วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๕-๑๑












On 2 November 2022, Royal Thai Navy International Fleet Reviews 2022 Task Unit by HTMS.BHUMIBOL ADULYADEJ arrived at Yokosuka Naval Base safely. 
She was given a warm welcome by representative of Yokosuka Naval Base and the Deputy Thailand-Japan Naval Attache. 
In the afternoon, Rear Admiral Chokchai Ruangjam, Commander Task Unit RTN, paid a courtesy call to the Commandant of Yokosuka Naval Base as a general naval tradition. 
And then The Reception Party was hosted by the Japanese Maritime Self-Defense Forces at Mercure Yokosuka Hotel. The party was held to welcome international navies that participating in International Fleet Review. The party was really welcoming and joyful.



Royal Thai Navy (RTN)'s FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate as Task Unit from Thailand has participated International Fleet Review 2022 at Japan on 6 November 2022.
HTMS Bhumibol Adulyadej is one hightlight warships displayed open to visitor during Japan Maritime Self-Defense Force (JMSDF) Fleet Week at Yokosuka naval base on 29 October to 13 November 2022.

วันที่  2 พ.ย.65 หน่วยเรือสวนสนามทางเรือนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่น (นรส.) โดย ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ได้เดินทางมาถึง ฐานทัพเรือโยโกสุกะ โดยสวัสดิภาพ และได้รับการต้อนรับจากคณะตัวแทนนายทหาร ฐานทัพเรือโยโกสุกะ และคณะรอง ผช.ทูต ทหารเรือ ไทย/โตเกียว 
โดยในช่วงบ่าย พล.ร.ต.โชคชัย เรืองแจ่ม (ผบ.นรส.) และคณะ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมคำนับ ผบ.ฐานทัพเรือโยโกสุกะ ซึ่งเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติของทหารเรือ 
จากนั้น ทางคณะเจ้าภาพโดยกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น จัดให้มีงานเลี้ยง Reception  เพื่อต้อนรับเรือ ทร. ต่างประเทศ ที่เข้าร่วมกิจกรรมสวนสนามทางเรือนานาชาติ งานเลี้ยงจัดขึ้นที่ โรงแรม MERCURE YOKOSUKA 
การปฏิบัติทั้งหมด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรยากาศในงานเป็นไปด้วยความอบอุ่นและสนุกสนาน

กองทัพเรือ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช จัดกำลังพลร่วมขบวนพาเหรดสวนสนามทางบก เพื่อเป็นการอวดธงชาติและธงราชนาวี แสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติไทย ซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีชาวเรือของนานาประเทศ 
โดยเรือรบทุกประเทศที่เข้าร่วม สวนสนามทางเรือนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่น จะจัดกำลังพลเข้าร่วมขบวนพาเหรด

ผู้บัญชาการทหารเรือ ร่วมพิธีสวนสนามทางเรือนานาชาติ (International Fleet Review :IFR ) 2022 ณ เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ตามคำเชิญของ ผบ.กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลประเทศญี่ปุ่น
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะ  ได้เข้าร่วมพิธีสวนสนามทางเรือนานาชาติ (International Fleet Review :IFR) 2022 ณ เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ตามคำเชิญของ ผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น 
เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลประเทศญี่ปุ่น โดยมีเรือรบของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นและ กองทัพเรือชาติต่างๆอีก 12 ประเทศเข้าร่วมสวนสนามทางเรือ จำนวนทั้งสิ้น 38 ลำ
และ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นประธานในพิธีบนเรือ JS Izumo (DDH-183)  ในส่วนของกองทัพเรือไทย ได้ส่ง เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เข้าร่วมการสวนสนามในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ ในระหว่างการสวนสนามทางเรือฯ เจ้าภาพได้จัดให้มีการหารือระดับทวิภาคี เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพเรือประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยในส่วนของ พลเรือเอก เชิงชายชมเชิงแพทย์ ได้มีการหารือกับ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ประเทศต่างๆดังนี้
1. พลเรือเอก Michael Gilday ผบ.ทร.สหรัฐอเมริกา
2. พลเรือโท Mark Hammond ผบ.ทร.ออสเตรเลีย
3. พลเรือเอก Mohammad Shaheen Iqbal ผบ.ทร.บังคลาเทศ
4. พลเรือตรี Dato Seri Pahlawan Spry  Bin Haji Serudi ผบ.ทร.บรูไนดารุสซาราม
โดยการหารือเป็นไปด้วยมิตรภาพของคู่เจรจา ซึ่งแต่ละฝ่ายจะได้นำประเด็นต่างๆที่ได้หารือร่วมกันไปสู่การปฏิบัติต่อไป

