วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศไทยยกเลิกการจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึก T-50TH เกาหลีใต้เพิ่ม ๒เครื่อง


Royal Thai Air Force's Korea Aerospace Industries (KAI) T-50TH Golden Eagle 401st Squadron, Wing 4 Takhli .(https://www.facebook.com/chittapon.kaewkiriya, https://www.facebook.com/people/Tanapol-Arunwong/100002183542138)

Royal Thai Air Force canceled procurement for additional two KAI T-50TH Golden Eagle
กองทัพอากาศยกเลิกประกาศเชิญชวนชื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น จำนวน ๒เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
http://www.dae.rtaf.mi.th/attachments/article/1142/63047016888.pdf


เอกสารของ กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ระบุถึงการยกเลิกประกาศเชิญชวนชื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น จำนวน ๒เครื่อง วงเงิน ๒,๔๔๙,๙๙๙,๕๓๑.๕๐บาท($78,285,000)
โดยเป็นการยกเลิกโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle ระยะที่๔ จากบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี เพิ่มเติม ๒เครื่อง ตามที่ได้มีเอกสารประกาศก่อนหน้าเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

เป็นที่เข้าใจว่าการยกเลิกการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่ม ๒เครื่องของกองทัพอากาศไทย เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตัดงบประมาณกระทรวงกลาโหมช่วงปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔(2020-2021) เนื่องจากการระบาดของ coronavirus Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/covid-19.html)
นั่นทำให้เครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่ได้มีการสั่งจัดหาเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี จะมีเครื่องประจำฝูงรวม ๑๒เครื่องเท่านั้น จากที่ตั้งไว้ว่าที่ฝูงบินขับไล่โจมตีควรจะมีที่จำนวน ๑๔เครื่องต่อหนึ่งฝูงบิน

กองทัพอากาศไทยได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH จาก KAI สาธารณรัฐเกาหลีรวมสองระยะ โดยระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่องซึ่งมีพิธีบรรจุเข้าประจำการเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๑(2018)(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)
และระยะที่๒ จำนวน ๘เครื่องซึ่งได้รับมอบในช่วงปลายปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ถึงปี ๒๕๖๓ โดยกองทัพอากาศได้นำ บ.ขฝ.๒ T-50TH ไปปฏิบัติภารกิจต่างๆรวมถึงการฝึกใช้อาวุธทางอากาศจริงแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/blog-post_21.html)

ขณะที่โครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระยะที่๓ ของกองทัพอากาศไทยนี้เป็นการปรับปรุงขีดความสามารถของ บ.ขฝ.๒ T-50TH ฝูงบิน๔๐๑ ทั้ง ๑๒เครื่อง วงเงิน 62.3 billion Korean Won($52.5 million ประมาณ ๑,๖๕๙,๓๖๐,๕๐๐บาท)
ประกอบด้วยการติดตั้ง Radar แบบ Elta EL/M-2032 อิสราเอล, ระบบแจ้งเตือนการถูกตรวจจับด้วย Radar(RWR: Radar Warning Receiver) และระบบจ่ายเป้าลวง(CMDS: Countermeasures Dispenser System) เพิ่มเติม(https://aagth1.blogspot.com/2019/05/kai-t-50th.html)

ตามแผนเดิมนอกจากโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้น ระยะที่๔ ในการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่มเติม ๒เครื่อง ยังจะรวมถึงการปรับปรุงขีดความสามารถเพิ่มเติมทั้งการบูรณาการระบบเครือข่าย Link-T Data Link ที่ไทยพัฒนาเอง
และขีดความสามารถการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2018/11/iris-t.html) เช่นที่ได้รับการติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ F-5TH Super Tigris(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/f-5th-super-tigris-iris-t.html)

การพัฒนากำลังทางอากาศที่มีการเผยเพร่ในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย White Paper 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ในช่วง ๒๕๖๓-๒๕๖๔(2020-2021) คาดว่ายังมีอีกหลายโครงที่จะถูกยกเลิกตามนโยบายตัดงบประมาณกลาโหมที่เป็นผลกระทบจาก Covid-19
เช่น โครงจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทนเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 สวิตเซอร์แลนด์ ที่จะปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023), โครงจัดหาเครื่องบินฝึกนักบินลำเลียงขั้นต้น จำนวน ๔เครื่อง ที่น่าจะเป็นการจัดหาเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๐ Diamond DA42 ออสเตรีย เพิ่มเติม ณ โรงเรียนการบิน,

โครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ บ.ค.๑ SAAB 340 AEW Erieye ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗ สุราษฏร์ธานี, โครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen 39 C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗
และโครงจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา จำนวน ๑๒เครื่อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros สาธารณรัฐเช็กที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ที่ปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เป็นฝูงเดียวและฝูงสุดท้าย เป็นต้นครับ