วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๗-๔




Royal Thai Air Force (RTAF)'s Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle of 401st Squadron, Wing 4 Takhli. (Royal Thai Air Force)








RTAF is considering a procurement of the Swedish SAAB Gripen E/F and the US F-16C/D Block 70/72. (jn-photo.se and Lockheed Martin)
Korea Aerospace Industries (KAI) has proposed a sale of its FA-50 light fighter aircraft to the RTAF which seeks to acquire new 12-14 fighter aircraft to replace ageing Lockheed Martin F-16A/Bs of its 102 Squadron, Wing 1 Korat from fiscal year (FY) 2025 to FY 2034.


Documentary of Royal Thai Air Force Day 2024 "Road to Unbeatable Air Force" on 9 April 2024.

การจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน บ. F-16A/B ที่ปลดประจําการบางส่วน เพื่อบรรจุประจําการในฝูง 102 กองบิน 1 โคราช กําลังเข้มข้นขึ้นเป็นลําดับ ขณะที่ ทอ.กําลังพิจารณาตัวเลือกเพียงสองค่าย ได้แก่ F-16 Block 70 จากสหรัฐอเมริกา และ Jas-39 Gripen E/F จากสวีเดน 
แต่ล่าสุดจากการเยือนเกาหลีใต้ของนาย สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเร็วๆนี้ บริษัท KAI ได้นําเสนอ บ.ขับไล่โจมตีเอนกประสงค์แบบ F/A50 ซึ่ง บ.ดังกล่าวอาจเป็นทางเลือกอย่างมีนัยสําคัญที่มีสมรรถนะใกล้เคียง แต่ได้เปรียบในเรื่องของราคาต่อเครื่อง ที่ถูกกว่ากึ่งหนึ่ง 
ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบินและค่าซ่อมบํารุงที่ถูกกว่ามาก กล่าวคือ ด้วยกรอบงบประมาณโครงการ 19,500 ล้านบาท เริ่มปี 68 ทอ.สามารถจัดหา บ. F/A-50 ได้ถึง 8 เครื่อง ขณะที่จัดหา บ. แบบอื่นข้างต้นได้เพียง 4 เครื่องเท่านั้น 
ปัจจุบัน ทอ.จัดซื้อ T-50TH จาก KAI มาแล้วจํานวน 14 เครื่อง ประจําการ ณ ฝูงบินฝึกนักบินขับไล่ ฝูง 401 กองบิน 4 ตาคลี แบ่งเป็น บ.ฝึกขับไล่ จํานวน 8 เครื่อง และ บ.รบเทียบเท่า F/A-50 Block 10  จํานวน 6 เครื่อง (กําลัง รอตรวจรับ ส.ค.67 จํานวน 2 เครื่อง) 
ซึ่งหาก ทอ.พิจารณาเลือกจัดซื้อ F/A-50 ในโครงการจัดหาทดแทนฯ ผลประโยชน์ต่อ ทอ.และประเทศชาติ ที่สําคัญที่สุดคือ ภายใน 4 ปี ทอ.จะมี บ.ขับไล่โจมตีบรรจุประจําการ ณ ฝูง.102 กองบิน1โคราชได้ทันที 8 เครื่อง 
อีกทั้งสามารถย้าย T-50TH ตระกูล บ.รบ จากกองบิน 4 มาเพิ่มได้ อีกถึง 6 เครื่อง รวมเป็น 14 เครื่อง ทอ.จะมีฝูงบินรบที่พร้อมปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศได้ในเวลาเพียง 4 ปี หากจัดหา บ.ขับไล่แบบอื่นอาจใช้เวลาถึง 10-15 ปีขึ้นไปถึงจะได้ครบฝูง และใช้งบประมาณสูงกว่าหลายเท่า 
ประการสําคัญอีกอย่างคือ หากทอ.จัดหา F/A-50 ตามที่บริษัท KAI เสนอ ทาง KAI พร้อมที่จะมีการ แลกเปลี่ยนการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการบิน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับประเทศไทย 
จะทําให้เกิดการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศในอนาคต

ข้อมูลเครื่องบิน T-50 และ F/A-50
เครื่องบิน T-50 เป็นตระกูลเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นสูง ความเร็วเหนือเสียง (T = Trainer) ส่วนเครื่องบิน F/A-50 เป็นเครื่องบินประเภทขับไล่ โจมตีขนาดเบา ความเร็วเหนือเสียง (F = Fighter/A = Attacker) 
ผลิตและพัฒนาโดยบริษัทอุตสาหกรรมอากาศยานเกาหลี (KAI= Korea Aerospace Industries LTD.) ร่วมมือกับบริษัท Lockheed Martin สหรัฐอเมริกา (เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน F-16) โดยมีแนวความคิดที่จะให้มีรูปร่างและสมรรถนะใกล้เคียงกับเครื่องบิน F-16 
เป็นเครื่องบิน 2 ที่นั่งก็จะเหมือนกับเครื่องบิน F-16B ที่ ทอ.มีใช้งาน เคยเป็นคู่แข่งสำคัญในการคัดเลือกเครื่องบินฝึกขับไล่ขั้นสูงของ ทอ.สหรัฐ แต่พลาดอย่างสูสีให้กับเครื่องบิน T-7A ของบริษัทโบอิ้ง สหรัฐอเมริกา
สมรรถนะของเครื่องบิน F/A-50 นั้นแทบไม่ต่างจากเครื่องบิน F-16 หรือ เครื่องบิน Gripen เครื่องยนต์ก็เป็นรุ่นเดียวกับเครื่องบิน Gripen จะด้อยกว่าที่บรรทุกอาวุธได้น้อยกว่าเล็กน้อย และไม่สามารถติดตั้งจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120 AMRAAM 
ส่วนระบบ Avionics และระบบอาวุธตลอดจนเรดาร์นั้นเทียบเท่ากับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบอื่นๆทุกประการ
ปัจจุบันมีการสั่งซื้อและมีการใช้งานใน 7 ประเทศ กว่า 330 เครื่อง (ในอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย) และกำลังอยู่ระหว่างเจรจาอีก 11 ประเทศ

ข้อได้เปรียบ...
1. ราคาถูกกว่ามาก เมื่อเทียบกับเครื่องบิน F-16 หรือ เครื่องบิน Gripen
2. ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงต่ำกว่า เครื่องบิน F-16 หรือ เครื่องบิน Gripen ช่วยให้ประหยัดงบประมาณต่อปีไปได้มาก โดยผลสำเร็จของภารกิจใกล้เคียงกัน
3. สามารถจัดเป็นหน่วยบินขับไล่สกัดกั้น (Alert) แทน เครื่องบิน F-16 หรือ เครื่องบิน Gripen แต่ประหยัดงบประมาณกว่ามาก
4. กรณีที่มีการบรรจุประจำการจำนวนมากพอสมควร จะเป็นผลดีต่อการบริหารงบประมาณและระบบส่งกำลังบำรุง
5. บริษัท KAI เปิดโอกาสให้ไทยร่วมพัฒนาระบบของเครื่องบินตามสเปคที่ ทอ.ต้องการ (ไม่สามารถทำได้กับเครื่องบิน F-16 หรือ เครื่องบิน Gripen)
6. หากจัดหาในปีงบประมาณ 68  จะสามารถพร้อมประจำการในฝูง 102 กองบิน1 ภายในปี 71 เร็วกว่าการจัดหา บ.แบบอื่น

บทสรุป อย่างไรก็ตาม ทอ.มีความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อแผนป้องกันประเทศเพื่อเตรียมรับกับภัยคุกคามที่อาจเกิดข้อพิพาทได้ทุกเมื่อ ประกอบกับสถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศยังไม่เหมาะสมกับการจัดหายุทโธปกรณ์ที่มีราคาสูงเกินไป
“เครื่องบิน F/A-50 จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของ ทอ.ในปัจจุบัน”

หมายเหตุ  กรณีมีข้อขัดข้องในอดีตเกี่ยวกับการจัดหาอะไหล่ล่าช้า ทำให้สถานภาพไม่เป็นไปตามความต้องการทางยุทธการเนื่องจากทอ.พยายามสั่งซื้อโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนซึ่งระยะเวลาในการผลิตชิ้นส่วนอาจมากกว่าหนึ่งปี 
ไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดหาครุภัณฑ์จึงไม่สามารถดำเนินการได้ทัน และเป็นข้อขัดข้องเสมอมา ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยให้บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด (TAI) เป็นผู้จัดทำแผนกับ ทอ. ล่วงหน้าแล้วดำเนินการสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่ไว้ให้ก่อน 
เมื่อ ทอ. ต้องการก็เบิกจ่ายจาก TAI  ตามสัญญาจัดหาระบบส่งกำลังเหมือน บ.ขับไล่แบบอื่นที่ ทอ. ทำกับ TAI อยู่แล้วทั้งนี้หาก TAI ได้รับความไว้วางใจจาก KAI  และประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้งาน บ.T-50 และ FA-50 ในอนาคตอาจจะเป็นผู้แทนจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ของภูมิภาคก็เป็นได้

ทั้งหมดนี้ข้อมูลที่ KAI ได้นำเสนอ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการจัดหาเครื่องบินรบรุ่นใหม่ของกองทัพอากาศไทย เพื่อให้เหมาะสมกับงบประมาณ โดยมองภาพรวมและให้ทอ.สามารถจัดหาได้อย่างรวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายในการบินและซ่อมบำรุงที่ต่ำ  ซึ่งก็แล้วแต่กองทัพอากาศจะนำไปทบทวนหรือไม่ 

สำหรับความคิดเห็นของแอดมิน Battlefield Defense คิดว่าสาเหตุที่ทอ.ไม่นำข้อมูลของ F/A-50 มาเป็นคู่เปรียบเทียบกับ F-16 Block 70 และ Gripen E/F ในตอนแรกนั้น เนื่องจากเห็นว่า F/A-50 เป็นแค่เครื่องบินโจมตีเบา และมีสมรรถนะและขีดความสามารถที่ต่ำกว่าเครื่องบินทั้ง 2 แบบ 
ซึ่งมันเป็นคนละคลาสกัน ถึงแม้ว่า F/A-50 จะมีราคาที่ถูกกว่าครึ่งหนึ่งคือประมาณเครื่องละ 45-50 ล้านเหรียญสหรัฐฯก็ตาม โดย KAI เสนอ F/A-50 Block 20 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับของ ทอ.เกาหลีใต้ มาเลเซียและโปแลนด์ 
ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัยเทียบเท่าเครื่องบินรบยุคใหม่ อาทิเช่น ติดตั้ง  AESA RADAR, Helmet Mounted Display & Cueing, Large Area Display(LAD), RWR/CMDS และยังสามารถติดตั้งระบบอาวุธที่ทันสมัยแบบ BVR และ WVR เช่น AIM-120 AMRAAM ได้เป็นต้น 
และใช้อาวุธร่วมกับ F-16 ได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้ง Probe สำหรับเติมเชื้อเพลิงในอากาศได้ด้วย ทำให้ F/A-50 Block 20 เป็นเครื่องบินรบอเนกประสงค์ (MRCA: Multi-Role Combat Aircraft) ที่มีขีดความสามารถในการรบทางอากาศได้อย่างเต็มรูปแบบ 

ข้อเสนอที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการจัดหาเครื่องบินรบรุ่นใหม่ของทอ.ไทยนี้ได้มีการนำเสนอไปยัง นาย สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซึ่งน่าจะนำไปหารือกันในรัฐบาลต่อไป ถึงแม้ว่าจะเป็นในระยะเวลากระชั้นชิด เพราะทอ.จะมีการสรุปคัดเลือกในราวเดือนมิถุนายนนี้แล้วก็ตาม แต่อะไรๆมันก็เกิดขึ้นได้ เหมือนกรณีเรือดำน้ำจีนที่กองทัพเรือตกลงที่จะเดินหน้าต่อ แต่นายสุทินฯ รมว.กลาโหมก็ยังไปจีนขอเจรจาเปลี่ยนแปลงสัญญา งานนี้ก็เช่นกันรัฐบาลก็อาจเข้ามาหารือกับกองทัพอากาศใหม่ก็เป็นได้ 
อย่างไรก็ตามถึงแม้ KAI จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จในโครงการนี้ แต่ยังมีอีกโครงการคือการจัดหาเครื่องบินทดแทน F-5 และ Alpha Jet ที่จะมีขึ้นในราวปี 2572-2575 โดย KAI ก็จะเสนอ F/A-50 Block 20 เข้าแข่งขันอย่างแน่นอน ซึ่งดูแล้ว มีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเลือก...
ก็ต้องมาติดตามดูกันต่อไปว่า F/A-50 Block 20 จะสามารถฝ่าฟันสำหรับเป็นเขี้ยวเล็บใหม่ของทอ.ไทยได้เมื่อไหร่...

