วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๖




China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd.(CSOC) led by company vice executive Mr. Liu Song with Deputy Assistant Military Attache for Embassy of The People's Republic of China in Bangkok, The Kingdom of Thailand and Royal Thai Navy (RTN) were discussing on Germany MTU 396 diesel generator engine for S26T Submarine issue on 9 June 2022. 
CSOC offer its CHD620 (Deutz-MWM 620) new generator engine but RTN still insist only MTU 396
Result of 1st day discussing, RTN gave time for CSOC to resolve diesel generator engine issue within 60 days, If not, RTN to be cancel S26T Submarine programme.

เสนาธิการทหารเรือเป็นประธานในการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระหว่างกองทัพเรือกับบริษัท CSOS

พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ เป็นประธานในการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระหว่างกองทัพเรือ กับ บริษัท CSOS 
โดยเสนาธิการทหารเรือเป็นประธานฝ่ายไทย และ Mr. Liu Song รองประธาน บริษัท CSOC เป็นประธานฝ่ายจีน และมีรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงเทพมหานคร ร่วมในการประชุม 
ณ ห้องประชุม อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๕

โดย บริษัท CSOC แจ้งว่าได้ใช้ความพยายามในการเจรจา กับบริษัท MTU สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทั้งในระดับ บริษัท-บริษัท รัฐบาล-รัฐบาล และ ช่องทางทางการทูต ในการจัดหาเครื่องยนต์ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แต่ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงได้

ทั้งนี้ บริษัท CSOC ได้เสนอเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่น CHD 620 ให้กองทัพเรือพิจารณาทดแทนรุ่น MTU 396 แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือได้แจ้งยืนยันความต้องการใช้เครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า MTU 396 ตามข้อตกลง
เนื่องจากเครื่องยนต์ CHD620 ที่ บริษัท CSOC เสนอ ไม่เคยมีการใช้งานในเรือดำน้ำของประเทศใดมาก่อน

ทั้งนี้ กองทัพเรือได้แจ้งประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในข้อตกลง ให้ทางบริษัท CSOC รับทราบ ดังนี้
๑. ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานการใช้งานจริงในเรือดำน้ำ
๒. มีความปลอดภัยในการใช้งานจริง
๓. มีการรับประกัน การบริการหลังการขาย และการซ่อมบำรุง
๔. ตอบสนองด้านความต้องการใช้งานทางยุทธการของกองทัพเรือ
 
และเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อตกลง กองทัพเรือ ขอให้ทางบริษัท CSOC จัดทำข้อเสนอแนวทาง ระยะเวลา และแผนงานการดำเนินการแก้ไขปัญหา ตลอดจนกำหนดระยะเวลาในการส่งมอบเรือดำน้ำให้ กองทัพเรือ พิจารณา ภายใน ๖๐ วัน (ภายใน ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕)

ตัวแทนของ CSOC จีนนำโดยรองประธานบริษัท Mr.Liu Song และมีรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประจำสถานเอกอัครราชทูตจีนในไทย ร่วมประชุมกับพลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ 
ณ ห้องประชุม อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร หลังจากที่เลื่อนมาเป็นเดือนในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ยังเป็นเพียงการหาข้อสรุปขั้นต้นเท่านั้น จึงเป็นไปได้ที่ตัวแทนจีนจะยังอยู่ในไทยทั้งเดือนเพื่อพยายามหาทางเจรจากับไทยต่อ
โดยที่กองทัพเรือไทยยืนยันว่าต้องการเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า MTU 396 เยอรมนีสำหรับเรือดำน้ำ S26T เท่านั้น CSOC จีนได้เสนอเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า CHD 620 ซึ่งก็คือเครื่องยนต์ดีเซล Deutz-MWM 620 เยอรมนีที่จีนสร้างในประเทศเพื่อทดแทน 

อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์ดีเซล MWM 620 รุ่นนี้เยอรมนีปิดสายการผลิตไม่มีการส่งออกแล้ว และไม่เคยมีการสร้างรุ่นสำหรับใช้งานในเรือดำน้ำโดยเฉพาะเหมือน MTU 12V 396 SE84 เยอรมนีที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนใช้เองกับเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B/C Yuan ของตนด้วย
เห็นว่าเครื่องยนต์ดีเซล CHD 620 นี้จะเป็นระบบต้นแบบ(prototype) สำหรับเรือดำน้ำชั้น Hangor ของปากีสถาน ๘ลำซึ่งจะสร้างในประเทศ ๔ลำ ที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B จีนเช่นเดียวกับ S26T ของไทย โดยที่ปากีสถานไม่มีตัวเลือกอื่นเพราะถ้ายกเลิกก็คือตนจะไม่มีเรือดำน้ำใหม่ใช้
แนวทางแก้ไขปัญหาที่จีนต้องการจึงมีแต่ให้กองทัพเรือไทยยอมรับเครื่องยนต์ CHD 620 สำหรับเรือดำน้ำ S26T อย่างไรก็ตามเงื่อนไขสี่ข้อในระยะเวลา ๖๐วันส่วนตัวผู้เขียนมองว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จีนจะดำเนินการทดสอบและรับรอง ย.CHD 620 ให้ตรงตามเงื่อนไขที่กองทัพเรือไทยตั้งให้ได้

ตัวอย่างเช่นเรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงช้าง(Type 071E LPD) กองทัพเรือไทยและอู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) ที่ปัจจุบันอยู่ในเครือ CSSC จีนยังต้องส่งแบบเรือให้สมาคมจัดชั้นเรือ Lloyd's Register(LR) สหราชอาณาจักรทำการรับรอบการออกแบบให้เป็นมาตรฐานสากล
การที่จะทดสอบและรับรองเครื่องยนต์ CHD 620 สำหรับการใช้ในเรือดำน้ำภายใน ๖๐วัน มันเป็นไปไม่ได้ถ้าจะให้ดำนินการเป็นไปตามมาตรฐานสากล ยกเว้นแต่จะเป็นในมาตรฐานที่จีนกำหนดเองซึ่งกองทัพเรือไทยไม่ควรจะยอม(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-071e-lpd.html)
ข้อเสนอเรือดำน้ำชั้น Type 039 Song มือสองที่ปลดประจำการจากกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนดูจะเป็นไปได้น้อย เพราะถึงเรือชุดแรกจะประจำการมาตั้งแต่ต้นปี 2000s แต่จีนมีแนวโน้มจะเสนอเรือดำน้ำ Type 035 Ming ที่เก่าและล้าสมัยกว่าเช่นที่มอบให้พม่าเมื่อปี 2021 แก่ไทยมากกว่า(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-035-ums-minye-kyaw-htin.html)

และทางกองทัพเรือไทยที่ผ่านมาดูจะแสดงออกชัดเจนว่าไม่ต้องการเรือดำน้ำมือสองด้วย ถ้าจะเป็นเรือดำน้ำมือสองก็ต้องเป็นรุ่นที่มีสมรรถนะเทียบเท่าใกล้เคียงกับเรือดำน้ำ S26T คือเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B Yuan เท่านั้น(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/s26t-mtu.html)
แต่การที่จีนจะมอบเรือดำน้ำชั้น Type 039A Yuan ที่กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนใช้งานอยู่เป็นกำลังหลักของกองเรือดำน้ำตามแบบที่ทันสมัยที่สุดของตนแก่ไทยในลักษณะเช่าหรือซื้อต่อ แม้ว่าจะมิตรประเทศที่ใกล้ชิดก็ตามแต่ก็เป็นไปได้ยากที่จีนจะยอมเสียเปรียบไทยมากขนาดนี้ด้วย
การที่กองทัพเรือไทยให้เวลาจีนแก้ไขปัญหาภายใน ๖๐วันคือถึงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ จึงอาจจะนำไปสู่การยกเลิกโครงการเรือดำน้ำ S26T ที่จีนเป็นฝ่ายผิดสัญญาและลดระดับความสัมพันธ์ทางทหารกับจีนลง รวมถึงยังเป็นการปิดโอกาสที่กองทัพเรือจะมีเรือดำน้ำประจำการไปตลอดกาลด้วยครับ




Lockheed Martin F-35B Lightning II of Republic of Korea Air Force (RoKAF), one of export Foreign Military Sales (FMS) customers in Asia-Pacific.
The Royal Thai Air Force (RTAF) has already submitted Letter of Intent (LOI) for F-35A 5th generation fighters to US.
The US Air Force (USAF) set to send a team to assess Thailand's ability to operate F-35s during August-September 2022, then US executive office to be determined on potential sale for F-35s to Thailand about January 2023.

