วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๔





A submarine attached to a submarine flotilla with the navy under the PLA Northern Theater Command bears off a port for the maritime combat training drills on March 23, 2022. (eng.chinamil.com.cn/Photo by Wu Haodong)



Sailors load missiles onto the submarines on March 22, 2022. Submarines attached to a navy flotilla under the PLA Northern Theatre Command had their ammunitions refreshed on March 22. (eng.chinamil.com.cn/Photo by Wu Haodong)
Royal Thai Navy Spokesperson clarified the accusations from Representative of the Parliament of Thailand on S26T submarine procurement.

กองทัพเรือชี้แจงต่อข้อกล่าวหา กรณีการจัดหาเรือดำน้ำและท่าจอดเรือดำน้ำ
พลเรือโท  ปกครอง  มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ  ชี้แจงกรณี นายยุทธพงศ์  จรัสเสถียร  รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงข่าว ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 เวลา 10.00 น.  
โดยกล่าวโจมตีกองทัพเรือในประเด็นเรือดำน้ำ และ ท่าจอดเรือดำน้ำ  ซึ่งโฆษกกองทัพเรือได้ชี้แจงแยกเป็นประเด็นต่างๆ  ดังนี้

1.กรณี กล่าวหา ว่า นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ กองทัพเรือ เจรจากับ บริษัท CSOC เรื่องปัญหาเครื่อง MTU ของเรือดำน้ำ ให้เสร็จสิ้นก่อน 23 พฤษภาคม 2565 
กองทัพเรือ ขอเรียนว่า กองทัพเรือไม่ทราบเรื่องนี้  เชื่อว่าเป็นการพยายามโยงประเด็นเรือดำน้ำให้เกี่ยวข้องเพื่อให้อยู่ในกระแสเพื่อเตรียมการสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ กองทัพเรือจึงขอไม่ตอบประเด็นนี้ 
อย่างไรก็ตามอยากเรียนชี้แจงกับประชาชนว่า กองทัพเรือเร่งรัดการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว ปัจจุบันกองทัพเรือยืนยันตามสัญญา คือเรือดำน้ำจะใช้เครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมัน 
อย่างไรก็ตาม ขอความกรุณาอย่าเพิ่งคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าและสร้างความสับสนให้กับประชาชน กองทัพเรือจะมีการเจรจากับบริษัท CSOC และจะแจ้งความก้าวหน้าให้ประชาชนทราบอย่างตรงไปตรงมาต่อไป 
ในเรื่องนี้ขอให้มั่นใจว่า กองทัพเรือจะแก้ไขปัญหาอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ตรงไปตรงมา ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อกำลังพลของกองทัพเรือเอง และประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด 

2. ต่อข้อกล่าวหาว่า งานก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำยังไม่มีความก้าวหน้าเช่นเดิม ถึงแม้ได้เบิกเงินล่วงหน้าไปแล้ว รวมถึงให้บริษัท CRCC รับช่วงต่อจาก บริษัท CSOC และบริษัทแสงเจริญ นั้น
กองทัพเรือ ขอเรียนว่า การดำเนินการก่อสร้างท่าจอดเรือดำน้ำขณะนี้บริษัท CSOC ได้ดำเนินการก่อสร้างตามสัญญา ซึ่ง กองทัพเรือได้เร่งรัดให้บริษัทฯ ทำให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ส่วนการเบิกเงินล่วงหน้าเป็นเรื่องปกติของทุกโครงการก่อสร้าง 
แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ก็ได้วางเอกสารทางการเงินเป็นหลักประกันเท่ากับจำนวนเงินที่เบิกล่วงหน้า ดังนั้นหากมีการบอกเลิกสัญญา กองทัพเรือ ก็สามารถเรียกเงินคืนได้โดยไม่เสียเปรียบ ในส่วนการดำเนินการจัดหาบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ 
เพื่อก่อสร้างท่าเรือดำน้ำเป็นการดำเนินการของบริษัท CSOC เพื่อให้งานแล้วเสร็จตามสัญญา ซึ่งกองทัพเรือได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า บริษัท CSOC ได้ว่าจ้างหลายบริษัทมาสนับสนุนการก่อสร้าง และมีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง 
ทั้งนี้ ภาพท่าจอดเรือดำน้ำที่นำมาแสดงและอ้างว่าเป็นท่าจอดเรือดำน้ำที่กองทัพเรือกำลังก่อสร้างอยู่นั้น บางภาพไม่ใช่ภาพจริง ในการนี้กองทัพเรือขอให้ใช้วิจารณญานอย่างยิ่งในการนำเรื่องไม่จริงหรือจริงบางส่วน (Half-truth) 
และเรื่องที่เป็นความลับทางราชการมาเผยแพร่ให้กับประชาชน ซึ่งเป็นการทำให้สังคมแตกแยก ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ข้อมูลของฝ่ายเรา ซึ่งไม่เป็นผลดีทั้งกับประเทศชาติและประชาชน