หน่วยเรือสวนสนามทางเรือนานาชาติ นรส.โดยเรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช กองทัพเรือไทยได้เสร็จสิ้นการเข้าร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติ International Fleet Review 2022 ที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) นับเป็นการอวดธงราชนาวีต่อนานาชาติล่าสุด
ระหว่างงาน Fleet Review กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นที่ฐานทัพเรือ Yokosuka ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ยังได้ถูกจอดที่เทียบเรือหน้าทางเข้างานที่เดิมเป็นที่จอดของเรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ DDH-183 JS Izumo และเปิดให้ประชาชนเยี่ยมชมซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชน
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช กองทัพเรือไทยยังได้ร่วมการฝึกผสมทางเรือนานาชาติกับเรือราว ๓๐ลำ และอากาศยาน ๒เครื่องจากกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น และกองทัพเรือ ๑๑ชาติที่เข้าร่วมงาน International Fleet Review 2022 ระหว่างวันที่ ๖-๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ไปพร้อมกันด้วย

ทว่าการเดินทางเข้าร่วมงาน International Fleet Review 2022 ที่ญี่ปุ่นของกองทัพเรือไทยนอกจากจะไม่ได้รับความสนใจจากสื่อหลักสักเท่าไรแล้ว ยังมีการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่ค่อนแคะว่ากำลังพลประจำเรือ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ที่สวนสนามทางบกที่ Yokohama เดินเหมือนแห่พระไม่สง่า 
ผลิตภัณฑ์จากไทยที่ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช เอามาขายในงาน Fleet Week ญี่ปุ่น เช่น ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำ ไข่เค็ม ปลากระป๋อง ถั่ว หมึกแห้ง เครื่องดื่มชูกำลัง และสุรา ก็เอื้อแต่นายทุนใหญ่ ซึ่งสักแต่ว่าโดยไม่มีเหตุผลราวกับคนพวกนี้ใช้ภาษาไทยได้แต่ไม่เคยภูมิใจในความเป็นไทยเลย
งานแสดง Indo Defence 2022 ที่อินโดนีเซีย ประธานบริษัท DSME สาธารณรัฐเกาหลียังวางแผนที่จะเข้าการแข่งขันการจัดหาเรือฟริเกตลำที่สองของกองทัพเรือไทย ซึ่งน่าจะเป็นเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/dsme.html)








Sattahip Naval Base, Royal Thai Navy, held a farewell ceremony for Royal Malaysia Squadron at Chuk Samet Port, Sattahip, Chonburi.
On November 6, 2565 BE, CAPT Makapong Darapan, Director of Chuk Samet port, on behalf of VADM Sutin LayCharoen, Commandant of Sattahip Naval Base, held a farewell ceremony to Royal Malaysian ships KD Jebat, KD GAGAH SEMUDERA, and KD PENDEKAR. The ships visit is scheduled between November 3-6, 2565 BE.

กองทัพเรือ โดย ฐานทัพเรือสัตหีบจัดพิธีส่งกองทัพเรือมาเลเซีย เนื่องในโอกาสเดินทางมาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ ณ ท่าเทียบเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ พลเรือโท สุทิน  หลายเจริญ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ มอบหมายให้ นาวาเอก มาฆะพงศ์  ดาราพันธุ์ หัวหน้าท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นผู้แทน
ส่งเรือ KD JEBAT เรือ KD GAGAH SEMUDERA และเรือ KD PENDEKAR เนื่องในโอกาสเดินทางมาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือทั้งสองประเทศ ระหว่างวันที่ ๓ - ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕




KD Sundang, KD Mahamiru, F134 KD Laksamana Hang Nadim and F135 KD Laksamana Tun Abdul Jamil of Royal Malaysian Navy visited Phuket port of Third Naval Area Command, Royal Thai Navy in Andaman sea, Thailand on 17 November 2022.

