เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความก้าวหน้าด้านวิทยาการทางเรือของหน่วยงานภายกองทัพเรือ สถาบันการศึกษาของไทย ภาคเอกชน และต่างประเทศ ให้แก่ผู้สนใจเข้าชมงานโดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษาที่สนใจจะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมทางเรือของไทยครับ
นิทรรศการของกองเรือดำน้ำในการแสดงข้อมูลความจำเป็นของโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือในยุคปัจจุบัน
แบบจำลองเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ ซึ่งเป็นของเก่าจากประเทศญี่ปุ่น
ใบจักรเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ
ทำไมเรา "ต้อง" มีเรือดำน้ำ
กองเรือดำน้ำยุคใหม่
ความพยายามของกองทัพเรือในการจัดหาเรือดำน้ำชุดที่๒
โครงการจัดหาเรือดำน้ำชั้น Gotland จากสวีเดน พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๔๐
โครงการเช่าเรือดำน้ำชั้น Gal จากอิสราเอล พ.ศ.๒๕๔๔
โครงการจัดหาเรือดำน้ำชั้น U206A จากเยอรมนี พ.ศ.๒๕๕๓
ส่งกำลังพลไปศึกษาหลักสูตรวิทยาการเรือดำน้ำที่เยอรมนี และ International Submarine ที่สาธารณรัฐเกาหลี พ.ศ.๒๕๕๖
ตั้งกองบัญชาการกองเรือดำน้ำที่สัตหีบ ชลบุรี พ.ศ.๒๕๕๗
โครงการเช่า/จัดหาเรือดำน้ำ พ.ศ.๒๕...(อนาคตเราไม่รู้ ถึงไม่รู้ก็ต้องเดินไป จะกลัวไปใย มันก็ล่วงไปตามเวลา...)
ภารกิจและขีดความสามารถ
คำถามที่พบบ่อย
-เรือดำน้ำไม่สามารถปฏบัติการได้ในอ่าวไทยจริงหรือ?
-อากาศยานสามารถมองเห็นเรือดำน้ำขณะดำได้จริงหรือ?
-เรือประมงเป็นอันตรายต่อเรือดำน้ำหรือไม่?
แถบหมวก ร.ล.วิรุฬ และแบบจำลองเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ แสดงรายละเอียดภายในตัวเรือที่เป็นของเก่า
เครื่องหมายนักดำเรือดำน้ำเก่า รูปถ่ายและสมุดบันทึกของลูกเรือดำน้ำในอดีต
คำถามสำคัญที่หลายท่านอยากทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยล่าสุดที่ได้ถอบถามไปยังนายทหารกองเรือดำน้ำที่ประจำส่วนจัดแสดงนิทรรศการคือ
กำลังพลของกองเรือดำน้ำได้ส่งข้อมูลแบบเรือต่างๆให้ทางผู้บังคับบัญชาระดับสูงเป็นผู้พิจารณาและตัดสินใจเลือกแบบไปก่อนหน้านี้แล้ว
ตอนนี้เรื่องส่งไปทางกระทรวงกลาโหมไปแล้ว ดังนั้นการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการอนุมัติโครงการก็เป็นเรื่องของทางกลาโหมตามระเบียบขั้นตอนทางราชการต่อไป
ซึ่งก็ต้องมาติดตามกันต่อไปครับว่ากองเรือดำน้ำจะได้เรือดำน้ำเข้าประจำการจริงๆเสียทีเมื่อไร
กรมอู่ทหารเรือจัดแสดงนิทรรศการผลงานการสร้างเรือชุดต่างๆของกรมอู่ทหารเรือที่ประจำการในกองทัพเรือไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันเช่น
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.๙๑
ร.ล.ล่องลม เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุด ร.ล.คำรณสินธุ
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.๙๙๔
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่
บริษัท อู่กรุงเทพ
จากการสอบถามตัวแทนของบริษัท อู่กรุงเทพ เกี่ยวกับโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒นั้น แบบเรือยังคงเป็นแบบเเดียวกับ ร.ล.กระบี่ลำแรกคือ BAE Systems 90m Offshore Patrol Vessels โดยแบบเรือพื้นฐานมีการปรับปรุงบ้างบางส่วน
ในส่วนลานจอดเฮลิคอปเตอร์ปรับปรุงให้รองรับ ฮ.ขนาด 10tons ได้นั้นตามแผนเดิมทางบริษัทและกองทัพต้องการจะให้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่๒มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ภายในลำตัวเรือ แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากข้อจำกัดของแบบเรือ
นอกนั้นระบบอุปกรณ์และอาวุธเกือบทั้งหมดของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่๒แทบจะเหมือน ร.ล.กระบี่ลำแรกทั้งหมด ยกเว้นการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำแรกของกองทัพเรือที่จะติดจริง
ทางบริษัทอู่กรุงเทพฯ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยครับว่าสาเหตุที่งบประมาณเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ สูงขึ้นมากกว่า ร.ล.กระบี่ลำแรก ก็เนื่องค่าเงินบาทที่อ่อนลง ประกอบกับค่าพัสดุ อุปกรณ์ และการฝึกอบรมที่สูงขึ้นตามสภาพในปัจจุบัน
ทั้งนี้ทางกองทัพเรือมีแผนที่จะต้องการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเพิ่มเติมอีก ๒ลำ แต่ทางบริษัทอู่กรุงเทพกล่าวว่าเรือใหม่อาจจะไม่ใช้แบบเรือของ BAE Systems แต่อาจจะเป็นของบริษัทอื่น
ซึ่งกองทัพเรือต้องการแบบเรือที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากหรือเรือ Stealth ซึ่งทางบริษัทกำลังพิจารณาแบบเรือของบริษัทต่างๆจากต่างประเทศอยู่ แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ในขณะนี้ครับ
ด้านบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ก็ได้สอบถามความเห็นมาครับว่า
การออกแบสร้างสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งตามต้องการของกองทัพเรือไทยนั้นไม่ได้มีความยุ่งยากมากแต่อย่างใด แม้ว่าชุด ร.ล.กระบี่นั้นจะติดอาวุธหนักว่าเรือที่มีแบบแผนเดียวกันของบริษัททั้งเรือชั้น Amazonas ของกองทัพเรือบราซิล และชั้น River ของกองทัพเรืออังกฤษ
เพราะแบบเรือ BAE Systems 90m OPV นั้นแข็งแรงและมีความอ่อนตัวในการปรับแบบได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานอยู่ ซึ่งตำแหน่งของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon ที่เห็นในแบบจำลองนั้นก็พิจารณาแล้ว่าดาดฟ้าเรือมีความแข็งแรงพอรองรับได้
เมื่อสอบถามถึงโอกาสความเป็นไปได้ของแบบเรือคอร์เวต BAE Systems 99m Corvette ทางบริษัทก็มั่นใจว่านี่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของกองทัพเรือไทยที่จะเลือกแบบเรือคอร์เวตของ BAE Systems มาต่อภายในประเทศไทย
เพราะว่าทั้งแบบเรือ 90m OPV และ 99mm Corvette นั้นมีพื้นฐานรูปแบบเดียวกันซึ่งกองทัพเรือไทยมีประสบการณ์ในการสร้างมาแล้ว การเลือกแบบเรือของ BAE Systems ซึ่งเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด
อีกทั้งแบบเรือ 99m Corvette มีขนาดใหญ่รองรับระบบสำหรับสงครามตามแบบได้ดีเยี่ยมทั้ง Sonar Torpedo ปราบเรือดำน้ำ แท่นยิง VLS และอาวุธปล่อยนำวิถีต่าง เช่นเรือคอร์เวตชั้น Khareef ของกองทัพเรือโอมานครับ
บริษัท Marsun
ในส่วนความคืบหน้าของโครงการเรือตรวจการณ์ปืน ชุด ร.ล.แหลมสิงห์นั้น ยังเป็นไปตามกำหนดคือจะมีการส่งมอบเรือให้กองทัพเรือภายในกลางปีนี้คือราวเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙
อย่างไรก็ตามมีปัญหานิดหน่อยครับคือ ปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 นั้นของจะมาช้าคืออาจจะราวปลายปีนี้ ดังนั้นกำหนดขึ้นระวางประจำการจริงของ ร.ล.แหลมสิงห์ อาจจะต้องเลื่อนออกไปก็ได้