แม้ว่าการเดินทางเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ Lloyd Austin ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ หลังจากที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางเยือนสหรัฐฯก่อนหน้าในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา
จะไม่ได้มีการหารือถึงเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A แต่แหล่งข่าวในกองทัพอากาศไทยได้เปิดเผยข้อมูลแก่สื่อว่าคาดว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯจะส่งทีมมาประเมินความพร้อมของไทยได้ในราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ๒๕๖๕ นี้(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/f-35.html)
และจากนั้นรัฐบาลสหรัฐฯจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการขาย F-35A แก่ไทยในราวเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ซึ่งการขายในรูปแบบ Foreign Military Sales(FMS) จะถูกประกาศผ่านสำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency)

ตามโครงการเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B กองทัพอากาศไทยแสดงความตั้งใจของตนที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A เพื่อทดแทน บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ADF ที่เคยประจำการในฝูงบิน๑๐๒ ที่ปัจจุบันถูกโอนย้ายไปรวมที่ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช
นอกจากกองบิน๑ กองทัพอากาศไทยยังมีสำรวจเพื่อประเมินความพร้อมของ กองบิน๔ ตาคลี ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝูงบิน๔๐๓ ที่ประจำการด้วย บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ซึ่งมีความทันสมัยที่สุดรวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุงของบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด(TAI: Thai Aviation Industries Co.,Ltd.)
จากจำนวนหนึ่งฝูงบินที่ ๑๒เครื่องการจัดหาในระยะแรกจะเป็น ๒เครื่องรวมเครื่องยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนที่จำเป็น ไม่รวมอาวุธซึ่งเครื่องบินขับไล่ F-35 สามารถใช้อาวุธที่มีประจำการในกองทัพอากาศได้อยู่แล้วเช่นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C AMRAAM เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการจัดหาในระยะยาวอาจจะจำเป็นต้องจัดหาอาวุธประกอบเพิ่มเติมที่จำเป็นรวมถึงกระสุน 25mm สำหรับปืนใหญ่อากาศ GAU-22/A ความจุกระสุน ๑๘๐นัดต่อเครื่อง และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9X Sidewinder ซึ่งกองทัพอากาศไทยยังไม่มีใช้เป็นต้น
โดยความเป็นไปได้ในการขายรูปแบบ FMS ที่จะอนุมัติโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯที่ประกาศใน DSCA จะรวมราคาของจำนวนเครื่องบิน เครื่องยนต์อะไหล่ อาวุธและอุปกรณ์ทั้งหมดสูงสุด เช่นที่เห็นได้จากการจัดหาก่อนหน้าว่ากองทัพไทยได้อาวุธจัดหาในราคาที่น้อยกว่าที่ประกาศใน DSCA
อย่างไรก็ตามนอกจากการอนุมัติความเป็นไปได้ในการขายที่จะต้องผ่านการเห็นชอบจากสภา Congress สหรัฐฯแล้ว ในด้านของไทยงบประมาณกลาโหมประจำปี ๒๕๖๖ นั้นหลังรัฐสภาผ่านวาระแแรกในเดือนมิถุนายน ยังจะต้องมีการพิจารณารอบสองในเดือนกรกฏาคม ๒๕๖๕ ที่มีการต่อต้านสูงครับ




Naval Acquisition Management Office (NAMO), Royal Thai Navy (RTN) announced winner of  land-based Medium-Altitude Long-Endurance Unmanned Aerial Vehicle (MALE UAV) comprising 7 aircrafts, 2 outdoor Ground Control Station (GCS) and 1 indoor GCS is Israeli firm Elbit Systems Ltd. - AEROSPACE for 4,004,652,000 baht ($113,415,709.25) on 29 June 2022.
It likely RTN has formal selected Elbit Systems Hermes 900 (same this in Swiss Air Force) as winner of its land-based MALE UAV progarmme.

