วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศสหรัฐฯปลดประจำการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 Extender

USAF retires last Boeing KC-10 Extender







The last operational KC-10, tail number 79-1948, departs Travis AFB, California, for storage at Davis-Monthan AFB, Arizona. (USAF)

กองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ได้ปลดประจำการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-10 Extender เครื่องสุดท้ายของตนเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2024 ตามข้อมูลในแถลงการณ์โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ
ตามการบรรยายในพิธีอำลาการปลดประจำการ เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 ที่ทำการปฏิบัติการสุดท้าย หมายเลขแพนหาง 79-1948 สังกัดกองบินขนส่งทางอากาศที่60(60th Air Mobility Wing)

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 หมายเลข 79-1948 ทำการบินเดินทางออกจากฐานทัพอากาศ Travis Air Force Base(AFB) มลรัฐ California เพื่อไปยังฐานทัพอากาศ Davis-Monthan AFB ใน Tucson มลรัฐ Arizona
สถานที่ซึ่งเครื่องบินจะเข้าร่วมการพักผ่อนของเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 ที่เก็บรักษาไว้เพื่อการปฏิบัติการ ณ กองซ่อมบำรุงและฟื้นฟูสภาพทางการบินที่309(309th AMARG: Aerospace and Maintenance Regeneration Group)

เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 Extender เข้าประจำการในปี 1981 ได้กลายเป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในฝูงบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ
มีขีดความสามารถบรรทุกเชื้อเพลิงได้มากกว่า 356,000lbs(161,479kg)(ซึ่งสามารถทำการเติมเชื้อเพลิงได้ถึง 200,000lbs) หรือบรรทุกเชื้อเพลิงได้ถึง 170,000lbs(77,111kg) สำหรับระยะปฏิบัติการ 4,400miles(7,081 km)

ซึ่ง KC-10 มีสมรรถนะเกือบจะเป็นสองเท่าของเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-135 Stratotanker ตามข้อมูลจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/cope-tiger-2024.html)
เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 ทั้งหมดได้รับการติดตั้งด้วยอุปกรณ์เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศแบบ hose-and-drogue และแบบ boom และตัวเครื่องบินเองสามารถรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศได้ การส่งมอบได้ดำเนินไปจนถึงปี 1990

กองทัพอากาศสหรัฐฯมีประจำการด้วยเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 Extender ทั้งหมดจำนวน 60เครื่อง แต่เริ่มต้นการปลดประจำการในปี 2020 โดยทำการบินในภารกิจการรบครั้งสุดท้ายในปี 2023
แม้ว่าฝูงเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 มีขีดความสามารถมากกว่าและใหม่กว่าฝูงเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-135 ซึ่งยังไม่มีกำหนดวันปลดประจำการอย่างเป็นทางการ

การปฏิบัติการและการดำรงสภาพของเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-10 ได้มีค่าใช้จ่ายแพงมากขึ้นเนื่องจากขนาดของฝูงบินที่ค่อนข้างเล็กและแหล่งการผลิตสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆที่ลดน้อยลง
สำหรับการทดแทน KC-10 หน่วยบินปฏิบัติการต่างๆกำลังได้รับมอบเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ Boeing KC-46 Pegasus ซึ่งแม้ว่าจะบรรทุกเชื้อเพลิงไม่ได้มากเท่าแต่ก็ใหม่กว่าและมีฐานบินสนับสนุนทั่วโลกได้หลากหลายกว่าครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/kc-46.html)