ทั้งนี้กองทัพเรือมีแผนความต้องการเรือตรวจการณ์ปืนใหม่ ๒ลำ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทางกองทัพเริอครับว่าจะพิจารณาอนุมัติเรือ ตกป.ลำใหม่เมื่อไร
เรือตรวจการณ์ลำน้ำ M10 Mk2 ชุดใหม่ ๖ลำ ก็ได้ส่งมอบให้กองเรือลำน้ำกองทัพเรือไปแล้วครับ
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ต่อจาก ชุดเรือ ต.๙๙๑ และชุดเรือ ต.๙๙๔ ซึ่งอาจจะเป็นชุด เรือ ต.๙๙๘ ยังไม่มีรายงานว่ากองทัพเรือสนใจจะจัดหาหรือไม่ในขณะนี้
เรือเร็วปฏิบัติการพิเศษชุดเรือ พ.๕๕ M18S ใหม่ ต่อจากชุดเรือ พ.๕๑ M18 ก็ยังไม่มีความคืบหน้าว่าหน่วยสงครามพิเศษทางเรือต้องการจะจัดหาเพิ่มหรือไม่
ทางด้านหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ นสร.ที่มาจัดแสดงนิทรรศการในงานด้วยเช่นก็กันก็จัดแสดงข้อมูลเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษชุดเรือ พ.๕๑ และเครื่องแบบปฏิบัติการสนาม ชุดต่อต้านการก่อการร้าย ชุดดำน้ำวงจรปิด และชุดปฏิบัติการเขตป่าภูเขาครับ
เมื่อถามว่าทางชุดนักทำลายใต้น้ำจู่โจม Royal Thai Navy SEAL พอใจในสมรรถนะของชุดเรือ พ.๕๑ หรือไม่ ก็ดีก็พอใจอยู่นะ อยากได้เรือปฏิบัติการพิเศษความเร็วสูงเพิ่มหรือไม่ ก็ไม่รู้สิ ให้อะไรมาก็ใช้และก็ใช้ไปจนกว่ามันจะพังนั่นละ
เลยถามเพิ่มเติมถึงเรือปฏิบัติการพิเศษชุดก่อน คือเรือ ต.๒๔๑ หรือ Mk.IV Seafox ซึ่งเป็นเรือของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือที่หาข้อมูลและภาพยากมากๆ คำตอบคือตอนนี้ก็ยังคงประจำการอยู่ แต่ใช้ในงานธุรการของหน่วย
เลยถามเพิ่มเติมถึงเรือปฏิบัติการพิเศษชุดก่อน คือเรือ ต.๒๔๑ หรือ Mk.IV Seafox ซึ่งเป็นเรือของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือที่หาข้อมูลและภาพยากมากๆ คำตอบคือตอนนี้ก็ยังคงประจำการอยู่ แต่ใช้ในงานธุรการของหน่วย
ตอนนี้กองทัพเรือเปิดกว้างมากขึ้น อะไรหลายๆอย่างก็ไม่ได้เป็นความลับที่ต้องปิดบังประชาชนแล้ว (แต่งานของหน่วยสงครามพิเศษยังลับเหมือนเดิมคือทำภารกิจประเภท "ปิดทองใต้ฐานพระ")
เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุด เรือ ต.๒๒๘ M21 ที่เข้าประจำการไปแล้ว ๓ลำ(ต.๒๒๘ ต.๒๒๙ ต.๒๓๐) และที่กำลังจะต่ออยู่อีก ๖ลำ(ต.๒๓๒-ต.๒๓๗) ล่าสุดทาง Marsun ได้รับคำสั่งจัดหาจากกองทัพเรือเพิ่มอีก ๕ลำ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ชายฝั่งเก่าที่ใช้งานมานานมาก
เรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือชุดเรือ ต.๑๑๑ M36 ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ Marsun ดำเนินการสร้างให้กองทัพเรือครับ
Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME)
บริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลีได้ให้ข้อมูลความคืบหน้าโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง DW300H ว่าจะมีพิธีวางกระดูกงูเรือภายในปี พ.ศ.๒๕๕๙นี้(2016) และจะส่งมอบให้เรือได้ตามกำหนดในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) แต่แบบจำลองเรือยังเป็นแบบเรือเก่าที่ยังไม่ปรับแบบใหม่อยู่
ส่วนแบบจำลองเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า DSME1400 มาแสดง สำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซียที่สั่งต่อเรือดำน้ำชั้นนี้จากเกาหลีใต้ ๓ลำซึ่งมีการต่อในอินโดนีเซียด้วย แม้ว่าจะล่าช้าแต่ก็ยังคงเดินหน้าโครงการอยู่
