วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กองทัพเรือไทยใช้อากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B UAV ตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย
















Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy's Israeli Aeronautics Defense Systems Orbiter 3 Small Tactical UAS (Unmanned Aerial Systems) are used for Illegal Unreported and Unregulated (IUU) Fishing search operations in the Andaman Sea.

ORBITER 3B
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B เสริมประสิทธิภาพการทำงานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน

ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B
- มีระยะปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล
- เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง
- สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน
- มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด
- สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน

การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
https://www.facebook.com/RoyalThaiNavyFanpage/posts/3523389644355194



ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ได้มีการเปิดเผยภาพอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle) แบบ Orbiter 3B ว่ามีประจำการในกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)
โดยศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(MECC: Maritime Enforcement Command Center) ศรชล.ภาค๓ ที่รับผิดชอบพื้นที่ทะเลอันดามันได้นำมาใช้งานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย

การทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU(Illegal Unreported and Unregulated) Fishing นับเป็นปัญหาสำคัญของทรัพยากรทางทะเลทั่วโลก ที่ประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกต้องมีภาระรับผิดชอบแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักสากลที่นานาชาติยอมรับ
การนำ UAV มาเสริมประสิทธิภาพการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหานี้ของกองทัพเรือไทย เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อเนื่องของกองทัพไทยและหน่วยงานภาครัฐของไทย จนทำให้ไทยถูกยกเลิกสถานะใบเหลืองจากสหภาพยุโรป(EU: European Union) ในที่สุด

Orbiter 3 เป็นระบบอากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิถีขนาดเล็ก(Small Tactical UAS: Unmanned Aerial Systems) พัฒนาโดยบริษัท Aeronautics Defense Systems อิสราเอล ตัวอากาศยานทำการส่งบินขึ้นจากรางดีด และรับกลับด้วยการกางร่มชูชีพลงพื้น
และจากชุดภาพได้เห็นสถานีควบคุมที่ติดตั้งกับรถยนต์บรรทุก IVECO อิตาลี ซึ่งก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) บริษัท Aeronautics Defense Systems อิสราเอลก็ได้เคยนำระบบ UAV หลายแบบของตนมาสาธิตให้กองทัพเรือไทยชม

อากาศยานไร้คนขับ Orbiter 3B UAV ได้ถูกนำเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (104 Air Squadron, Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal Thai Fleet)
เดิมฝูงบิน104 กบร.เคยประจำการด้วยเครื่องบินโจมตี บ.จต.๑ LTV A-7E Corsair II ที่เคยประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ(US Navy) จำนวน ๑๘เครื่องช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๕๒(1996-2009) โดยปัจจุบันฝูงบิน๑๐๔ ถูกปรับเปลี่ยนเป็นฝูงบินอากาศยานไร้คนขับ

ระบบอากาศยานไร้คนขับ UAV จาก Aeronautics อิสราเอลได้รับการจัดหาเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ก่อนหน้านี้แล้วหลายแบบที่ได้ถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมาย IUU Fishing เช่นกัน
เช่น อากาศยานไร้คนขับทางยุทธวิธี Aerostar, อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก Orbiter II และอากาศยานไร้คนขับพิสัยกลาง Dominator ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๔ กองบิน๔ ตาคลี ครับ