Ukraine conflict: Kyiv restates F-16 interest as US confirms supply of anti-radiation missiles
A US Air Force F-16CM fires an AGM-88 HARM during trials.
Kyiv has restated its interest in acquiring the F-16, having recently received an undisclosed type and number of air-launched anti-radiation missiles for the suppression or destruction of enemy air defences. (US Air Force)
The Ukrainian Air Force Su-27, MiG-29, Su-24 and Su-25 were not believed to be compatible with Western anti-radiation weapon types. (Ukrainian Ministry of Defence)
ยูเครนตอกย้ำความสนใจของตนในการรับมอบเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon เพื่อเสริมสร้างกำลังรบทางอากาศที่กำลังจะหมดลงไปของตน(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/gripen-mig-29.html)
ในเวลาเดียวกันกับที่สหรัฐฯได้ยืนยันการส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่น radar แบบ Raytheon AGM-88 HARM(High-speed Anti-Radiation Missile) แก่ยูเครน
กระทรวงกลาโหมยูเครนได้เผยแพร่ภาพวาดสามมิติบนบัญชี twitter ทางการของตนของเครื่องบินขับไล่ F-16 ในลวดลายของกองทัพอากาศยูเครน(Ukrainian Air Force)
tweet ได้เผยแพร่ตรงกับวันกองทัพอากาศยูเครนเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2022 "Fighting Falcons ยูเครนโจมตีกลับ"("Ukrainian Fighting Falcons strike back") Post ดังกล่าวระบุ
การเผยแพร่ภาพวาดเครื่องบินขับไล่ F-16 ของยูเครนนี้ สอดคล้องกับชุดภาพที่แผยแพร่จากแหล่งข่าวต่างๆของรัสเซียที่อ้างว่าเป็นชิ้นส่วนจากอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-88B/C HARM
หรืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่น radar แบบ Northrop Grumman AGM-88E AARGM(Advanced Anti-Radiation Guided Missile) ที่ถูกยิงมายังที่ตั้งของรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2021/08/agm-88g-aargm-er.html)
การผสมผสามของภาพวาดสามมิติ F-16 ยูเครนและชิ้นส่วนที่อ้างว่าเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-88B/C HARM หรืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-88E AARMGM
ทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า ยูเครนได้รับมอบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่น radar จากสหรัฐฯแล้ว และถูกใช้งานกับเครื่องบินรบของชาติตะวันตก
การสันนิษฐานตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) มีเครื่องบินขับไล่ F-16CM Block 50 ประจำการอยู่แล้ว
ในภารกิจการกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก(SEAD: Suppression of Enemy Air Defences) และการทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศข้าศึก(DEAD: Destruction of Enemy Air Defences)
และเครื่องบินขับไล่ MiG-29(NATO กำหนดรหัส 'Fulcrum'), เครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-27(NATO กำหนดรหัส 'Flanker'), เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด Su-24(NATO กำหนดรหัส 'Fencer'), เครื่องบินโจมตี Su-25 (NATO กำหนดรหัส 'Frogfoot')
และเครื่องบินฝึกไอพ่น Aero L-39 Albatros ที่ทำการบินโดยกองทัพอากาศยูเครนนั้น เป็นที่เชื่อว่าเครื่องบินเหล่านี้ไม่มีความเข้ากันได้ในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นต่อต้านการแพร่คลื่น radar ของตะวันตกครับ