สมุดปกขาวของกองทัพอากาศไทย พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024 ที่ให้รายละเอียดโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่จำนวน ๑๒-๑๔เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF  ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘-๒๕๗๗(2025-2034) 
ที่กองทัพอากาศไทยมองจะของบประมาณวงเงิน ๒,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($76.3 million) เพื่อจะจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องนั้น เป็นที่ทราบว่ามีตัวเลือกสองแบบคือเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F สวีเดนและเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 สหรัฐฯ
การพิจารณาคาดว่าจะมีขึ้นราวกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024) เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ได้ ทั้งนี้ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี  พัฒนกุล และคณะมีกำหนดจะเดินทางเยือนสหรัฐฯและสวีเดนเพื่อทำ workshop การเปรียบเทียบตัวเลือกทั้งสองแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-16ab.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html)

ต่อมาหลังการเดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีของรัฐมนตรีกลาโหมไทย สุทิน คลังแสง ระหว่างวันที่ ๒๗-๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๗ บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้เสนอขายเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 ของตนแก่กองทัพอากาศไทย
ซึ่งดูจะเป็นการปรับแผนการตลาดใหม่หลังจากที่เคยเสนอเครื่องบินขับไล่ KF-21 Boramae ไปก่อนหน้าแต่ทางกองทัพอากาศไทยไม่ได้ตอบรับความสนใจเนื่องจากยังมีสถานะเป็นเครื่องต้นแบบระหว่างการทดสอบอยู่(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kf-21-40.html)
โดยบริษัท KAI เน้นว่าด้วยวงเงินระยะที่๑ ที่เท่ากันกองทัพอากาศไทยจะจัดหา FA-50 ที่ราคาเครื่องละ $30 million ได้ถึง ๘เครื่อง ขณะที่จัดหา Gripen E/F ราคาเครื่องละ $65 million และ F-16C/D Block 70/72 ราคาเครื่องละ $73 million ได้เพียง ๔เครื่อง หรือ KF-21 เองก็เสนอที่ราคาเครื่องละ $80 million ด้วย

แต่อย่างไรก็ตามความต้องการที่จะทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF  ฝูงบิน๑๐๒ ที่มีภารกิจหลักเป็นฝูงบินขับไล่สกัดกั้น(FIS: Fighter Interceptor Squadron) ทำให้กองทัพอากาศไทยน่าจะกำหนดความต้องการไปที่เครื่องบินขับไล่พหุภารกิจสมรรถนะสูง(Multirole Fighter)
ซึ่งแม้ว่าจะได้รับการติดตั้ง AESA radar แบบ PhantomStrike ในมาตรฐานเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50 Block 20 ล่าสุดที่จะส่งออกให้โปแลนด์และมาเลเซีย แต่จนถึงขณะนี้ FA-50 ก็ยังไม่มีการทดสอบการบูรณาการอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120 AMRAAM 
นั้นทำให้เครื่องบินขับไล่ Gripen E/F และเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 ยังคงมีความได้เปรียบที่มีขีดความสามารถการรบอากาศสู่อากาศที่สูงกว่า FA-50 อยู่ดี ทั้งสมรรถนะของ radar ระบบเครือข่าย datalink และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ Meteor และ AIM-120C-8

FA-50 จึงดูจะเป็นตัวเลือกที่น่าจะมาแข่งขันในโครงการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ เครื่องบินโจมตี Alpha Jet A TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๔-๒๕๗๘(FY2031-2035) หนึ่งฝูงบิน จำนวน ๑๒-๑๔เครื่อง มากกว่า
อย่างไรก็ตามการทำตลาดนำเสนอ FA-50 ของ KAI ที่มีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่ประจำการใน ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี จำนวน ๑๒เครื่อง กำลังจะได้รับมอบเพิ่ม ๒เครื่องในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ และมีแผนจะจัดหาเพิ่มอีก ๒เครื่องรวม ๑๖เครื่องนั้น
มีพื้นฐานจากข้อมูลล่าสุดว่ารัฐบาลไทยโดยคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมาธิการการทหารของรัฐสภาไทยมีแผนที่จะตัดลดงบประมาณกลาโหมลง ซึ่งในกรณีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ขณะที่เขียนนี้ก็ยังไม่ได้รับความเห็นชอบในการอนุมัติงบประมาณครับ




Brazilian Embraer KC-390 Millennium tanker-transport aircraft departed from Singapore Changi Airport and arrived at Don Mueang Airport on 25 February 2024. (DEFENSE INFO/Sukasom Hiranphan)

C-390 Millennium ASIAN TOUR in Thailand
25กุมภาพันธ์ 67 เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบC-390 มิลเลเนี่ยม บินเดินทางจากท่าอากาศยานชางงี มาถึงท่าอากาศยานดอนเมือง ในเช้าวันนี้ หลังจากเสร็จสิ้นการร่วมจัดแสดงในนิทรรศการการบิน สิงคโปร์โชว์ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่20-25 กุมภาพันธ์ 
นับเป็นการบินเดินทางมาเยือนท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นครั้งแรกของเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่ที่ออกแบบและผลิตโดยบริษัทEmbraer บริษัทอุตสหกรรมการบินของบราซิล C-390 เป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง สองเครื่องยนต์ โดยใช้เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเจ็ตIAE V2500
ปัจจุบันมีใช้งานแล้วใน3ประเทศคือ บราซิล ,โปรตุเกส และฮังการี พร้อมการยืนยันการสั่งซื้ออีก 4ประเทศ ทำให้มียอดรวมการสั่งซื้อทั้งหมด 35 ลำโดยมีการส่งมอบแล้ว 9 ลำ

ก่อนหน้าที่จะมีกำหนดการเยือนสหรัฐฯและสวีเดน ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยได้เดินทางเยือนบราซิลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ซึ่งได้ร่วมถึงการเยี่ยมชมกิจการของบริษัท Embraer ซึ่งกำลังทำตลาดเสนอเครื่องบินลำเลียง C-390 Millennium แก่กองทัพอากาศไทย
โดยหลังเข้าร่วมจัดแสดงในงานแสดงการบิน Singapore Airshow 2024 เครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-390 กองทัพอากาศบราซิลก็ได้เดินทางมาถึงท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ซึ่งได้มีการเยี่ยมชมจากเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศไทยและสื่อมวลชน
นั่นทำให้มีรายงานว่ากองทัพอากาศไทยกำลังสนใจเครื่องบินลำเลียง C-390 บราซิลเป็นตัวเลือกทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ที่จะแข่งขันกับเครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules ที่บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯเสนอมานาน

ลูกค้าของเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Embraer KC-390 Millennium กำลังเพิ่งจำนวนขึ้นเรื่อยๆ นอกจากกองทัพอากาศบราซิลประเทศผู้ผลิตที่สั่งจัดหาไป ๑๙ เครื่อง โดยได้รับมอบแล้ว ๖ เครื่อง ลูกค้าส่งออกยังรวมถึงโปรตุเกส ๕เครื่อง ที่ได้รับมอบแล้ว ๑เครื่อง,
ฮังการี ๒เครื่อง เครื่องแรกเพิ่งมาถึงฮังการีเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kc-390.html), เนเธอร์แลนด์ ๕เครื่อง, ออสเตรีย ๔เครื่อง, สาธารณรัฐเช็ก ๒เครื่อง และสาธารณรัฐเกาหลี ไม่เปิดเผยจำนวน เป็นลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกรายแรก 
ตามข้อมูลจาก Janes Markets Forecast ระบุว่าเครื่องบินลำเลียง KC-390 บราซิลมีราคาต่อเครื่องที่ $67 million เทียบกับเครื่องบินลำเลียง C-130J-30 สหรัฐฯที่มีราคาต่อเครื่องที่ $91 million และเครื่องบินลำเลียง Airbus A400M Atlas ยุโรปที่มีราคาต่อเครื่องที่ $192 million 

นอกจากขีดความสามารถการลำเลียงทางยุทธวิธีแล้ว KC-390 ยังรองรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศให้เครื่องบินขับไล่ Gripen สวีเดนที่ประจำการในไทย บราซิล ฮังการี และสาธารณรัฐเช็กด้วย ถ้า C-390 สามารถจะประสบความสำเร็จกับไทยได้จะยิ่งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในตลาดมากขึ้น
อย่างไรก็ตามก็เช่นเดียวกับโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ที่รัฐบาลและรัฐสภาไทยยังไม่อนุมัติวงเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) โครงการเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H ที่อยู่นอกสมุดปกขาว RTAF White Paper 2024 ก็ไม่น่าจะได้รับการอนุมัติงบประมาณด้วยเช่นกัน
ในงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๗ ที่อนุมัติวงเงินไปแล้วคงมีเฉพาะโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ระยะที่๓ วงเงิน ๒,๘๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($76,093,86) ต่อเนื่องจากระยะที่๑ และระยะที่๒ ที่ดำเนินการเสร็จไปแล้ว แสดงถึงว่ากองทัพอากาศไทยจะยังใช้ บ.ล.๘ C-130H ทั้ง ๑๒เครื่องของตนไปอีกนานครับ








The Royal Thai Navy issued a statement summarizing the investigation results of FSG-442 HTMS Sukhothai, the second Rattanakosin-class guided missile corvette sunk incident on 9 April 2024 at Royal Thai Navy Auditorium, Bangkok Yai District, Bangkok, Thailand.
The main causes of accidents are the weather is extremely unstable and changes rapidly at Sea State 7, which exceeds the Rattanakosin-class corvette can withstand at Sea State 5; and 76/62 main gun and hull of HTMS Sukhotha corvette Hit "floating solid objects" that broke gun turret, deformed Wave guard and Watertight doors and hatchs.
All crews of HTMS Sukhothai did their best to resolve the issues but unable to fix water entering the corvette in extreme weather conditions.
Rescuing crews after abandoning ship from FFG-457 HTMS Kraburi, the Chao Phraya class frigate; SH-60B Seahawk and S-76B helicopter also was difficult due to the strong waves and winds and the dark night at time of inccident.
Former Commanding Officer of HTMS Sukhothai requests resignation from the Royal Thai Navy and received punishment according to the military criminal law and the law on misconduct of government officials. (DEFENSE INFO)