ซึ่งทาง DSME ยังมองโอกาสการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่๒ และโครงการเรือดำน้ำในอนาคตของกองทัพเรือไทยอยู่ครับ
China Shipbuilding Industry Corporation และ China Shipbuilding & offshore International
CSIC และ CSOC ซึ่งเป็นกลุ่มรัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมทางเรือของจีนก็มาแสดงผลิตภัณฑ์ในงานครับ เริ่มด้วยแบบจำลองที่เป็นที่น่าสนใจที่สุดในงานคือแบบจำลองเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบ
การจากสอบถามข้อมูลมีข้อจำกัดเนื่องจากล่ามไม่มีความเข้าใจด้านคำศัพท์เฉพาะทางทหารและยุทโธปกรณ์กองทัพเรือทำให้แปลติดต่อกับผู้จัดแสดงชาวจีนมีข้อจำกัดในการทำความเข้าใจ
แต่เท่าที่พยายามจะสื่อสารสอบถามแบบจำลองเรือดำน้ำที่ตั้งแสดงนี้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของบริษัทจีนซึ่งมีหลายแบบทั้งเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบ Type 039 และ Type 039A ติดระบบขับเคลื่อน AIP รวมถึงเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์
แบบจำลองที่ตั้งแสดงในงานจึงน่าจะเป็นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Type 039A Yuan ที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนประจำการอยู่ครับ ไม่ใช้แบบเรือ S26T ที่เสนอให้ไทย แต่ก็จะค่อนข้างใกล้เคียงในรูปแบบภาพรวม
ซึ่งแบบจำลองแสดงรายละเอียดภายในของเรือดำน้ำ Type 039A รวมถึงขีดความสามารถของเรือในแผ่นประชาสัมพันธ์ทั้งการยิง Torpedo อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ วางทุ่นระเบิด และส่งนักประดาน้ำหน่วยรบพิเศษ(ซึ่งเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าชั้นอะไรส่วนใหญ่ก็ทำได้)
โดยรูปแบบภายนอกและภายในตัวเรือของแบบจำลองเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้านี่แม้จะมีรายละเอียดไม่มากเท่าไรแต่ก็ค่อนข้างจะเป็นตามมาตรฐานเรือดำน้ำตามแบบ เช่นในส่วนท่อยิง Torpedo และคลังอาวุธส่วนหัวเรือ ส่วนควบคุมและบัญชาการ ห้องเครื่องยนต์
รวมถึงช่องทางออกของเรือที่ดูแล้วรองรับการหลบหนีจากเรือแบบฉุกเฉินของลูกเรือด้วยการใช้ชุด SEIE(Submarine Escape Immersion Equipment) suit และการเชื่อมต่อยานกู้ภัยใต้น้ำ DSRV (Deep Submergence Rescue Vehicle) ตามมาตรฐานสากลตามที่ได้เคยให้ข้อสังเกต
โดยรูปแบบภายนอกและภายในตัวเรือของแบบจำลองเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้านี่แม้จะมีรายละเอียดไม่มากเท่าไรแต่ก็ค่อนข้างจะเป็นตามมาตรฐานเรือดำน้ำตามแบบ เช่นในส่วนท่อยิง Torpedo และคลังอาวุธส่วนหัวเรือ ส่วนควบคุมและบัญชาการ ห้องเครื่องยนต์
รวมถึงช่องทางออกของเรือที่ดูแล้วรองรับการหลบหนีจากเรือแบบฉุกเฉินของลูกเรือด้วยการใช้ชุด SEIE(Submarine Escape Immersion Equipment) suit และการเชื่อมต่อยานกู้ภัยใต้น้ำ DSRV (Deep Submergence Rescue Vehicle) ตามมาตรฐานสากลตามที่ได้เคยให้ข้อสังเกต
แบบจำลองเรือคอร์เวตแบบ C13B ซึ่งเป็นแบบเรือส่งออกของเรือคอร์เวตชั้น Type 056 ที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนประจำการอยู่ โดยจีนต่อให้กองทัพเรือบังคลาเทศประจำการแล้ว ๒ลำ และกำลังต่อเพิ่มอีก ๒ลำ
แบบจำลองเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน แบบจำลองเรืออู่ยกพลขึ้นบก LPD ขนาด 22,000tons และแบบจำลองเรือฟริเกต High-Performance Frigate ที่เพิ่งเสนอข้อมูลไปไม่นานนี้ครับ
