วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

นาวิกโยธินอินโดนีเซียได้รับมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M ยูเครนชุดแรก 5คัน

Ukrainian BTR-4M Bucephalus for Marine Corps Indonesian Navy have Arrive
http://angkasa.co.id/info/militer/eksklusif-btr-4m-korp-marinir-tni-al-tiba-di-indonesia/


เรือขนส่งสินค้า MV Texel สัญชาติเนเธอร์แลนด์ลำเลียงรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M จำนวน 4คัน เดินทางผ่านช่องแคบ Bosphorus ตุรกีจากทะเลดำยูเครนไปอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2016
twitter.com/YorukIsik

เรือขนส่งสินค้า MV Texel ทำการลำเลียงรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M นาวิกโยธินอินโดนีเซีย ที่ท่าเรือ Tanjung Priok เมือง Jakarta เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2016
http://angkasa.co.id/info/militer/btr-4m-pesanan-marinir-akhirnya-tiba-di-pelabuhan-tanjung-priok/

นาวิกโยธินกองทัพเรืออินโดนีเซีย(KorMar,TNI-AL:Korps Marinir,Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ได้รับมอบยุทโธปกรณ์ใหม่ล่าสุดของตน
คือรถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก BTR-4M Bucephalus จากยูเครนชุดแรกจำนวน 4-5คันจากที่เคยมีรายงานว่าสั่งจัดหาจำนวน 54-55คัน
ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเข้าประจำการกองร้อยลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก กองพันลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกที่มีอยู่สองกองพัน ในสองกองทัพนาวิกโยธินทีมีที่ตั้งใน Surabaya(1st Amphibious Recon Battalion, 1st Marine Force) และ Jakatar(2nd Amphibious Recon Battalion, 2nd Marine Force)

BTR-4M Bucephalus เป็นรถรบทหารราบหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบกแบบล่าสุดซึ่งออกแบบโดย KMDB ยูเครน ซึ่งออกแบบมาสำหรับความต้องการของหน่วยยกพลขึ้นบก
โดย BTR-4 8x8 เป็นรถหุ้มเกราะล้อยางที่ออกแบบใหม่ทั้งหมดที่ใช้แบบแผนตามมาตรฐานกองทัพตะวันตก(ไม่ได้มีพื้นฐานจาก BTR-80 รัสเซียที่นำมาขยายแบบให้ใหญ่ขึ้นเหมือน BTR-3)
BTR-4M นาวิกโยธินอินโดนีเซียใช้เครื่องยนต์ดีเซลแบบ Deutz BF6M 1015CP เยอรมนีกำลัง 490hp พร้อมระบบส่งกำลังแบบ Allison 4600SP มี 6 gear เดินหน้าและ 1 gear ถอยหลัง ทำความเร็วบนถนนได้ 100km/h ในภูมิประเทศได้ 70km/h
และเคลื่อนที่ขณะลอยตัวในน้ำได้ 10km/h ซึ่ง BTR-4M ได้เพิ่มขีดความสามารถในการลอยตัวขณะที่เคลื่อนที่ในน้ำและเพิ่มท่อ Snorkels เช่นเดียวกับรถรบทหารราบสายพานสะเทินน้ำสะเทินบก BMP-3F รัสเซีย ที่นาวิกโยธินอินโดนีเซียมีประจำการอยู่แล้ว
BTR-4 มีพลประจำรถ 3นาย(ผบ.รถ, พลขับ และพลยิง) สามารถบรรทุกกำลังพลได้ 8นาย ซึ่งกำลังพลทุกนายมีที่นั่งประจำ มีช่องทางออกที่ประตูท้ายรถและหลังคา โดยรถมีระบบป้องกันนิวเคลียร์, ชีวะ, เคมี
ระบบอาวุธของ BTR-4M นาวิกโยธินอินโดนีเซียที่พบมีสองแบบคือ รุ่นรถรบทหารราบติดตั้งป้อมปืน Remote แบบ BM-7 Parus ประกอบด้วยปืนใหญ่กล ZTM-1(2A72) ขนาด 30mm 300นัด, ปืนกลร่วมแกน KT-7.62(PKT) ขนาด 7.62mm 2,000นัด และเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ AG-17 ขนาด 30mm 149นัด รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบ Barrier ที่แท่นยิงพร้อมรบ 2นัด และจรวดสำรองอีก 2นัด รวม 4นัด ระยะยิง 4,000-5,000m
และรุ่นรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลติดตั้งป้อมปืน Remote เบาติดตั้งปืนกลหนัก KT-12.7(NSVT) 12.7mm หรือปืนกล KT-7.62(PKT)

มีรายงานก่อนหน้านี้ว่ากระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้สั่งจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-4M เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2014 แต่จากสถานการณ์ในยูเครนหลังรัสเซียผนวก Crimea และแทรกแซงสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธนิยมรัสเซียทำสงครามในภาค Dobass ตั้งแต่ปี 2014 มานั้น
มีผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตส่งออกยุทโธปกรณ์ของยูเครนที่ต้องทำการผลิตอาวุธให้กองกำลังความมั่นคงรัฐบาลยูเครนเป็นหลักก่อน ทำให้มีข่าวออกมาว่าอินโดนีเซียยกเลิกการจัดหา BTR-4 จากยูเครนไป
แต่อย่างก็ตาม KMDB ยูเครนได้ทำการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก BTR-4M ซึ่งออกแบบตามความต้องการของนาวิกโยธินอินโดนีเซียเมื่อต้นปี 2016 ซึ่งเป็นไปได้ว่า BTR-4M 5คันนี้อาจจะเป็นรถต้นแบบให้อินโดนีเซียประเมินค่าก่อนจะเริ่มสั่งจัดหาอีก 50คันที่เหลือครับ