กองทัพเรือเปิดข้อมูลและภาพถ่าย  5 แผลสาเหตุเรือสุโขทัยจม
ในการแถลงข่าวสรุปผลการสอบสวนกรณีการสูญเสียเรือหลวงสุโขทัย ในวันนี้ ที่หอประชุมกองทัพเรือ  พลเรือตรี อภิรมย์ เงินบำรุง เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ หนึ่งในคณะผู้ชำนาญการและกรรมการสอบสวนของกองทัพเรือ 
ได้แถลงถึงผลการสอบสวน ที่ได้มีการเปิดเผยจุดความเสียหายของเรือหลวงสุโขทัย ที่ได้นำมาสู่การสูญเสียความสามารถในการผนึกน้ำ 
โดยจุดเสียหายจากการสำรวจและวัตถุพยานต่างๆที่ได้ตรวจพบในการสอบสวนครั้งนี้มีทั้งหมด 5จุดหลัก คือ
1. แผ่นกันคลื่นที่หัวเรือ(Wave guard) ที่ตรวจพบการเปลี่ยนรูปของวัสดุ และเกิดการฉีกขาดของเหล็กดาดฟ้าเรือในพื้นที่ส่วนนี้ จากคลิปภาพถ่ายที่ทางเรือบันทึกไว้จะพบการเสียหายของแผ่นกันคลื่นนี้ ขณะเรือสุโขทัยกำลังทำการแล่นตัดคลื่นที่มีความสูงมาก 
จนเกิดการฉีกขาดที่ทำให้น้ำทะเลได้เข้ามาสู่ตัวเรือส่วนหน้า
2. ป้อมปืนหลักขนาด 76 มม. ปรากฏรอยแตกขนาดใหญ่ที่ด้านหน้าและด้านบนของตัวป้อม ที่เกิดจาการกระแทกอย่างรุนแรงจนครอบป้อมปืนที่ผลิตจากวัสดุคอมโพสิท ฉีกและแตกขาดออก เป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่ 
จากคลิปวีดิโอจะเห็นความเสียหายของป้อมปืนขณะเรือแล่นตัดคลื่น จนสามารถมองเห็นแผ่นชนวนกันความร้อนที่บุอยู่ภายในป้อมเผยอเปิดออกและบางส่วนหลุดออกจากตัวป้อม
3. รูทะลุที่กราบเรือด้านซ้ายบริเวณกงเรือที่ 35 มีปรากฏรอยฉีกทะลุขนาดราว 48 ตารางนิ้วในลักษณะของแข็งทิ่มเข้ามาในตัวเรือ เป้นจุดที่น้ำถูกซัดเข้ามาในบริเวณคลังเก็บกระสุนของป้อมปืนเรือหลัก
4. ห้องกระชับเชือกหัวเรือ  จากการดำน้ำสำรวจตรวจพบประตูปิดห้องกระชับเชือกหัวเรือเปิดออกและพบเชือกหัวเรือลอยยกออกมาจากตำแหน่งจัดเก็บ
5. ประตูท้ายห้องGun Bayของปืนหลักเรือ จากภาพท้ายของการดำสำรวจแสดงให้เห็นภาพของประตูท้ายป้อมปืนอยู่ในตำแหน่งเปิดเผยอออก เป็นหนึ่งในจุดที่ที่มีรายงานน้ำเข้าพื้นที่ส่วนหน้าของตัวเรือ
จากหลักฐานของจุดความเสียหายทั้ง5จุดนี้ เป็นสาเหตุให้น้ำทะเลทะลักเข้าตัวเรือจากพื้นที่ด้านบนของดาดฟ้าเรือจนทำให้เรือสูญเสียความสามารถในการผนึกน้ำ 
และจากปริมาณน้ำที่ทะลักเข้าจากคลื่นที่ซัดเข้ามาในเรือทำให้น้ำขังเข้าพื้นที่ด้านบนของหัวเรือทำให้ตัวเรือค่อยๆสูญเสียตำแหน่งศูนย์ถ่วงเรือจนเรือเอียง 
และนำมาสู่การสูญเสียการควบคุมปริมาณน้ำทะเลที่เข้าเรือจนอุปกรณ์ในเรืออีกหลายรายการไม่สามารถใช้งานรวมถึงเครื่องยนต์เรือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับระบบปั๊มน้ำออกจากเรือ และนำมาสู่การสูญเสียการควบคุมเรือทั้งหมดจนเรือหลวงสุโขทัยจมลงสู่ทะเลในครั้งนี้

กองทัพเรือแถลงข่าวผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัย อับปาง
วันนี้ (9 เมษายน 2567) เวลา 15:00 น. พลเรือเอก อะดุง  พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานการแถลงข่าว ผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง 
โดยมี พลเรือเอก ชัยณรงค์  บุณยรัตกลิน ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดชอบทางละเมิด พลเรือโท สุระศักดิ์  สิงขรวัฒน์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ทัพเรือภาคที่ ๑ 
พลเรือตรี อภิรมย์  เงินบำรุง เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ในฐานะ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและคณะกรรมการสอบสวนฯ และ นาวาโท พิชิตชัย  เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องเจ้าพระยาหอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
การแถลงข่าวในครั้งนี้ กองทัพเรือ สรุปผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
กรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง โดยระบุว่า เรือหลวงสุโขทัย เป็นเรือประเภทเรือคอร์เวต ชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย เรือหลวงสุโขทัย และ เรือหลวงรัตนโกสินทร์ ต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 
เข้าประจำการในกองทัพเรือ เมื่อปี พ.ศ.2530 เรือหลวงสุโขทัยได้เข้าการซ่อมบำรุงตามแผนมาโดยตลอดโดยซ่อมทำครั้งล่าสุด ในปีงบประมาณ 2561 ที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม 2561
ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564 รายการซ่อมทำที่สำคัญประกอบด้วย การซ่อมทำระบบตัวเรือ งานตัวเรือใต้แนวน้ำ งานตัวเรือเหนือแนวน้ำ การซ่อมทำระบบกลจักร และการซ่อมทำระบบไฟฟ้า 
หลังการซ่อมทำเสร็จ เรือหลวงสุโขทัยได้ปฏิบัติราชการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีข้อขัดข้องจนต้องรับการซ่อมทำใหญ่แต่อย่างใด ภารกิจสุดท้าย
ขณะประสบอุบัติเหตุอับปาง คือ ภารกิจลาดตระเวนเพื่อเตรียมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่รับผิดชอบและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ 
ณ หาดทรายรี จังหวัดชุมพร ตามที่ จ.ชุมพร ร้องขอ ระหว่างวันที่ 17 - 19 ธันวาคม 65 จำนวน 3 วัน