ประกาศกองทัพเรือ
เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ซื้ออากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง โดยวิธีคัดเลือก

ตามที่ กองทัพเรือ ได้มีหนังสือเชิญชวนสำหรับ ซื้ออากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง โดยวิธีคัดเลือก  นั้น
อากาศยานต่อสู้(๒๕.๑๓.๑๗.๐๓ ) จำนวน ๑ ระบบ ผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ Elbit Systems - AEROSPACE โดยเสนอราคา เป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๐๐๔,๖๕๒,๐๐๐.๐๐ บาท (สี่พันสี่ล้านหกแสนห้าหมื่นสองพันบาทถ้วน) 
รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง

ประกาศ ณ วันที่  ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕

สุวิน แจ้งยอดสุข
(พลเรือเอกสุวิน แจ้งยอดสุข)
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
ประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง

สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ สยป.ทร.(NAMO: Naval Acquisition Management Office) กองทัพเรือไทย ได้เผยแพร่เอกสารใน websit ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางกองทัพเรือไทย เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งถูกพบในหนึ่งวันถัดมาคือวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ ว่า
ผู้ชนะโครงการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับประจำฐานบินชายฝั่ง โดยวิธีคัดเลือก สำหรับกองการบินทหารเรือ(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet) กบร.กร คือบริษัท Elbit System Ltd. ราคาที่เสนอ ๔,๐๐๔,๖๕๒,๐๐๐บาท($113,415,709.25)
ทำให้บริษัท Elbit อิสราเอลเป็นผู้ชนะเหนือบริษัท Israel Aerospace Industries Ltd.(IAI) อิสราเอล, บริษัท China National Aero-Technology Import & Export Corporation(CATIC) สาธารณรัฐประชาชนจีน และบริษัท General Atomics Aeronautical Systems, Inc.(GA-ASI) สหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/male-uav.html)

การประกาศผู้ชนะนี้น่าจะหมายถึงการจัดหาอากาศยานไร้คนขับ Elbit Systems Hermes 900 จำนวน ๑ระบบ ประกอบด้วยอากาศยาน ๗เครื่อง, สถานีควบคุมภาคพื้นดิน(GCS: Ground Control Station) ๒ระบบ และสถานีควบคุมภาคพื้นดินภายในอาคาร(Indoor Ground Control Station) ๑ระบบ
Elbit Systems อิสราเอลเป็นผู้ผลิตและส่งออกระบบอากาศยานไร้คนขับชั้นนำรายหนึ่งของโลกโดยมีผู้ใช้งานมากกว่า ๓๐ประเทศทั่วโลก สำหรับ Hermes 900 UAV ผู้ใช้งานรายล่าสุดที่เพิ่งได้รับมอบไปคือสวิตเซอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/male-uav-hermes-900.html)
นอกจากการใช้ในภารกิจลาดตระเวนทางทะเลแล้ว การที่เอกสารโครงการระบุว่าเป็น 'อากาศยานต่อสู้'(Combat Aircraft) อากาศยานไร้คนขับ Hermes 900 ของกองทัพเรืออาจจะยังสามารถรอบรับการติดอาวุธได้ด้วย ซึ่งกระทรวงกลาโหมอิสราเอลยืนยันและยินดีขายอาวุธให้กองทัพเรือไทยครับ

An AT-6E Wolverine taxis down the runway at Moody Air Force Base, Georgia, April 14, 2022. 



Royal Thai Air Force Flying Officer Apisit Kitchoke, command and control lead, uses Airborne Extensible Relay Over-Horizon Network software to track a flight during experimentation at Moody Air Force Base, Georgia, April 13, 2022. 

การทดลองใช้งานระบบเครือข่าย AERONet โดยนายทหารกองทัพอากาศไทย ณ ฐานทัพอากาศ Moody Air Force Base(AFB) กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในมลรัฐ Georgia ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่ได้มีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๕
น่าจะเป็นระบบหนึ่งที่จะติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด AT-6TH ที่กองทัพอากาศไทยสั่งจัดหาจำนวน ๘เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html) ที่มีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ T-6TH(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/textron-t-6th.html)
นอกจากการถ่ายทอดวิทยาการเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยแล้ว ชุดคำสั่ง AERONet ถูกอธิบายว่าเป็นระบบราคาประหยัดที่ถูกพัฒนาสำหรับส่งออกแก่มิตรประเทศ ดังนั้นถ้าผู้ใช้งานจะใช้ในส่วนของตนเองเท่านั้นก็ไม่จำเป็นต้องขอสหรัฐฯเพื่อเข้าใช้เครือข่ายที่กองทัพสหรัฐฯใช้ครับ




