วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563

กองทัพอากาศพม่าทำพิธีประจำการเครื่องบินลำเลียง Y-12, Beechcraft 1900 และเครื่องบินฝึก G 120TP เพิ่มเติม











The 73th Anniversary of Myanmar Air Force ceremony in 15 December 2020 at Meiktila Air Base was introduced additional two Harbin Y-12 light transport aircrafts, two Grob G 120TP basic trainer aircrafts and one Beechcraft 1900 transport aircraft.

Airbus C295 Armed ISR variant at Dubai Air Show 2017. (wikipedia.org)

วันที่ 15 ธันวาคม 2020 กองทัพอากาศพม่า(Myanmar Air Force, Tatmadaw Lei) ได้ทำพิธีครบรอบการก่อตั้งปีที่73 ของตน ณ ฐานทัพอากาศ Meiktila โดยมี พลอากาศเอก(General) Maung Maung Kyaw ผู้บัญชาการกองทัพอากาศพม่า เป็นประธานในพิธี
พิธีครบรอบ 73ปีกองทัพอากาศพม่าจัดขึ้นท่ามกลางการระบาดของ coronavirus Covid-19 ภายในประเทศพม่า ซึ่งได้มีการลดขนาดและระยะเวลา, จำกัดจำนวนและการเว้นระยะห่างทางสังคมของแขกผู้เข้าร่วมพิธี ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค Covid-19

กองทัพอากาศพม่าได้ทำพิธีนำอากาศยานใหม่เข้าประจำการเพิ่มเติมในวันเดียวกันประกอบด้วย เครื่องบินลำเลียงเบา Harbin Y-12 จีน 2เครื่อง, เครื่องบินฝึกใบพัด Grob G 120TP เยอรมนี 2เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง Beechcraft 1900 สหรัฐฯ 1เครื่อง
รวมถึงการแสดงการบินหมู่ของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป Mil Mi-17 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mil Mi-35P รัสเซีย, เครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา Hongdu K-8W จีน และเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29SM รัสเซีย

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่พลเอกอาวุโส(Senior General) Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าได้เยือนโรงงานอากาศยาน Irkutsk ของบริษัท Irkut Corporation ในเครือของกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation(UAC) รัสเซีย เมื่อเดือนเมษายน 2019
ในพิธีล่าสุดไม่มีการพบเห็นการนำเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30SME ที่กองทัพอากาศพม่าสั่งจัดหาจำนวน 6เครื่องในปี 2018 ที่คาดว่าควรจะถูกส่งมอบแล้วแต่อย่างใด(https://aagth1.blogspot.com/2019/04/su-30sme.html)

และยังรวมถึงการเปิดเผยเอกสารการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี Airbus C295 สเปน 2เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศจอร์แดน(RJAF: Royal Jordanian Air Force) ซึ่งจอร์แดนได้ประกาศขายพร้อมกับอากาศยานของตนหลายแบบรวม 29เครื่องตั้งแต่ปี 2019 ประกอบด้วย
อากาศยานรบไร้คนขับ CH-4B จีน 6เครื่อง, เครื่องบินลำเลียง CN235 สเปน 2เครื่อง, เครื่องบินลำเลียง C-130B สหรัฐฯ 1เครื่อง, เฮลิคอปเตอร์ MD 530 สหรัฐฯ 6เครื่อง และเครื่องบินฝึกไอพ่น Hawk สหราชอาณาจักร 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/ch-4b-uav.html)

การจัดซื้อที่ดำเนินการผ่านบริษัท Aero Sofi ซึ่งจดทะเบียนในสหราชอาณาจักรทำหน้าที่เป็นตัวแทนบังหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากสหภาพยุโรปที่สั่งห้ามการขายอาวุธยุทโธปกรณ์แก่กองทัพพม่าที่ถูกระบุว่ากระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆภายในประเทศ
เอกสารระบุถึงข้อตกลงการขายเครื่องบินในวันที่ 1 ตุลาคม 2019 การชำระเงินระยะแรก $30 million วันที่ 15 พฤศจิกายน 2019 การชำระเงินระยะที่สอง $8.6 million วันที่ 1 ตุลาคม 2020 รวมวงเงินทั้งหมด $38.6 million โดยโครงการจะเสร็จสิ้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2020 นี้

การส่งมอบอากาศยาน 2เครื่องพร้อมเครื่องยนต์อะไหล่ 1เครื่อง, ใบพัดอะไหล่ 1ชุด และชุดอะไหล่ประกอบอื่นๆ ที่ถูกระบุว่าคือเครื่องบินลำเลียง C295 ของจอร์แดนนั้นถูกระบุวันตรวจรับเครื่อง, ตรวจสอบเครื่องวงรอบใช้งาน 8ปี และการส่งมอบเครื่องตั้งแต่ 30 ตุลาคม 2019-10 กันยายน 2020
ซึ่งยังถูกระบุว่าได้รับการดัดแปลงเป็นเครื่องโจมตีลำเลียง AC295 Gunship ตามสัญญาที่สำนักออกแบบและพัฒนาพระราชาอับดุลลอฮ์ที่2 (KADDB: King Abdullah II Design & Development Bureau) จอร์แดน ลงนามกับบริษัท Airbus ยุโรป และบริษัท Orbital ATK สหรัฐฯในปี 2014

แต่ทั้งนี้ถ้าดูจากที่เครื่องโจมตีลำเลียง C295 Gunship เครื่องต้นแบบที่บริษัท Airbus สาขาสเปนนำมาจัดแสดงในงานแสดงการบิน Dubai Airshow 2017 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ระหว่างวันที่ 12-16 พฤศจิกายน 2017 นั้น ระบบอาวุธและระบบตรวจจับที่ติดตั้งเกือบทั้งหมดมีแหล่งที่มาจากตะวันตก 
เช่น ปืนใหญ่อากาศ M230LF ขนาด 30x113mmB ของบริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯ(Orbital ATK เดิมที่ถูกซื้อกิจการไป) ที่ติดตัวภายในลำตัวเครื่องยื่นออกด้านประตูข้างด้านซ้ายส่วนหลังของเครื่อง, ระบบตรวจจับกล้อง EO/IR แบบ MX-15DXi ของบริษัท L3 Wescam แคนาดา 

และคานอาวุธเสริมรองรับกระเปาะจรวดอากาศสู่พื้น Hydra 70 ความจุ 7นัด, จรวดนำวิถี APKWS-II ของบริษัท BAE Systems หรืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ จนถึงแผนที่จะบูรณาการให้ใช้อาวุธนำวิถีของบริษัท ROKETSAN ตุรกีเป็นต้น
จึงดูเป็นเรื่องยากที่ระบบจากแหล่งที่มาตะวันตกเหล่านี้จะถูกส่งมอบให้แก่กองทัพอากาศพม่าได้ จนกว่าจะมีภาพถ่ายยืนยันชัดเจน C295 สองเครื่องน่าจะถูกส่งมอบแก่พม่าในรูปแบบเครื่องบินลำเลียงมาตรฐานดั้งเดิมที่ไม่ติดอาวุธตามรูปแบบที่จอร์แดนเคยสั่ง หรืออาจจะถูกขัดขวางการส่งมอบก็ได้ครับ