สรุปเหตุการณ์
ในการออกเรือครั้งนี้ สถานภาพของเรือหลวงสุโขทัย ตัวเรือมีความพร้อม ระบบขับเคลื่อน ระบบเดินเรือ ระบบอาวุธมีความพร้อม เครื่องไฟฟ้า 4 เครื่อง มีความพร้อม 3 เครื่อง มีกำลังพลไปกับเรือทั้งหมด 105 นาย 
ประกอบด้วยกำลังพลประจำเรือ จำนวน 75 นาย กำลังพลจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำนวน 15 นาย และจากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาสยานและรักษาฝั่ง จำนวน 15 นาย
ทั้งนี้กำลังพลประจำเรือที่ไปจำนวน 75 นาย จากยอดที่บรรจุ 100 นายนั้น ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยพิจารณาแล้ว เห็นว่าสามารถปฏิบัติราชการในครั้งนี้ได้ โดยตำแหน่งที่ไม่มีกำลังพลไปกับเรือ กำลังพลประจำเรือในตำแหน่งอื่น ๆ สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ 
และให้สามารถรองรับกำลังพลที่ร่วมเดินทางไปกับเรือจำนวน 30 นายได้อีกด้วย
โดยข้อมูลสภาพอากาศจากกองอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในห้วงวันที่ 17 - 20 ธันวาคม 2565 ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เส้นทางเดินเรือคือ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก 
ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ห่างฝั่งมีความสูงของคลื่น 1.5 - 2.1 เมตร และ 1.5 - 2.4 เมตร อ่าวไทยตอนล่าง ความสูงของคลื่น 3 เมตร
ในวันที่ 17 ธ.ค.65 เวลา 17.30 น. เรือหลวงสุโขทัยออกเดินทางจากท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยมีที่หมายคือ หาดทรายรี จ.ชุมพร ภายหลังจากออกเรือประมาณครึ่งชั่วโมง 
ได้มีการประกาศแจกจ่ายเสื้อชูชีพให้กับกำลังพลของหน่วยที่ลงไปกับเรือที่ห้องเสมียนพลาธิการ ซึ่งเรือหลวงสุโขทัยมีเสื้อชูชีพอยู่บนเรือ รวมทั้งสิ้น 120 ตัว เพียงพอสำหรับกำลังพลที่ออกปฏิบัติการกับเรือในครั้งนี้
โดยกำลังพลประจำเรือแต่ละนายได้รับการแจกจ่ายประจำตัวแล้ว และได้จัดเตรียมไว้สำหรับแจกจ่ายให้กำลังพลของหน่วยที่ลงไปกับเรือด้วย แต่ปรากฏว่าหลังจากประกาศ กำลังพลดังกล่าวยังไม่มารับเสื้อชูชีพครบทั้งหมด 
เนื่องจากบางส่วนมีภาระส่วนตัว บางส่วนไม่ได้ยินการประกาศ และบางส่วนไม่มีความคุ้นเคยเส้นทางภายในเรือ
ระหว่างเวลา 20.00 - 22.00 น. เรือหลวงสุโขทัย ถือเข็ม 200 ความเร็ว 15 นอต ขณะนั้นมีคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร และตั้งแต่เวลา 22.00 น. ได้เปลี่ยนไปถือเข็ม 220 ในช่วงเวลานั้นทางเรือได้ทดลองติดต่อสื่อสารทางวิทยุกับแท่นปิโตรเลียมมโนราห์ตามปกติในการปฏิบัติ 
จนกระทั่งเวลา 02.00 น. เรือยังคงเดินเรือด้วยทิศทางเดิม เครื่องจักรใหญ่ข้ายเกิดการขัดข้อง ใช้งานเครื่องจักรใหญ่ขวาได้ จึงทำความเร็วได้เพียง 8 นอต (15 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขณะเดินทางคลื่นลมมีความแปรปวนตลอดเวลา คลื่นมีความสูงขึ้นเป็นลำดับ
จนถึงเวลาประมาณ 04.00 น. คลื่นมาในทิศหัวเรือ มีความสูงประมาณ 4 เมตร ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็วประมาณ 28 นอต (50.4 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เรือมีอาการโคลงในลักษณะขึ้นลงอย่างรุนแรง
เวลาประมาณ 04.30 น. ได้ตรวจพบประตูทางเข้าบริเวณหัวเรือกราบข้ายเปิดอยู่ และสะบัดกระแทกจนเกิดเสียงดัง กำลังพลประจำเรือจึงได้ปิดประตูจนแนบสนิทและหมุนพวงมือล็อคประตูเรียบร้อย พบว่ามีน้ำสาดเข้ามาในช่องระหว่างประตูชั้นนอกและประตูชั้นใน 
ต่อมาในเวลาประมาณ 05.00 น. ประตูดังกล่าวเปิดและสะบัดกระแทกจนเกิดเสียงดังอีก เมื่อปิดแล้วไม่สามารถหมุนพวงมือล็อคประตูได้ จึงใช้เชือกมัดไว้ไม่ให้เปิดออก โดยมีน้ำไหลออกมาจากขอบประตู 
ทั้งนี้ขอบประตูมีความสูงจากพื้นประมาณ 20 เซนติเมตร จากการตรวจสอบภายในห้องพบว่ามีน้ำไหลออกมาจากท่ออากาศดีเป็นช่วง ๆ ตามจังหวะของคลื่น
เวลาประมาณ 06.00 น. เรือเดินทางใกล้ถึงพื้นที่จอดบริเวณหาดทรายรี แต่ด้วยบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทะเลเปิด คลื่นสูงประมาณ 4 - 6 เมตร ไม่สามารถนำเรือจอดทอดสมอได้
เวลาประมาณ 06.30 น. เครื่องไฟฟ้าหมายเลข 3 หยุดการทำงาน แผนกช่างกลจึงเดินเครื่องไฟฟ้าหมายเลข 1 ทดแทน ทั้งนี้ในการเดินเรือปกติจะสลับเดินเครื่องไฟฟ้าครั้งละ 1 เครื่อง
เวลาประมาณ 07.00 น. ผู้บังคับการเรือตัดสินใจนำเรือกลับขั้นทางเหนือ ทิศทางสวนคลื่น สวนลม ต่อมาเกิดเสียงสัญญาณที่ห้องสะพานเดินเรือเตือนว่ามีน้ำท่วมห้องคลังลูกปืน 40 มิลลิเมตร 
จากการตรวจสอบพบว่ามีน้ำไหลซึมออกมาจากขอบล่างของประตูห้องบรรจุลูกปืน หลังเปิดประตูสำรวจมีน้ำไหลออกทางประตู จึงได้พยายามปิดต้านแรงดันน้ำจนปิดได้
เวลาประมาณ 07.45 น. ได้ติดต่อ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดชุมพร ในการลำเลียงกำลังพลขึ้นฝั่ง แต่ได้รับแจ้งว่าเรือเล็กไม่สามารถออกมารับกำลังพลดังกล่าวได้เนื่องจากคลื่นลมแรง
เวลาประมาณ 08.00 น. เรือหลวงสุโขทัยตกลงใจเดินทางกลับฐานทัพเรือสัตหีบ เนื่องจากคลื่นลมแรงและไม่สามารถจอดทอดสมอ ณ หาดทรายรีได้ ระหว่างนั้นได้รับการประสานจากทัพเรือภาคที่ 1 ให้ส่งกำลังพลที่ร่วมเดินทางไปกับเรือจำนวน 30 นาย 
ขึ้นที่ท่าเรือประจวบ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีรขันธ์ จึงได้ประสานไปยังท่าเรือประจวบเพื่อขอรับการสนับสนุนการเข้าจอดเรือ และได้มีการประกาศผ่านระบบประกาศช้ำให้กำลังพลที่มากับเรือมารับเสื้อชูชีพ
เวลาประมาณ 08.15 น. ตรวจพบน้ำนองบริเวณช่องทางเดินหน้าห้องศูนย์ยุทธการ ภายในห้องยุทธการ และห้องวิทยุ ความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร และอีก 15 นาทีต่อมา เกิดฟ้าช็อตหม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับประดับไฟเรือ ซึ่งได้ทำการดับไฟและตัดไฟในส่วนที่เกี่ยวข้อง
เวลาประมาณ 10.00 น. เรือหลวงสุโขทัยติดต่อกับท่าเรือประจวบ เพื่อขอทราบข้อมูลหน้าท่าและสภาพคลื่นลม เพื่อประกอบการพิจารณาการนำเรือเข้าท่า
เวลาประมาณ 10.15 น. เกิดเหตุไฟไหม้จากเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) สำหรับคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมภายในห้องวิทยุ เจ้าหน้าที่สามารถดับไฟได้ ระบบสื่อสารภายในยังใช้งานได้ แต่ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมใช้งานไม่ได้ 
เวลาประมาณ 10.20 น. ได้รับการประสานข้อมูลสภาพคลื่นลมบริเวณท่าเรือประจวบฯ ว่ามีคลื่นและลมรุนแรงมาก ไม่ปลอดภัยต่อการนำเรือเข้าเทียบหรือทอดสมอบริเวณท่าเรือ ทั้งนี้ มีเรือสินค้าของบริษัทที่มีแผนเข้าเทียบ ก็ไม่สามารถเข้าเทียบได้เช่นกัน
เวลาประมาณ 12.00 น. ห้องบรรจุลูกปืนมีน้ำไหลเข้ามาคาดว่าน้ำเข้ามาจากฝา Hatch บริเวณท้ายป้อมปืน 72 มิลลิเมตร พบว่าฝา Hatch เผยอออก จึงได้ขันเกลียวปิดให้สนิท และมัดด้วยเชือกเพื่อป้องกันเกลียวหลุดออก
เวลาประมาณ 12.45 น. ขณะนั้น เรือหลวงสุโขทัยเดินเรืออยู่ห่างจากท่าเรือประจวบฯ ประมาณ 15 ไมล์ ผู้บังคับการเรือตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพเรือสัตหีบ โดยทำความเร็ว 8 นอต ระยะท่าง 100 ไมล์ 
ซี่งโดยหลักการ ผู้บังคับการเรือสามารถตัดสินใจภายใต้สถานการณ์จำกัดได้ โดยในขณะนั้น ทะเลมีสภาพคลื่นลมรุนแรงมาก คลื่นสูง 4 - 5 เมตร น้ำทะเลจำนวนมาก ม้วนเข้าหาตัวเรือ ตั้งแต่ป้อมปืนขนาด 76 มิลลิเมตร จนถึงสะพานเดินเรือ
เวลาประมาณ 13.00 น. ตรวจพบน้ำไหลออกมาจากผนังใยแก้วตัวเรือกราบซ้ายในห้องปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำสูงประมาณ 1 ฟุต จึงมีการใช้เครื่องสูบน้ำระบายน้ำออก ระหว่างนั้นมีไฟฟ้าดูดกำลังพล จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีให้กำลังพลตักน้ำส่งต่อกันเพื่อระบายออกนอกตัวเรือ 
โดยคลื่นยังคงรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ความสูง 4 - 6 เมตร ลมกระโชกแรง ความเร็วลมมากกว่า 45 กิโลเมตร/ชั่วโมง น้ำทะเลจำนวนมากยังคงซัดเช้าหาตัวเรือ ตั้งแต่ป้อมปืนขนาด 76 มิลลิเมตร จนถึงสะพานเดินเรืออย่างต่อเนื่อง
เวลาประมาณ 15.00 น. เกิดน้ำท่วมบริเวณหน้าห้องเครื่องไฟฟ้า 3 ความสูงประมาณ 3 ฟุต จึงได้ทำการสูบน้ำ แต่เกิดฟ้าดูดกำลังพล จึงเปลี่ยนมาให้กำลังพลช่วยกันระบายน้ำออก จนถึงเวลาประมาณ 16.30 น. ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน 
จึงได้ขึ้นมาปิดประตูผนึกน้ำด้านบนที่เป็นดาดฟ้าหลัก ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่ห้องหน้าเครื่องไฟฟ้า มีมาต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเช้า โดยในช่วงแรกยังสามารถควบคุมน้ำได้เพราะน้ำเข้าที่เบรกกันคลื่นอย่างเดียว แต่หลังจากป้อมปืนแตก น้ำเข้าในเรือมากจนเกินกว่าจะควบคุม
เวลาประมาณ 15.45 น. ตรวจพบใยแก้วสีเหลืองบริเวณเปลือกไฟเบอร์ป้อมปืนขนาด 76 มิลลิเมตร อันมีสาเหตุมาจากป้อมปืนแตก โดยไม่ทราบว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ส่งผลให้ปริมาณน้ำในห้อง Gun bay ปืน 76 มิลลิเมตร เพิ่มมากขึ้น
เวลา 16.00 น. ผู้บังคับการเรือตัดสินใจหันเรือกลับท่าเรือประจวบฯ เรือเอียงประมาณ 30 องศา การควบคุมเรือเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดนคลื่นซัดเข้าทางด้านท้ายเรือ
เวลาประมาณ 16.45 น. ได้มีการสั่งการให้กำลังพลที่ร่วมมากับเรือ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไปรวมตัวที่ห้องเมสจ่า และยังคงประสานขอรับการสนับสนุนเรือลากจูงมาลากเรือหลวงสุโขทัยกลับเข้าฝั่ง
เวลาประมาณ 17.00 น. เรือเอียงมากราบซ้ายมากขึ้น อ่านค่าได้จากเครื่องวัดความเอียงของเรือ เรือเอี่ยงอยู่ทีมุมระหว่าง 15 - 30 องศา ทางกราบซ้าย และในขณะนั้นมีน้ำท่วมในชั้นห้องกะลาสี (ดาดฟ้า 2 ) ความสูงประมาณเอว 
จากนั้นมีน้ำขึ้นมาถึงขอบประตูด้านบนห้องวิทยุ (ดาดฟ้า 1) จึงได้ค้ำยัดประตูไม้ห้องวิทยุและประตูช่องทางเดินไปหัวเรือ ต่อมาผู้บังคับการเรือได้โทรศัพท์ติดต่อกับผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้รับคำแนะนำในการป้องกันความเสียหาย
จนถึงเวลาประมาณ 17.30 น. ได้สั่งการผ่านระบบประกาศให้กำลังพลทั้งหมดขึ้นมาบนดาดฟ้าทัศนะสัญญาณ เนื่องจากระดับน้ำที่เข้าเรือสูงขึ้นจนไม่สามารถทำการระบายออกได้ทัน
เวลาประมาณ 17.45 น. เรือเอียงมากขึ้น ประมาณ 50 - 60 องศา มีการใช้สัญญาณโคมไฟไม่บังคับทิศส่งสัญญาณ S O S ขอความช่วยเหลือ และมีสัญญาณไฟตอบรับ รวมทั้งได้ใช้วิทยุมือถือ ในการติดต่อสื่อสารขอความช่วยเหลือ 
ต่อมาเครื่องไฟฟ้าได้ดับลง ทำให้ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่าง ได้ใช้การบอกต่อคำสั่งให้กำลังพลขึ้นมาข้างกราบบริเวณกลางลำ และมีการสั่งการให้แผนกช่างกลและกำลังพลบางส่วนช่วยกันปิดประตูผนึกน้ำตลอดลำ รวมทั้งตรวจสอบว่าไม่มีกำลังพลหลงเหลือภายในเรือ
เวลาประมาณ 18.10 น. หลังจากผู้บังคับการเรือออกจากภายในเรือคือสะพานเดินเรือเป็นคนสุดท้าย และปิดประตูสะพานเดินเรือทางกราบขวา ได้สั่งการให้ตรวจสอบยอดกำลังพลด้วยวิธีนับตลอด ซึ่งนับกำลังพลได้ครบ 105 นาย 
ปรากฏกำลังพลมีทั้งที่สวมเสื้อชูชีพและไม่ได้สวมเสื้อชูชีพ และในช่วงเวลานั้น ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ได้สั่งการให้เรือหลวงกระบุรีออกเรือจากท่าเรือประจวบฯ ไปช่วยเหลือเรือหลวงสุโขทัย
ต่อมาในเวลา 18.40 น. เรือหลวงสุโขทัยขอความช่วยเหลือเร่งด่วนไปยังศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ เนื่องจากเครื่องจักรใหญ่และเครื่องไฟฟ้าไม่สามารถใช้งานได้มีน้ำทะเลเข้าเรือเป็นจำนวนมาก เรือเอียงประมาณ 60 องศา 
ในการนี้ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือได้ประสานส่วนต่าง ๆ ให้การช่วยเหลือที่สำคัญได้แก่ ประสานท่าเรือประจวบฯ จัดเรือลากจูง ประจวบ 4 และ 5 อีกทั้งประสานเรือน้ำมัน Straits Energy และเรือน้ำมันศรีไชยา ซึ่งอยู่บริเวณใกล้กับตำบลที่เกิดเหตุขอให้ความช่วยเหลือ 
ในขณะนั้นบนเรือหลวงสุโขทัยได้มีการแนะนำวิธีการเอาตัวรอดแก่กำลังพล และชักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติตนเมื่อต้องอยู่ในทะเล โดยให้กำลังพลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เวลาประมาณ 20.00 น. เครื่องบินลาดตระเวนแบบที่ 1 Dornier จำนวน 1 เครื่อง ขึ้นบินเพื่อพิสูจน์ทราบตำบลที่ เรือหลวงสุโขทัย โดยเรือหลวงกระบุรีได้เข้าไปถึงเรือหลวงสุโขทัย
ตั้งแต่เวลา 20.21 น. และปิดระยะเข้าทำการช่วยเหลือเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ก่อนเกิดการอับปาง ด้วยสภาพคลื่นลมขณะนั้นความเร็วลม 30 น็อต คลื่นสูง 3 - 5 เมตร ทั้งนี้เรือหลวงกระบุรีได้พยายามส่งเชือก จนเมื่อส่งได้ทางเรือหลวงสุโขทัยไม่สามารถนำเชือกเข้าผูกได้ 
ซึ่งเรือเอียงมาทางกราบซ้ายมากกว่า 70 องศา ท้องเรือโผล่พ้นน้ำจนสามารถเห็นมองใบจักรกราบขวาของเรือหลวงสุโขทัย เสากระโดงเรืออยู่ทิศเหนือลม ทำให้เรือหลวงกระบุรี ไม่สามารถนำเรือเข้าหาในทิศเหนือลมได้ 
กราบขวาเรือหลวงสุโขทัยยกตัวขึ้นลงตามคลื่นตลอดเวลาอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถเข้าเทียบได้ เรือหลวงกระบุรีจึงนำเรืออยู่ในระยะปลอดภัยเพื่อพร้อมเข้าช่วยเหลือหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
เวลาประมาณ 23.30 น. ท้ายเรือเริ่มจม ผู้บังคับการเรือสุโขทัยสั่งให้ปลดแพซูชีพหมายเลข 3 และ 5 บริเวณกลางลำกราบขวา และให้กำลังพลที่ไม่มีเสื้อชูชีพกระโดดลงน้ำและว่ายไปบนแพชูชีพ มีกำลังพลถูกคลื่นซัดตกจากเรือ ว่ายน้ำขึ้นไปบนแพชูชีพดังกล่าว
ในเวลา 00.12 น. ซึ่งเข้าสู่วันที่ 19 ธันวาคม เรือหลวงสุโขทัยได้จมลงทั้งลำ

