วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เรือคอร์เวตเรือหลวงสุโขทัยกองทัพเรือไทยอับปาง ยังมีทหารสูญหายหลายนาย

Royal Thai Navy corvette sinks


The sunken HTMS Sukhothai, which was commissioned in 1987 is the sister ship of the FSG-441 HTMS Rattanakosin, which was commissioned in the US in 1986. This heavily armed class of corvette has a displacement of 975 tonne. (Janes)





A Royal Thai Navy corvette, FSG-442 HTMS Sukhothai has sunk after encountering rough seas, leaving several sailors missing.







เรือคอร์เวตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัย กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้อับปางลงหลังเผชิญคลื่นลมในทะเลรุนแรงในอ่าวไทย ยังคงมีทหารเรือหลายนายที่ยังคงสูญหาย
ร.ล.สุโขทัย อับปางในตอนกลางคืนของวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) หลังเผชิญลมแรงและคลื่นสูงมาก เป็นสาเหตุให้เรือพลิกเอียงลงน้ำ กองทัพเรือไทยกล่าวในแถลงการณ์เมื่อเวลาประมาณ ๐๖๓๐ ตามเวลาท้องถิ่นเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕

กองทัพเรือไทยรายงานเบื้องต้นว่ากำลังพลประจำเรือ ๗๖นาย และทหารนาวิกโยธินไทย นย.(RTMC: Royal Thai Marine Corps) และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command) ๓๐นาย รวม ๑๐๖นายปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม Janes ได้ทราบภายหลังว่ามีทหารเรือ ๒๔นายที่ยังคงสูญหายในเวลาที่เผยแพร่บทความนี้ โดยมีกำลังพลประจำเรือ ร.ล.สุโขทัย หนึ่งนายที่ขอลากิจลงจากเรือไปก่อนออกเรือ ทำให้กำลังพลประจำเรือขณะเกิดเหตุอยู่ที่ ๗๕นาย รวมทหารบนเรือจริงทั้งหมด ๑๐๕นาย

ตามข้อมูลจากโฆษกกองทัพเรือไทย พลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน เหตุ ร.ล.สุโขทัย อับปางเกิดขึ้นราว 20nmi ห่างจากท่าเทียบเรืออำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางตอนใต้ของไทย
สื่อท้องถิ่นของไทยรายงานว่าคาดว่าจะมีพายุเกิดขึ้นในอ่าวไทย นักอุตุนิยมวิทยาได้ทำนายคลื่นสูงและฝนตกหนักในภาคใต้ของไทยตั้งแต่วันที่ ๑๘-๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕

ตามข้อมูลจาก พล.ร.อ.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือไทย ร.ล.สุโขทัย กำลังลาดตระเวนในพื้นที่อ่าวไทยเมื่อเรือเผชิญกับคลื่นสูงซึ่งทำให้ตัวเรือพลิงเอียง
"นี่เป็นสาเหตุให้น้ำทะเลบางส่วนไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของเรือผ่านท่อไอเสียของเรือ" พล.ร.อ.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือไทยกล่าว เสริมว่าเรือได้สูญเสียกำลังขับเคลื่อนและพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ณ จุดนั้น

เรือหลวงสุโขทัยเป็นเรือลำที่สองของเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ มีความยาวเรือ 76.8m ระวางขับน้ำเต็มที่ 975 tonne ทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 26knot และมีระยะทำการปกติที่ 3,000nmi ตามข้อมูลจาก Janes Fighting Ships
อาวุธที่ติดตั้ง อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ McDonnell Douglas RGM-84A/C Harpoon Block IA/IB จำนวน ๘ท่อยิง, อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Selenia Aspide/MBDA Aspide 2000 ในแท่นยิง Albatros ๘ท่อยิง,

ปืนเรือ OTO Melara 76mm/62 หนึ่งแท่นยิง, ปืนกล Otobreda 40mm/70 สองกระบอกหนึ่งแท่นยิง, ปืนกล Oerlikon GAM-B01 ขนาด 20mm สองแท่นยิง,
และแท่นยิง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำสามท่อยิงขนาด 324mm แบบ Mk 32 สองแท่นยิง สำหรับ Torpedo เบาแบบ GEC-Marconi Sting Ray/Mk46 Mod 5A(S)/Raytheon Mk 54 Mod 0(https://aagth1.blogspot.com/2017/09/torpedo-mk54-mod-0.html)

กองทัพเรือไทยได้สั่งสร้างเรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ จำนวน ๒ลำจากบริษัท Tacoma Boatbuilding สหรัฐฯ(ปิดกิจการในปี 1992) ในวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๖(1983) เป็นวงเงิน $143 million หรือราว ๓,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท(ลำละ ๑,๖๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท)
เรือลำแรก ร.ล.รัตนโกสินทร์ ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๙(1986) และลำที่สอง ร.ล.สุโขทัย ปล่อยเรือลงน้ำเมื่อ ๒๐ กรกฎาคม และขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๐(1987) ที่อู่เรือ Tacoma มลรัฐ Washington สหรัฐฯ

ในเวลานั้นกองทัพเรือไทยเดิมมองที่จะสร้างเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ลำที่สามในไทย โดยความร่วมมือในการถ่ายทอดวิทยาการแก่บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด(Italthai Marine) เช่นเดียวกับเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชุดเรือหลวงคำรณสินธุ จำนวน ๓ลำ
อย่างไรก็ตามหลังปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) กองทัพเรือไทยได้ปรับโครงสร้างกำลังทางเรือและเลือกแนวทางจัดหาเรือฟริเกตที่มีขนาดใหญ่กว่าและขีดความสามารถสูงกว่าเรือคอร์เวต โดย ร.ล.รัตนโกสินทร์ และ ร.ล.สุโขทัย ได้เปลี่ยนหมายเลขเรือจาก (1) และ (2) เป็น (441) และ (442) ตามลำดับ

การสูญเสีย ร.ล.สุโขทัย ทำให้กองทัพเรือไทยเสียเรือรบผิวน้ำที่มีขีดความสามารถการรบสามมิติ(Anti-Surface/Submarine/Air Warfare) ของตนลงไป ๑ใน๕ คือเหลือ ร.ล.รัตนโกสินทร์, เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ๒ลำ และเรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
จากความลึกที่ ร.ล.สุโขทัย จมในอ่าวไทยที่ระดับความลึกราว 40m กองทัพเรือไทยมีแผนที่จะทำการกู้เรือขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามลำดับความสำคัญสูงสุดในขณะนี้คือการค้นหาลูกเรือที่ยังสูญหายอยู่ซึ่งล่าสุดช่วยเหลือได้แล้ว ๗๖นาย เสียชีวิต ๕นาย และยังสูญหาย ๒๔นายครับ