ไม่ได้พบกันนาน ดีใจที่เราได้พบกันอีกครั้ง 
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 กองทัพเรือมาเลเซีย ได้ส่งเรือรบจำนวน 4 ลำ ได้แก่ เรือ KD SUNDANG  เรือ KD MAHAMIRU  เรือ KD LAKSAMANA HANG NADIM  และ เรือ KD LAKSAMANA TUN ABDUL JAMIL 
เยี่ยมเมืองท่าประเทศไทย อีกครั้งหลังจากไม่ได้เข้ามาเป็นเวลาหลายปี นับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 
เมื่อเรือได้เทียบท่าเรือ ทัพเรือภาคที่ 3 ได้จัดกำลังพลให้การต้อนรับเรือทั้ง 4 ลำ อย่างสมเกียรติ และอบอุ่นยิ่ง 
และหลังจากนั้น ผู้บัญชาการภาคทหารเรือที่ 3 กองทัพเรือมาเลเซีย คือ First Admiral Ed (Yee) Tai Peng ได้นำคณะของผู้บังคับการเรือ เข้าเยี่ยมคำนับ พลเรือโท อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3
ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการ ทัพเรือภาคที่ 3 นับว่าเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพเรือ และ กองทัพเรือมาเลเซีย ซึ่งจะเกิดประโยชน์ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง




RSS Stalwart and RSS Vigilance of Republic of Singapore Navy visited Phuket port, Thailand during 5-7 November 2022.

Bon Voyage! Royal Thai Navy PGB-561 HTMS Laemsing patrol gun boat farewell to Republic of Singapore Navy RSS Stalwart and RSS Vigilance sailing to home.
เล็กใหญ่ไม่สำคัญ ความสัมพันธ์เท่านั้นที่ยั่งยืน ทัพเรือภาคที่ 3 ได้จัดเรือหลวงแหลมสิงห์ ( หมายเลข 561) เดินทางไปส่งเรือรบ RSS Stalwart กลับสู่ประเทศสิงคโปร์

RSS Stalwart และ RSS Vigilance เยี่ยมเมืองท่าภูเก็ต คือความสัมพันธ์อันแนบแน่น ระหว่างไทย และสิงคโปร์
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 กองทัพเรือสิงคโปร์ได้ส่งเรือรบจำนวน 2 ลำ ได้แก่ เรือ RSS Stalwart และ เรือ RSS Vigilance เยี่ยมเมืองท่าประเทศไทย? โดยจอดเทียบท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต จว.ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2565 
เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมต่าง ๆ ของคนไทยในภูเก็ต 
การนี้ทัพเรือภาคที่ 3 ได้มอบหมายให้ นาวาเอก พงษ์มิตร ณรงค์กูล รอง เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 3 เป็นผู้แทน นำคณะนายทหาร และกำลังพล ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นแก่ เรือรบทั้ง 2 ลำ ที่จอดเทียบท่า ณ ท่าเรือน้ำลึก และหลักเทียบเรือ

โบกหมวก เป็นประเพณีชาวเรือที่แสดงถึงการอำลา จากเพื่อน พี่ น้อง และผู้อันเป็นที่รัก 
หลังจากที่เรือรบของกองทัพเรือสิงคโปร์ RSS Stalwart และ RSS Vigilance ได้จอดเทียบเมืองท่า ณ จว.ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน ในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพ 
โดยวันที่ 7 พฤศจิกายน ในช่วงเช้า รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กองทัพเรือสิงคโปร์ และผู้บังคับการเรือทั้ง 2 ลำได้เข้าเยี่ยมคำนับ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 
และในช่วงค่ำ เรือ RSS Stalwart ได้มีการจัดงานเลี้ยง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งก็เต็มไปด้วยความชื่นมื่น โดยในวันนี้ก็เป็นวันที่เรือรบทั้ง 2 ลำ ต้องปลอดเชือก เพื่อออกเรือเดินทางกลับสู่ประเทศสิงคโปร์ 
พวกเราชาวทัพเรือภาคที่ 3 จึงได้ตั้งแถวส่งเพื่อนทหารเรือทั้ง 2 ลำ อย่างสมเกียรติ พร้อมทั้งทำการโบกหมวกอำลา ที่แสดงออกถึงการจากลาที่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดถึงของเพื่อนที่แสนดี....ไว้พบกันใหม่ครับ




Boats tow submarine off port
A submarine attached to a submarine flotilla with the navy under the PLA Northern Theater Command steams in the sea during a maritime drill on torpedo attack and defense, submarine control, etc. on October 25, 2022. (eng.chinamil.com.cn/Photo by Shi Jialong) 

Royal Thai Navy commander-in-chief said to be send personnel to China for testing CHD 620 diesel generator engine for S26T Submarine which CSOC offer to replace Germany refuse export MTU 396 SE,
Royal Thai Navy also coordinates with Pakistan Navy (PN) on same issue on MTU 396 engine for its Hangor-class that base on People's Liberation Army Navy (PLAN) Type 039B same RTN's S26T. 
Royal Thai Navy commander-in-chief said to media interview that RTN ready to cancel S26T Submarine contract at any time, If China CSOC not RTN's accept terms and conditions and guarantee for CHD 620 engine, delivery to delay beyond mid-2024.

