่บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปได้ประกาศการแสดงความยินดีต่อกองทัพอากาศไทยในฐานะผู้ใช้งานเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๓ ฮ.๑๓ Airbus H135 ในฐานะเฮลิคอปเตอร์ฝึกเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ใน Facebook Page ทางการของตน
แสดงถึงว่าสัญญาจัดหาเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๓ H135 จำนวน ๖เครื่องวงเงิน ๑,๓๒๗,๗๙๑,๑๐๐บาท(43.35 million) ที่ลงนามในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ได้เสร็จการส่งมอบเครื่องจนครบแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/h135.html)
ฮ.๑๓ H135 ที่เริ่มส่งมอบตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ได้ถูกนำเข้าประจำการ ณ ณ ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์แบบที่๖ง ฮ.๖ง Bell 412EP ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/10/bell-412-twin-bell-412hp.html)




Sikorsky UH-60L Black Hawk utility helicopter serial 7220 (08) with weather radar on its nose of 9th Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center (AAC), Royal Thai Army (RTA) 
was displayed in Children's Day 2018 at 2nd Cavalry Division Royal Guard, Bangkok, Thailand on 13 January 2018. (My Own Photos)
Army Transportation Department, Royal Thai Army announced winner of bidding to procure Weather Radar for upgrading 6 of UH-60L utility helicopters is Thailand company's KRIN AVIATION AND TECHNOLOGY CO., LTD. for 150,000,000 baht ($4,183,869) 
on 5 July 2022.




Airbus Helicopters H145 (EC145T2) utility helicopter of 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center (AAC) in medical mission (AIR AMBULANCE). (Sky Doctors Team/Royal Thai Army)
Royal Thai Army is to improved and modified all 6 of H145 to Air Medical Services capabilities for total 79,200,000 baht ($2,159,686.58).




Royal Thai Army (RTA)'s UH-60L helicopter serial 7003 (05) was emergency landing at Wang Yai Subdistrict, Thepha District, Songkhla Province on 15 July 2022, crews and passengers are safe with injuries have taken to hospital for treatment.
On late July 2022, Thai Parliament Committee for Defence also cut off Royal Thai Army's plan to procure further 9 of UH-60A (Refurbished) utility helicopters for 3,179,999,999.16 Baht ($93,309,913.18) from defence budget fiscal year 2023.

ทบ. ขอบคุณทุกส่วนที่เข้าช่วยเหลือเหตุ เฮลิคอปเตอร์ลงฉุกเฉินที่สงขลา กำชับดูแลผู้บาดเจ็บและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
เมื่อเช้าวันนี้ (๑๕ ก.ค.๖๕) เวลาประมาณ ๐๙๐๐ น. ได้เกิดเหตุ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ๖๐ หมายเลข ๒๗๐๐๓ ของกองทัพภาคที่ ๔  ซึ่งนำคณะ พลโท เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ ๔ พร้อมเจ้าหน้าที่รวม ๗ นาย 
ออกเดินทางปฎิบัติภารกิจจาก ค่ายเสนาณรงค์ จ.สงขลา  ปลายทางค่ายสิรินธร จ.ปัตตานี ขณะเดินทางมาถึงบริเวณ หมู่ ๒  ต.วังใหญ่ อ.เทพา จ.สงขลา นักบินตรวจพบสิ่งผิดปกติ จึงได้นำเครื่องลงฉุกเฉินในพื้นที่สวนยางดังกล่าว ขั้นต้น นักบิน ช่างเครื่อง และผู้โดยสารปลอดภัย

