วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567

เครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H กองทัพอากาศไทยทำ Elephant Walk พร้อมกันสิบเครื่อง
















Royal Thai Air Force (RTAF) Lockheed Martin C-130H Hercules of 601st Squadron "Lucky", Wing 6 Don Muang show its Full Mission Capability (FMC) Rate by conducted 10 aircrafts formation Elephant walks and taxi on runway.
601st Squadron, Wing 6 RTAF released photos on its official facebook page on 5 October 2024. the first of 12 C-130H/C-130H-30 Hercules have been in RTAF service since 1980. (Air Chief Marshal Sakpinit Promthep, Flight Lieutenant Komen Eansaard, Sukasom Hiranphan, Noppasin Poompo, Kantapong Sookkho, Napapol Pethlert)

“Elephant walk “
คือการแสดงความพร้อมในการปฏิบัติงานของอากาศยานจำนวนมากด้วยการติดเครื่องยนต์และ TAXI ไปบน RUNWAY   โดยพร้อมเพรียงกัน
เป็นการแสดงถึงศักยภาพ ความพร้อมในการปฏิบัติงาน ฝูงบิน 601 กองบิน 6 กองทัพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือประชาชน การสนับสนุนลำเลียงทางอากาศ ตอบสนองภารกิจของกองทัพอากาศ และประเทศชาติสืบต่อไป

ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้แสดงอัตราขีดความสามารถความพร้อมปฏิบัติภารกิจเต็มอัตรา(FMC: Full Mission Capability rate) ของเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules จำนวน ๑๐เครื่องจากทั้งหมด ๑๒เครื่องของตนโดยการทำ "Elephant walk" บนทางวิ่งของกองบิน๖ ติดท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ตามชุดภาพที่เผยแพร่โดย page facebook ทางการของ ฝูงบิน๖๐๑ ที่ได้เห็นเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ทำ Elephant walk และ taxi บนทางวิ่งพร้อมกัน ๑๐เครื่องเป็นครั้งแรกแล้ว การจัดเตรียมห้วงเวลาและสถานที่ในการถ่ายภาพยังมีข้อจำกัดจากที่ต้องใช้งานร่วมกับสนามบินพลเรือน และหลังจากเสร็จกิจกรรม บ.ล.๘ C-130H ก็ต้องทำการบินไปสนับสนุนภารกิจช่วยประชาชนจากเหตุน้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่ทันที

ปัจจุบัน ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ กองทัพอากาศไทยมีประจำการด้วยเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H จำนวนทั้งหมด ๑๒เครื่อง ประกอบด้วยเครื่องบินลำเลียง C-130H รุ่นลำตัวสั้น จำนวน ๖เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง C-130H-30 รุ่นลำตัวยาว จำนวน ๖เครื่องคือ C-130H หมายเลข 60101, 60102, 60103 เข้าประจำการ พ.ศ.๒๕๒๓(1980), C-130H-30 60104 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๒๖(1983), 
C-130H-30 60105, 60106 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988), C-130H-30 60107 และ C-130H 60108 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๓(1990) และ C-130H 60109, 60110 และ C-130H-30 60111, 60112 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992) โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยระหว่าง ๓๒-๔๔ปี(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/c-130h.html) ซึ่งน่าจะถูกใช้งานต่อไปถึงอย่างน้อยในปี พ.ศ.๒๕๗๕(2032)

บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทยได้ดำเนินโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ C-130H Hercules มาสองระยะในระยะที่๑ และระยะที่๒ ซึ่งเสร็จสิ้นไปในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ขณะที่ระยะที่๓ ล่าสุดมีการประกาศโครงการระยะที่๓ โดยวิธีคัดเลือก วงเงิน ๒,๘๒๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($76,895,84) 
แหล่งที่มาราคากลาง บริษัท StandardAero แคนาดา, บริษัท Industria de Aviacao E Servicos S/A(IAS) บราซิล, บริษัท Turbopower สหรัฐฯ, บริษัท Hanwha Aerospace สาธารณรัฐเกาหลี, บริษัท Airod Techno Power SDN.BHD. มาเลเซีย และบริษัท TAI ไทย ซึ่งมีการออกเอกสารประกาศราคากลางฉบับแก้ไขใหม่ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ จากการเผยแพร่ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๗

แม้ว่าจะไม่มีการระบุุไว้ในสมุดปกขาวของกองทัพอากาศไทย พ.ศ.๒๕๖๗ RTAF White Paper 2024(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/rtaf-white-paper-2024.html) แต่เป็นที่เข้าใจว่าในระยะยาวกองทัพอากาศไทยจำเป็นต้องมองหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่มาทดแทนเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H/C-130H-30 ที่มีอายุการใช้งานมานานของตน ซึ่งน่าจะเป็นการแข่งขันระหว่าง
เครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130J Super Hercules สหรัฐฯที่พยายามจะเสนอขายให้ไทยมานาน(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/c-130j-30-hercules-2.html) และเครื่องบินลำเลียง Embraer C-390 Millennium บราซิลที่มองเห็นโอกาสกับไทยเป็นลูกค้าเปิดตัวใหม่ของตนครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/c-390-2.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/10/embraer-c-390.html)