วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565

จีนเสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลของเรือหลวงช้าง เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E LPD กองทัพเรือไทย

Chinese Shipyard completes sea trials of Thailand’s Type 071E LPD 

Forward view of RTN’s new Type 071E LPD during sea trials. (Source: Weibo)


Royal Thai Navy's Type 071E LPD at sea trials (Source: Weibo)

อู่เรือ Hudong-Zhonghua จีนได้เสร็จสิ้นการทดลองเรือในทะเลของเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E LPD(Landing Platform Dock) ที่ถูกสร้างสำหรับกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) 
เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓)(LPD-792 HTMS Chang(III))(https://aagth1.blogspot.com/2021/12/type-071e-lpd.html)

Global News หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนรายงานว่า ผลการทดลองเรือแสดงว่าค่าจำกัดสมรรถนะของเรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E ตรงตามหรือเกินความต้องการที่กำหนดไว้ในสัญญา 
ซึ่งได้รับการการต้อนรับอย่างอบอุ่นโดยเจ้าหน้าที่กำลังพลชุดรับเรือของกองทัพเรือไทย คาดว่ากำหนดการส่งมอบเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงช้าง จะมีขึ้นในราวเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)

กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญากับจีนสำหรับการจัดหาเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E LPD เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019)(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/type-071e-lpd.html)
Type 071E เป็นแบบเรือรุ่นส่งออกที่มีพื้นฐานจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ข้อตกลงถูกรายงานว่ามีมูลค่าที่วงเงินราว ๖,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($200 million)

เรือหลวงช้าง(ลำที่สาม) เป็นเรือหลวงลำที่สามของกองทัพเรือไทยที่ได้รับการตั้งชื่อนี้ นอกจากจะเป็นชื่อสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของชาวไทยและยังตรงกับชื่อเกาะสำคัญคือเกาะช้างในฝั่งอ่าวไทยด้วย
ยุทธนาวีเกาะช้าง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔(1941) ตามระเบียบการขอพระราชทานชื่อเรือหลวงของกองทัพเรือไทย เรือยกพลขึ้นบกและเรือสนับสนุนการรบจะถูกตั้งชื่อตามเกาะในประเทศไทย

กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ปัจจุบันมีเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 จำนวน ๘ลำเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกของตน
กองทัพเรือไทยเป็นลูกค้าส่งออกรายแรกสำหรับเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 นี้(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/lloyds-register-type-071e-lpd.html)

เดิมถูกออกแบบหลังวิกฤตการณ์ช่องแคบไต้หวันปี 1996 เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 มีความยาวเรือ 210m และกว้าง 28m สามารถรองรับนาวิกโยธินได้ ๘๐๐นาย(หนึ่งกองพัน) และรถสะเทินน้ำสะเทินบกได้ ๒๐คัน(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/vn16.html)
สำหรับสงครามสะเทินน้ำสะเทินบก อู่ลอย(well deck) ของเรือ Type 071 LPD สามารถวางกำลังด้วยยานเบาะอากาศชั้น Type 726/Type 726A LCAC(Landing Craft Air-Cushion) ขนาดประมาณ 150tonnes ได้อย่างน้อยสองลำ

ยานเบาะอากาศชั้น Type 726/Type 726A LCAC แต่ละลำถูกออกแบบให้สามารถวางกำลังรถถังหลัก(เช่นรถถังหลัก Type 96A) ได้(https://aagth1.blogspot.com/2017/12/type-726a-lcac.html)
เรือชั้น Type 071 LPD ยังติดตั้งด้วยโรงเก็บอากาศยานขนาดใหญ่ของห้องและดาดฟ้าบินที่รองรับเฮลิคอปเตอร์ Z-8J สองเครื่องที่สามารถจะปฏิบัติการได้พร้อมกันต่อเนื่อง

เรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071 ติดตั้งอาวุธปืนเรือขนาด 76mm หนึ่งแท่นยิง และระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-In Weapon System) ปืนกลหกลำกล้องหมุนขนาด 30mm สี่แท่นยิง
นอกจากภารกิจยกพลขึ้นบก และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติแก่ประชาชนแล้ว โดยกำหนดแบบเป็น "เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ" ร.ล.ช้าง คาดว่าจะถูกใช้เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำด้วย

ก่อนหน้านี้กองทัพเรือไทยได้สั่งจัดหาเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) แบบ S26T ระยะที่๑ จำนวน ๑ลำจากจีนในฐานะส่วนหนึ่งของสัญญาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลที่ลงนามในปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
เรือดำน้ำแบบ S26T ลำแรกถูกทำพิธีตัดเหล็กแผ่นแรกเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) อย่างไรก็ตามจากปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า กองทัพเรือไทยกล่าวว่าตนพร้อมจะยกเลิกสัญญาจีนได้ทุกเมื่อครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/s26t-mtu.html)