วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565

พิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี ๒๕๖๖ ATOC 2023 กองทัพอากาศไทย


















Welcome to ATOC 2023
The opening ceremony of Air Tactical Operations Competition 2023 (ATOC 2023) at Chandy Range, Lopburi, Thailand on 1 December 2022.
Royal Thai Air Force (RTAF)'s Air Power demonstration include 
Lockheed Martin F-16AM and F-16BM of 403rd Squadron, Wing 4 Takhli with Raytheon AIM-120C AMRAAM and Diehl IRIS-T air to air missiles, Elbit LIZARD 3 laser guided bombs and Sniper ATP targeting pod  and JHMCS helmet;
Lockheed Martin F-16A and F-16B of 103rd Squadron, Wing 1 Korat with Mk 82 500lbs bombs and 20mm cannon; Saab Gripen C and Gripen D of 701st Squadron, Wing 7 Surat Thani; 
Northrop F-5E TH Super Tigris of 211st Squadron, Wing 21 Ubon Ratchathani; Dornier Alpha Jet A TH of 231st Squadron, Wing 23 Udon Thani with CRV7 air to ground rockets; Lockheed Martin C-130H Hercules of 601st Squadron, Wing 6 Don Muang;
Basler BT-67 of 461st Squadron, Wing 46 Phitsanulok; Diamond DA42 MPP of 402nd Squadron, Wing 4 Takhli; and EC725(Airbus Helicopters H225M) of 203rd Squadron, Wing 2 Lopburi. (Tanapol Arunwong/Krit Surisukh/Anutsara Thaidamrong)

LIVE Clip: การแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศ ประจำปี 2566 พิธีเปิดและการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

กองทัพอากาศ จัดพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี 2566 และสาธิตการใช้กำลังทางอากาศ เพื่อแสดงขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงและการบรรเทาสาธารณภัย
วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2565) เวลา 10.00 น. พลอากาศเอก อลงกรณ์  วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี 2566 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 

โดยภายหลังพิธีเปิดการแข่งขันฯ กองทัพอากาศได้จัดให้มีการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศของฝูงบิน หน่วยรบ และส่วนสนับสนุน เพื่อให้หน่วยเกี่ยวข้องและประชาชนได้ประจักษ์ถึงคุณลักษณะ และขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ 
ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงของชาติ ตลอดจนการบรรเทาสาธารณภัย โดยมีการจำลองการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ อาทิ การบินตอบโต้ทางอากาศเชิงรุกและเชิงรับ, การบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศร่วมกับการปฏิบัติการทางไซเบอร์, 
การกดดันการป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก, การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด, การลำเลียงทางอากาศ, การควบคุมไฟป่าร่วมกับการปฏิบัติการทางอวกาศ, 
การค้นหาช่วยชีวิตและการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับชุด Medical Emergency Response Team : MERT ของศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ทหารอากาศในการช่วยเหลือประชาชนกรณีประสบภัยพิบัติ 

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้ง “ชุดสั่งการและควบคุมการปฏิบัติทางอากาศเคลื่อนที่” (Command Control Mobile : C2 Mobile) เพื่อรองรับกรณีที่มีการร้องขอการสั่งการและควบคุมการปฏิบัติทางอากาศในพื้นที่เกิดเหตุการณ์ให้เกิดประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย 
โดยใช้ระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ (Air Command and Control System : ACCS) เป็นเครื่องมือในการสั่งการและควบคุม ด้วยแนวคิดการปฏิบัติการใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations : NCO) ประกอบด้วย 3 ส่วน 
ได้แก่ ระบบข้อมูลการบัญชาการและควบคุม ระบบแสดงภาพสถานการณ์ทางอากาศ และระบบการติดต่อสื่อสารกับนักบินบนอากาศยาน ซึ่งชุดสั่งการและควบคุมการปฏิบัติทางอากาศเคลื่อนที่ดังกล่าว 
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นต้น

ในโอกาสนี้ กองทัพอากาศยังได้จัดหน่วยมิตรประชากองทัพอากาศ ให้บริการทางการแพทย์ มอบชุดยาและเวชภัณฑ์ ผ้าห่มกันหนาว และอุปกรณ์กีฬาให้แก่โรงเรียนและประชาชนโดยรอบพื้นที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาลอีกด้วย

สำหรับการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี เป็นกิจกรรมที่กองทัพอากาศจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยได้พัฒนาปรับปรุงรูปแบบจากการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศในอดีต ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของกองทัพอากาศทั่วโลก 
เป็นการทดสอบและประเมินขีดความสามารถการใช้อาวุธ และการปฏิบัติภารกิจของนักบิน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นรายบุคคล หมู่บิน ฝูงบิน หรือหน่วยรบ 
โดยในปัจจุบันได้เพิ่มเติมรูปแบบให้สอดคล้องครอบคลุมภารกิจของกองทัพอากาศมากยิ่งขึ้น ทั้งการปฏิบัติการทางทหาร และการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม 

ในส่วนของการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 - 10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล, พื้นที่การฝึก กองบิน 1, 2, 4, 5, 6, 46 และโรงเรียนการบิน
โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท 15 ชนิด ดังนี้ 
ประเภทที่ 1 การแข่งขันทั่วไป จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ การใช้อาวุธแบบกระสวนขั้นมูลฐาน การใช้อาวุธทางอากาศยุทธวิธีประเภทระเบิด การบินค้นหาและช่วยชีวิต การบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ การบินรับ-ส่งข่าวสาร การบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ และการประเมินค่าเจ้าหน้าที่สนับสนุนการบิน 
ประเภทที่ 2 จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ การบินลำเลียงทางอากาศยุทธวิธี การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด การบินควบคุมไฟป่า การบินแจ้งเตือนในอากาศ การบินปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ การประเมินค่าเจ้าหน้าที่ต่อสู้อากาศยาน 
การประเมินค่าเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมการรบ และการปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับยุทธวิธี 

กองทัพอากาศตระหนักในหน้าที่อันสำคัญยิ่งในการรักษาอธิปไตยเหนือน่านฟ้าไทย โดยได้ดำรงความพร้อมของกำลังทางอากาศ และพัฒนาศักยภาพของกองทัพอากาศในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ข้อมูลข่าวสาร และกำลังรบทางอากาศที่มีคุณภาพ 
อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมในการนำยุทโธปกรณ์และขีดความสามารถทางทหารไปปรับใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชนอีกด้วย

พิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ณ ที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ก็เป็นอีกปีที่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าชมสาธิตการใช้กำลังทางอากาศของกองทัพอากาศไทย
กำลังอากาศยานที่เข้าร่วมการสาธิตรวมถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่สองที่แสดงการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง Raytheon AIM-120C AMRAAM(Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile)
รวมกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ Diehl IRIS-T กับกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin Sniper ATP(Advanced Targeting Pod) และระเบิดนำวิถี laser แบบ Elbit Lizard 3(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/f-16ambm-lizard-3-amraam.html)

ขณะที่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช แสดงการใช้อาวุธการทิ้งลูกระเบิดทำลาย Mk 82 ขนาด 500lbs เครื่องละ ๖นัดใส่เป้าหมายพร้อมกัน รวมถึงการยิงทำลายเป้าหมายภาคพื้นดินด้วยปืนใหญ่อากาศ M61A2 หกลำกล้องหมุนขนาด 20mm
เครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Alpha Jet TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ทำการยิงเป้าหมายภาคพื้นดินด้วยจรวดอากาศสู่พื้น CRV7 ขนาด 70mm, เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎรธานี ที่ได้รับการปรับปรุงมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20
และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค F-5E TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี สาธิตการรบทางอากาศระหว่างกัน(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-saab-accs.html, https://aagth1.blogspot.com/2022/06/gripen-ms20.html)

เครื่องบินตรวจการณ์และฝึกแบบที่๒๐ บ.ตฝ.๒๐ Diamond DA42 MMP ฝูงบิน๔๐๒ กองบิน๔ สาธิตการลาดตระเวนตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศ เครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง สาธิตการทิ้งร่มทางอากาศสู่พื้นที่เป้าหมาย
เครื่องบินลำเลียงแบบที่๒ก บ.ล.๒ก BT-67 ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ พิษณุโลก สาธิตการทิ้งสารดับเพลิงทางอากาศ เฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(Airbus Helicopters H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ โคกกระเทียม สาธิตการกู้ภัยในพื้นที่การรบ โดยปล่อยพลุไฟ flare ต่อสาธารณะครั้งแรก
และชุด CCT(Combat Control Team) หน่วยปฏิบัติการพิเศษอากาศโยธิน ทำหน้าที่ชี้เป้าหมายให้อากาศยาน และปืนต่อสู้อากาศยาน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน สาธิตการต่อต้านอากาศยานข้าศึก เป็นการแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถและความพร้อมรบของกองทัพอากาศไทยในปัจจุบันครับ