วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กองทัพเรือไทยจะปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี OPV ทั้ง ๒ลำ








Royal Thai Navy's OPV-511 HTMS Pattani and OPV-512 OPV-512 HTMS Naratiwat, the Pattani-class Offshore Patrol Vessel (OPV). (Royal Thai Navy)
Naval Acquisition Management Office (NAMO), Royal Thai Navy (RTN) announced to enhanced capabilities for its two Pattani-class OPVs with new Combat Management System (CMS) and related systems for 2,829,554,000 Baht ($78,229,302),
refer to source of median price Investigate prices from market six potential tenders include Leonardo S.p.A, Thales Nedeland B.V., Navantia S.A. S.M.E., ASELSAN ELEKTRONIK SANAYI TICARET A.S., SAAB AB, and Elbit Naval Systems.  

ซื้อระบบการรบและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับปรับปรุงขีดความสามารถ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ชุด ร.ล.ปัตตานี จำนวน ๒ ลำ โดยวิธีคัดเลือก (เลขที่โครงการ : 67059158553)
วันที่ประกาศ 10/05/2567  ราคากลาง(บาท) 2,770,793,808.00  สถานะโครงการ ระหว่างดำเนินการ

website ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ(Thai Government Procurement) กรมบัญชีกลาง(CGD: Comptroller General's Department) กระทรวงการคลังไทย ได้เผยแพร่เอกสารประกาศของ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ สยป.ทร.(NAMO: Naval Acquisition Management Office) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
เกี่ยวกับตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและรายละเอียดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช้การจัดซื้อจัดจ้าง โครงการซื้อระบบการรบและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี จำนวน ๒ลำ โดยวิธีคัดเลือก(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/thalay-laut-2023.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/05/asean-fleet-review-2023.html
วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ๒,๘๒๙,๕๕๔,๐๐๐บาท($78,229,302) วันที่กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นเงิน ๒,๗๗๐,๗๙๗,๘๐๘บาท($76,604,745) แหล่งที่มาของราคากลาง(ราคาอ้างอิง) ใช้ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด จำนวน ๖บริษัท ดังนี้(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/imdex-2023.html)

๑.บริษัท Leonardo S.p.A อิตาลี
๒.บริษัท Thales Nedeland B.V. เนเธอร์แลนด์
๓.บริษัท Navantia S.A. S.M.E. สเปน
๔.บริษัท ASELSAN ELEKTRONIK SANAYI TICARET A.S. ตุรกี
๕.บริษัท SAAB AB สวีเดน 
๖.บริษัท Elbit Naval Systems อิสราเอล

ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมขณะที่เขียนบทความขณะนี้ ก่อนหน้านี้กองทัพเรือไทยได้ประกาศแผนโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ทั้ง ๒ลำคือ ร.ล.ปัตตานี และเรือหลวงนราธิวาส ที่วงเงิน ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($11,427,756) ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นการปรับปรุงในส่วนการติดตั้งระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) ใหม่
โดยหกบริษัทที่มีรายชื่ออ้างอิงราคากลางนั้นบางบริษัทมีผลิตภัณฑ์ระบบอำนวยการรบติดตั้งในเรือของกองทัพเรือไทยอยู่แล้วรวมถึง บริษัท Thales ยุโรปสำหรับระบบอำนวยการรบ TACTICOS บนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ ทั้ง ๒ลำ ร.ล.กระบี่ และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/milan-2024.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/12/port-blair-nicobar.html)
และบริษัท SAAB สวีเดนสำหรับระบบอำนวยการรบ 9LV บนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร(https://aagth1.blogspot.com/2023/05/blog-post.html), เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำคือ ร.ล.นเรศวร และเรือหลวงตากสิน(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/blog-post.html)

บริษัทอื่นๆรวมถึงบริษัท Leonardo อิตาลี, บริษัท Navantia สเปน, บริษัท ASELSAN ตุรกี, และบริษัท Elbit Naval Systems อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/iai-sea-mini-pop.html) ต่างมีผลิตภัณฑ์ระบบอำนวยการรบ CMS ของตนเองที่สามารถเสนอให้กองทัพเรือไทยตามความต้องการโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี ด้วยเช่นกัน
ชุดเรือหลวงปัตตานีเป็นเรือประเภทเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตกก.(OPV: Offshore Patrol Vessel) ชุดแรกของกองทัพเรือไทย ถูกสร้างโดยอู่เรือ Hudong-Zhonghua ในมหานคร Shanghai ที่ลงนามสัญญากับ China Shipbuilding Trading Co.,Ltd.(CSTC) ฝ่ายการค้าของ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือจีนในปี พ.ศ.๒๕๔๔(2001) วงเงินราว ๓,๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($100 million ในเวลานั้น)
ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ถูกขึ้นระวางประจำการในปี พ.ศ.๒๕๔๘(2005) และ พ.ศ.๒๕๔๙(2006) ตามลำดับ ติดตั้งระบบการรบจากตะวันตกรวมถึงระบบอำนวยการรบ Atlas Elektronik COSYS, radar ตรวจการณ์ Selex RAN-30X/I, ระบบควบคุมการยิง Rheinmetall TMX/EO และปืนเรือ Oto Melara 76/62 ซึ่งเดิมมองจะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือเช่น Harpoon Block II หรือ Exocet MM40 Block 3 เพิ่มด้วยครับ