หลังเกิดเหตุ กองทัพบกได้ส่ง เฮลิคอปเตอร์พยาบาล  นำผู้บาดเจ็บส่งไปรับการรักษาที่  รพ. เทพา และ รพ.สงขลานครินทร์  เบื้องต้นทุกนายปลอดภัย  ล่าสุดอยู่ระหว่างประเมินอาการและรับการรักษา สำหรับรายนามผู้บาดเจ็บมีดังนี้ 
1. พล.ท. เกรียงไกร ศรีรักษ์  แม่ทัพภาคที่ ๔ ( รพ. สงขลานครินทร์)
2. พ.ต. ประสาร ด้วงชาญ
3. ร.อ. วิสารท์ ชูสังกิจ
4.ร.ท. ณัท โสหากาค์
5. จ.ส.อ.ธีรพงษ์ คูหาแก้ว
6. จ.ส.อ. พิศณุ พันเต 
7. ส.ท. พีระวิทย์ โอสดเจริญ (รพ.สงขลานครินทร์)
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น กองทัพบกต้องขอขอบคุณในการช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ ต.วังใหญ่ ที่เข้าช่วยนำผู้บาดเจ็บออกมาจากอากาศยานทันทีที่ประสพเหตุ พระภิกษุ  ฝ่ายปกครองอำเภอเทพา และมูลนิธิเท่งเสี่ยเซี่งตึ้ง อ.หาดใหญ่  
ที่ได้นำกำลังและนำเครื่องตัดถ่างเข้าให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน   ขณะนี้ ทางหน่วยเฉพาะกิจสงขลา ได้เข้าควบคุมพื้นที่ที่อากาศยานลงฉุกเฉิน โดยคณะกรรมการนิรภัยการบินของกองทัพบกจะได้เข้าตรวจสอบสาเหตุและประเมินอากาศยานต่อไป

ทั้งนี้ พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ได้รับรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว  แสดงความห่วงใยพร้อมกำชับให้กองทัพภาคที่ ๔ ให้การดูแลเจ้าหน้าที่ผู้บาดเจ็บอย่างดีที่สุด การประสานแจ้งข้อมูลและอำนวยความสะดวกให้กับครอบครัวของกำลังพลที่บาดเจ็บ 
รวมทั้งการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ที่เฮลิคอปเตอร์ลงจอดฉุกเฉิน เพื่อเยียวยาและช่วยฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสมต่อไป
๑๕ ก.ค.๖๕

ฮ. แบล็คฮอว์ค ตกวันนี้ที่สงขลา! ...เมื่อเวลา 9.30 น ของวันนี้ เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ฮ.ท. 60 “แบล็คฮอว์ค” ของกองทัพบก ได้ประสบอุบัติเหตุตกในสวนยางพารา ที่บ้านวังใหญ่ อ.เทพา จ. สงขลา 
โดยสาเหตุมาจากเครื่องยนต์ขัดข้อง นักบินจึงต้องนำเครื่องลงจอดฉุกเฉิน ทำให้เครื่องกระเทกพื้น สภาพเครื่องเสียหายหนัก มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 7 คน รวมถึง พล.ท. เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 ด้วย ...
ฮ.ท. 60 แบล็คฮอว์ค เครื่องที่ตกนี้เป็นรุ่น แอล หมายเลข 27003 สำหรับใช้งานของกองทัพภาคที่ 4 เข้าประจำการเมื่อปี 2548 รวมใช้งานมาแล้ว 17 ปี ...
สำหรับ ฮ.แบล็คฮอว์ค ของกองทัพบกในปัจจุบันมีทั้งหมด 16 เครื่อง ซึ่งก่อนหน้านี้ตกไปแล้ว 1 เครื่อง ที่แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เมื่อ 19 ก.ค. 2554 ทำให้ปัจจุบันมี ฮ.ท. 60 เหลืออยู่ 14 เครื่อง และกองทัพบกได้สั่งซื้อเพิ่มอีก 4 เครื่อง โดยจะทยอยส่งมอบในปี 2566

การประกาศว่าบริษัท KRIN AVIATION AND TECHNOLOGY ไทย เป็นผู้ชนะการปรับปรุงติดตั้ง radar ตรวจสภาพอากาศจำนวน ๖ระบบ สำหรับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60L Black Hawk ที่ประจำการใน กองพันบินที่๙ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ศบบ.
เป็นที่เข้าใจว่าจะเป็นการติดตั้ง radar ตรวจสภาพอากาศให้กับ ฮ.ท.๖๐ UH-60L จำนวน ๖เครื่องแรกที่เข้าประจำการช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๘(2002-2005) คือ หมายเลข 6927 (01), 6929 (03), 7002 (04), 7003 (05), 7025 (06) และ 7026 (07) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการบินมากขึ้น
ให้มีรูปแบบเดียวกับ ฮ.ท.๖๐ UH-60L ๓เครื่องหลังหมายเลข 7220 (08), 7221 (09) และ 7222 (10) ที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) ที่ติดตั้ง radar ตรวจสภาพอากาศ ซึ่งสั่งจัดหาหลังจาก ฮ.ท.๖๐ UH-60L หมายเลข 6928 (02) เกิดอุบัติเหตุตกในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)

