Myanmar MiG-29 violates Thai airspace
Thailand scrambled two F-16s and Alpha Jets after a Myanmar MiG-29 violated
Thai airspace on 30 June 2022. (Janes/Kelvin Wong/Tanapol Arunwong/Krit
Surisukh)
MiG-29B of Myanmar Air Force firing S-8 80mm rocket to ground targets during
Myanmar Armed Forces Exercise in September 2016.
การละเมิดน่านฟ้าข้ามพรมแดนโดยอากาศยานทางทหารของกองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air
Force, Tatmadaw Lei) ที่เข้าโจมตีในปฏิบัติการทางทหารเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน
พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
แจ้งเตือนให้กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ส่งเครื่องบินขับไล่บินขึ้นสกัดกั้น(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-16ambm-lizard-3-amraam.html)
ตามข้อมูลจากโฆษกกองทัพอากาศไทย พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี
เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓
กองบิน๔ ตาคลี สองเครื่อง
ได้ทำการบินขึ้นสกัดกั้นหลังจากสถานี radar
สร.ของไทยตรวจพบอากาศยานในน่านฟ้าไทยใกล้พรมแดนระหว่างไทยกับพม่า
ในวันถัดมากเครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet TH
ได้เข้าร่วมการบินลาดตระเวนทางอากาศ(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/alpha-jet-th.html)
เหตุการณ์เกิดขึ้น ณ "เวลาประมาณ ๑๑นาฬิกา ๖นาที(1106h)
ตามเวลาท้องถิ่นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก" พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี
โฆษกกองทัพอากาศไทยกล่าวกับ Janes
โฆษกกองทัพอากาศไทยเสริมว่าพรมแดนไทยถูกละเมิดขณะที่อากาศยานรบทางทหารกองทัพอากาศพม่ากำลังโจมตีกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดน
ตามข้อมูลโฆษกกองทัพอากาศไทย
อากาศยานทางทหารของกองทัพอากาศพม่าถูกพิสูจน์ทราบว่าเป็นเครื่องบินขับไล่
Mikoyan-Gurevich
MiG-29(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/y-12-beechcraft-1900-g-120tp.html)
โดยใช้เวลาบินล้ำเข้ามาในน่านฟ้าไทยไม่เกิน ๒นาที
การรุกล้ำละเมินน่าฟ้าไทยเป็นผลมาจากสภาพอากาศและภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนขนาดใหญ่ในพื้นที่
พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี กล่าวกับ Janes
สื่อของไทยรายงานว่าเครื่องบินขับไล่ MiG-29
กองทัพอากาศที่ทำการบินต่ำก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในสองหมู่บ้านของไทยใกล้พรมแดนพม่า
และการโจมตียังสร้างความเสียหายให้กับบ้านและทรัพย์สินในหมู่บ้านของไทย
มีอากาศยานหลายแบบของกองทัพอากาศพม่าที่ปรากฎว่ามีส่วนร่วมในการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐกะเหรี่ยง(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/pantsir-s1-orlan-10e.html)
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สมช.(NSC: National Security Council) พลเอก
สุพจน์ มาลานิยม กล่าวกับสื่อไทยว่าการละเมิดน่านฟ้าไทยเช่นเดียวกันนี้ได้
"เกิดขึ้นสี่ถึงห้าครั้งแล้วในปีนี้"(2022)
ตามข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์การก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบของ Janes(JTIC:
Janes Terrorism and Insurgency Centre)
กองทัพพม่าได้ยกระดับขยายขนาดการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย
หลังจากที่กองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw)
ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์
2021 แล้วจัดตั้งรัฐบาลทหารปกครองประเทศ
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021
กองทัพอากาศพม่าได้ทำการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้านกลุ่มชาติพันธุ์แล้วประมาณ
22ครั้งตามที่รวบรวมรายการโดย JTIC(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/ch-3a-uav.html)
การโจมตีทางอากาศโดยกองทัพอากาศพม่าที่ได้รับการรายงานส่วนใหญ่ถูกปฏิบัติการโดยเครื่องบินขับไล่
MiG-29, เครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Yakovlev Yak-130(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/yak-130-jf-17.html)
หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35P(NATO กำหนดรหัส 'Hind')(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/mi-35p.html) ซึ่งมีข้อสังเกตว่าทั้งหมดเป็นอากาศยานที่จัดหาจากรัสเซีย
กองทัพอากาศพม่ายังมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ Chengdu Aircraft Industry
Corporation(CAC)/Pakistan Aeronautical Complex(PAC) JF-17 Thunder จำนวน
16เครื่องที่จัดหาจากจีน-ปากีสถาน
ซึ่งมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่พื้นนำวิถีความแม่นยำสูงหลายแบบในทุกกาลอากาศ
อย่างไรก็ตามในช่วงหลังมานี้ไม่มีรายงานพบว่าเครื่องบินขับไล่ JF-17
มีส่วนร่วมในการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มชาติพันธุ์
เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องบินฝึกไอพ่นโจมตีเบา Yak-130
ที่กองทัพอากาศพม่ามีจำนวน 12เครื่อง เครื่องบินขับไล่ MiG-29SM จำนวน
10เครื่องซึ่งได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแล้วมีขีดความสามารถในใช้อาวุธอากาศสู่พื้นน้อยกว่า
ในการโจมตีทางอากาศใกล้ชายแดนไทยล่าสุด MiG-29 พม่าได้ใช้จรวดอากาศสู่พื้น S-8
ขนาด 80mm ในกระเปาะจรวด B-8M1 ความจุ 20นัด ลูกระเบิดทำลาย และปืนใหญ่อากาศ GSh-30-1
ขนาด 30mm ความจุกระสุน 150นัด
โดยไม่พบว่าติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศใดๆครับ