วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กองทัพเรือไทยฝึกสถานีควบคุมความเสียหายเรือดำน้ำหลักสูตร International Diesel Submarine กองทัพเรือสหรัฐฯ














GROTON, Conn (05AUG22) Naval Submarine School had the opportunity to afford the attendees from the International Diesel course the opportunity to experience a real-life submarine casualty in a controlled and safe environment at the Damage Control wet trainer. Our staff was able to show and guide the attendees on what to do in the event of an emergency situation. Once the course has been completed the students will have a better understanding on how to combat a variety of flooding scenarios.  
BZ Shipmates!!!!



9 August 2022, China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd. (CSOC) due to answer Thailand Royal Thai Navy (RTN) on Germany MTU 396 engine issue for its S26T Submarine
However, CSOC postpone to answer RTN for another month on 15 September 2022 and to send its CHD 620 offer engine to RTN Naval Dockyard Department for certification test.
If passed RTN may be accept CHD 620 for its S26T, the process to revised Government to Government (G to G) agreement will take 1st S26T delivery delay from 2024 to 2025.

โรงเรียนเรือดำน้ำ(NSS: Naval Submarine School) ฐานทัพเรือดำน้ำ New London(NAVSUBASE NLON: Naval Submarine Base New London) กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ใน Groton, New London มลรัฐ Connecticut
ได้เผยแพร่ภาพกำลังพลจากกองทัพเรือมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกหลักสูตรเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้านานาชาติ(International Diesel Submarine course) เข้ารับการฝึกสถานีควบคุมความเสียหายเรือดำน้ำ-น้ำเข้าเรือ(Damage Control wet) เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022)

นายทหารที่เข้าร่วมการฝึกหลักสูตรเรือดำน้ำดีเซลนานาชาติรวมถึงจากกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) จำนวน ๑นายคือ นาวาโท พงศกร สมหมาย(Commander Pongsakorn “GUN” Sommai) ซึ่งกองทัพเรือไทยเป็นชาติเดียวที่เข้าร่วมการฝึกที่ยังไม่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการในตอนนี้
ขณะที่อีกสี่ชาติที่เข้าร่วมการฝึกคือโคลอมเบีย จำนวน ๑นาย, เอกวาดอร์ จำนวน ๑นาย, สาธารณรัฐเกาหลี จำนวน ๒นาย และอินโดนีเซีย จำนวน ๑นาย กองทัพเรือประเทศเหล่านี้ต่างมีเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าประจำการอยู่แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/blog-post.html)

การฝึกการควบคุมความเสียหายของเรือมาความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับกำลังพลพรรคกลินของเรือรบที่มีโอกาสจะถูกโจมตีด้วยอาวุธจากฝ่ายตรงข้ามจนตัวเรือได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือดำน้ำซึ่งปฏิบัติการใต้น้ำยิ่งมีอันตรายหากตัวเรือได้รับความเสียหายมากกว่าเรือผิวน้ำอย่างมาก
เรือดำน้ำที่มีน้ำเข้าเรือมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียสมดุลน้ำหนักตัวเรือและความทนทานของตัวถังแรงดัน(pressure hull) นำไปสู่การสูญเสียการควบคุมความลึกและจมได้ การควบคุมความเสียหายนอกจากการอุด ปะ ค้ำจุน ประสาน จึงมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมจากที่ใช้ปฏิบัติบนเรือผิวน้ำ

กองทัพเรือไทยกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำ ที่ลงนามจัดหาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลกับกับ China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมต่อเรือสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
อย่างไรก็ตามหลังการวางกระดูกงูเรือในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) จนถึงการระบาดของ Covid-19 การสร้างเรือขณะนี้ได้หยุดลงเนื่องจากปัญหาที่เยอรมนีไม่อนุญาตการส่งมอบเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า MTU 369 แก่จีน(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/s26t-mtu.html)

หลังจากที่ฝ่ายจีนขอเลื่อนการเข้าหารือเพื่อแก้ไขปัญหากับกองทัพเรือไทยหลายครั้ง เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ตัวแทนของ CSOC ได้เดินทางมาหารือกับกองทัพเรือไทยที่ประเทศไทย โดยเสนอเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 ทดแทนเครื่องยนต์ MTU 396 เยอรมนี
กองทัพเรือไทยได้กำหนดให้ CSOC จีนจัดทำข้อเสนอแนวทาง ระยะเวลา และแผนงานการดำเนินการแก้ไขปัญหา ตลอดจนกำหนดระยะเวลาในการส่งมอบเรือดำน้ำให้กองทัพเรือไทยพิจารณาภายใน ๖๐วันคือวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/blog-post.html)

แต่ทว่าล่าสุดในในเวลาที่เขียนบทความนี้(๙ สิงหาคม ๒๕๖๕) CSOC จีนได้ขอเลื่อนการให้คำตอบแก่กองทัพเรือไทยไปอีกหนึ่งเดือนเป็นวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งจีนยังคงยืนยันที่จะเสนอ ย.CHD 620 ของตนเพื่อแทนที่ ย.MTU 396 โดยมีการมอบข้อมูลรายละเอียดคุณลักษณะให้แก่ไทย
โดยจีนจะส่งเครื่องยนต์ CHD 620 ต้นแบบมาให้ กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือไทยทดสอบรับรองว่าเป็นไปตามกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) ว่าต้องเป็นเครื่องยนต์ MTU 12V 396 SE84 เยอรมนี หรือเป็นเครื่องยนต์ที่เทียบเท่าหรือดีกว่าสำหรับใช้ในเรือดำน้ำเท่านั้นหรือไม่
(การแก้ไขสัญญาแบบ G to G แม้จะเปิดช่องทางให้ทำได้ แต่อาจจะไม่ทันภายในวาระของผู้บัญชาการทหารเรือท่านปัจจุบันที่จะเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๖๕ นี้ อาจจะรวมถึงเลื่อนออกไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ของไทยในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ซึ่งอาจจะเป็นรัฐบาลชุดใหม่ด้วย)

ถ้าเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีนเสนอมามีคุณลักษณะตรงตามที่กำหนด กองทัพเรือไทยอาจจะเลือกยอมรับเพื่อติดตั้งในเรือดำน้ำ S26T ของตนทดแทน MTU 396 ที่เยอรมนียืนยันปฏิเสธการส่งออกให้จีน แต่ถ้าไม่กองทัพเรือไทยจะพิจารณายกเลิกโครงการกับจีน ซึ่งจะต้องมีการเจรจากันใหม่ต่อไป
แม้จะเลือกยอมรับ ย.CHD 620 ก็ตามแต่การส่งมอบเรือดำน้ำ S26T จะถูกเลื่อนออกไปจากปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เป็น พ.ศ.๒๕๖๘(2025) กองทัพเรือไทยยังคงยืนยันความต้องการเรือดำน้ำของตนแต่ก็ยืนกรานในข้อตกลงที่ทำไว้กับจีน ไม่เช่นนั้นนี่จะกลายเป็นโครงการจัดหาเรือดำน้ำครั้งสุดท้ายของไทยครับ