อย่างไรก็ตามอุบัติเหตุล่าสุดของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60L หมายเลข 7003 (05) ซึ่งเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗(2004) ที่นำเครื่องลงจอดฉุกเฉินในสวนยางบริเวณ หมู่๒ บ้านคลองยอ ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕ นั้น
แม้ว่าเครื่องจะอยู่ในสภาพที่พิจารณาได้ว่าต้องจำหน่าย(written-off) แต่นับว่าโชคดีที่นักบินช่างเครื่องและผู้โดยสารทั้ง ๗นายปลอดภัยโดยได้รับบาดเจ็บและได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้ว นี่เป็นการสูญเสีย ฮ.ท.๖๐ UH-60L เครื่องที่สองในรอบมากกว่า ๑๐ปี ซึ่งยังนับว่าเกิดเหตุตกน้อยมากๆ
อุบัติเหตุล่าสุดน่าจะส่งผลต่อจำนวนเครื่อง ฮท.๖๐ UH-60L/M/A ที่มีและกำลังจัดหาทุกรุ่นจะลดลงเป็น ๒๗เครื่อง กองทัพบกไทยยังมีแผนที่จะปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๔๕ H145 อีก ๒เครื่องให้เป็นเฮลิคอปเตอร์พยาบาล(AIR AMBULANCE) จากที่ทำไปแล้ว ๔เครื่องด้วย

แต่ทว่าการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากโครงการ F-35A ของกองทัพอากาศไทยแล้ว การจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ Sikorsky UH-60A Black Hawk (Refurbished) จำนวน ๙ เครื่อง วงเงิน ๓,๑๗๙,๙๙๙,๙๙๙.๑๖ บาท($93,309,913.18) ของกองทัพบกไทย
ล่าสุดในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕ คณะกรรมาธิการกลาโหมของรัฐสภาไทยได้มีมติให้ตัดโครงการนี้ออกจากงบประมาณกลาโหมปี พ.ศ.๒๕๖๖(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/uh-60a.html) ซึ่งจะทำให้จำนวน ฮ.ท.๖๐ UH-60A ยังจะคงอยู่ที่จำนวน ๓เครื่องต่อไป
เมื่อรวมกับอุบัติเหตุกลงจอดฉุกเฉินล่าสุด ฮ.ท.๖๐ UH-60L/M/A ที่มีขณะนี้จะเหลือทั้งหมดเพียง ๑๔เครื่องเท่านั้น แม้ว่าจะได้รับมอบ ฮ.ท.๖๐ UH-60M ใหม่เพิ่มเติมอีก ๔เครื่องที่สั่งจัดหาไปก็จะทำให้ ฮ.ท.๖๐ UH-60L/M/A มีจำนวนรวมที่ ๑๘เครื่อง และการจัดซื้อหลังจากนี้จะมีโอกาสน้อยลงครับ








Openining ceremony of exercise BALANCE/TEAK TORCH 2022 between Special Operation Forces and Security Forces of Royal Thai Air Force and US Air Force at Wing 23 Udorn Thani, Thailand on 19 July 2022.

พิธีเปิดการฝึกผสม BALANCE / TEAK TORCH 2022
นาวาอากาศเอก ณัฏฐวุธ ดวงสูงเนิน ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม Balance / Teak Torch 22 และ Capt.Michael Bourgelais, Leader for 21st Special Tactics Team เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึกผสม BALANCE / TEAK TORCH 22 
โดยมี เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศ และเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมพิธีฯ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ ลานอเนกประสงค์ กรมต่อสู้อากาศยาน รักษาพระองค์
การฝึกผสม BALANCE/TEAK TORCH 22 เป็นการฝึกร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยกําลังภาคพื้นในการป้องกันฐานบิน และการปฏิบัติการพิเศษ 
รวมถึงเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการบินเดินทางต่ำ การบินสนับสนุนทางอากาศ การส่งกําลังบํารุงทางอากาศ การฝึกปฏิบัติการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ 
อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ยุทธวิธีเรียนรู้เทคโนโลยี การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่ประจําการให้ตอบสนองต่อภารกิจ และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา 
โดยกําหนดจัดการฝึกฯระหว่างวันที่ ๑๖ ก.ค. - ๕ ส.ค. ๒๕๖๕ ณ ที่ตั้งดอนเมือง และ กองบิน ๒๓ จว.อุดรธานี