Thailand commences MS20 upgrades for Gripens
The MS20 upgrades for the RTAF‘s Gripens is expected to give the force an advantage over combat aircraft in neighbouring countries. (Royal Thai Air Force)

หลังจากที่มีความล่าช้าจากการตัดลดงบประมาณกลาโหมเนื่องจากการระบาด Covid-19 โครงการปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ทั้ง ๑๑เครื่องก็ได้เริ่มแล้วตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022) นี้
โฆกกองทัพอากาศไทยได้ให้ข้อมูลกับ Janes ว่าการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ประกอบด้วยรุ่นที่นั่งเดียว บ.ข.๒๐ Gripen C ๗เครื่อง และรุ่นสองที่นั่ง บ.ข.๒๐ก Gripen D ๔เครื่อง ด้วยชุดคำสั่งมาตรฐานรุ่น MS20 จะดำเนินการไปจนถึงปี พ.ศ.๒๕๖๘(2025)
แม้ว่าบริษัท SAAB สวีเดนผู้ผลิตเครื่องและรับสัญญาจะปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดแก่สื่อ เป็นเข้าใจว่าการปรับปรุง MS20 สำหรับ Gripen C/D ของกองทัพอากาศไทยจะรวมถึงขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MBDA Meteor ซึ่งจะทำให้มีความได้เปรียบเหนือกว่ามากครับ




Directorate of Armament, Royal Thai Air Force announced to procure 10 set of Guidance-Extended Range Kits for 500lbs General Purpose Bomb for $1,395,597 from LIG Nex1 on 13 June 2022, it likely KGGB kits for its combat aircrafts.

เช่นเดียวกับระเบิดนำวิถี laser แบบ Elbit Lizard 3 ที่ใช้ได้กับทั้งเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F TH Super Tigris ผ่านกระเปาะชี้เป้า Litening III และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ผ่านกระเปาะชี้เป้า Sniper ATP ที่ต้องการเพียงการตั้ง Laser code ให้ตรงกัน(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-16ambm-lizard-3-amraam.html)
ชุดระเบิดร่อนนำวิถีด้วยดาวเทียมแบบ LIG Nex1 KGGB ที่จัดหาภายใต้โครงการซื้อ Guidance-Extended Range Kits for 500 LB General Purpose Bomb จำนวน 10 Set พร้อมอุปกรณ์สนับสนุน โดย กรมสรรพาวุธทหารอากาศ วงเงิน $1,395,597 หรือ ๔๗,๙๕๒,๗๑๒.๙๒บาท
ก็ต้องการเพียงติดตั้งเข้ากับชุดปีกกับลูกระเบิดทำลายอเนกประสงค์ Mk82 ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศผลิตได้เองในไทย โดยไม่ต้องการดัดแปลงอากาศยานเพิ่มเติมเป็นพิเศษ นั่นทำให้ระเบิดร่อนนำวิถีดาวเทียมแบบแรกของกองทัพอากาศไทยสามารถนำมาใช้งานกับเครื่องบินรบได้หลายแบบครับ


MOD 963 rifle and MOD 963 AR carbine in 20" and 14.5" length barrel respectively with MOD40 40mm grenade launcher, MOD2019 5.56mm assault rifle series was formerly known as MOD963 5.56mm assault rifle.


Weapon Research and Development Plant, Weapon Production Center (WPC), Defence Industry and Energy Center (DIEC), Ministry of Defence of Thailand has started manufacturing for 50 pilot lot of domestic MOD2019 5.56mm assault rifles.

โครงการทดสอบสายการผลิตปืนเล็กยาว ปลย.ขนาด 5.56x45mm NATO ระยะเวลา ๑ปี ใน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) โดย โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร รง.ตวพ.ศอว.ศอพท.
ในชื่อปืนเล็กยาว MOD2019 นั้นเดิมเป็นที่รู้จักในชื่อปืนเล็กยาว MOD963 ตามโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบมาตรฐานปืนเล็กยาวขนาด 5.56mm(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/556mm.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/10/556mm.html
การผลิตปืนเล็กยาว MOD2019 ชุดนำร่องจำนวน ๕๐กระบอกแรกเพื่อเข้าสู่การทดสอบเพื่อการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมไทย โดยคณะกรรมการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม กมย.กห. จะนำไปสู่การตัดสินใจว่าจะมีการเปิดสายผลิตจำนวนมากได้หรือไม่ครับ


Raytheon/Lockheed Martin Javelin JV, Tucson, Arizona, was awarded a $71,412,090 modification (P00066) to contract W31P4Q-19-C-0076 for the Javelin Missile System. 
Work will be performed in Tucson, Arizona, with an estimated completion date of Feb. 28, 2025. 
Fiscal 2022 missile procurement, Army funds; and Foreign Military Sales (Thailand, Norway, Albania and Latvia) funds in the amount of $71,412,090 were obligated at the time of the award. 
U.S. Army Contracting Command, Redstone Arsenal, Alabama, is the contracting activity.


Royal Thai Army (RTA) is to buy Javelin anti-tank missiles from the United States to replace the RTA's M40 series 106 mm recoilless rifle, seen mounted on M151 utility truck.

เอกสารสัญญาระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯและกิจการร่วมค้าบริษัท Raytheon และบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ สำหรับการผลิตอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin ลูกค้าต่างประเทศได้รวมถึงไทย, นอร์เวย์, แอลเบเนีย และลัตเวีย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕
สหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin ในรูปแบบ Foreign Military Sale(FMS) แก่กองทัพบกไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔(2021) ประกอบด้วยชุดยิง ๕๐ระบบ และจรวด ๓๐๐นัดวงเงินราว $83.5 million ซึ่งไม่น่าจะจัดหาในจำนวนเท่านี้ทีเดียว
กองทัพบกไทยมีความต้องการทดแทนปืนไร้แรงสะท้อน M40 106mm ซึ่งติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก M151 ที่มีใช้งานใน หมวดปืนโจมตี กองร้อยลาดตระเวนเฝ้าตรวจ กรมทหารราบ กองพลทหารราบ หลายหน่วย ซึ่งส่วนหนึ่งก็แทนที่ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Spike MR อิสราเอล ไปแล้วครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafael-spike-mr.html)






Royal Thai Embassy of Kingdom of Thailand at Ankara Turkey visited BAYKAR TEKNOLOGY Turkish unmanned aerial vehicle (UAV) manufacturer company and aborad L-400 TCG Anadolu at SEDEF shipyard on 14 June 2022,
both countries was discussing on Defence Industry cooperation.

เมื่อเช้าวันที่ 14 มิถุนายน 2565 นายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง เอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ได้นำคณะผู้แทนจากกระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือ นำโดยพลเรือเอก มนัสวี บูรณพงศ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะรวม 13 คน 
เข้าพบนาย Haluk Bayraktar, CEO และนาย Esref Evliyoglu, Head of Business Development จากบริษัท BAYKAR TEKNOLOGY ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยานพาหนะไร้ขนขับ (UAVs) ชั้นนำของตุรกีและในระดับสากล 
เพื่อรับทราบเกี่ยวกับขีดความสามารถของบริษัทฯ และหารือเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างไทยและตุรกี โดยมีนายธีรวัฒน์ ว่องแก้ว เลขานุการเอก เข้าร่วมด้วย

ในโอกาสนี้ คณะผู้แทนฯ ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตยานพาหนะไร้คนขับและกระบวนการผลิต โดยเฉพาะยานพาหนะไร้คนขับที่สำคัญที่สุดของบริษัทฯ 
คือ Bayraktar TB2 และ Bayraktar Akinci ซึ่งเป็นยานพาหนะไร้คนขับที่ทันสมัยที่สุดของตุรกีประเภทชั่วโมงบินยาวนานและบินระดับสูง
อนึ่ง บริษัท BAYKAR ก่อตั้งขึ้นปี ค.ศ. 1986 และได้กลายเป็นบริษัทผลิตยานพาหนะไร้คนขับและปัญญาประดิษฐ์ชั้นนำของตุรกี และได้ส่งออก UAV ไปกว่า 22 ประเทศทั่วโลก