สรุปการให้การช่วยเหลือเรือหลวงสุโขทัยนับตั้งแต่่เริ่มอับปาง เรือหลวงกระบุรี ทำการช่วยเหลือกำลังพล เรือหลวงสุโขทัย หลังอับปางนั้น เริ่มจากได้ส่งพวงชูชีพ จำนวน 13 พวง และปลดแพชูชีพให้กางออกให้อีก 9 แพ เสื้อชูชีพ 30 ตัว 
โดยใช้เชือกผูกไว้กับเรือ ส่งออกไปเพื่อรับกำลังพลเรือหลวงสุโขทัยที่อยู่ในน้ำขึ้นมาได้ในเบื้องต้น 41 นาย จากนั้นได้นำเรือยางท้องแข็งลงจากเรือออกไปช่วยอีกด้วยสามารถช่วยกำลังพลที่ประสบภัยกลับมาขึ้นเรือหลวงกระบุรีได้ อีก 5 นาย รวมทั้งหมด 46 นาย 
ต่อจากนั้น เมื่อตรวจสอบแล้วไม่พบกำลังพลในบริเวณที่เรืออับปางก็ได้ออกเรือค้นหาในบริเวณดังกล่าวห่างออกไปอีก จนไม่สามารถตรวจพบได้อีกจึงเดินทางกลับเข้าท่าเรือประจวบฯ 
นับตั้งแต่เวลา 20.47 น. เครื่องบินลาดตระเวนแบบ Dornier (DO - 228) ได้ขึ้นบินจากสนามบินอู่ตะเภา เข้าถึงพื้นที่ เรือหลวงสุโขทัยประสบเหตุ ได้กำหนดตำบลที่ เรือหลวงสุโขทัย 
ซึ่งขณะที่เรืออับปาง เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ แบบ S-70B จำนวน 2 เครื่องได้บินจากสนามบินอู่ตะเภาเวลาเข้าถึงพื้นที่ประสบเหตุเวลา 01.04 น. ภารกิจได้ปล่อยแพชูชีพ จำนวน 8 แพ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและได้มีเรือต่าง ๆ เข้าทำการช่วยเหลือ 
ในเวลาต่อมายังคงมีการออกค้นหาช่วยเหลือ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีการจัดทำแบบจำลองค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล หรือ SAR Map มีการแบ่งมอบพื้นที่ปฏิบัติการ การสั่งการให้ เรือ อากาศยาน และหน่วยปฏิบัติการพิเศษออกค้นหาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังในการค้นหาจากกองทัพอากาศ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และหน่วยงานราชการเอกชนมูลนิธิ อาสาสมัครในพื้นที่อีกหลายส่วนเข้าร่วมให้การสนับสนุนในพื้นที่ รวมทั้งมีการจัดตั้งกองอำนวยการ ณ ท่าเรือประจวบ อำเภอบางสะพาน อีกด้วย

สรุปการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย กำลังพลที่ออกปฏิบัติราชการกับเรือหลวงสุโขทัยทั้งหมด จำนวน 105 นาย ดังนี้ สามารถช่วยเหลือและรอดชีวิต จำนวน 76 นาย ได้แก่ 
เรือหลวงกระบุรี ช่วยเหลือได้ 48 นาย เรือประจวบ 5 ช่วยเหลือได้ 4 นาย เรือน้ำมัน Straits Energy ช่วยเหลือได้ 6 นาย เรือน้ำมันศรีไชยาช่วยเหลือได้ 20 นาย จำนวนผู้เสียชีวิต 24 นาย สูญหาย จำนวน 5 นาย

สภาพอากาศขณะเกิดเหตุ
ข้อมูลสำคัญที่เป็นองค์ประกอบผลกระทบจากสภาพอากาศและคลื่นลมสภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริงมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลันและรุนแรง มีคลื่นสูงสุดถึงกว่า 6 เมตร หรือถึง Sea State7
ซึ่งคุณสมบัติของ เรือหลวงสุโขทัยกำหนดไว้ว่าสามารถเดินเรือได้สูงสุดในระดับ Sea State 5 คือความสูงคลื่นประมาณ 2.5 - 4 เมตร สภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริงมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลันจากที่มีการพยากรณ์ไว้ 
ด้วยระดับภาวะทะเลอยู่ในระดับ 7 ที่เกิดขึ้นนี้ จึงส่งผลทำให้เรือมีอาการโคลงมาก การควบคุมเรือทำได้ยากลำบาก การทรงตัวของเรือ และกำลังพลอยู่ในภาวะไม่ปกติ การทำกิจวัตรหรือปฏิบัติงานไม่สามารถทำได้เช่นในภาวะปกติ 
อีกทั้งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้ามีเมฆมาก เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นมีข้อจำกัดในการตรวจการณ์ให้ความช่วยเหลือ คลื่นลมที่รุนแรงนี้ยังทำให้กำลังพลถูกพัดกระจายตัวออกไป ยากต่อการให้ความช่วยเหลือและเป็นอุปสรรคในการเอาชีวิตรอดในทะเล 
ทั้งนี้จากการรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ในวันที่ 18 - 19 ธันวาคม 2565 ได้มีเรืออับปางในอ่าวไทยถึง 7 ลำ ซึ่งลำที่ใหญ่สุดเป็นเรือสินค้าที่มีขนาด 2,123 ตันกรอส อันเนื่องมาจากการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลันและรุนแรง
ของสภาพอากาศ เรืออับปางจำนวน 7 ลำ มีดังนี้ 1.)เรือหลวงสุโขทัย 2.)เรือสินค้า Anu Bhum 3.)เรือสินค้า สันทัดสมุทร 2 4.)เรือสินค้า SUMBER SUKSES UTAMA\ 5.)เรือประมง ส.นพรัตน์ 4 6.)เรือประมงทรัพย์สุนันท์ 7.)เรือประมง ส.เอกรัตน์ 19

ข้อมูลทางเทคนิค
1. เกิดการชำรุดเสียหายที่ทำให้น้ำเข้าเรือได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งความเสียหายดังกล่าวได้แก่
1.1 ความเสียหายของแผ่นกันคลื่น (Brake Water) ซึ่งติดตั้งอยู่หน้าป้อมปืน 76/62 ถูกคลื่นกระทำจนฉีกขาด เป็นผลทำให้แผ่นเหล็กดาดฟ้าตัวเรือบริเวณดังกล่าวฉีกขาด และทะลุจนน้ำทะเลสามารถเข้าไปยังห้อง Gun bay ปืน 76/62 ซึ่งอยู่ใต้ป้อมปืนได้
1.2  ความเสียหายของป้อมปืน 16/62 จากการถูกกระแทกเป็นช่องเปิด ทำให้น้ำทะเลสามารถเข้าไปยังห้อง Gun bay ปีน 76/62 จากช่องทางนี้ได้
1.3  ประตูห้องกระชับเชือกหัวเรือเปิดอยู่ ทำให้น้ำสามารถเข้าได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัว
1.4  ความเสียหายรูทะลุ 2 แห่ง ที่หัวเรือกราบซ้ายบริเวณกงที่ 35 สูงจากแนวน้ำประมาณ 5 ฟุต เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำเข้าสู่ห้อง Gun bay ปีน 76/62 ได้ แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักของการอับปางกล่าวคือ เมื่อระดับน้ำในภายห้องสูงกว่าระดับรูทะลุ น้ำจะไหลออกมากกว่าไหลเข้าสู่ภายในห้อง
2. สภาพคลื่นลมที่มีความรุนแรงขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งเกินกว่าขีดความสามารถของเรือในขณะนั้น ที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน (เรืออายุ 36 ปี เข้าสู่ช่วง ท้ายๆ ของการประจำการ) ซึ่งสภาพคลื่นลมที่รุนแรงดังกล่าว
ทำให้ตัวเรือมีการกระแทกกับคลื่นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความเสียหายโดยตรงที่แผ่นกันคลื่น นอกจากนั้นยังส่งผลไปถึงโครงสร้างตัวเรือ และประตูกั้นน้ำบางตำแหน่ง ทำให้เกิดการผิดรูป หรือตัวล็อกประตูเกิดการคลายตัว 
สุดท้ายด้วยสภาพคลื่นลมที่รุนแรงยังทำให้น้ำชัดขึ้นมาทางหัวเรือ และเข้าในช่องทางที่เกิดความเสียหายตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. เกิดความเสียหายในตำแหน่งที่ทำให้น้ำเข้าสู่ห้อง Gun bay ปืน 76/62 และห้องกระซับบเชือก ซึ่งเป็นห้องที่อยู่เหนือแนวน้ำ และเหนือจุด CG เป็นเหตุให้เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัว จนเรืออยู่ในสภาวะเอียงเกินกว่า 30 องศา
4. เมื่อเรืออยู่ในสภาวะเอียงเกินกว่า 30 องศา น้ำทะเลก็สามารถเข้าภายในตัวเรือได้ทางช่องทางระบายอากาศ และประตูผนึกน้ำที่เปิดออกจากการปะทะของคลื่น ในลักษณะ Progressive Flooding คือเข้าได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ถูกจำกัดการไหล 
ปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะไหลเข้าไปอยู่ในห้องเครื่องจักรใหญ่ และภาคท้ายเป็นหลัก จนเรือสูญเสียกำลังลอย และจมลงในที่สุด
5. การที่เรือสูญเสียความสามารถในการทรงตัวตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00 น. จนจมลงในเวลาประมาณ 24.00 น. รวมเวลาประมาณ 9 ชั่วโมง แสดงให้เห็นความสามารถในการผนึกน้ำของเรือทำได้ดีพอสมควร 
แต่ในกรณีที่น้ำเริ่มเข้าจากช่องทางบนดาดฟ้าเปิด การผนึกน้ำย่อมไม่สามารถกั้นน้ำเข้าได้ 100%
6. การป้องกันความเสียหายของเรือที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ ได้แก่
6.1 การตรวจสอบสาเหตุที่น้ำเข้าเรือ ซึ่งไม่สามารถออกไปตรวจสอบภายนอกตัวเรือได้เนื่องจากคลื่นลมแรง ทำให้ไม่สามารถหยุด หรือลดปริมาณน้ำที่เข้าเรือได้
6.2  การเกิดเหตุชำรุดของ เครื่องจักรใหญ่ เครื่องไฟฟ้า ระบบปรับพิตช์ใบจักร การเกิดไฟไหม้ ตลอดจนการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรตามที่ต่าง ๆ ทำให้กำลังพลแผนกช่างกล ซึ่งมีหน้าที่หลักในการป้องกันความเสียหาย 
มีภาระงานมากเกินกว่าที่จะสามารถปฏิบัติการป้องกันความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.3  การเกิดไฟฟ้าสัดวงจร และไฟดูดกำลังพล ทางเรือจึงต้องตัดกระแสไฟฟ้าบางส่วน ทำให้เครื่องสูบน้ำที่ใช้ไฟฟ้าหลายพื้นที่ใช้งานไม่ได้ และความสามารถในการสูบน้ำออกจากเรือลดลง

ผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ
การอับปางไม่ได้เกิดจากความจงใจของ ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย และกำลังพลในเรือแต่เกิดจากสภาพอากาศมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทำให้เรือเกิดภาวะผิดปกติ และเกิดจากน้ำทะเลเข้ามาในตัวเรือจากรูทะลุเป็นเหตุที่ทำให้เรือเอียง และอับปาง
การตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพเรือสัตหีบ ของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยขาดความรอบคอบทำให้เกิดความเสียหายจึงเชื่อว่า การอับปางของเรือหลวงสุโขทัย 
มีส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ในส่วนการใช้ดุลยพินิจโดยขาดความรอบคอบทำให้เกิดความเสียหายของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ทัพเรือภาคที่ 1 ดำเนินการดังนี้
1. เสนอกองทัพเรือให้ดำเนินการทางวินัยกับผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย เต็มตามอำนาจการลงทัณฑ์ของผู้บัญชาการทหารเรือ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 ลงทัณฑ์ “กัก” เป็นเวลา 15 วัน
2. ส่งผลการพิจารณาให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดฯ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ในส่วนความผิดในทางอาญาอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอบางสะพาน ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ผลการสอบของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงที่เกี่ยวข้องตรวจสอบพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบเอกสาร วัตถุ หรือสถานที่ 
โดยให้พิจารณาผู้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิด ซึ่งจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่ไม่ปฏิบัติตามแบบแผนของทางราชการ จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายสรุปได้ว่า
สาเหตุการอับปางของ เรือหลวงสุโขทัยของทัพเรือภาคที่ ๑ ในประเด็นต่าง ๆ และจากข้อเท็จจริงที่คณะกรรมการฯ ได้มีการสอบสวนพยานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอย่างละเอียด ทุกประเด็น 
รวมถึงการที่ผู้บังคับการเรือ และกำลังพลในเรือทุกนาย ได้พยายามแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ตามขั้นตอนอย่างสุดความสามารถแล้ว

ความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
1. การอับปางของเรือหลวงสุโขทัย เกิดจากสภาวะคลื่นลมที่รุนแรงเป็นหลักมิได้เกิดจากการจงใจของผู้บังคับการเรือและเจ้าหน้าที่
2. ไม่เข้าเงื่อนไขที่ต้องรับผิดทางละเมิด ตาม ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสียหายแก่เงินราชการหรือทรัพย์สินของทางราชการอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2542 (ขกล.42)
3. ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดมีความเห็นว่า ผู้บังคับการเรือ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มิได้จงใจ ที่จะทำให้เรือหลวงสุโขทัยอับปางในครั้งนี้แต่อย่างใด 
จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ต้องรับผิดทางละเมิด ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสียหายแก่เงินราชการ หรือทรัพย์สินของทางราชการ อันเนื่องมาจากกการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่
ดังนั้น ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย และเจ้าหน้าที่ทุกนาย จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้แต่อย่างใด 

