Admiral Somprasong Nilsamai, the commander-in-chief of Royal Thai Navy (RTN)
was attend to opening ceremony for Naval Exercise Fiscal Year 2022 aboard
LPD-791 HTMS Angthong landing platform dock in 3 March 2022.
The demonstration include FSG-442 HTMS Sukhothai, Ratanakosin-class guided
missile corvette firing MK 46 REXTORP training torpedo; PC-523 HTMS Takbai,
Sattahip-class partrol gun boat; Por.51 Special Operations Craft
Naval Special Warfare Command (NSWC, RTN SEAL); Dornier 228 maritime patrol
aircraft, Cessna T-337, Sikorsky S-76B, Airbus Helicopter H145M, Sikorsky
SH-60B Seahawk anti-submarine helicopter of Royal Thai Naval Air Division
(RTNAD);
Air and Coastal Defence Command (ACDC) field Artillery and Anti-Aircraft
artillery and VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles and AAV7A1 RAM/RS
amphibious assault vehicles of Royal Thai Marine Corps (RTMC).
คำกล่าวที่มีนัยสำคัญขอผู้บัญชาการทหารเรือในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ
ประจำปี 2565
วันนี้ (3 มีนาคม 2565) เวลา 10.00 น. พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย
ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้กล่าวข้อความสำคัญ
เป็นประเด็นที่น่าสนใจในการที่ท่านเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ
ประจำปี 2565
บนเรือหลวงอ่างทอง ซึ่งจอดเทียบท่าบริเวณท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ
อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในการกล่าวในพิธีเปิดการฝึกฯ ดังนี้
“เป็นทราบกันดีว่า กำลังรบของกองทัพเรือ เป็นกำลังรบที่มีครบทั้งสี่มิติ
คือผิวน้ำ ทางบก ทางอากาศ และใต้น้ำ ด้วยความหลากหลายของกำลังรบนี้
ทำให้กำลังพลทุกนายของกองทัพเรือ จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถ
และมีความเชี่ยวชาญที่มากกว่าปกติ
และที่มากกว่านั้นก็คือ ต้องมี “การประสานสอดคล้อง”
ที่จะทำให้กำลังรบทุกมิติของเรา ประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน
เสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกัน ประกอบกำลังเป็น “กำลังทางเรือ”
ที่พร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ
จากภัยคุกคามในทุกมิติและทุกรูปแบบ
ในการนี้ กองทัพเรือจึงได้จัดให้มีการฝึกประจำปีของกองทัพเรือขึ้น
เพื่อให้กำลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ได้มีโอกาสฝึกร่วมกัน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามสาขาปฏิบัติการต่างๆ
และได้มีโอกาสทดสอบขีดความสามารถตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ
ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อม ทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี
ซึ่งในปีนี้จะมีการฝึก ในหลายสาขาปฏิบัติการ ซึ่งผู้อำนวยการฝึกกองทัพเรือ
ประจำปี 2565 ได้แจ้งให้ทราบแล้ว
สำหรับการฝึกกองทัพเรือครั้งนี้ เป็นที่ทราบดีว่า
อยู่ภายใต้ข้อจำกัดมากมายไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดจากงบประมาณ ในการฝึกที่มีจำกัด
ยุทโธปกรณ์บางอย่างอาจมีสภาพไม่สมบูรณ์ ไม่เพียงพอ
และที่สำคัญในห้วงเวลานี้คือ การระบาดของโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดเหล่านี้เปรียบได้ว่าเป็นข้อจำกัด ที่อาจเกิดขึ้นได้
ในยามสงครามจริง ๆ เราจึงต้องทำการฝึกให้ได้ ซึ่งหมายถึง
“ทหารเรือจะต้องบรรลุภารกิจ แม้ยามประเทศชาติจะมีข้อจำกัดใดๆ ก็ตาม”
เราจำเป็นต้องฝึก เพื่อเป็นหลักประกันของความมั่นคง
และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ฝึกเพื่อแสดงถึงศักยภาพของกำลังพล
ที่มีความพร้อมหากมีภัยมาถึง
ฝึกเพื่อป้องปรามให้กำลังที่จะเป็นภัยคุกคามต่อชาติเรา
ให้มีความยับยั้งชั่งใจ เหล่านี้คือคำตอบในภาพรวมที่ว่า
เราฝึกเพื่อชาติและประชาชน และพี่น้องประชาชนคนไทย/ จะต้องได้รับประโยชน์
จากการฝึกของกองทัพเรือในครั้งนี้
สำหรับการฝึกกองทัพเรือในปีนี้ นอกจากการฝึก ในด้านการปฏิบัติการทางทหารแล้ว
ด้านการช่วยเหลือประชาชน ก็ต้องทำอย่างเต็มที่ควบคู่ไปด้วย
ในปีนี้เราจึงจัดให้มีการฝึก การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
และบรรเทาสาธารณภัย (HADR) ด้วยกำลังทางเรือ
ตามแนวคิดการใช้กำลังแบบ From The Sea และการค้นหาและช่วยชีวิต
ในพื้นที่การรบทางทะเล (Combat Sea SAR)
ซึ่งการฝึกในลักษณะนี้จะทำให้กองทัพเรือมีความพร้อม ที่จะเป็นหน่วยสำคัญ
ในการสนับสนุนและช่วยเหลือพี่น้องประชาชน
ในยามที่ประเทศต้องเผชิญกับภัยพิบัติต่างๆ ทางทะเล
ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นต่อไป
ผมทราบว่าในปัจจุบัน กำลังพลบางส่วนของเราได้เตรียมการฝึก
และปฏิบัติงานอยู่ที่หน่วยในพื้นที่ต่าง ๆ ที่กองทัพเรือรับผิดชอบ
ผมขอถือโอกาสนี้ฝากไปถึงเพื่อนทหารหาญทุกคน ทั้งที่อยู่ ณ ที่นี้
และที่ปฏิบัติงานตามพื้นที่ต่างๆ
ขอให้ใช้การฝึกในครั้งนี้ เพิ่มพูนความรู้ และทักษะในการปฏิบัติการ
และเค้นศักยภาพของตนเองออกมาให้เต็มที่ และขอให้ผู้บังคับหน่วยในทุกระดับชั้น
เค้นประสิทธิภาพของหน่วยตนเอง ออกมาให้ได้มากที่สุด
“เหล็กในคนสำคัญกว่าเหล็กในเรือ”
เราต้องใช้ขีดความสามารถเฉพาะตัวของพวกเรา
มาทดแทนช่วยกันทำให้ยุทโธปกรณ์ที่เรามี
ที่อาจจะเก่าและล้าสมัยไปบ้างบางส่วนให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เตรียมพร้อม ที่จะรับทุกสถานการณ์ในอนาคตที่มีความไม่แน่นอนสูง
ทั้งนี้ จากสถานการณ์โลกปัจจุบัน โดยเฉพาะความขัดแย้ง
ทั้งในยุโรปและภาคพื้นแปซิฟิก เห็นได้ชัดว่า สงครามมีโอกาสเกิดขึ้น
และเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเข้ามาทุกที สงครามที่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว
ไม่มีใครคิดว่าจะเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ สงครามซึ่งคนอื่นอาจจะจับสัญญาณไม่ได้
แต่ทหารเราจับสัญญาณได้
เรารู้ดีว่าสถานการณ์โลกไม่มีอะไรแน่นอน
ถึงแม้เรามีความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศก็จริง
แต่เมื่อมีปัจจัยภายนอกเข้ามามีอิทธิพล มิตรก็เป็นศัตรูได้
ทหารเราจึงต้องพร้อมยืน เป็นปราการด่านสุดท้าย
ในการปกป้องอธิบไตยและเสรีภาพของชาติตลอดเวลา
ดังนั้นเราถึงต้องเตรียมการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
โดยเฉพาะในการจัดหายุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอไว้ล่วงหน้า
ประวัติศาสตร์เตือนเราว่า เมื่อไหร่ที่เราอ่อนแอ เราจะถูกเอาเปรียบเสมอ
ยุทโธปกรณ์ใช้เวลาในการสร้างนาน อาจจะ 3 ปี 5 ปี
นอกจากนี้ตามที่พวกเราทราบกัน
บางครั้งการจัดหายุทโธปกรณ์ก็มีปัญหาต่างๆ ทำให้ถูกยกเลิก
หรือไม่ได้รับของตามเวลาที่กำหนดอีก ซึ่งเราก็ต้องแก้ปัญหากันไป
ทำให้ดีที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้มั่นใจว่าในยุคที่ผมเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
ผมจะคิดถึงประโยชน์สูงสุดของกองทัพเรือ มากกว่าส่วนอื่น
สุดท้ายนี้ ผมขออวยพรให้กำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกทุกนายปลอดภัย มีกำลังกาย
กำลังใจ กำลังสติปัญญาที่เข้มแข็ง มีความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาท
และขอให้การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565
ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565 ณ
บัดนี้”
วันนี้จึงนับเป็นการเริ่มต้นการฝึกขนาดใหญ่ของกองทัพเรือ
ที่ยังคงดำรงความตั้งใจ มุ่งมั่นในการฝึก แม้มีข้อจำกัดในปัจจุบัน
ทั้งนี้รายละเอียดการฝึกต่าง ๆ ขอได้ติดตามทาง Social Media
ของกองทัพเรือต่อไป
โฆษกกองทัพเรือ
กองทัพเรือ จัดพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565
วันที่ 3 มีนาคม 2565 เวลา 10.00 น. พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย
ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565
บนเรือหลวงอ่างทอง ซึ่งจอดเทียบท่าบริเวณท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ
ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โดยมี พลเรือเอก ธีรกุล กาญจนะ รองผู้บัญชาการทหารเรือ
ในฐานะผู้อำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565
ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกองอำนวยการฝึกฯ
และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือได้ชมการสาธิตการปฏิบัติการทางทหาร ประกอบด้วย
การปฏิบัติการของกองกำลังทางเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกล
(หมวดเรือปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก) ขั้นควบคุมทะเลก่อนการยกพล
(การยิงตอร์ปิโด MK46 จากเรือด้วย ลูกตอร์ปิโดฝึก REXTORP )
การปฏิบัติการพิเศษ (การแทรกซึมเข้าสู่ที่หมาย)
การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกและ การปฏิบัติการของ
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในการโจมตีเรือผิวน้ำ
โดยภายหลังเสร็จสิ้นการฝึก ผู้อำนวยการการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2565
ได้เรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือชมการแสดงผลงานวิจัย Static Display ที่พัฒนา
วิจัย และต่อยอดโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือร่วมกับหน่วยต่าง
ๆ ของกองทัพเรือ
โดยมีการจัดนิทรรศการแสดงผลการวิจัยที่น่าสน อาทิ
โครงการวิจัยระบบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล (Maritime Aerial
Reconnaissance Craft Unmanned System – MARCUS Type A)
โครงการวิจัยอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่ 2 (MARCUS-B :
Maritime Aerial Reconnaisannce Craft Unmanned System Type
โครงการวิจัยระบบเฝ้าตรวจและรายงานเคลื่อนที่สำหรับ นรข.เขตหนองคาย
การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2565 (การฝึก ทร.65) ในปีนี้
ทำการฝึกในขั้นสถานการณ์ปกติ – ความขัดแย้งระดับต่ำ
เน้นกระบวนการจัดทำแผนจนได้คำสั่งยุทธการเพื่อใช้ในการฝึก นอกจากนี้
ยังมีการฝึกปฏิบัติด้านการรักษากฎหมายในทะเล
รวมถึงการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอีกด้วย
สำหรับการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) เน้นการทดสอบกระบวนการวางแผนทางทหาร
ทดสอบแนวทางการใช้กำลังของ กองทัพเรือ
รวมถึงการทดสอบขีดความสามารถปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ
โดยใช้โครงสร้างจริงของหน่วย ทุกระดับกองทัพเรือ
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดการจัดฝึก “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น”
โดยมีหัวข้อการฝึกที่สำคัญ อาทิ การป้องกันฐานทัพเรือและการควบคุมเรือ
การปฏิบัติการข่าวสาร การส่งกำลังบำรุง
การปฏิบัติการสงครามไซเบอร์และการบังคับใช้กฎหมายในทะเล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานของ ศรชล.