Weapon Research and Development Plant, Weapon Production Center (WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC), Ministry of Defence of Thailand has concluded testing prototype of domestic MOD2020 5.56mm assault rifles and carbines in end of July 2022.

จบการทดสอบ มาตรฐานทางทหาร กมย.กห ของปืนเล็กยาว MOD2020 สามารถสอบผ่านทุกด่านทดสอบ
ในระหว่างการทดสอบ ทีมผู้พัฒนา ได้เก็บรายละเอียดข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆทั้งหมดที่พบในระหว่างการทดสอบ เพื่อนำไปปรับปรุงในตัวปืนที่จะเข้าสู่สายการผลิตในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ในปลายเดือนสิงหานี้ สามารถเข้าชมตัวสมบูรน์แบบที่บูทของกลาโหมในงาน defense & security 2022 ครับ

WEAPON INDUSTRIES COMPANY LIMITED (WIC) with Defence Technology Institute (DTI), SAHAPIPATTHANAKIJ COMPANY LIMITED and Israeli firm Emtan Karmiel
conducted the foundation stone laying ceremony for the building weapons factory at Chai Badan District, Lopburi Province, Thailand on 17 July 2022.


EMTAN MZ-9 9x19mm submachine gun test by Pattani Special Task Force, Royal Thai Army

WMI Mi4 carbine trial in Thailand.

บริษัท อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ จำกัด จัดพิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์การสร้างโรงงานผลิตอาวุธ ณ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2565
พล.อ.พอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการ สทป. พร้อมด้วย พล.อ.ชูชาติ บัวขาว ผอ.สทป. คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สทป. ร่วมพิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์ในการสร้างโรงงานผลิตอาวุธของ บริษัท อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ จำกัด 
ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ บริษัท สหพิพัฒนกิจ จำกัด และ บริษัท เอ็มตั้น คาร์เมียล จำกัด
ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนการร่วมทุนในการจัดตั้งโรงงานสำหรับใช้ในการผลิต ประกอบ ซ่อมแซม วิจัยและพัฒนาอาวุธปืนสั้นและยาวทุกชนิดที่ใช้ในราชการ รวมทั้งบูรณาการเทคโนโลยีตามความต้องการของผู้ใช้งาน 
และเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พร้อมกับการสร้างงาน สร้างอาชีพ นำพารายได้เข้าสู่ประเทศชาติต่อไป

นอกจากความคืบหน้าโครงการทดสอบสายการผลิตปืนเล็กยาว ปลย.ขนาด 5.56x45mm NATO ระยะเวลา ๑ปี ใน พ.ศ.๒๕๖๕ โดยโรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ รง.ตวพ.ศอว.ศอพท. ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.
ร่วมกับบริษัท MILTECH RESEARCH & DEVELOPMENT CO., LTD. ไทยที่ล่าสุดต้นแบบปืนเล็กยาว MOD2020 ใหม่ได้เสร็จสิ้นการเข้ารับการทดสอบเพื่อการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมไทย โดยคณะกรรมการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม กมย.กห. 
ณ สนามฝึกยิงอาวุธปืน กองพันทหารราบที่๒ กรมทหารราบที่๑๙ กองพลทหารราบที่๙ กองทัพบกไทย ที่กาญจนบุรีช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งถ้าผ่านการรับรองจะมีการผลิตปืนในชุดทดสอบสายการผลิต ๒๕กระบอก ตามมาด้วยปืนในสายการผลิต lot แรก ๕๐กระบอกในกลางปี พ.ศ.๒๕๖๖