3. กรณีอ้างว่า ครูสอนภาษาที่ควบคุมงานก่อสร้างฯ ได้พักอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเอกธานี หน้า กองเรือยุทธการ กองทัพเรือขอเรียนว่า หมู่บ้านดังกล่าวอยู่นอกพื้นที่ของกองทัพเรือ ซึ่งหากมีบุคคลใด ไม่ว่าสัญชาติใดก็ตาม กระทำความผิดกฎหมาย 
เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะเข้าทำการตรวจสอบ จับกุมและดำเนินคดี รวมทั้งจากการที่เคยชี้แจงเมื่อ 22 มีนาคม 2565 ไปแล้วว่า ผู้แทนที่บริษัท CSOC แต่งตั้งเพื่อควบคุมงานก่อสร้าง โดยมีเอกสารสัญญาที่ชัดเจน คือนาย Lang Qingxu ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการ
และมีนายจักรพงษ์ วงศ์ธนปกรณ์ เป็นวิศวกรโครงการ มีคุณวุฒิวิศวกรโยธาระดับสามัญ ส่วนครูสอนภาษานั้น ตรวจพบว่า บริษัทCSOC ได้จ้างบุคคลเหล่านี้จริง โดยทำหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ไม่ได้ควบคุมงานทางวิศวกรรม 
ต่อมาภายหลัง กองทัพเรือตรวจพบด้วยตนเองว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตทำงานที่ถูกต้อง จึงไม่อนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่โครงการก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ก่อนที่จะถูกนายยุทธพงศ์กล่าวหาในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 
ดังนั้นจึงอยากจะให้ตรวจสอบอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน ถูกต้อง ก่อนที่จะนำข้อมูลไปชี้แจงกับประชาชน

โฆษกกองทัพเรือ เน้นย้ำว่า   "กองทัพเรือขอยืนยันต่อพี่น้องประชาชนอีกครั้ง ว่างบประมาณที่กองทัพเรือได้รับ จะถูกใช้อย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ แม้โครงการจัดหาเรือดำน้ำอาจจะมีอุปสรรคบ้างแต่ก็จะพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด 
และขอยืนยันว่าทุกโครงการที่กองทัพเรือดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ตามนโยบายของ พลเรือเอก สมประสงค์  นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ"

ตามที่คณะทำงานแก้ไขปัญหาเรื่องเยอรมนีไม่อนุญาตการส่งมอบเครื่องยนต์ดีเซล MTU 16V 396 SE84 เยอรมนีสำหรับเรือดำน้ำ S26T ระหว่างกองทัพเรือไทยและ China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมต่อเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน
เดิมที่จะมีการเจรจาในปลายเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) แต่เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๕ พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือให้ข้อมูลแก่สื่อว่า ทาง CSOC จีนขอเลื่อนการเจรจากับกองทัพเรือไทยเป็นต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ในจีน
ทำให้ ณ เวลาที่เขียนอยู่นี้ยังไม่สามารถจะทราบข้อสรุปของการแก้ปัญหาเครื่องยนต์ MTU เยอรมนีสำหรับเรือดำน้ำ S26T ระยะที่๑ ที่กำลังสร้าง ๑ลำที่อู่เรือ Wuchang ใน Wuhan จีนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ซึ่งการส่งมอบเรืออาจจะล่าช้าเกินกำหนดล่าสุดในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๗(2024)