เมื่อบ่ายวันที่ 14 มิถุนายน 2565 นายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง เอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ได้นำคณะผู้แทนจากกระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือไทย นำโดยพลเรือเอก มนัสวี บูรณพงศ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะรวม 13 คน 
เข้าพบทีมผู้บริหารจากบริษัท TAIS Shipyards นำโดยพลเรือเอก (เกษียณอายุราชการ) Metin Poyrazlar ที่ SEDEF Shipyard ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือชั้นนำของตุรกีในเขต Tuzla เพื่อรับทราบเกี่ยวกับขีดความสามารถของบริษัทฯ 
และหารือเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างไทยและตุรกี โดยมีนายธีรวัฒน์ ว่องแก้ว เลขานุการเอก เข้าร่วมด้วย

ในโอกาสนี้ คณะผู้แทนฯ ได้มีโอกาสเยี่ยมชมอู่ต่อเรือ SEDEF ซึ่งเป็นหนึ่งในอู่ต่อเรือสามแห่งของบริษัท TAIS และได้เข้าเยี่ยมชมเรือรบ TCG Anadolu LHD ที่กำลังอยู่ระหว่างการต่อที่อู่แห่งนี้ 
ซึ่งเป็นเรือบรรทุกอากาศยานประเภทเรือยกพลขึ้นบกจู่โจม (amphibious assault ship) ขนาดใหญ่ที่กำลังอยู่ระหว่างการต่อ (โดยใช้การออกแบบตามแบบของบริษัทต่อเรือรบสเปน) และคาดว่าจะส่งมอบให้กองทัพเรือตุรกีได้ภายในเดือนตุลาคม 2565
อนึ่ง บริษัท TAIS Shipyards เป็นอู่ต่อเรือเอกชนชั้นนำของตุรกีที่มีความร่วมมือกับภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงกลาโหมของตุรกี ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยสามบริษัทอู่ต่อเรือชั้นนำร่วมกัน ได้แก่ ANADOLU, SEDEF และ SEFINE Shipyard โดยมีทีมงานกว่า 1660 คน

ที่มาผ่านตุรกีมีความพยายามที่จะเปิดตลาดอาวุธยุทโธปกรณ์หลักของตนแก่กองทัพไทยมานานจากที่เห็นได้การนำบริษัทต่างๆเป็นจำนวนมากเข้าร่วมงาน Defense & Security ในไทยมาต่อเนื่องหลายปี(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-panus-r600-8x8.html)
นอกจากภาคเอกชนของไทยแล้ว การเยี่ยมชมภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของตุรกีล่าสุดของคณะผู้แทนจากกระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือไทยที่ตุรกีเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านเป็นการแสดงถึงการมองจะเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงของสองประเทศมากขึ้น
แม้ว่าบางระบบเช่นอากาศยานไร้คนขับ Bayraktar TB2 จะพิสูจน์ตนเองในการส่งออกและการรบจริงแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/bayraktar-tb2-uav.html) แต่จากหลายๆปัจจัยขณะนี้ตุรกียังไม่ประสบความสำเร็จในการส่งออกระบบยุทโธปกรณ์หลักของตนแก่กองทัพไทย

ที่ผ่านมาตุรกีมีความพยายามอย่างมากที่จะเปิดตลาดอาวุธของตนในกลุ่ม ASEAN เช่นความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับอินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/defend-id.html) และมาเลเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/turkish-aerospace.html)
แต่สำหรับไทยที่ตุรกีได้เริ่มการลงทุนภาคธุรกิจเอกชนของในไทยก็ได้พบเห็นปัญหาบางประการ อย่างผลิตภัณฑ์ของตุรกีที่ขายในไทยเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าตราอักษร Beko ที่มีโรงงานในไทยยังมีรายงานถึงปัญหาข้อบกพร่องในการใช้งานระยะยาวและบริการหลังการขายที่ไม่ดีนักจากผู้ใช้จริงหลายคนอยู่
ตัวอย่างประสบการตรงของผู้เขียนคือตู้เย็น Beko ที่ซื้อมาในปี ๒๕๖๐(2018) เป็นตู้เย็นที่ทนทานโครงสร้างหนากว่าของญี่ปุ่นและมีระบบแจ้งเตือนต่างๆที่ทันสมัยมาก แต่ผ่านมา ๕ปีก็วงจรพังเมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ แจ้งศูนย์บริการ Beko ไปตั้งแต่วันนั้นผ่านมาสิ้นเดือนยังไม่มีการติดต่อกลับเลยครับ