ในช่วงท้ายของการแถลงข่าว ผู้บัญชาการทหารเรือกล่าวว่า  
"กองทัพเรือตระหนักถึงความสูญเสียของกำลังพล อันเป็นที่รักและเป็นกำลังหลักของครอบครัว    จึงได้มอบเงินสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่างๆให้ได้ครบตามสิทธิสำหรับผู้สูญหาย  
กองทัพเรือก็ไม่เคยละความพยายามที่จะค้นหาทั้งนี้มีกำลังพลที่สูญหาย 2 รายที่ต้องรอค่าสวัสดิการฌาปนกิจจนกว่าจะครบ 2 ปี กองทัพเรือก็ได้ดำเนินการอนุมัติเงินให้ก่อนแล้ว   ร่วมกับการขอพระราชทานยศสูงขึ้น  
การให้การบรรจุทดแทนญาติกำลังพลที่เสียชีวิตเพื่อเขารับราชการรวมถึงการเตรียมการบรรจุให้กับบุตร ธิดาในกรณีที่ยังไม่จบการศึกษาด้วย  รวมทั้งได้ให้การช่วยเหลือในการจัดกำลังพล  งบประมาณ  ในการปรับปรุงที่พักอาศัยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  
ซึ่งการช่วยเหลือต่างๆข้างต้นได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว  คงเหลือการซ่อมแซมบ้านอีก 2 หลังก็จะเสร็จสิ้น  การแถลงผลที่ผ่านมา กองทัพเรือขอยืนยันว่าเราได้ดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยความตรงไปตรงมา ข้อมูลที่นำมาชี้แจงในวันนี้ทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้ 
และไม่มีการดัดแปลงหรือปรับแก้แต่อย่างใด อุบัติเหตุในครั้งนี้นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของกองทัพเรือ  ในการนี้ผมจะได้ให้กรมจเรทหารเรือ นำข้อผิดพลาดในครั้งนี้ไปศึกษา และเสนอแนวทางปรับแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก  
สุดท้ายนี้ ผมขอเรียนต่อกำลังพลที่รอดชีวิตและครอบครัวผู้เสียชีวิตและสูญหายว่า กองทัพเรือจะจดจำวีรกรรมของกำลังพลทั้ง 105 นายว่า ทุกท่านได้ทำหน้าที่ลูกประดู่อย่างเต็มขีดความสามารถแล้ว 
และขอโทษอย่างสุดซึ้งที่เกิดการเสียชีวิตและสูญหายขึ้นและขอเรียนประชาชนทุกคนว่ากำลังพลทุกคนของกองทัพเรือจะชดเชยความเสียหายในครั้งนี้ด้วยการมุ่งมั่นทำงานเสียสละและอุทิศตนเพื่อทำหน้าที่ของกองทัพเรือต่อไป  
เพียงเพื่อขอให้กองทัพเรือกลับมาเป็นกองทัพเรือที่ประชาชนชาวไทยเชื่อมั่น ศรัทธา และภาคภูมิใจตลอดไป"
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตตั้งแต่แรกเกิดเหตุในอีกจุดหนึ่งคือรอยแตกที่ป้อมปืนเรือ 76mm ซึ่งในการแถลงกล่าวว่า รอยแตกที่ปืนเรือ 76mm ไม่ได้เกิดจากคลื่นเพราะบริษัทผู้ผลิต(Leonardo อิตาลี) ยืนยันว่าปืนเรือ 76/62 ของตนทนทานต่อสภาวะทะเล sea state ที่จะไม่สามารถจะเกิดรอยแตกแบบนี้ได้
ดังนั้นรอยแตกที่ปืนเรือ 76/62 จะต้องเกิดจากมีวัตถุที่เป็นของแข็งมาชนจนแตก ซึ่งในพื้นที่อ่าวไทยที่มีการจราจรทางน้ำหนาแน่นจะมีวัตถุแบบนี้เยอะมาก อย่างไรก็ตามการดำน้ำสำรวจเรือของไทยและกองทัพเรือสหรัฐจนสิ้นสุดไม่พบหลักฐานถึงวัตถุดังกล่าว จึงไม่สามารถจะสรุปข้อสันนิษฐานนี้ได้ 
เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยมีกำลังพลประจำเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี(จำไม่ได้ว่าเป็น ร.ล.ปัตตานี หรือ ร.ล.นราธิวาส)เล่าให้ฟังใน webboard หนึ่งว่าการออกเรือครั้งหนึ่งมีวัตถุลอยน้ำอาจจะเป็นถังเหล็กที่หลุดมาจากเรือมาชนข้างเรือใต้น้ำจนแตกน้ำเข้าเรือที่ห้องนอนกำลังพล แต่สามารถอุดปะค้ำยันแก้ไขได้ครับ


4 APR, The Overseas Training Cruise units JS MURASAME conducted a goodwill exercise with Royal Thai Navy HTMS BHUMIBOL ADULYADEJ. Aviation officer cadets sought to understand the activities of various countries and fostered an international sensibility.
JS MURASAME made a port visit to Sattahip, Kingdom of Thailand from 2 to 4 April. After the training, the vessel will enter Timor-Leste. (JMSDF)


Royal Thai Navy (RTN) T.230 coastal patrol boat contact Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF) DD-101 JS Murasame in Gulf of Thailand on 2 April 2024. (Royal Thai Navy)








Royal Thai Naval Academy (RTNA) cadets abboard visited French Navy F734 Vendemiaire, the Floreal-class frigate at Bangkok Port, Khlong Toei, Bangkok, Thailand on 2 April 2024. (Royal Thai Navy)
The Surveillance Frigate Vendemiaire docked on April 1, 2024 at the port of Khlong Toei, in Bangkok, for a stopover from April 1 to 6, 2024.




Royal Australian Navy FFH 152 HMAS Warramunga visited the Royal Thai Naval Base at Sattahip for 6 days as part of a 3 mth Indo-Pacific deployment.
The Royal Thai Navy were generous hosts & Australia is honoured to be counted among nations which Thailand conducts training with. (Defence Australia)

ในวันที่ 2 เมษายน 2567 เรือ ต.230 ออกเรือแสดงกำลังและปรากฏตัวให้เรือของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ชื่อ JS MURASAME สังเกตุเห็น รวมทั้งทดลองการติดต่อสื่อสาร

เรือรบกองทัพเรือฝรั่งเศสเยือน ประเทศไทย
…กองเรือปฏิบัติการ ทัพเรือภาคที่ 1 ส่ง เรือ ต.997 ออกเรือลาดตระเวน แสดงกำลังปรากฏตัว ให้เรือรบ จาก กองทัพเรือฝรั่งเศส ชื่อ FS VENDEMIAIRE (F734) สังเกตเห็นโดยทันที และทดลองการติดต่อสื่อสาร เมื่อเดินทางเข้าน่านน้ำไทยในพื้นที่รับผิดชอบของ ทัพเรือภาคที่ 1 [อ่าวไทยตอนบน]  ซึ่งเรือรบจากกองทัพเรือฝรั่งเศส เป็นเรือฟริเกต เดินทางเข้าเยี่ยมเมืองท่าประเทศไทย โดยเข้าเทียบท่าที่ ท่าเทียบเรือคลองเตย กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดี ระหว่างกองทัพเรือทั้งสองประเทศ
https://www.facebook.com/replenishment/videos/1105992530613332

เรือฟริเกต"ว็องเดมีแยร์"(Vendemiaire) ของกองทัพเรือฝรั่งเศส เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่ 1-6 เม.ย. 67 และเข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 67 โดยมีคณะผู้แทนกองทัพเรือไทยและวงโยธวาทิต กองดุริยางค์ทหารเรือ ให้การต้อนรับ
อ่านเพิ่มเติม https://th.ambafrance.org/article-6345

โรงเรียนนายเรือนำนักเรียนนายเรือเข้าเยี่ยมชมเรือ VENDEMIAIRE ของกองทัพเรือฝรั่งเศส
ในวันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 14.00 น. โรงเรียนนายเรือนำนักเรียนนายเรือเข้าเยี่ยมชมเรือ VENDEMIAIRE ของกองทัพเรือฝรั่งเศส เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ในด้านการเรือและยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนนายเรือ 
รวมถึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพเรือไทย และกองทัพเรือฝรั้งเศส  ณ ท่าเรือกรุงเทพ คลองเตย  แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนนายเรือทำการส่งเรือ VENDEMIAIRE จากกองทัพเรือฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. โรงเรียนนายเรือทำการส่งเรือ VENDEMIAIRE จากกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่ได้ออกเดินทางจากท่าเรือกรุงเทพฯ ผ่านโรงเรียนนายเรือ ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจเยี่ยมเมืองท่าประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 - 6 เมษายน 2567 
โดยจัดนักเรียนนายเรือยืนแถวรายกราบ บริเวณเขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อโบกหมวกอำลา และชักธงประมวลสากล ตีธงสองมือ แสดงข้อความ "BONVOYAGE" รวมทั้งติดต่อสื่อสารทางวิทยุ เพื่ออวยพรให้เรือ  VENDEMIAIRE เดินทางโดยสวัสดิภาพ 
"การโบกหมวกอำลา" ถือเป็นประเพณีชาวเรือที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทหารเรือทั่วโลกยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เพื่อเป็นการแสดงออกถึงมิตรไมตรีในฐานะประเทศเจ้าบ้าน 
ซึ่งโรงเรียนนายเรือได้ใช้โอกาสที่เรือรบมิตรประเทศผ่านโรงเรียนนี้ ปลูกฝังและถ่ายทอดให้นักเรียนนายเรือได้ซึมซับประเพณีชาวเรือที่ดีดังกล่าว

HMAS Warramunga เยือนกองบัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบเป็นเวลา 6 วัน เป็นส่วนหนึ่งของการส่ง HMAS Warramunga มายังภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นระยะเวลา 3 เดือน
กองทัพเรือไทยเป็นเจ้าภาพที่มีน้ำใจ และออสเตรเลียรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เข้าร่วมการฝึกกับประเทศต่าง ๆ ที่ประเทศไทยจัดในครั้งนี้ 




Royal Thai Navy FFG-456 HTMS Bangpakong the Chao Phraya-class frigate departed from Sattahip naval base, Chonburi Province, Thailand on 4 April 2024 to port visit Sihanoukville, Cambodia during 5-7 April 2024.
RTN FFG-456 HTMS Bangpakong and PC-526 HTMS Theai Mueang, the Sattahip class patrol gun boat from Songkhla naval base, Songkhla Province, Thailand conducted 49th joint partrol with Vietnam People's Navy HQ-261 and HQ-264, the Project 10412 Svetlyak-class patrol boats in Gulf of Thailand on 8-9 April 2024.
HTMS Bangpakong returned to Sattahip naval base on 10 April, conclueded sea exercise with RTN non-commissioned officer (NCO) school students during 4-10April 2024.