เครื่องยนต์ดีเซล MTU 396 SE เยอรมนีเป็นระบบขับเคลื่อนหลักของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบหลายชั้น ที่รวมถึงเรือดำน้ำชั้น Type 039B ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ที่เป็นแบบสำหรับเรือดำน้ำ S26T ที่ส่งออกให้ไทย และเรือดำน้ำชั้น Hangor ที่ส่งออกให้ปากีสถานสร้างในประเทศ
ที่จริง ย.ตระกูล MTU 396 เยอรมนีมีใช้งานในฐานะเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าให้แก่เรือหลายชุดของกองทัพเรือไทยมานานแล้ว รวมถึงเรือรบที่กองทัพเรือไทยสั่งต่อจากจีน เช่น เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ทั้ง ๒ลำที่ติดตั้งเครื่องไฟฟ้าแบบ MTU 396 TB 53 กำลัง 440KW จำนวน ๔ เครื่อง
ย.MTU 396 SE รุ่นสำหรับใช้ในเรือดำน้ำมีหน้าที่เดินเครื่องเพื่อประจุไฟฟ้าให้แก่ Battery เพื่อใช้เดินเครื่อง motor ไฟฟ้าขับเพลาใบจักร เมื่อเรืออยู่ที่ผิวน้ำหรือใต้น้ำที่ความลึกที่ยกท่อ Snorkel ขึ้นรับอากาศเข้าได้ ระบบ AIP(Air-independent Propulsion) ใดๆจะใช้ไม่ได้ถ้าขาด ย.หลักที่สันดาป

มีการให้ข้อมูลกับสื่อไทยว่าที่จริงในการกำหนดร่างขอบเขตของงาน(TOR: Terms of Reference) ในส่วนข้อกำหนดความต้องการเครื่องยนต์ดีเซลนั้นไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็น MTU 396 แต่แรก โดยมีการกำหนดว่าต้องเป็นในการทบทวนการบริหารโครงการ(PMR: Program Management Review)
ดังนั้นจึงยังมีความเป็นไปได้ถึงทางออกของปัญหาเครื่องยนต์ โดยตัวเลือกหนึ่งที่จีนเสนอคือเครื่องยนต์ดีเซล DEUTZ MWM TBD 620 เยอรมนี ที่ระบุว่ามีประสิทธิเทียบเท่าหรือดีกว่า MTU 396(แต่ก็น่าสงสัยว่าถ้าเยอรมนีปฏิเสธการส่งมอบเครื่องยนตร์ให้จีนก็น่าจะเป็นจากทุกบริษัทไม่ใช่แค่ MTU)
แนวทางการแก้ปัญหาจะเป็นไปตามลำดับสี่ขั้นตอนคือ ๑.ทำทุกอย่างให้เป็นไปตามสัญญา ๒.ร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างฉันมิตรกับจีน ๓.ส่งเรื่องการเปลี่ยนแปลงให้สำนักอัยการสูงสุดตัดสิน ๔.ส่งเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาแก้ไขสัญญา ซึ่งก็ควรจะนำไปสู่ทางออกในการแก้ไขปัญหาที่ล่าช้านี้ได้

ยังไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงของการที่ CSOC เลื่อนการเจรจาระหว่างตนกับกองทัพเรือไทย เพราะตามที่การระบาด Covid-19 ทั่วโลกมีมาตั้งแต่ปี 2020 แล้ว ในเมื่อการเจรจาในปัจจุบันสามารถทำในรูปแบบการประชุมทางไกล(teleconference)ได้ จีนจึงน่าจะมีเหตุผลอื่นในการขอประวิงเวลามากกว่า 
ที่ผ่านมาทางกองทัพเรือไทยดูจะยืนยันความต้องการชัดเจนว่าเรือดำน้ำ S26T ของตนต้องเป็นไปตามสัญญาคือติดตั้งเครื่องยนต์ MTU เยอรมนีเท่านั้น และดูจะไม่ต้องการเครื่องยนต์ทางเลือกที่จีนเสนอ หรือเรือดำน้ำมือสองถ้าเสนอต้องเป็นเรือดำน้ำ Type 039A Yuan รุ่นล่าสุดที่จีนใช้เองเท่านั้น
แม้ว่าในกรณีนี้จีนจะเป็นฝ่ายผิดสัญญากับทางไทยเต็มๆ แต่แน่นอนว่าจีนย่อมไม่มีทางที่จะให้ตนเองเสียเปรียบไทยถึงมักจะชอบพูดบ่อยๆว่า "จีนกับไทยเป็นพี่น้องกัน" ก็ตาม นั่นทำให้เป็นไปได้มากที่ถ้าโครงการเรือดำน้ำ S26T จะมีจุดจบที่ล้มเหลวและเป็นโครงการเรือดำน้ำครั้งสุดท้ายของไทยครับ




L.172, the L.170-class Riverine Patrol Boat of Nakhon Phanom Naval Station, Mekong River Security Unit, Riverine Squadron (RS), Royal Thai Navy.
Thailand's shipyard company Marsun Public Company Limited is winner for new 4 of Riverine Patrol Boat for Royal Thai Navy.

กองเรือลำน้ำ(RS: Riverine Squadron) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet) กลน.กร. กองทัพเรือไทยเดิมมีเรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำชุดเรือ ล.11(Patrol Boat, River PBR Mark II) จำนวน ๓๙ลำ ซึ่งเป็นเรือ รตล.รุ่นเก่าที่เข้าประจำการมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๔-๒๕๒๒(1971-1979)
ในอดีต เรือ รตล.ชุดเรือ ล.11 จำนวน ๒๘ลำได้เข้าประจำการใน หมวดเรือที่๓ กลน. ซึ่งจะจัดกำลังส่วนใหญ่วางกำลังใน หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง นรข. และหน่วยเฉพาะกิจอื่นๆ จำนวน ๑๑ลำ ซึ่งปัจจุบันกำลังทยอยปลดประจำการลงไปแล้วจำนวนหนึ่งตามอายุการใช้งาน
กองเรือลำน้ำกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาเรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำใหม่เพิ่มเติมเพื่อทดแทนชุดเรือ ล.11 โดยล่าสุดคือโครงการจ้างสร้างเรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำ (ไม่รวมระบบอาวุธ) จำนวน ๔ ลำ ที่บริษัท Marsun ไทยเป็นผู้ชนะ อันเป็นการแสดงถึงการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมสร้างเรือในไทยครับ




The US Air Force Lockheed Martin F-35A Lightning II.
A U.S. Air Force inspection team will reportedly be sent to Thailand to assess the readiness of the Royal Thai Air Force to operate and maintain fifth-generation fighter jets.




Thailand's Royal Thai Air Force (RTAF) delegation officer was attend to visited Defence Service Asia 2022 (DSA2022) exhibition at Kuala Lumpur, Malaysia on 28 March 2022, include Thai and Turkish defence industries booths.