ความคืบหน้าการแก้ปัญหาเครื่องยนต์สำหรับเรือดำน้ำ S26T
พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร. กล่าวให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือดำน้ำ S26T โดยยืนยันความต้องการเรือดำน้ำของ ทร. 
และได้ตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค ประกอบด้วยผู้แทนจากกรมอู่ทหารเรือ, กองเรือดำน้ำ, สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ, และเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
และได้เชิญผู้แทนบริษัท CSOC มาประชุมกันอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้ กับเตรียมส่งผู้แทนไปดูการทดสอบเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีน (จากข้อมูลเดิมที่บอกว่าจะส่งเครื่องยนต์มาทดสอบในไทย) 
โดยจะเน้นการพิจารณาว่าเครื่องยนต์จีนจะต้องมีขีดความสามารถไม่ด้อยกว่าเครื่องยนต์ MTU 396SE ของเยอรมัน รวมถึงการพิจารณาด้านความปลอดภัย, การรับประกัน, และการซ่อมบำรุง เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถติดตั้งใช้งานแทนเครื่องยนต์เยอรมันได้
ทั้งนี้ในการพิจารณาครั้งก่อนๆ ทร.มีความต้องการเครื่องยนต์ที่ผ่านมาตรฐานการใช้งานจริงในเรือดำน้ำ แต่ยังไม่สามารถหาข้อมูลหลักฐานการใช้งานจริงในเรือดำน้ำของเครื่องยนต์ CHD 620 ได้ ล่าสุดจึงจะเน้นไปที่ผลการทดสอบบนบกแทน

คำให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารเรือไทยต่อสื่อยังได้เผยว่า กองทัพเรือไทยยังมีการประสานงานกับกองทัพเรือปากีสถานซึ่งมีปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า MTU 396 SE ที่เยอรมนีปฏิเสธการส่งออกให้จีนสำหรับติดตั้งในเรือดำน้ำสำหรับส่งออกเช่นเดียวกันด้วย
กองทัพเรือปากีสถานกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาเรือดำน้ำชั้น Hangor จำนวน ๘ลำ ซึ่ง ๔ลำหลังกำลังถูกสร้างในปากีสถาน โดยมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B ที่ประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน เช่นเดียวกับเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทย
เรือดำน้ำชั้น Hangor ปากีสถานมีปัญหาล่าช้าในการสร้างและส่งมอบจากประเด็นเครื่องยนต์ MTU 396 เช่นกัน ซึ่งมีแนวโน้มว่าทั้งเจ้าหน้าที่กองทัพเรือปากีสถานและกองทัพเรือไทยจะเดินทางไปตรวจสอบการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ CHD 620 ที่ CSOC จีนเสนอมาทดแทนที่จีนพร้อมกัน

อย่างไรก็ตามตรงข้ามกับประเทศผู้ผลิตเรือดำน้ำรายอื่นอื่นที่ส่งเสริมให้ประเทศผู้ใช้ส่งออกมีความสัมพันธ์กัน ดูเหมือนจีนจะพยายามกันคณะกรรมการโครงการเรือดำน้ำของไทยและปากีสถานที่อยู่ในจีนออกจากกัน อาจจะเพื่อไม่ให้ไทยและปากีสถานพูดคุยร่วมกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับจีนก็ได้
ตรงนี้ก็ไม่แน่ใจว่าการติดต่อขอประสานงานระหว่างไทยกับปากีสถานใครเป็นผู้เริ่มก่อน ประเด็นสำคัญอยู่ที่ "การเพิ่มอำนาจการต่อรอง" ซึ่งปากีสถานมีน้ำหนักด้านนี้มากกว่าเพราะสั่งจัดหาเรือ ๘ลำ และต่อในประเทศ ๔ลำ ขณะที่ไทยสั่งเพียง ๑ลำที่มีปัญหาในขณะนี้จากที่วางแผนไว้ ๓ลำ
กรณีของไทยถ้ายกเลิกโครงการก็แค่ไม่มีเรือดำน้ำใช้ตลอดไปเหมือนที่ผ่านมา แต่สำหรับปากีสถานถ้ายกเลิกกองเรือดำน้ำจะหายไปทั้งกองเรือเลย เรื่องนี้อาจจะแสดงว่ากองทัพเรือไทยน่าจะต้องการส่งสัญญาณบางอย่างไปถึงจีน แต่จีนก็อาจจะไม่สนใจการต่อรองกับทั้งปากีสถานและไทยก็ได้

ต่อมาในวันกองทัพเรือไทยวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ผู้บัญชาการทหารเรือไทยก็ตอบคำถามต่อสื่อระหว่างการให้สัมภาษณ์ย้ำว่ากองทัพเรือไทยพร้อมที่จะยกเลิกสัญญาเรือดำน้ำ S26T กับจีนได้ทุกเมื่อถ้ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนและ CSOC จีนไม่ยอมรับเงื่อนไขของทางไทย
โดยที่จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปรับทราบการทดสอบเครื่องยนต์ CHD 620 ที่จีน จะมีการประชุมระหว่างกองทัพเรือไทยและจีนสองฝ่ายในช่วงต้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ที่จะถึง โดยการทดสอบเครื่องยนต์ CHD 620 ได้ผ่านระยะที่๑ไปแล้ว โดยจะมีการทดสอบระยะที่๒ ที่เป็นการทดสอบระยะยาวตามมา
อย่างไรก็ตามตามสัญญาที่แก้ไขไปการส่งมอบเรือดำน้ำ S26T ลำแรกแก่กองทัพเรือไทยจะล่าช้าไปเกินกลางปี ๒๕๖๗(2024) อาจจะไปถึงปี ๒๕๖๘(2025) หรือนานกว่า ซึ่งกองทัพเรือไทยต้องการการรับประกันและการรับเงื่อนไขของตนจากทางจีนซึ่งยังจะต้องมีการเจราจากันต่อไปครับ




LPD-792 HTMS Chang(III), the China export Type 071E Landing Platform Dock (LPD) for Royal Thai Navy to be delivered around April 2023, 196 of crews now in training in China.
video (with low quality) of first sea trial for LPD-792 HTMS Chang(III) at Shanghai from 11 November 2022.

“ โขลงช้าง (Elephant Teams) “ เริ่มต้นการเดินทางสู่จุดหมายต่อไป ขอให้โชคดีและ ปลอดภัยในการเดินทางทั้งคณะ”

ความคืบหน้าของโครงการเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) เรืออู่ยกพลขึ้นบก Type 071E ของกองทัพเรือไทยคือการทดลองเรือในทะเลครั้งแรกจากอู่เรือที่ Shanghai จีนเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕(รายงานก่อนหน้าเข้าใจคาดเคลื่อนว่าเป็นการส่งมอบเรือ)
ตามตัว facebook page ทางการของ เรือหลวงช้าง - LPD 792 ลงชุดภาพการส่งกำลังชุดรับเรือ ๑๙๖นาย ไปฝึกที่จีน ซึ่งคาดว่ากำหนดการรับเรือจะเป็นในราวเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) วีดิทัศน์ความละเอียดต่ำที่จีนเผยแพร่ตามมายังแสดงถึงการทดลองเดินเรือในทะเลและภาพภายในตัวเรือ
แสดงให้เห็นว่าระบบขับเคลื่อนและการเดินเรือของ ร.ล.ช้างได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีภาพอู่ลอย(Well Dock) ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ท้ายเรือที่ยังไม่ทำสีเครื่องหมายบนดาดฟ้า แผงควบคุมเรือและห้องพัก(mess) ซึ่งยังไม่มีการติดตั้งระบบอาวุธบนเรือที่อาจจะติดในไทยหลังรับมอบเรือครับ




Royal Thai Navy's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the the Krabi-class Offshore Patrol Vessel (OPV) to be participated 50th anniversary of Bangladesh independence's International Fleet Review at Cox’s Bazar on 6-9 December 2022.