กองทัพเรือ โดย ทัพเรือภาคที่ 1 ทำพิธีส่งหน่วยเรือเดินทางปฏิบัติภารกิจ เยี่ยมเมืองท่าสีหนุวิลล์ ราชอาณาจักรกัมพูชา และลาดตระเวนร่วม กองทัพเรือไทย-กองทัพเรือเวียดนาม ครั้งที่ 49
ใน 4 เมษายน 2567 พลเรือโท สุระศักดิ์  สิงขรวัฒน์  ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เป็นประธานพิธีส่งหน่วยเรือเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ เยี่ยมเมืองท่าสีหนุวิลล์ ราชอาณาจักรกัมพูชา และลาดตระเวนร่วม กองทัพเรือไทย-กองทัพเรือเวียดนาม ครั้งที่ 49 ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ 
โดยมี นาวาเอก อโศก  ศรีสวัสดิ์ รองเสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะผู้บังคับหน่วยเรือเดินทางเยี่ยมเมืองท่าสีหนุวิลล์ ราชอาณาจักรกัมพูชา พร้อมด้วยกำลังพลฝ่ายอำนวยการทัพเรือภาคที่ 1 กำลังพลเรือหลวงบางปะกง และนักเรียนจ่าทหารเรือ จำนวน 49 นาย ร่วมพิธีฯ 
*** การจัดพิธีฯ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความพร้อมของกำลังพล และยุทโธปกรณ์ ก่อนออกเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ ในฐานะตัวแทนกองทัพเรือไทยในครั้งนี้ 
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมขวัญกำลังใจ อวยพรให้กำลังพลในหน่วยเรือเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ เยี่ยมเมืองท่าสีหนุวิลล์ ราชอาณาจักรกัมพูชา เดินทางปลอดภัยทั้งไปและกลับ ปฏิบัติภารกิจเป็นไปด้วยความราบรื่น และบรรลุวัตถุประสงค์ทางราชการ
สำหรับภารกิจในครั้งนี้ มีกำหนดการเดินทางระหว่างวันที่ 4-10 เมษายน 2567 โดยมีภารกิจประกอบด้วย การเดินทางไปเยือนเมืองท่าสีหนุวิลล์ ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือไทย-กองทัพเรือกัมพูชา 
อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการประสานในการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ทางทะเล และการเข้าร่วมการลาดตระเวนร่วมของกองทัพเรือไทย-กองทัพเรือเวียดนาม ครั้งนี้ 49 
พร้อมกันนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนจ่าทหารเรือได้ร่วมเดินทาง เพื่อสร้างประสบการณ์การเป็นชาวเรือ และเยือนเมืองท่าต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ

หน่วยเรือเดินทางเยี่ยมเมืองท่าพระสีหนุฯ ถึงราชอาณาจักร กัมพูชา

ทัพเรือภาคที่ 1 โดยหน่วยเรือเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ เยี่ยมเมืองท่าสีหนุวิลล์ ราชอาณาจักรกัมพูชา และลาดตระเวนร่วม กองทัพเรือไทย-กองทัพเรือเวียดนาม ครั้งที่ 49 ได้เดินทางถึงราชอาณาจักรกัมพูชาแล้ว

”ไม่ใช่ระเบียบ แต่เป็นธรรมเนียมประเพณีของชาวเรือ“ (เลี้ยงรับรองบนเรือหลวงบางปะกง)
พลเรือเอก เตีย วินห์ ผู้บัญชาการทหารเรือกัมพูชา นายเชิดเกียรติ อัตถากร เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ พร้อมคณะ ได้เดินทางเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองบนเรือหลวงบางปะกง ในโอกาสที่ หน่วยเรือมาเยี่ยมเมืองท่าพระสีหนุฯ ราชอาณาจักรกัมพูชา
นอกจากจะมีความสำคัญต่อการเสริมสร้างประสบการณ์การเดินเรือให้กับนักเรียนจ่าทหารเรือแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทางทะเลของไทยอีกด้วย
"Join the navy to see the world ร่วมเครือนาวีจักยลปฐพีไพศาล"

กองทัพเรือ โดย ทัพเรือภาคที่ 1 จัดกำลังทางเรือ เข้าร่วมลาดตระเวนร่วมระหว่าง กองทัพเรือ - กองทัพเรือเวียดนาม ครั้งที่ 49 หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจเยี่ยมเมืองท่าสีหนุฯ

"เสร็จสิ้นภารกิจการลาดตระเวนร่วมทางทะเล ทร.– ทร.วน. ครั้งที่ ๔๙"
ทร.  - ทร.วน. ทำการลาดตระเวนร่วมทางทะเล ครั้งที่ ๔๙ บริเวณเส้นแบ่งเขตทางทะเลระหว่างสองประเทศ (KC Line) ระหว่าง ๘ – ๙ เม.ย.๖๗ โดย ทรภ.๒ ได้พิจารณาจัด ร.ล.ท้ายเหมือง เข้าร่วมฯ ส่วน ทรภ.๑ จัด ร.ล.บางปะกง(เรือหมู่) 
ขณะที่กองทัพเรือเวียดนาม โดย ภูมิภาคทหารเรือที่ ๕ พิจารณาจัดเรือตรวจการณ์ปืน ชั้น Svetlyak จำนวน ๒ ลำ เข้าร่วมฯ ได้แก่ เรือ HQ 261 และ เรือ HQ 264 เข้าร่วมการลาดตระเวนร่วมฯ
ทั้งนี้ทั้งสองประเทศ เริ่มด้วยการทักทาย Hello ASEAN จากนั้นได้มีการฝึกทบทวนการปฏิบัติการทางเรือ ร่วมกัน อาทิ การฝึกธงสองมือ การฝึกโคมไฟบังคับทิศ การตราทางเป้า การใช้บรรณสาร(CUES) และการฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล(SAREX) รวมเวลา ๓๖ ชม. 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายทางทะเล รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลร่วมกัน ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศ สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 
และดำรงกลไกการปฏิบัติการร่วมกันในการลาดตระเวนร่วมทางทะเลระหว่าง ทร. – ทร.วน. อย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของการรักษาสันติภาพ เสรีภาพ และความมั่นคงปลอดภัยทางทะเลระหว่างสองประเทศ

หมู่เรือลาดตระเวนร่วม กองทัพเรือไทย-เวียดนาม ตรวจเยี่ยมเรือประมงระหว่างเดินทางกลับ สัตหีบ จ.ชลบุรี
หมู่เรือลาดตระเวนร่วม กองทัพเรือไทย -เวียดนาม โดย ร.ล.บางปะกง ตรวจเยี่ยมเรือประมง  พร้อมมอบยารักษาโรค พูดคุยกับ พี่ น้อง ชาวประมง ในพื้นที่ อ่าวไทยตอนบน ระหว่างเดินทางกลับ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ ลาดตระเวนร่วมฯ


Welcome to Thailand USS Theodore Roosevelt! The U.S. Navy’s aircraft carrier is an amazing feat of engineering and design and will be making a regularly scheduled port visit at Laem Chabang. 
**Please note there will be no opportunities for the public to tour the ship.**
Photo by Petty Officer 2nd Class Andrew Benvie, Sompong Nondhasa


Today we hosted members of the Royal Thai Navy for a tour of the ship!

ขอต้อนรับเรือ USS Theodore Roosevelt สู่ประเทศไทยค่ะ! เรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ ลำนี้ เป็นผลงานสุดยิ่งใหญ่ด้านวิศวกรรมและการออกแบบ ซึ่งมาจอดเทียบท่าที่แหลมฉบังตามกำหนดการปกติค่ะ 
**เรือลำนี้ไม่ได้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมนะคะ**

เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Theodore Roosevelt และกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 9 เดินทางถึงประเทศไทย
ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย – 24 เมษายน 2567: กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่9 (CSG-9) เรือธง USS Theodore Roosevelt (CVN 71) และกองบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน(CVW) ที่11 บนเรือ
เดินทางถึงท่าเรือแหลมฉบัง ตามกำหนดการเข้าเยี่ยมท่าเรือตามภารกิจปกติ ในวันที่24 เมษายน 2567 โดยเป็นการเยือนประเทศไทยครั้งแรกของเรือบรรทุกเครื่องบิน Theodore Roosevelt นับตั้งแต่ปี 2561
กองเรือพิฆาตที่23 ซึ่งเยือนอำเภอศรีราชา ประเทศไทย ในเวลาเดียวกันนี้ประกอบไปด้วยเรือ USS Russell (DDG 59), เรือ USS Daniel K. Inouye (DDG 118), เรือ USS Halsey (DDG 97) และ เรือ USS Howard (DDG 83)
“เราขอบคุณไมตรีจิตของชาวไทยที่ต้อนรับกองเรือของเราขณะเข้าเยี่ยมท่าเรือครั้งนี้” พลเรือตรี คริสโตเฟอร์ อเล็กซานเดอร์ ผูบั้ญชาการกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่9 กล่าว
“ระหว่างการออกประจำการครั้งนี้เรามีโอกาสได้พบปะ ฝึกซอ้ มและปฏิบัติการร่วมกับภาคีและหุ้นส่วนมากมายทั่วภูมิภาค และเราตั้งตารอที่จะมีโอกาสได้เสริมสร้างมิตรภาพอันยืนนานระหว่างกองทัพเรือสหรัฐฯ และประเทศไทย”
ขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Theodore Roosevelt และเรืออื่น ๆ ในกองเรือ CSG-9 เทียบท่าอยู่ ลูกเรือจะมีโอกาสขึ้นฝั่งท่องเที่ยวและเพลิดเพลินกับซอฟต์พาวเวอร์ทางวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของไทย 
ตลอดจนทำกิจกรรมบริการชุมชนต่าง ๆ ขณะที่ลูกเรือไทย-อเมริกันบนเรือ Theodore Roosevelt หลายคนจะไดมี้โอกาสพบปะกับครอบครัวด้วย
"ทหารเรือประจำ เรือ USS Theodore Roosevelt รู้สึกเป็นเกียรติที่ดักลับมาเยือนชาติที่สำคัญอย่างประเทศไทยอีก หลังจากไม่ได้มาที่นี่เป็นเวลานาน ” นาวาเอก ไบรอัน ชรัม ผู้บังคับการเรือ USS Theodore Roosevelt กล่าว 
"ลูกเรือของเราตั้งตารอที่จะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์อันยาวนานของไทย และสร้างมิตรภาพที่คงอยู่ตลอดไป ในระหว่างที่พวกเขาอยู่ที่นี่ เราขอขอบคุณชาวไทยที่ต้อนรับเราด้วยความเอื้ออารีและไมตรีจิต”
กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่9 เดินทางออกจากเมืองซานดิเอโก เมื่อวันที่12 มกราคม 2567 เพื่อปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ตามกิจวัตรปกติในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก
กองเรือ CSG-9 ประกอบไปด้วยเรือและอากาศยานที่มีระบบปฏิบัติการหลากหลาย ซึ่งสามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ภารกิจทางยุทธวิธีไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ การบรรเทาภัยพิบัติ 
กองเรือนี้ประกอบไปด้วย กำลังพลประจำ กองเรือ CSG-9, กองเรือพิฆาตที่23, เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Theodore Roosevelt (CVN) 71,
กองบินประจำ เรือบรรทุกเครื่องบินที่11 และเรือในกองเรือพิฆาตที่23 ซึ่งได้แ ก่ USSRussell (DDG 59), USS Daniel K. Inouye (DDG118) และ USS Halsey (DDG 97)

USS Theodore Roosevelt  CVN-71 เยือนไทย จอดที่ท่าเรือแหลมฉบังวันนี้

การจอดเรือเทียบท่า ของเรือรบขนาดใหญ่นอกจากจะมีการวางทุ่นป้องกันของเสียหรือคราบสารเคมี จะต้องมีทุ่นลอยเทียบเรือขนาดใหญ่ ป้องกันตัวเรือกระแทกกับขอบท่าเรือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ท่าเรือแหลมฉบังมีไว้รองรับการเทียบท่าของเรือบรรุกเครื่องบินชั้น นิมิทซ์อยู่แล้ว

การประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 
…กองบัญชาการกองทัพไทย บูรณาการการใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System: UAS) และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ (Counter-Unmanned Aircraft System: CUAS) ของกองทัพไทย ให้มีขีดความสามารถในการสนับสนุนงานด้านการทหารและด้านความมั่นคง สามารถรับมือภัยคุกคามซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมกำลัง อาทิ การจัดทำหลักนิยม การฝึกอบรมกำลังพล การปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วย และการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ สำหรับการใช้กำลัง 
ในระยะสั้น กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มอบให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล รับผิดชอบภารกิจต่อต้าน UAS โดยมุ่งเน้นรองรับการก่อเหตุที่มาจาก UAS ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงภายใน รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถการใช้ UAS เชิงรุก 
ในระยะยาว มุ่งเน้นการบูรณาการการป้องกันภัยทางอากาศในภาพรวมของกองทัพไทย ให้มีขีดความสามารถในการต่อต้าน UAS ทางทหารที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงอาวุธยิงระยะไกล 
โดยจะประสานความร่วมมือกับเหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
       
กองทัพบก พัฒนาอากาศยานไร้คนขับ และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจทั้งการป้องกันประเทศ การปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม และการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความมั่นคงตามนโยบายรัฐบาล 
โดยนำมาใช้ในการลาดตระเวน/เฝ้าตรวจ การระวังป้องกัน และรักษาความปลอดภัย การค้นหาเป้าหมายและการปรับการยิงอาวุธสนับสนุน ตลอดจนการควบคุมและอำนวยการยุทธ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงโครงสร้างกำลังของกองทัพ 
และเสริมสร้างขีดความสามารถของกำลังทางบกให้มีความทันสมัย และเชื่อมโยงกับระบบปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มุ่งสู่การปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทยที่มีประสิทธิภาพต่อไป 

