Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN)
demonstrated MARCUS-B (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned
System-Type B) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial
Vehicle) during the opening ceremony for RTN's Naval Exercise Fiscal Year 2022.
Royal Thai Naval Air Division (RTNAD) also displayed new Boeing Insitu RQ-21
Blackjack Unmanned Aerial System (UAS), and MARCUS-A (Maritime Aerial
Reconnaissance Craft Unmanned System-Type A).
พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ
ประจำปี ๒๕๖๕ ซึ่งในส่วนของ สวพ.ทร. ได้นำผลงานวิจัย จำนวน ๑๒
ผลงานเข้าร่วมจัดแสดง (Static Display)
โดยมี พล.ร.ต.สุชาติ นาคมอญ ผอ.สวพ.ทร. ให้การต้อนรับในวันที่ ๓ มี.ค.๖๕
ณ บริเวณ ร.ล.อ่างทอง ทลท.กทส.ฐท.สส.
MARCUS- B เตรียมเปิดสายการผลิตในปีนี้...
วันที่ 3 มีนาคม 2565 พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565 บนเรือหลวงอ่างทอง
โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือได้ชมการสาธิตการปฏิบัติการทางทหารและเยี่ยมชมผลงานการวิจัยของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ซึ่งนำ 12 ผลงานมาตั้งแสดง
พร้อมชมการสาธิตการบินของอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล แบบ MARCUS-B ผลงานล่าสุดของ สวพ.ทร. โดยมี น.อ.ภาณุพงศ ขุมสิน นายทหารโครงการ เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งขณะนี้ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว เตรียมที่จะเปิดสายการผลิตในปลายปีนี้ ...
คุณลักษณะของอากาศยานไร้คนขับ...ข้อมูล MARCUS ตัวแรก ( MARCUS ประกอบด้วย ความกว้างปีก 3.4 เมตร น้ำหนักขึ้นบิน 24 กิโลกรัม
ความเร็ว ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาปฏิบัติการบนอากาศ ประมาณ 1 ชั่วโมง ระยะควบคุมไกลสุด 15 กิโลเมตร สามารถบินต่อระยะหรือ Handover การควบคุมได้ และกำลังพัฒนาในรุ่นต่อไปให้สามารถบินได้ไกลสุด 40 กิโลเมตร) ...
ข้อมูล MARCUS-B ความกว้างปีก 4.3 เมตร น้ำหนักขึ้นบินปกติ 45 กิโลกรัม (สูงสุด 55 กิโลกรัม) ความเร็วเดินทางปกติประมาณ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาปฏิบัติการบนอากาศ 2-2.5 ชั่วโมง ระยะควบคุมไกลสุด 40 กิโลเมตร สามารถบินต่อระยะหรือ handover การควบคุมได้ ...
MARCUS-B เหมาะสมต่อการขึ้นลงจากฝั่งหรือเรือใหญ่ เช่น ร.ล.จักรีนฤเบศรและ ร.ล.อ่างทอง เป็นต้น …
เปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565 ...วันที่ 3 มีนาคม 2565 พลเรือเอก
สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ
ประจำปี 2565 บนเรือหลวงอ่างทอง โอกาสนี้
ผู้บัญชาการทหารเรือได้ชมการสาธิตการปฏิบัติการทางทหาร
ประกอบด้วย การปฏิบัติการของกองกำลังทางเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกล
(หมวดเรือปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก) ขั้นควบคุมทะเลก่อนการยกพล
การยิงตอร์ปิโด MK46 จากเรือด้วย ลูกตอร์ปิโดฝึก REXTORP
การปฏิบัติการพิเศษ (การแทรกซึมเข้าสู่ที่หมาย)
การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกและการปฏิบัติการของ
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในการโจมตีเรือผิวน้ำ
พร้อมทั้งชมยุทโธปกรณ์ต่างๆที่มีใช้ในกองทัพเรือด้วย…Photo Sompong
Nondhasa
อากาศยานไร้คนขับแบบ RQ-21 Blackjack ใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือ
อากาศยานไร้คนขับสำหรับตรวจการณ์ชี้เป้า OBITER 3B
อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่ 2 MARCUS B สาธิตการบิน
ระบบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS A
พิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๕
ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/blog-post_04.html) พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ
ได้เยี่ยมชมการจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของหน่วยงานในสังกัดกองทัพเรือไทย
โดยในส่วน สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.
ผลงานวิจัยพัฒนาสำคัญหนึ่งที่นำมาจัดแสดงคือ
อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๒ MARCUS-B(Maritime Aerial
Reconnaissance Craft Unmanned System-Type B)
ซึ่งเป็นอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing
Unmanned Aerial Vehicle) ที่มีสาธิตให้ ผบ.ทร.ชม
ที่ก่อนหน้าก็ได้ทดสอบการปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร
ไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/marcus-b.html)
MARCUS-B เป็นระบบรุ่นที่สองที่พัฒนาต่อจากรุ่นแรก
อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๑ MARCUS-A(Maritime Aerial
Reconnaissance Craft Unmanned System-Type A) ที่ขนาดเล็กกว่า(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/marcus.html)
โดย สวพ.ทร. พัฒนาร่วมกับภาคเอกชนไทยคือ บริษัท SDT Composites
ผู้ออกแบบและผลิตโครงสร้างอากาศ และบริษัท Pims Technologies
ผู้พัฒนาระบบควบคุมการบินและการสื่อสาร
ซึ่งเป็นการออกแบบพัฒนาและสร้างภายในประเทศไทยด้วยตนเองทั้งหมด
ตามที่กำหนดแบบเป็นอากาศยานลาดตระเวน การพัฒนา MARCUS-B VTOL UAV
จะมุ่งเน้นไปที่การใช้เป็นระบบลาดตระเวนทางอากาศบนเรือผิวน้ำอย่าง
ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรืออู่ยกพลขึ้นบก เรือหลวงอ่างทอง ซึ่งการบรรทุก payload
นอกจากอุปกรณ์ตรวจจับ เช่นอาวุธยังเป็นเรื่องในอนาคต
ในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๕ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ
กบร.กร. ก็ได้จัดแสดงระบบอากาศยานไร้คนขับของตน เช่น
อากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บร.ตช.๑ Aeronautics Orbiter 3B
ที่มีจำนวน ๖เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/uav.html)
และยังเป็นครั้งแรกที่เปิดตัวอากาศยานไร้คนขับ Boeing Insitu RQ-21 Blackjack
ซึ่งสหรัฐฯได้มอบให้กองทัพเรือไทยในฐานะส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือทางทหารแก่มิตรประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/rq-21-blackjack.html) โดยถูกส่งมอบราวปลายปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
แม้จะยังไม่มีการทำเครื่องหมายและหมายเลขเครื่อง เป็นที่เข้าใจว่า RQ-21
Blackjack UAS จะเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ(104 Air
Squadron, Wing 1, RTNAD) ซึ่งเป็นฝูงบิน UAV ร่วมกับ Orbiter 3B UAS
ที่เป็นระบบที่ส่งขึ้นบินด้วยรางดีดเช่นเดียวกันครับ