International Fleet Review สร้างเกียรติยศ สานสัมพันธ์ เสริมประสบการณ์ แห่งนักรบทางเรือ
กองทัพเรือส่ง เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ (หมายเลข 552)  เป็นเรือที่ประเทศไทยต่อเอง เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือนานาชาติ (International Fleet Review) ณ ประเทศบังคลาเทศ ระหว่างวันที่ 6 – 9 ธันวาคม
การสวนสนามทางเรือ นับเป็นพิธีสำคัญของทหารเรือที่ทำขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลสำคัญของประเทศ หรือต่างประเทศตามวาระต่าง ๆ ที่ได้จัดขึ้น ถือต้นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ 
โดยในห้วงเวลาอันใกล้นี้คือระหว่าง 6 – 9 ธ.ค. ประเทศบังคลาเทศ ได้กำหนดจัดพิธีสวนสนามทางเรือนานาชาติขึ้น ณ เมือง Cox’s Bazar เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองปีที่ 50 ของการได้รับเอกราช 
นับว่าเป็นปีที่มีความน่ายินดีอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ประเทศบังคลาเทศได้เชิญประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมพิธีสวนสนามทางเรือครั้งนี้จำนวนมากถึง 40 ประเทศ ด้วยกัน
ประเทศไทยได้ส่งเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นเรือรบที่ประเทศไทยได้ต่อขึ้นใช้งานเอง เข้าประจำการเมื่อปี 2562 นับว่าเป็นเรือรบขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยต่อใช้งาน และที่สำคัญเป็นเรือรบประเภท เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีสมรรถนะสูง กว่าเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งทั่วไป 
นั่นคือมีการติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิธีพื้นสู่พื้น (Harpoon) ที่สามารถยิงโจมตีเป้าหมายได้โดยไม่ต้องเห็นด้วยสายตา และในการเดินทางไปร่วมสวนสนามทางเรือครั้งนี้เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ได้บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ไปแสดงศักยภาพของกองทัพเรือไทยด้วยอีก 1 เครื่อง 
ปัจจุบันเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้จอดเตรียมความพร้อม ณ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 และจะออกเดินทางจากประเทศไทยในวันที่ 1 ธันวาคม นี้

ฝึก ฝึก ฝึก เตรียมความพร้อมไป International Fleet Review
การเดินทางไปร่วม International Fleet Review ณ เมือง Cox’s Bazar ประเทศบังคลาเทศ ของเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้ถูกกำหนดให้ออกเดินทางในวันที่ 1 ธันวาคม 2565 
และในระหว่างนี้ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้เตรียมความพร้อมของเรือให้มีความพร้อมมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมของกำลังพลในการปฏิบัติหน้าที่ ที่จะต้องหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ ถึงแม้จะมีความชำนาญมากแล้วเท่าใดก็ตาม








Royal Thai Air Force (RTAF) welcome its first of two Beachcraft T-6TH Texan II at RTAF Flying Training School Kamphaeng Saen in Nakhon Pathom Province on 14 November 2022. (Royal Thai Air Force)




Beechcraft AT-6E Wolverine registered N610AT callsign "TEX2" arrived Royal Thai Air Force (RTAF) Flying Training School Kamphaeng Saen in Nakhon Pathom Province on 16 November 2022. 
AT-6E Wolverine N610AT to be testbase platform for Avionic system development and weapon system integration with Textron Aviation Defense and Thailand's domestic aerospace industries. (Royal Thai Air Force)

ภาพบรรยากาศการต้อนรับนักบินเครื่องบิน AT-6 และเจ้าหน้าที่ จากบริษัท Textron Aviation ในภารกิจการพัฒนาระบบ Avionic และบูรณาการระบบอาวุธ สำหรับโครงการจัดหา บ.โจมตี AT-6 ของกองทัพอากาศ 
ณ ลานจอดอากาศยานเฉลิมอากาศ โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

