วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กองทัพเรือไทยฝึกสถานีดับเพลิงหลักสูตรเรือดำน้ำ Diesel นานาชาติกองทัพเรือสหรัฐฯ










GROTON, Conn. (09AUG22) Congratulations to the international diesel course group for completing the firefighting trainer course. 
Firefighting trainers helps stimulate fighting a fire in a controlled and safe environment with certified instructors. 
During this course they learn how to combat a alpha type fire which consists of organic combustible materials, Class bravo fires which consists of combustible liquids and class Charlie which consists of electrical fires.
BZ Students!!!

นายทหารจากกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ร่วมกับทหารเรือจากกองทัพเรือมิตรประเทศคือโคลอมเบีย จำนวน ๑นาย, เอกวาดอร์ จำนวน ๑นาย, สาธารณรัฐเกาหลี จำนวน ๒นาย และอินโดนีเซีย จำนวน ๑นาย
ได้เสร็จสิ้นการฝึกการควบคุมความเสียหายเรือดำน้ำ สถานีดับเพลิง(firefighting) ในหลักสูตรเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้านานาชาติ(International Diesel Submarine course) เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕
ณ โรงเรียนเรือดำน้ำ(NSS: Naval Submarine School) ฐานทัพเรือดำน้ำ New London(NAVSUBASE NLON: Naval Submarine Base New London) กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) ใน Groton, New London มลรัฐ Connecticut

การควบคุมความเสียหายจากเหตุไฟไหม้เรือมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเรือรบโดยเฉพาะเรือดำน้ำ เช่นเดียวกับการควบคุมความเสียหายจากเหตุน้ำรั่วเข้าเรือ ที่มีการฝึกแล้วไปเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/international-diesel-submarine.html)
ประเภทการเกิดเพลิงไหม้บนเรือสามารถจำแนกได้เป็น Class Alpha(A) ซึ่งเกิดจากวัสดุอินทรีย์ที่ติดไฟได้, Class Bravo(B) ซึ่งเกิดจากของเหลวที่ติดไฟได้ และ Class Charlie ซึ่งเป็นการเกิดเพลิงไหม้จากสาเหตุทางไฟฟ้า โดยการเกิดเพลิงไหม้บนเรือดำน้ำจะมีความอันตรายกว่าเรือผิวน้ำอย่างมาก
เนื่องจากเรือดำน้ำเป็นเรือที่มีพื้นที่จำกัดและเต็มไปด้วยสิ่งอุปกรณ์หรือวัสดุที่เป็นอุปสรรคในการดับเพลิงเช่นเชื้อเพลิงหรือ Battery ตามคุณลักษณะการออกแบบเรือ โดยการเกิดไฟไหม้ในเรือดำน้ำจะทำให้อากาศที่มีอยู่จำกัดหมดลงจากการเผาไหม้และสร้างความเสียหายแก่ตัวเรือด้วย

กองทัพเรือห้าชาติที่เข้ารวมการฝึกหลักสูตรเรือดำน้ำดีเซลนานาชาติของกองทัพเรือสหรัฐฯ มีสี่ชาติที่มีเรือดำน้ำประจำการอยู่แล้วคือกองทัพเรือโคลอมเบีย(Colombian Navy) มีเรือดำน้ำชั้น Type 209/1200 จำนวน ๒ลำ และเรือดำน้ำชั้น Type 206A จำนวน ๒ลำ,
กองทัพเรือเอกวาดอร์(Ecuadorian Navy มีเรือดำน้ำชั้น Type 209/1300 จำนวน ๒ลำ, กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy) มีเรือดำน้ำชั้น Cakra(Type 209/1300) จำนวน ๑ลำ และเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 209/1400) จำนวน ๓ลำ
และกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) มีเรือดำน้ำชั้น Chang Bogo(KSS-I, Type 209/1200) จำนวน ๙ลำ, เรือดำน้ำชั้น Sohn Won-yil(KSS-II, Type 214) จำนวน ๙ลำ และเรือดำน้ำชั้น Dosan Ahn Changho(KSS-III) จำนวน ๑ลำ

มีข้อสังเกตว่าเรือดำน้ำที่ประจำการในกองทัพเรือสี่ชาติเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเรือดำน้ำที่มีที่มาจากเยอรมนีโดยหลักคือเรือดำน้ำชั้น Type 209 ซึ่งหนึ่งชาติคือสาธารณรัฐเกาหลีออกแบบและสร้างเรือดำน้ำได้ในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2022/02/type-214.html
อีกชาติคืออินโดนีเซียประกอบเรือดำน้ำโดยการถ่ายทอดวิทยาการจากต่างประเทศได้(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/scorpene-aip.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/02/scorpene.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/01/tkms-type-214-type-209.html
ขณะที่กองทัพเรือไทยเป็นเพียงชาติเดียวที่เข้าร่วมฝึกที่ยังไม่มีเรือดำน้ำประจำการในตอนนี้ โดยกำลังสั่งจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำจากจีน ที่มีปัญหาล่าช้าจากการพิจารณาเพื่อเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 แทน MTU 396 หรือยกเลิกโครงการครับ