Airbus Helicopters has secured a six-unit order for the H135 trainers from the Royal Thai Air Force (RTAF).
Thailand joins other operators of H135 trainers including Australia, Germany and the UK.
Royal Malaysian Air Force (RMAF) already flies 12 H225Ms, Airbus Helicopters is working to offer RMAF both short- and long-term solutions to replace its grounded fleet of 12 Sikorsky S-61A Nuri rotorcraft.
https://www.flightglobal.com/singapore-air-show-2020/thailand-picks-h135-helicopters-for-training-mission/136696.article
บริษัท Airbus Helicopters ยุโรปได้รับการสั่งจัดหาเฮลิคอปเตอร์ฝึก H135 จำนวน ๖เครื่องจากกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ในวงเงิน ๑,๓๒๗,๗๙๑,๑๐๐บาท($43,353,707)
ขณะที่บริษัท Airbus Helicopters ยังมองความร่วมมือเพิ่มเติมกับกองทัพมาเลเซีย(Malaysian Armed Forces, ATM, Angkatan Tentera Malaysia) รวมถึงการขายตามมาของเฮลิคอปเตอร์ H225M
การส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ฝึก Airbus Helicopters H135 จะเริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) โดยกองทัพอากาศไทยจะใช้พวกมันสำหรับการฝึกอย่างเต็มรูปแบบรวมถึงหลักสูตรการบินขั้นต้น(ab initio)
H135 เป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกทางทหารแบบแรกที่จะถูกจัดหาโดยกองทัพอากาศไทย โดยก่อนหน้านั้นโรงเรียนการบินกำแพงแสนเคยใช้เฮลิคอปเตอร์แบบที่๘ ฮ.๘ Bell 206B Jet Ranger ที่ปลดประจำการในราวปี พ.ศ.๒๕๕๑(2006)
"เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างที่สุดโดยการตัดสินใจของกองทัพอากาศไทยที่จะขยายฝูงบินฝึกของตนด้วย ฮ.ฝ.H135" Fabrice Rochereau รองประธานฝ่ายขายภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกล่าวในงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2020
ที่สนามบิน Changi สิงคโปร์ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ซึ่งกองทัพอากาศไทยได้นำเครื่องบินขับไล่ F-5TH และอากาศยานไร้คนขับ RTAF U1-M ของตนมาจัดแสดง(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html)
ไทยได้พิสูจน์ว่าเป็นลูกค้าที่แข็งแกร่งของ Airbus Helicopters ในภูมิภาค ASEAN โดยกองทัพอากาศไทยมีเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725(H225M) จำนวน ๑๒เครื่องประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/uh-1h-huey.html)
กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) มีเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๗๒ UH-72 Lakota จำนวน ๕เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๔๕ H145 จำนวน ๖เครื่อง และกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) มีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ H145M จำนวน ๕เครื่อง ตามลำดับ
กองทัพอากาศไทยได้เข้ามาอยู่ร่วมในกลุ่มผู้ใช้เฮลิคอปเตอร์ H135 ในฐานะเฮลิคอปเตอร์ฝึกทางทหาร ประกอบด้วย โรงเรียนการบินเฮลิคอปเตอร์ร่วม(Joint Helicopter School) กองทัพออสเตรเลีย(Australian Defence Force),
กองทัพบกเยอรมนี(German Army, Deutsches Heer) และโรงเรียนการบินเฮลิคอปเตอร์กลาโหม(DHFS: Defence Helicopter Flying School) กองทัพสหราชอาณาจักร(British Armed Forces)
ขณะเดียวกัน Airbus Helicopters กำลังทำงานเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวแก่กองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)
สำหรับการทดแทนเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky S-61A Nuri จำนวน 12เครื่องที่ถูกงดบิน(https://aagth1.blogspot.com/2019/12/s-61-sea-kingnuri.html)
กองทัพอากาศมาเลเซียทำบินกับเฮลิคอปเตอร์ H225M จำนวน 12เครื่องอยู่แล้ว และ Rocherau กล่าวว่ามันจะ "สิ้นเปลืองเงินภาษีจากประชาชน" ที่จะไปเลือกเฮลิคอปเตอร์แบบอื่น
Vincent Dubrule หัวหน้า Airbus Helicopters ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่าการจัดหา ฮ.H225M จะเป็น "ความต่อเนื่องเชิงตรรกะ" แต่เป็นที่ทราบว่ารัฐบาลมาเลเซียมีช่องว่างด้านงบประมาณในระยะสั้น
ในฐานะ "แนวทางแก้ปัญหาชั่วคราว" น่าจะมีการเสนอให้เช่าเฮลิคอปเตอร์ที่ถูกใช้ในงานน้ำมันและก๊าซโดยนำโครงสร้างเฮลิคอปเตอร์มาใช้ใหม่ Dubrule กล่าว ฮ.เหล่านี้สามารถวางกำลังได้อย่างค่อนข้างรวดเร็วในขณะที่มาเลเซียทำการหางบประมาณจัดหาในระยะยาว
ผู้ใช้งานด้านน้ำมันและก๊าซเช่น Bristow Group กำลังมองหาผู้ซื้อฝูงเฮลิคอปเตอร์ H225 ที่ปล่อยว่างไว้ของตนซึ่ง ฮ.รุ่นนี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบในหลายตลาดไกลฝั่ง Airbus Helicopters กำลังคาดการณ์ว่าจะขายเฮลิคอปเตอร์ทางทหารของตนทั่วเอเชีย-แปซิฟิกได้ 5,500เครื่องใน 20ปีข้างหน้าครับ