พิธีต้อนรับเครื่องบิน T-6c ในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทน PC-9
วันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๒๐ น. พลอากาศเอก อลงกรณ์  วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีต้อนรับเครื่องบิน T-6c จำนวน ๒ เครื่องแรก ในโครงการจัดหาเครื่องบินเพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่ 19 หรือ PC-9 
ในการนี้ H.EMr.Robert F. Godec เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมเป็นเกียรติในพิธี โดยมี พลอากาศตรี พิทูร  เจริญยิ่ง ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน ให้การต้อนรับ ณ ลานจอดอากาศยานเฉลิมอากาศ โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เหตุการณ์สำคัญของโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH Texan II จำนวน ๑๒เครื่อง ของกองทัพอากาศไทย คือการต้อนรับเครื่องบินฝึก T-6TH สองเครื่องแรกเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/t-6th.html)
เครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH หมายเลข 01 และ 02 เดินทางมาถึงกองบิน๔๑ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/t-6th-01-02.html) หลังจากผ่านการบินเดินทางข้ามทวีปจากสหรัฐฯผ่านสนามบิน ๑๔แห่งเป็นเวลาเกือบสองสัปดาห์
โดยมีพื้นฐานจากเครื่องบินฝึก T-6C ที่ใช้งานในกองทัพสหรัฐฯและหลายประเทศทั่วโลก บ.ฝ.๒๒ T-6TH จะถูกนำมาทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่๑๙ บ.ฝ.๑๙ Pilatus PC-9 ของฝูงบินฝึกขั้นปลาย โรงเรียนการบินกำแพงแสน ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) 

เครื่องบินฝึก บ.ฝ.๒๒ T-6TH ยังมีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินโจมตีและฝึกแบบที่๒๒ บ.จฝ.๒๒ Beechcraft AT-6TH Wolverine จำนวน ๘เครื่อง ที่จะเข้าประจำการในฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html)
การจัดหาทั้งสองโครงการของกองทัพอากาศไทยได้มีความร่วมมือสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศ รวมถึงบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ที่จะทำการประกอบเครื่องบินเหล่านี้ในไทยภายใต้การถ่ายทอดวิทยาการ
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยตามยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่๑๑ S-Curve 11 ทั้งยังเป็นเครื่องบินฝึกที่มีทันสมัยรองรับเครื่องบินขับไล่ยุคที่๔.๕ เช่น บ.ข.๑๙ก F-16AM/BM และ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D จนถึงเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ F-35A ด้วย

เหตุสำคัญที่สร้างความแปลกใจอย่างต่อเนื่องคือการเดินทางมาถึงของเครื่องบินโจมตีและฝึก AT-6E Wolverine ทะเบียนสหรัฐฯ N610AT มายังท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕ และได้ทำการบินไปโรงเรียนการบินกำแพงแสน เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕
เครื่องบินโจมตีและฝึก AT-6E N610AT ดังกล่าวเป็นเครื่องสาธิตของบริษัท Textron Aviation Defense สหรัฐฯผู้ผลิต ซึ่งถูกนำมาจัดแสดงในหลายประเทศ การนำเครื่องบินนี้มาไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการบูรณาการระบบ Avionic และอาวุธตามความต้องการของกองทัพอากาศไทย
แม้ว่าทั้งสองโครงการเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมของไทยทั้ง TAI ที่ทำการประกอบเครื่องและ RV Connex ที่บูรณาการะบบ Avionic และผลิตชิ้นส่วน แต่ก็ยังมีผู้ไม่หวังดีต่อกองทัพอากาศไทยโจมตีว่าคนไทยไม่ได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้โดยสร้างข่าวเชื่อมโยงที่ไม่ตรงกับความจริงครับ




Royal Thai Air Force held 50th years ceremony for Fairchild AU-23A Peacemaker armed gunship, counter-insurgency and utility transport aircraft of 501st Squadron, Wing 5 Prachuap Khiri Khan Province on 24 November 2022.

50 ปี AU-23A Peacemaker ได้รับการปรับปรุงใหม่ ใช้งานต่อได้อีก 15 ปี! …
เครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ 2 (บ.จธ.2) ได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 ในสมัยสงครามเวียดนาม 
โดยสหรัฐอเมริกาได้มอบให้ในปี 2515 จำนวน 13 เครื่อง และ ปี 2519 อีก 20 เครื่อง รวมเป็น 33 เครื่อง ปัจจุบันเหลือ 12 เครื่อง ประจำการอยู่ที่ ฝูงบิน 501 กองบิน 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ...
เป็นระยะเวลากว่า 50 ปี ที่ AU-23A ได้ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกองทัพอากาศในทุกด้าน อาทิ การปราบปรามผู้ก่อการร้าย การลาดตระเวนติดอาวุธ การลาดตระเวนทางอากาศ การลำเลียงทางอากาศ การปฏิบัติการฝนหลวง การบินควบคุมไฟป่า และการปฏิบัติการจิตวิทยา 
ทั้งยังปฏิบัติภารกิจในเหตุการณ์สำคัญของประเทศชาติ ทั้งการป้องกันประเทศด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนาประเทศ อีกมากมาย ...
ปัจจุบัน AU-23A ได้มีการปรับปรุงใหม่และติดตั้งเอวิโอนิคที่ทันสมัยเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ใช้ได้ต่อไปอีก 15 ปี โดยทำไปแล้ว 8 เครื่อง ยังคงเหลืออีก 4 เครื่อง ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2566 ...
ฝูงบิน 501 “Mosquito” กองบิน 5 นับเป็นฝูงบินเดียวในโลกที่ยังมี AU-23A Peacemaker ประจำการและปฏิบัติการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเรามักจะเห็นเจ้า Peacemaker ที่เพนท์รูปปากฉลามสีแดงบินปล่อยควันสีธงชาติในงานพิธีต่างๆเป็นประจำ