(ไม่ได้ถามว่าเรือฟริเกต High-Performance Frigate นี้กองทัพเรือไทยหรือกองทัพเรือกัมพูชาสนใจหรือไม่)
AVIA Group และ SAAB สวีเดนแสดงอากาศยานไร้คนขับแบบ Black Kite ซึ่งมีสายการผลิต Pre-Production จำนวนหนึ่งแล้วและกำลังเสนอให้เหล่าทัพต่างๆของไทยเช่นกองทัพอากาศอยู่
โครงการที่ AVIA และ SAAB ดำเนินงานให้กองทัพเรือไทยก็เสร็จสิ้นไปสองโครงการแล้วครับคือ โครงการปรับปรุงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ร.ล.จักรีนฤเบศร และโครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ทั้ง๒ลำ
ทาง AVIA หวังจะได้รับความสนใจผลิตภัณฑ์ของบริษัทจากเหล่าทัพและหน่วยงานราชงานของไทยในอนาคต และจะเป็นแหล่งงานสำหรับบุคลากรด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยที่รับนักศึกษามาทำงานพัฒนากับบริษัทมากขึ้นด้วยครับ
RHEINMETALL Defence เสนอระบบอาวุธ กระสุน และระบบควบคุมการยิงของตนให้กองทัพเรือไทย
เช่นปืนใหญ่กล GAM-BO1 20mm พร้อมกระสุนแบบใหม่ และระบบควบคุมการยิง Remote แบบ Oerlikon Searanger 20 สำหรับปรับปรุงแทนที่ปืนใหญ่กล GAM CO-1 ที่ติดตั้งบินเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง และเรือตรวจการณ์ปืนหลายชุด
รวมถึงระบบป้องกันระยะประชิดปืนใหญ่กล Oerlikon Millennium 35mm และกระสุนแตกสะเก็ดตั้งค่าการยิงได้แบบ AHEAD ครับ
บริษัท ITALTHAI Marine แสดงแบบจำลองเรือลากจูงใหม่ซึ่งบริษัทได้รับสัญญาจัดหาจากกองทัพเรือไทยโดยทำพิธีวางกระดูกงูเรือไปเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ ที่ผ่านมา
เรือลากจูงขนาดกลางนี้ได้ใชเแบบเรือของ Robert Allan แคนาดา ใช้ระบบขับเคลื่อน Azimuth ของ SCHOTTEL GmbH เยอรมนี และเครื่องยนต์ MTU 16V4000M54 กำลัง 1,685kW ยาว 32m แรงฉุด 53tons ลูกเรือ 16นายครับ
บริษัท DCNS ฝรั่งเศสนำผลิตภัณฑ์ของต้นเช่นเรือรบผิวน้ำ GOWIND series และเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Scorpene series
แต่ที่เกี่ยวกับกองทัพเรือไทยโดยตรงคือระบบเป้าลวง Torpedo แบบ CANTO ซึ่งจากเอกสารโครงการจัดซื้อลูกเป้าลวงตอร์ปิโด แบบ Anti Torpedo Decoy ของบริษัท DCNS ฝรั่งเศส โดยกรมสรรพาวุธทหารเรือ จำนวน ๒๔ลูก วงเงิน ๑๕๘,๓๖๐,๐๐๐บาท ที่รายงานไปก่อนหน้านี้
ทาง DCNS ยืนยันว่ากองทัพเรือไทยได้จัดหาระบบดังกล่าวเพื่อไปติดตั้งกับเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ครับ
SAGEM-Safran group ฝรั่งเศส เสนอผลิตภัณฑ์ระบบนำร่อง ระบบตรวจจับ ระบบควบคุมการยิง และเป้าลวงของตน
TERMA เดนมาร์ก แสดงผลิตภัณฑ์ระบบ Radar ตรวจการณ์ และระบบเป้าลวงของตนซึ่งติดกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกชุด ร.ล.อ่างทอง
ST Marines สิงคโปร์ แสดงผลิตภัณฑ์ทางเรือของตน และ MBDA ฝรั่งเศส แสดงผลิตภัณฑ์อาวุธปล่อยนำวิถีของตน
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท.(DTI) แสดงอากาศยานไร้คนขับแบบ Falcon-V ซึ่งเป็น UAV แบบใหม่ที่เพิ่งจะให้กองทัพเรือทดสอบใช้ล่าสุดเห็นในงานพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๕๙ ครับ
งานนิทรรศการของกองทัพเรือในครั้งนี้อาจจะไม่ใช่งานที่ใหญ่มากแต่ก็มีความร่วมมือจากส่วนสถาบันการศึกษาต่างๆของไทยที่กำลังเปิดหลักสูตรการศึกษาด้านอุตสาหกรรมทางเรือซึ่งก็มีการแสดงผลงานวิจัยหลายๆอย่าง
ขอบคุณที่ติดตามชมครับ ขอบคุณครับ