Royal Thai Air Force Day, 9th March 2022

พลอากาศเอก ธาดา เคี่ยมทองคำ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ เดินทางไปร่วมงานแสดงนิทรรศการด้านความมั่นคง Defence Service Asia 2022(DSA2022) 
ณ อาคารศูนย์จัดแสดงนานาชาติ(MITEC) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในวันที่28มีนาคม พ.ศ.2565 ตามคำเชิญของกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย 
โดยคณะที่ปรึกษาของกองทัพอากาศได้ร่วมชมการจัดแสดงเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศที่จัดแสดงในงานทั้งจากต่างประเทศ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของมาเลเซีย รวมถึงการเยี่ยมผู้ประกอบการจากประเทศไทยที่ไปร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 
ในโอกาสนี้ คณะผู้แทนของกองทัพอากาศได้เข้าคำนับ และร่วมแสดงความยินดีกับ ผู้บัญชาการทหารอากาศมาเลเซีย พลอากาศเอกDato’ Sri Mohd Asghar Khan bin Goriman Khan ในโอกาสที่ขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่7มีนาคมที่ผ่านมา

การเดินทางเยือนสหรัฐฯของผู้บัญชาการทหารอากาศไทยและคณะตามคำเชิญของกองทัพอากาศสหรัฐฯระหว่างวันที่ ๑๒-๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ ตามมาด้วยรายงานข่าวที่กองทัพอากาศสหรัฐฯจะส่งทีมมาประเมินความพร้อมของกองทัพอากาศไทยสำหรับการปฏิบัติด้วยเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕
เป็นสัญญาที่จะปูทางไปสู่การพิจารณาความเป็นไปได้ในการขายเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II ว่าสหรัฐฯจะเห็นชอบหรือไทย ซึ่งที่ผ่านมากองทัพอากาศสหรัฐฯแสดงเจตนารมณ์ชัดเจมาตลอดว่าต้องการ F-35 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B เท่านั้น
อย่างไรก็ตามการพิจารณาความพร้อมของไทยจากทีมกองทัพอากาศสหรัฐฯจะไม่ได้พิจารณาเฉพาะในส่วนของกองทัพอากาศไทยเท่านั้น แต่น่าจะยังรวมถึงความพร้อมของการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยและประชาชนไทยผ่านตัวแทนในรัฐสภาไทยว่าจะสนับสนุนได้ด้วยหรือไม่

ก่อนหน้านี้ ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defence Services Asia 2022(DSA 2022) ที่นคร Kuala Lumpur มาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๒๘-๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/turkish-aerospace.html
คณะตัวแทนนายทหารของกองทัพอากาศไทยได้เข้าเยี่ยมชมงานตามคำเชิญของกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ซึ่งในงาน DSA2022 นี้มีตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงเอกชนของไทยไปจัดแสดงผลงานของตนร่วมกับบริษัทชั้นนำของนานาชาติด้วย
นอกจากผลงานอาวุธยุทโธปกรณ์ความมั่นคงที่พัฒนาในมาเลเซียทั้งโดยรัฐบาลและเอกชนมาเลเซีย ในชุดภาพประชาสัมพันธ์คณะนายทหารกองทัพอากาศไทยได้ให้ความสนใจในส่วนจัดแสดงของภาคอุตสาหกรรมกลาโหมเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านอากาศยานจากประเทศต่างๆ

บริษัท Turkish Aerospace ตุรกีกำลังเสนอสายการผลิตอากาศยานร่วมกับมาเลเซีย เช่นเดียวกับบริษัท Roketsan ตุรกี ที่ระบบอาวุธนำวิถีของตนถูกส่งออกและประสบความสำเร็จในการใช้กับอากาศยานไร้คนขับในการรบจริง(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/bayraktar-tb2-uav.html)
ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2022 ที่จะจัดขึ้นในไทยระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน ๒๕๖๕ ที่จะถึงนี้ก็จะเป็นอีกปีที่ตุรกีได้ใช้พื้นที่จัดแสดงขนาดใหญ่ในงาน แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่ได้ประสบความสำเร็จในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์หลักกับกองทัพไทยก็ตาม
จากวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์ วันกองทัพอากาศไทย ๙ เมษายน ๒๕๖๕ กองทัพอากาศไทยได้จัดกำลังอากาศยานของตนเป็นสี่ประเภทคือ เครื่องบินขับไล่และโจมตี เครื่องบินลำเลียง เฮลิคอปเตอร์ และอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งขีดความสามารถเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะมาจากระบบที่พัฒนาในประเทศครับ





Royal Thai Navy (RTN) Spokesperson provides information graphic for land-based Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle (MALE UAV) programme.