กองทัพเรือ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่งแบบ Hermes 900 จำนวน 2 ระบบ (อากาศยาน จำนวน 7 เครื่อง) โดยได้จัดทำร่างแนวทางบริหารจัดการระบบอากาศยานไร้คนขับ พ.ศ. 2566 
เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการระบบอากาศยานไร้คนขับของกองทัพเรือ ซึ่งครอบคลุมในด้านยุทธการและการฝึก การกำลังพล การส่งกำลังบำรุงและโครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสารและควบคุมบังคับบัญชา การวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ. 2560-2580 
ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนานำมาสู่การใช้งานทางยุทธการอย่างแท้จริง  

กองทัพอากาศ นำเสนอสถานภาพกำลังรบด้านระบบอากาศยานไร้คนขับ ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ และแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ 
โดยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอากาศยานไร้คนขับที่ประจำการในกองทัพอากาศ ประกอบด้วย การจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับที่ทันสมัยจากต่างประเทศ 
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ และจากการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้จนนำไปสู่การผลิตระบบอากาศยานไร้คนขับที่มีมาตรฐาน สามารถนำมาใช้งานในกองทัพอากาศได้ 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำระบบอากาศยานไร้คนขับ และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับมาใช้ในภารกิจด้านการถวายความปลอดภัยทางอากาศ งานสืบสวนและความมั่นคง งานป้องกันปราบปราม งานจราจร งานสอบสวน งานบรรเทาสาธารณภัย และงานอำนวยการ 
โดยปัจจุบันขีดความสามารถของระบบต่อต้านอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทควบคุมการบินจากภายนอก (Anti Drone) ประกอบด้วย ระบบตรวจจับ (Drone Detection System) และระบบต่อต้านอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินฯ (โดรน) แบบรอบทิศทาง แบบกำหนดทิศทาง และแบบพกพา 
โดยมีแนวทางการพัฒนาในอนาคตด้วยการจัดหาอุปกรณ์ระบบตรวจจับ (Drone Detection System) ที่สามารถตรวจจับอากาศยานไร้คนขับได้ครอบคลุมทุกยี่ห้อ ตรวจจับสัญญาณโดรนได้ทุกระดับความสูง สามารถแสดงพิกัดของรีโมทที่ใช้บังคับอากาศยานได้ และมีจำนวนเพียงพอ 
เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

ห้วงเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมากองทัพเรือไทยยังคงมีการฝึกและกิจกรรมความร่วมมือกับมิตรประเทศหลายรายการรวมถึง การเดินทางเยือนไทยของเรือพิฆาต DD-101 JS Murasame กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น, เรือฟริเกต F743 FS Vendemiaire กองทัพเรือฝรั่งเศส,
เรือฟริเกต FFH152 HMAS Warramunga กองทัพเรือออสเตรเลีย และหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ CVN-71 USS USS Theodore Roosevelt กองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งต่างกำลังอยู่ระหว่างการวางกำลังในอินโด-แปซิฟิกร่วมกับกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี และกองทัพเรือฟิลิปปินส์
เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง กองทัพเรือภาคที่๑ ก็ได้เดินทางเยือนเมืองเมืองท่าพระสีหนุฯ กัมพูชา และได้ร่วมกับเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงสัตหีบ เรือหลวงท้ายเหมือง กองทัพเรือภาคที่๒ ลาดตระเวนร่วมกับเรือตรวจการณ์ปืนชั้น Svetlyak สองลำ HQ261 และ HQ264 กองทัพเรือประชาชนเวียดนามด้วย

แต่ทว่าก็เช่นเดียวกับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ของกองทัพอากาศไทย กองทัพเรือไทยไม่รับอนุมัติงบประมาณสำหรับโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ วงเงินราว ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($485,568,620) ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘ ที่มองจะสร้างเรือในไทย
และโครงการเรือดำน้ำ S26T จีนก็มีแนวโน้มที่กองทัพเรือไทยจะไม่ได้ทั้งเรือดำน้ำหรือการเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตหรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจากจีนด้วย ตามที่ยังไม่มีการตัดสินใจในกระทรวงกลาโหม รัฐบาล และคณะกรรมาธิการการทหารรัฐสภา เกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขสัญญาแบบรัฐต่อรัฐกับจีน
ขณะเดียวกันพิธีปล่อยเรือลงน้ำของเรือดำน้ำ PNS Hangor เรือดำน้ำชั้น Hangor ลำแรกของกองทัพเรือปากีสถาน ณ อู่เรือ Wuchang ในเครือ CSOC จีนที่ Shuangliu เมือง Wuhan จีนเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ นั้น(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/hangor.html)

แสดงให้เห็นว่าเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620V16H6 ที่จีนนำมาใช้แทน MTU 16V396 SE84 เยอรมนีที่ปฏิเสธการส่งออกให้จีนและปิดสายการผลิตในปี 2020 ได้ถูกติดตั้งภายในตัวเรือแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chd620v16h6.html) เมื่อถึงขั้นนี้ส่วนใหญ่เรือดำน้ำจะใช้เวลาราวหนึ่งปีสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมและทดลองเรือในทะเลก่อนจะส่งมอบเข้าประจำการ ซึ่งเรือดำน้ำชั้น Hangor นั้นปากีสถานสั่งจัดหาทั้งหมด ๘ลำ โดย ๔ลำแรกสร้างในจีน และ ๔ลำหลังได้ถ่ายทอดวิทยาการสร้างในปากีสถาน
ในส่วนเรือดำน้ำ S26T ของไทยที่เรือลำแรกสร้างไปแล้วมากกว่าร้อยละ๕๐ นั้นซึ่งถ้าแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ด้วยขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมการสร้างเรือที่รวดเร็วมากของจีน การติดตั้งเครื่องยนต์และการสร้างเรือให้เสร็จทั้งลำจนปล่อยน้ำได้น่าจะเร็วกว่าที่มีรายงานก่อนหน้าว่าต้องใช้เวลาถึง ๔๐เดือนหรือราว พ.ศ.๒๕๗๐ ที่จะส่งมอบได้
ล่าสุดรัฐมตรีกลาโหมไทยกล่าวกับสื่อว่านอกจากที่รัฐมนตรีพาณิชย์ไทยได้พูดคุยกับทูตจีนแล้ว รัฐบาลจีนและกระทรวงกลาโหมจีนจะส่งตัวแทนคณะใหญ่เดินทางเยือนไทยเพื่อพูดคุยกับรัฐบาลไทยและกระทรวงกลาโหมไทยในราวเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗ นี้ ซึ่งน่าจะมีข้อสรุปเรื่องเรือดำน้ำ S26T ได้

ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ กองทัพเรือไทยคงได้รับอนุมัติเพียงโครงการสำหรับยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เท่านั้น รวมถึงโครงการจัดซื้อระบบการรบและระบบอื่นๆสำหรับปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ๒ลำ ร.ล.ปัตตานี และเรือหลวงนราธิวาส วงเงิน ๒,๘๒๙,๕๕๔,๐๐๐บาท($76,869,16)
โครงการจัดซื้อระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง ระบบอาวุธ และระบบ Gyro สำหรับเพิ่มขีดความสามารถการรบเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย Type 071ET LPD เรือหลวงช้าง วงเงิน ๙๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($24,993,208) 
และการซ่อมปรับปรุงสภาพ(Recovery) เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ ฮ.ตผ.๑ Super Lynx 300 หนึ่งเครื่อง(หมายเลข 2313) วงเงิน ๒๙๘,๘๕๐,๐๐๐บาท($8,118,718) เป็นต้น ในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ยังมีการกล่าวถึงโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ ที่น่าจะทดแทน บ.ลล.๑ F-27 MK400 ที่มีรายงานว่าปลดประจำการไปในปลายปี ๒๕๖๖ แล้วครับ




Inspection for the new domestic modernized Bofors 40mm L/70 OES[Opto-Electronic System] of 5th Anti-Aircraft Artillery Battalion, 1st Anti-Aircraft Artillery Regiment, Anti-Aircraft Artillery Division, Army Air Defense Command, Royal Thai Army (RTA) on 10 April 2024.
Army Research and Development Office (ARDO), RTA conducted live fire of new domestic modernized Bofors 40mm L/70 OES on stationary ground targets at 1,000 metre and moving aerial targets at RTA Artillery Center's firing range Khao Phulon, Lopburi Province, Thailand, on 20 April 2024. (Royal Thai Army) 




Thailand's Defence Technology Institute (DTI) delivered two prototype of 105mm light howitzer CS/AH2 to Artillery Battalion, Artillery Center, Royal Thai Army at Bhumibol Camp in Lopburi Province, Thailand, DTI post on its official Facebook page on 24 April 2024. (Defence Technology Institute)

โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อดำรงสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ ระบบควบคุมการยิงสำหรับปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน Bofors 40mm L/70 OES ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก สวพ.ทบ. กองทัพบกไทยได้มีทดสอบยิงจริงไปเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗
ชุดอุปกรณ์ซ่อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ ปตอ.Bofors 40mm L/70 OES (TYPE A ปรับปรุง) ของบริษัท ARMISYS SUPPLY ไทย จำนวน ๑๙กระบอกวงเงิน ๔๔๖,๕๐๐,๐๐๐บาท($13,996,873.07) ราคาต่อหน่วย ๒๓,๕๐๐,๐๐๐บาท($736,677.53) ได้มีการส่งมอบให้หน่วยผู้ใช้งานไปแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
การทดสอบระบบควบคุมกล้อง Opto-Electronic จะเป็นการพัฒนาต่อจากระบบที่ส่งมอบไปแล้วซึ่งติดกล้อง OES ใหม่กับตัวปืน เป็นการเชื่อมระบบควบคุมการยิงกล้อง OES เข้ากับ ปตอ.Bofors 40mm L/70 ได้ถึง ๔กระบอก(หน่วยยิง) ทำให้มีความคุ้มค่าสูงและสนับสนุนอุตสาหกรรมของไทย

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท. DTI ไทยได้ post ใน page Facebook ทางการของตนเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๗ ว่าต้นแบบปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง CS/AH2 ขนาด 105mm จำนวน ๒กระบอก ได้ถูกส่งมอบให้แก่กองพันทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ศป. กองทัพบกไทยแล้ว
DTI ไทยกล่าวว่า "โครงการปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง CS/AH2 105mm นี้อยู่ในระยะเริ่มต้น เริ่มจากรับถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านออกแบบ คำนวนการรับแรง การเลือกวัสดุ การสร้าง การทดสอบ จากนั้นมีการนำชิ้นส่วนย่อยมาประกอบ และทดสอบ โดยใช้ขีดความสามารถที่กองทัพบกไทยมีอยู่ 
องค์ความรู้ที่มีในขั้นนี้จะพัฒนาการสร้างชิ้นส่วนบางรายการได้เอง โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่จำเป็นะทางด้านส่งกำลังบำรุง ดังนั้นวัสดุที่จะใช้สร้างชิ้นส่วนจะดำเนินการในระยะถัดไป จากการที่ DTI และกองทัพบกไทยส่งเจ้าหน้าที่ไปรับถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านออกแบบ คำนวนการรับแรง การเลือกวัสดุ 

การสร้าง การทดสอบ ตลอดจนการปรนนิบัติ ซ่อมบำรุง นอกจากนั้นยังดำเนินการประกอบและทดสอบโดยใช้ขีดความสามารถของกองทัพ นั้น บทบาทที่สำคัญของ DTI คือการจัดเก็บองค์ความรู้ในรูป Explicit Knowledge มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กองทัพบกไทยในการใช้งาน ปรนนิบัติบำรุง ในอนาคตองค์ความรู้นี้จะขยายผลไปในการออกแบบสร้างชิ้นส่วนส่งกำลังบำรุงปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง CS/AH2 ได้เอง และขยายผลไปยังปืนใหญ่ที่มีประจำการในกองทัพบกไทย" เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยยังมีความต้องการปืนใหญ่เบาขนาด 105mm เพื่อทดแทนระบบเก่าที่ใช้มานานอยู่
ที่ผ่านมา DTI ถูกผู้ไม่หวังดีใช้สื่อไร้จรรยาบรรณเป็นเครื่องมือโจมตีบ่อยครั้งว่าเป็นหน่วยงานที่ทำแต่ 'ต้นแบบจดประกอบไม่เคยนำไปใช้จริง' ซึ่งไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙(2026) กระทรวงกลาโหมได้มองที่จะบูรณาการการจัดหาอาวุธของกองทัพไทยให้มีความร่วมกันด้วยครับ