พิธีครบรอบ ๕๐ปี เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่๒ บ.จธ.๒ AU-23A Peacemaker ฝูงบิน๕๐๑ กองบิน๕ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕ ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการปรับปรุงขีดความสามารถอากาศยานที่สนับสนุนอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศของกองทัพอากาศไทย
โดยเครื่องบินโจมตีและธุรการ บ.จธ.๒ AU-23A จำนวน ๑๒เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยแล้วจะสามารถประจำการต่อไปได้อีก ๑๕ปีราวปี พ.ศ.๒๕๘๐(2037) โดยจะมีการตรวจสภาพเครื่องทุก ๕ปี ตั้งแต่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๑๕(1972) นับเป็นอากาศยานที่ใช้งานได้คุ้มค่ามาก
ในงานเดียวกันนี้ผู้บัญชาการทหารอากาศไทยยังได้ตอบคำถามจากสื่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A ว่ากองทัพอากาศยังยืนยันว่าต้องเป็น F-35 เท่านั้นที่จะทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B โดยยังไม่มีแผนสำรองถ้าสหรัฐฯไม่อนุมัติการขายให้ไทยครับ








Soldiers from the Royal Thai Army at Pohakuloa Training Area, Hawaii, concluced Joint Pacific Multinational Readiness Training Center 23-1. 
JPMRC 23-1 is an immersive training event spanning multiple islands in Hawaii and assessing the readiness of elements of 25th Infantry Division and Allies and Partners. 
The rotation allows these elements to assess readiness in Hawaii instead of the National Training Center in California or the Joint Readiness Training Center in Louisiana, saving thousands of dollars in defense funding while maintaining a realistic Pacific-focused training environment. (SM1 Sittichai Seelama, Royal Thai Army Public Affairs)

US Army SFAB advisors integrate with Indo-Pacific allies and partners during exercise

we are who we are
จบลงแล้วครับสำหรับการฝึกและประเมิน JPMRC23-01 ความเหนื่อย ความหิว ความง่วง และรอยยิ้ม จะเป็นประสบการณ์และความทรงจำที่ดีของทุกนาย




Chief of Army of Singapore Army Major-General David Neo and Chief of Army of the Royal Thai Army (RTA) General Narongpan Jittkaewtae co-officiated the closing ceremony of Exercise Kocha Singa 2022 at the 1st Army Area Tactical Training Field in Kanchanaburi, Thailand on 23 November 2022.

กองทัพบกไทยได้เสร็จสิ้นการฝึกร่วมกับมิตรประเทศที่สำคัญ ทั้งการฝึกผสม Joint Pacific Multi-National Readiness Training Center 23(JPMRC 23 - 01) กับกองทัพบกสหรัฐฯ(US Army) ระหว่างวันที่ ๑๕ ตุลาคม-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ พื้นที่ฝึก Pohakuloa, รัฐ Hawaii สหรัฐฯ  
และการฝึกผสม KOCHA SINGA 2022(คชสีห์ ๒๐๒๒) กับกองทัพบกสิงคโปร์(Singapore Army) ระหว่างวันที่ ๗-๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ สนามฝึกทางยุทธวิธีกองทัพภาคที่๑(เขากำแพง) จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีการจัดกำลังจากทหารหลักและนักเรียนนายสิบและนักเรียนนายร้อยเข้าร่วมการฝึก
ทั้งสองการฝึกที่เสร็จสิ้นในห้วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมานี้เป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ทางทหารที่แน่นแฟ้นระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพมิตรประเทศ รวมถึงเป็นการแสดงถึงความพร้อมด้านกำลังพล อาวุธ เครื่องสนาม และสิ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยทัดเทียบกองทัพชั้นนำของโลกด้วยครับ