รู้จักรู้จริงการจัดหาUAV

โฆษกกองทัพเรือไทยได้เผยแพร่ภาพข้อมูลอธิบายเกี่ยวกับโครงการอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง โดยวิธีคัดเลือก วงเงิน ๓,๙๖๒,๐๔๐,๐๐๐บาท($118,693,250) สำหรับกองการบินทหารเรือ(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet)
ที่จะถูกใช้ในภารกิจการรักษาอธิปไตยเหนืออาณาเขตทะเลไทย ลาดตระเวนตรวจการณ์พื้นน้ำพิสูจน์ทราบการปฏิบัติการทางทะเลได้เป็นระยะเวลานาน คุ้มครองเส้นทางคมนาคมได้อย่างต่อเนื่อง บรรเทาสารณภัยทางทะเลและชายฝั่ง และช่วยการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายทางทะเล
มีขีดความสามารถบินตรวจการณ์ทางทะเล ส่งภาพระยะไกล ใช้งานในทะเลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีความคงทนทะเล เชื่อมโยงข้อมูลการสื่อสารมายังสถานีภาคพื้นดินผ่านดาวเทียม มีการรับรองมาตรฐานด้านการบิน มีใช้งานในกองทัพของประเทศบริษัทผู้ผลิต มีขีดความสามารถการอยู่รอดสูง

และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โฆษกกองทัพเรือไทยยังได้ชี้แจงถึงความโปร่งใสในการจัดซื้อที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) โดยกองทัพเรือไทยได้ปฏิบัติต่อทุกบริษัทที่นำเสนอโครงการด้วยความยุติธรรมเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ
แม้ว่าในภาพข้อมูลจะไม่ได้ระบุแบบ UAV ที่กองทัพเรือไทยเลือกโดยตรง แต่ที่ผ่านมามีการให้ข้อมูลกล่าวหาจากฝ่ายการเมืองผ่านสื่อว่าผู้ชนะคืออากาศยานไร้คนขับ Elbit Systems Hermes 900 อิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/male-uav-hermes-900.html) อย่างต่อเนื่องนั้น
ประเด็นสำคัญในการโจมตีคือกล่าวหาว่าบริษัทตัวแทนจำหน่ายที่เสนอ Hermes 900 UAV เป็นรายเดียวกับที่เสนอเรือดำน้ำ S26T แก่กองทัพเรือไทยซึ่งไม่เป็นความจริงเพราะโครงการ UAV บริษัท Elbit อิสราเอลได้เสนอด้วยตนเอง และโครงการ S26T ก็เป็นข้อตกลงแบบรัฐต่อรัฐกับจีนโดยตรงครับ




Norinco VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles of Marine Assault Amphibian Vehicle Battalion and  BTR-3E1 8x8 armored personnel carriers of Armored Company, Marine Tank Battalion, Royal Thai Marine Corps (RTMC), Royal Thai Navy (RTN) were conduct CALFEX (Combined Arms Live Fire Exercise) during RTN Annual Exercise 2022 at Ban Chan Krem, Chanthaburi Province on 21 April 2022. 







Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy MARCUS-B (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System-Type B) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) over the battlefield.

สวพ.ทร.เข้าร่วมการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี และการฝึกสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงในการฝึก ทร. ประจำปี 2565 ณ สนามฝึกใช้อาวุธ ทร. หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี ใน 21 เม.ย.65 
โดยได้นำผลงานวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ MARCUS-B ทำการจัดแสดงแบบ Static Display และทำการบินลาดตระเวนเหนือแนวยิงในระหว่างการฝึกสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงในเวลากลางคืน

รถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก VN 16 ขณะยิงปืนใหญ่รถถัง ขนาด 105 มม.
VN 16 จำนวน 3 คัน เขี้ยวเล็บใหม่นย.ไทย ร่วมฝึกกองทัพเรือ 2565 เป็นคั้งแรก
รถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก VN 16 ติดปืนใหญ่ขนาด 105 มม.
VN 16 วันนี้โชว์อำนาจการยิงทั้ง 3 คัน
ยานเกราะลำเลียงพล BTR-3E1

ผู้บัญชาการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565 ...
วันที่ 21 เมษายน 2565 พลเรือเอก สมประสงค์  นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือเดินทางไปตรวจเยี่ยมการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธีการฝึกสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ณ สนามฝึกกองทัพเรือหมายเลข 16 บ้านจันทเขลม อ.เขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี 
โดยมี พลเรือเอก ธีรกุล  กาญจนะ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะ ผู้อำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565 พลเรือโท รณรงค์  สิทธินันท์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน พลเรือตรี สรวุท  ชวนะ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ให้การต้อนรับ 
ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ชมการตีโต้ตอบและการส่งกลับสายแพทย์  รวมถึงการฝึกการยิงฉากป้องกันที่มั่นขั้นสุดท้าย ในเวลากลางคืน โดยกำลังที่เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้จัดจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง 
อาทิ รถเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก VN 16 ยานเกราะล้อยางแบบ BTR -3E1 รถฮัมวี่ติดจรวดต่อสู้รถถัง แบบ TOW 2A RF ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 40/60 มม. ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ขนาด 105 มม. ปืนใหญ่อัตตาจร ATMG  ขนาด 155 มม. และ ปืนใหญ่สนาม ขนาด 155 มม. 
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมของกำลังรบในการป้องกันประเทศตามภารกิจของกองทัพเรือแล้วยังเป็นการทดสอบแผนการปฏิบัติ ระบบการควบคุมการบังคับบัญชา ระบบการสื่อสารและระบบการส่งกำลังบำรุงในภาพรวม ….
ในโอกาสนี้ผู้บัญชาการทหารเรือได้ทำการยิงปืนกลเบา M-60E4 อีกด้วย ... Photo Sompong Nondhasa

การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง การฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๕ ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ.พล.นย. ทั้ง ๓คัน ได้แสดงการยิงปืนใหญ่รถถัง 105mm ตั้งแต่ที่รับมอบมาในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
นาวิกโยธินไทย กองทัพเรือไทย มีความต้องการขีดความสามารถรถถังมานาน ตั้งแต่ที่โอนรถถังหลัก ถ.๓๐ Type 69-II จำนวน ๕คัน(หนึ่งหมวดรถถัง) จากกองทัพบกไทยเข้าประจำการในกองร้อยรถถัง กองพันรถถัง พัน.ถ.พล.นย. มานานจนปัจจุบันเข้าใจว่ารถถัง Type 69-II ได้เลิกใช้งานแล้ว
การมีรถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ประจำการร่วมกับรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS จำนวน ๑๒คันในกองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก จะเป็นการเสริมขีดความสามารถด้านอำนาจการยิงและการรุกรบให้แก่กำลังปฏิบัติยกพลขึ้นบกของนาวิกโยธินไทยเป็นอย่างมาก

การจัดหายานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ระยะที่๑ จำนวน ๓คันที่ได้สาธิตการปฏิบัติการมาอย่างต่อเนื่องหลังจากได้รับมอบมานั้น(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/walkaround-vn16.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/03/blog-post_04.html)
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพเรือไทยมองที่จะจัดหา VN16 ระยะที่๒ เพิ่มอีก ๓คันให้ครบ ๖คัน(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/vn16.html) เพื่อใช้ปฏิบัติการร่วมกับ AAV7A1 พัน.รนบ.พล.นย. และรถเกราะล้อยาง BTR-3E1 กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง ร้อย ก.พัน.ถ.พล.นย. เป็นต้น
แต่ก็มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าการรบปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับ UAV ทำให้รถถังและยานเกราะหมดประโยชน์แล้ว ในความเป็นจริงนั้นขึ้นอยู่กับวิธีใช้เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน อย่างในการฝึกยิงกระสุนจริงล่าสุดก็มี MARCUS-B UAV ที่พัฒนาในไทยสาธิตปฏิบัติการร่วมกับกำลังภาคพื้นดินครับ


Thailand's Defence Technology Institute (DTI) was visited King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (KMLT) Interactive Digital Center (KIDC) on 21 April 2022.
it shown 3D Virtual Maintenance Training (VMT) tool with AH-64 Apache attack helicopter model.



