DSA 2024: Malaysia’s ATR 72 MPA Program Update
A scale model of a ATR 72 MPA in Royal Malaysian Air Force markings at Leonardo's booth at the 2024 Defence Services Asia exhibition (Albert Lee)
A scale model of the ATR 72 MPA at the Royal Malaysian Air Force’s DSA 2024 booth with RMAF markings and a P-72M designation (Albert Lee)
บริษัท Leonardo อิตาลีได้แบ่งปันข้อมูลกับ Naval News เกี่ยวกับความคืบหน้าปัจจุบันของการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ATR 72 MPA(Maritime Patrol Aircraft) จำนวน 2เครื่อง
ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ระหว่างงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defence Services Asia (DSA) 2024 ในมหานคร Kuala Lumpur มาเลเซีย วันที่ 6-9 พฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา
ตามข้อมูลจากตัวแทนของ Leonardo ณ ส่วนจัดแสดงของบริษัท ปัจจุบัน Leonardo กำลังปรับปรุงฐานทัพอากาศ Kuantan ด้วยการสนับสนุนภาคพื้นดินและอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการปฏิบัติการของเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลจากฐานบินที่ตั้งในอนาคตของเครื่อง
ฐานทัพอากาศ Kuantan ตั้งอยู่ในชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายู การปฏิบัติการเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลจากที่นี่จะทำให้กองทัพมาเลเซียสามารถปฏิบัติการครอบคลุมทะเลจีนใต้ได้
ตัวแทนบริษัท Leonardo กล่าวกับ Naval News งานของโครงการมีกำหนดสำหรับการเริ่มต้นส่งมอบในปี 2026 ขณะที่พวกเขาปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่าเมื่อไรที่กำลังพลกองทัพอากาศมาเลเซียจะเริ่มการฝึกเพื่อใช้งานเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ATR 72 MPA
เสริมว่าความร่วมเหมือนกันต่างๆกับเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-72 ของกองทัพอากาศอิตาลี(Italian Air Force, AMI: Aeronautica Militaire Italiana) สามารถทำให้กำลังพลของมาเซียในอนาคตจะเพิ่มประสบการณ์การปฏิบัติการระหว่างการฝึกโดยการบินภารกิจการปฏิบัติการกับกองทัพอากาศอิตาลี ถ้าตัวเลือกนี้ได้รับการเลือก
ระหว่างานแสดง DSA 2024 Leonardo อิตาลีและรัฐบาลมาเลเซียได้ลงนามข้อตกลงสำหรับโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมมูลค่าวงเงิน 855 million Malaysian Ringgit(ประมาณ $180.4 million) ในการสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ATR 72 MPA
โครงการจะมอบโอกาสสำหรับบริษัทต่างๆของมาเลเซียที่จะมีส่วนร่วมกับห่วงโซ่อุปทานและการสนับสนุนตลอดอายุการใช้งานของ ATR 72 MPA เช่นเดียวกับการเปิดรับโอกาสใหม่สำหรับมหาวิทยาลัยต่างๆของมาเลเซียที่จะร่วมมือกับ Leonardo อิตาลีในการวิจัยและพัฒนาด้านการบินด้วย
ขณะที่กองทัพอากาศมาเลเซียยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการของการกำหนดแบบชื่อทางการของ ATR 72 MPA ในประจำการของมาเลเซีย poster และแบบจำลองย่อขนาดที่แสดงในงานได้อ้างอิงว่าเป็นเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-72M
กองทัพอากาศมาเลเซียและ Leonardo อิตาลีได้ประกาศก่อนหน้าว่าจะมีการจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ATR 72 MPA จำนวน 2เครื่อง ณ งานแสดงนิทรรศการทางเรือและการบินนานาชาติ Langkawi International Maritime and Aerospace(LIMA) 2023 ในพฤษภาคม 2023
โดยสัญญา "ระยะที่1" สำหรับเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ATR 72 MPA จำนวน 2เครื่อง, สถานีสนับสนุนภาคพื้นดิน และอุปกรณ์อื่นๆที่มูลค่าวงเงิน 789.6 million Malaysian Ringgit($166.6 million)
รูปแบบเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ATR 72 MPA ที่ได้รับเลือกโดยกองทัพอากาศมาเลเซียมีพื้นฐานจากโครงการอากาศยานของเครื่องบินลำเลียง ATR 72-600(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/atr-72-mpa-2.html)
ระบบภารกิจ ATOS(Airborne Tactical Observation and Surveillance) ของ Leonardo จะถูกใช้เพื่อจะผสมผสานข้อมูลที่รวบรวมได้จากระบบตรวจจับต่างๆของเครื่องบิน ซึ่งรวมถึง AESA(Active Electronically Scanned Array Radar) แบบ Leonardo Seaspray 7300E,
แท่นติดกล้องตรวจจับ electro-optical, ระบบตรวจจับสงคราม electronic เช่นเดียวกับ ULISSES(Ultra-LIght SonicS Enhanced System) ระบบตรวจจับเสียงบูรณาการที่ Leonardo กล่าวว่าจะ "ฟัง" เรือดำน้ำฝ่ายตรงข้ามเพื่อกำหนดที่ตั้งของเรือดำน้ำเหล่านั้นครับ