ความคืบหน้าที่สำคัญอีกประการของภาคอุตสากรรมอาวุธปืนในไทยคือการสร้างโรงงานผลิตอาวุธของบริษัท อุตสาหกรรมผลิตอาวุธ จำกัด ณ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕ โดยความร่วมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.DTI กับภาคเอกชน
คือบริษัท สหพิพัฒนกิจ จำกัด(SAHAPIPATTHANAKIJ COMPANY LIMITED) ไทย และบริษัท Emtan Karmiel อิสราเอล ในการผลิต ประกอบ ซ่อมแซม และวิจัยอาวุธปืนของ EMTAN อิสราเอลที่มีประจำการในกองทัพไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานรักษากฏหมายต่างๆของไทย
ที่รวมงานซ่อมสร้างปืนเล็กยาว M16A1 และ M16A2 ให้มีประสิทธิภาพและใช้งานต่อไปได้ดี การซ่อม ผลิต ประกอบ และวิจัยปืนในไทย โดย EMTAN อิสรเอลมีประสบการณ์มากว่า ๔๒ปี และส่งออกผลิตภัณฑ์ของตนในหลายที่รวมถึงสหรัฐฯ ในอนาคตโรงงานในไทยจะมีปืนสำหรับพลเรือนด้วยครับ




GROTON, Conn. (22July22) Naval Submarine School New London had the distinct pleasure of hosting the International Diesel course for multiple service members from a variety of different countries to include: 
CDR Pongsakorn “GUN” Sommai (Thailand),  LT Leonardo Flechas (Columbia), LT Jose Illesecas (Ecuador), LT Hanbyeol Kim (S. Korea), Chief Sungmin Kim (S. Korea) and Chief Leo Soleman (Indonesia) 
it was a pleasure to have them onboard and to host them as they expanded their knowledge of the submarine forces.
Welcome Aboard Shipmates!

Our strong bilateral relationship with the กองทัพเรือ Royal Thai Navy was on full display today when I met their senior leaders. 
I left incredibly impressed and appreciative of their dedication affirming international norms & customs while ensuring a Free and Open Indo-Pacific. Capable Adaptive Partners

การอบรม International Diesel Submarine Training Program(IDSTP) ที่ Naval Submarine School New London กองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕ มีเพียงไทยที่ยังไม่มีเรือดำน้ำประจำการ นอกนั้นทั้งโคลอมเบีย, เอกวาดอร์, สาธารณรัฐเกาหลี และอินโดนีเซีย มีหมดแล้ว
อย่างไรก็ตามถ้าโครงการเรือดำน้ำ S26T ต้องถูกยกเลิกไป ซึ่งจะคาดว่าจะรู้ผลในวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ที่ CSOC จีนจะให้คำตอบเรื่องปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า MTU 369 เยอรมนีที่ไม่ส่งออกให้จีนว่ากองทัพเรือไทยจะไม่ยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนเสนอมาแทนหรือไม่
ซึ่งหลังจากยุติโครงการ S26T จีน กองทัพเรือไทยไม่น่าจะมีหนทางที่จะจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ของตนได้อีกแล้ว เพราะทั้งภาคประชาชนและฝ่ายการเมืองไม่ใครจะยอมอีกแน่นอน เรือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือไทยก็จะกลายเป็นยุทโธปกรณ์ที่ "ดีที่จะมี" ไม่ใช่ "จำเป็นต้องมี" อยู่ดีตลอดไป

ช่วงปี 2022 ที่ผ่านมานี้ไทยและสหรัฐฯได้มีการติดต่อด้านความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงมากขึ้นตามนโยบาย Free and Open Indo-Pacific เห็นได้จากการเดินทางเยือนสหรัฐฯของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนหน้าในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕
ตามมาด้วยการเดินทางเยือนไทยของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ Lloyd Austin ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ และล่าสุดการเยือนไทยและเข้าพบผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ของรัฐมนตรีทบวงทหารเรือสหรัฐฯ Carlos Del Toro ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕
ถ้ารวมกับการเดินทางเยือนไทยของรัฐมนตรีการต่างประเทศสหรัฐฯ Antony Blinken ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕ เช่นกันจะเห็นว่าสหรัฐฯมีท่าทีสนับสนุนด้านความมั่นคงของไทย แม้ว่ากองทัพเรือไทยจะมีนโยบายยอมตัดงบประมาณปี ๒๕๖๖ ของตนเพื่อเน้นการซ่อมบำรุงเรือและอากาศยานที่มีครับ