LG1 Mk III 105mm Howitzer French Army.

Assistant Military Attache at Royal Thai Embassy, Kingdom of Thailand to France was inspection manufacturing progress of LG1 Mk3 105mm howitzer at Nexter System facility.

สทป. เข้าเยี่ยมชม ศูนย์ KMITL Interactive Digital Center (KIDC)
พล.อ.ชูชาติ บัวขาว ผอ.สทป. และคณะ เข้าเยี่ยมชม ศูนย์ KMITL Interactive Digital Center (KIDC) โดยมี รศ.ดร.อนุวัฒน์ จางวานิชเลิศ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. ให้การต้อนรับ 
ซึ่งศูนย์ KIDC เป็นศูนย์วิจัยและการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีความจริงเสมือนและเสมือนจริงแบบครบวงจรแห่งแรกของไทย เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ 
พร้อมกันนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีในความร่วมมือวิจัยและพัฒนาให้เป็นไปตามแนวทางของ สทป. ที่จะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้ช่วยทูตทหารประจำประเทศฝรั่งเศส ตรวจความก้าวหน้างานปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งขนาด 105 มม. LG1 MK3 ณ. NEXTER SYSTEM สาธารณรัฐฝรั่งเศส

การเยี่ยมชม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง KMITL โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สปท.DTI ในส่วน ศูนย์ KIDC เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๕ มีภาพที่การแสดงสาธิตวิทยาการภาพเสมือนจริงสามมิติของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Beoing AH-64 Apache ด้วยนั้น
ยังไม่แน่ใจว่าภาพแบบจำลองสามมิติของเฮลิคอปเตอร์โจมตี AH-64 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือการฝึกการซ่อมบำรุงเสมือนจริง(VMT: Virtual Maintenance Training) หรือเกี่ยวข้องกับโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ทดแทน ฮ.จ.๑ Bell AH-1F Cobra ของกองทัพบกไทยหรือไม่
ตามที่โครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตีด้วยวิธี Foreign Military Sale(FMS) ทำให้ตัวเลือกมีเพียง AH-64E หรือ AH-1Z Viper เท่านั้น จากภาพที่ปรากฎจะบ่งชี้ได้ว่ากองทัพบกไทยได้เลือกแบบเป็น ฮ.จ.๖๔ AH-64E ไปแล้วหรือไม่?(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/ah-64e-ah-1z.html)

Facebook page บริษัท UNITED DEFENSE TECHNOLOGY ไทยตัวแทนจำหน่ายปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด 105mm แบบที่๑ Nexter LG1 Mk III ได้ลงภาพผู้ช่วยทูตทหารไทยประจำฝรั่งเศสตรวจความคืบหน้าการผลิตที่โรงงานบริษัท Netxer System ที่ฝรั่งเศส
เป็นการจัดหาตามโครงการซื้อปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด 105mm แบบที่๑ จำนวน ๒รายการ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงิน ๘๓๔,๔๐๐,๐๐๐บาท($26,722,194 or 22,677,763 Euros) โดย กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
ซึ่งกองทัพบกไทยกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ปบค. LG1 Mk III ใหม่จำนวน ๑๒ กระบอกสำหรับหนึ่งกองพันเพื่อทดแทนปืนใหญ่เก่าเช่น ปบค.๙๕ M101A1 หรือ ปบค.๒๙ M56 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/lg1-mk-iii-105mm.html