เพื่อสร้างความชัดเจนในการปฏิบัติต่อหน่วยต่าง ๆ ที่เข้ามาสนธิกำลัง อาทิ
แนวความคิดในการควบคุม เส้นทางเรือพาณิชย์
รวมทั้งจัดให้มีการฝึกหัวข้อปฏิบัติการเรือดำน้ำ
สำหรับเตรียมการรองรับเรือดำน้ำที่จะเข้าประจำการ สำหรับการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล
การฝึกภาคปฏิบัติของหน่วยกำลังรบและการสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้อง
มีหัวข้อการฝึกที่สำคัญคือ การฝึกยิงตอร์ปิโดแบบ MK46 จากเรือหลวงสุโขทัย ณ
พื้นที่อ่าวไทย ในวันที่ 17 มีนาคม 2565
และการฝึกสนธิกำลังระหว่างหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
ในการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริงต่อเป้าเคลื่อนที่ได้ในทะเล
บริเวณสนามยิงอาวุธทุ่งโปรง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ศูนย์อำนวยการยิงร่วมกัน
ซึ่งถือเป็นการฝึกครั้งแรกในระดับกองทัพเรือ
นอกจากนี้
ยังจัดให้มีการฝึกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย
(HADR) ด้วยกำลังทางเรือ ตามแนวทางการใช้กำลัง From The Sea
ต่อด้วยการค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่ การรบทางทะเล (Combat Sea
SAR)
โดยจะทำการฝึกในพื้นที่ เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ในวันที่ 20 พฤษภาคม
2565โดยเชิญหน่วยที่เกี่ยวข้องและหน่วยราชการในพื้นที่ร่วมชมการสาธิตการฝึกปฏิบัติการ
เพื่อเป็นการสร้างความรับรู้
ความเข้าใจในภารกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
ทั้งนี้ กองทัพเรือได้จัดกำลังพลจาก กองเรือยุทธการ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ตลอดจนหน่วยต่างๆ ของกองทัพเรือ
เข้าร่วมการฝึก โดยมียุทโธปกรณ์ที่สำคัญเข้าร่วมการฝึก
อาทิ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เรือหลวงสายบุรี
เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงตาปี
เรือหลวงสงขลา เรือหลวงวังใน เรือตรวจการณ์
กำลังอากาศนาวี ปืนใหญ่และปืนต่อสู้อากาศยานแบบต่างๆ
รวมถึงอากาศยานจากกองทัพอากาศอีกจำนวนหนึ่ง
พิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๕
นี้ในการแสดงสาธิตการใช้กำลังของกองทัพเรือไทยก็ได้เห็นสิ่งที่สนใจหลายอย่างเช่น
การยิงลูกฝึก torpedo เบาปราบเรือดำน้ำแบบ Mk 46
จากเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัย
การใช้ dipping sonar ของเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ Sikorsky
SH-60B Seahawk, เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๔ ฮ.ลล.๔ Sikorsky S-76B ติดปืนกลอากาศ
M60D เป็น ฮ.gunship คุ้มกันเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๖ ฮ.ลล.๖ Airbus Helicopter
H145
ปฏิบัติการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(RTN SEAL) โดดร่มจาก
เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228
แทรกซึมทางทะเลจากเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษชุดเรือ พ.51
ครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บ.ตช.๑ Cessna T-337
รวมถึงเป็นครั้งแรกที่สาธิตการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก
VN16 และรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก พัน.รยบ.
กองพลนาวิกโยธิน พล.นย
และปืนใหญ่และปืนต่อสู้อากาศยานของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
สอ.รฝ.
พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
ยังได้เยี่ยมชมการจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือไทยที่ตั้งแสดง เช่น
อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๒ MARCUS-B แบบขึ้นลงทางดิ่ง(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/marcus-b.html)
รถเกราะล้อยางลำเลียงพล BTR-3E1 และปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง
ATMG(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/vn16.html) ยังมีภาพอากาศยานไร้คนขับ
Boeing Insitu RQ-21 Blackjack สหรัฐฯที่มีรายงานว่ารับมอบมาตั้งแต่ปลายปี
พ.ศ.๒๕๖๔(2021) แล้วด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/rq-21-blackjack.html)