วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เครื่องบินขับไล่ F-35A ฝูงบิน302 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น




Mini Review: Hobby Master 1/72 Air Power series Lockheed Martin F-35A Lightning II 69-8701, JASDF, March 2020 (HA4423)
F-35A of Japan Air Self-Defense Force (JASDF) based at Misawa Air Force Base operated by the 301st Tactical Fighter Squadron and 302nd Tactical Fighter Squadron. (My Own Photos)

กองกำลังป้องกันป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self-Defense Force) เป็นลูกค้าส่งออกในรูปแบบ Foreign Military Sales (FMS) รายแรกในกลุ่มชาติเอเชีย-แปซิฟิกสำหรับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II สหรัฐฯ
เดิมญี่ปุ่นเคยมองที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-22 Raptor สหรัฐฯ ในการทดแทนเครื่องบินขับไล่ McDonnell Douglas/Mitsubishi F-4EJ และเครื่องบินขับไล่  Mitsubishi F-15J ในอนาคต(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/ai-uav.html)
อย่างไรก็ตามสหรัฐฯไม่บรรลุผลที่จะส่งออก F-22 ให้ต่างประเทศเนื่องจากมีระดับวิทยาการที่เป็นความลับสูง ความต้องการเร่งด่วนในการทดแทนเครื่องบินขับไล่  F-4EJ ที่มีอายุการใช้งานมานานจึงนำไปสู่โครงการจัดหา F-35A ที่เข้าประจำการแล้วในสองฝูงบิน

คือฝูงบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่302(302nd Tactical Fighter Squadron) และฝูงบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่301(301st Tactical Fighter Squadron) กองบินที่3(3rd Air Wing) ซึ่งมีที่ตั้ง ณ ฐานทัพอากาศ Misawa Air Base จังหวัด Aomori ตามด้วยการปลดประจำการ F-4EJ ในปี 2020
ญี่ปุ่นได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 105เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ F-35B STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) จำนวน 42เครื่องเพื่อใช้ปฏิบัติการบนเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้น Izumo(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/izumo-ddh-184-js-kaga.html)
นอกจากสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 ในประเทศโดยบริษัท Mitsubishi Heavy Industries(MHI) ปัจจุบันญี่ปุ่นยังมีโครงการเครื่องบินขับไล่ยุคอนาคต F-X ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่๖(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/f-x-fcas.html)

ผู้เขียนมีความชื่นชอบและต้องการจะหาแบบจำลองเครื่องบินขับไล่ F-35A และเครื่องบินขับไล่ F-35B มาสะสมมานาน แต่หลังจากที่ซื้อ Hobby Master F-14D VF-31 Tomcatters(HA5202) ไปก็ยังไม่มีโอกาสอำนวย(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/12-f-14-tomcat.html)
Hobby Master F-35A 69-8701, JASDF, March 2020 (HA4423) แบบจำลองขนาด 1/72 ของ Hobby Master ฮ่องกงจึงเป็น Diecast Model ตัวที่สองที่ผู้เขียนซื้อในรอบสี่ปี โดยได้จากร้าน TOY STUDIO ใน MBK(https://www.toystudiobkk.com/) ลด 5% เมื่อ 3 สิงหาคม 2022
ซึ่งตัวนี้มีความพิเศษและเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นการจำลองเครื่องบินขับไล่ F-35A หมายเลข 69-8707 ฝูงบิน302 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝูงแรกที่นำ F-35 เข้าประจำการ โดยทำสีเดินลายส่วน Radiation-Absorbent Material(RAM) เต็มทั้งเครื่อง

ตัวแบบจำลองทำจากโลหะแข็งแรงมาก มีแพนหางแนวนอนที่ขยับได้เล็กน้อย มีรายละเอียดสูงที่เดียวนอกจากการเดินลาย RAM ยังมีสายอากาศ รายละเอียดในห้องเก็บอาวุธ ห้องเก็บฐานล้อ, AN/AAQ-40 E/O Targeting System(EOTS) ท่อไอเสียเครื่องยนต์ และการทำเครื่องหมายต่างๆ
อย่างไรก็ตามจุดด้อยสำคัญของ Diecast Model ตัวนี้คือหนึ่งไม่มีคู่มือการแนะนำการประกอบแบบเต็มมาให้ ซึ่งไม่แน่ใจว่าตกหล่นหรือไม่มีตั้งแต่แรก สองคือส่วน parts เสริมและอาวุธที่ทำด้วย Plastic ที่ให้มาบางตัวมีความบกพร่อง(defect) อยู่เช่นส่วนฝาปิดที่ความห่างช่องรูเสียบไม่ตรงพอดี 
รวมถึงชุดอาวุธคืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9X อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120C ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-31 JDAM อย่างละสองนัด และระเบิดนำวิถี laser GBU-12 สี่นัดที่ติดเข้ากับปีกได้ยากมาก อย่าง AIM-9X ตัวหนึ่งคับเกินอีกตัวหนึ่งมีเงี่ยงเกินทำอย่างไรก็ใส่ไม่ได้

พอผู้เขียนซื้อเสร็จกลับมาเมื่อบ่ายวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) คณะกรรมาธิการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖(2023) รัฐสภาไทย ก็มีมติรับคำขออุทธรณ์จากกองทัพอากาศไทย โดยลงมติเห็นชอบ ๔๕ ไม่เห็นชอบ ๒๒ งดออกเสียง๑ ให้จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A ระยะที่๑ จำนวน ๒เครื่อง วงเงิน ๓๖๙,๑๓๔,๕๐๐บาท($10.2 million) พอดี 
ซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) มีกำหนดจะส่งทีมมาประเมินความพร้อมที่ไทยในราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ๒๕๖๕ นี้ และถ้าสภา Congress สหรัฐฯไม่อนุมัติการขายให้ไทย กองทัพอากาศไทยจะส่งคืนงบประมาณกลับให้ภาครัฐ
ภาพที่ถ่ายมาจึงเป็นการประกอบเท่าที่จะออกมาให้ดูดีที่สุดคือเป็นเครื่องบินขับไล่ F-35A JASDF ที่ติด AIM-120C สองนัดและ GBU-31 JDAM สองนัดในห้องเก็บอาวุธภายในลำตัว และติด GBU-12 สองนัดที่ใต้ปี ซึ่งยกเว้นระเบิดนำวิถี JDAM อาวุธทั้งหมดนี้มีใช้ในกองทัพอากาศไทยอยู่แล้วครับ