วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2567

กองทัพเรือโอมานลงนามสัญญาสร้างเรือระบายพล ๔ลำกับอู่เรือ Marsun ไทย





Models of Marsun products's M58 Patrol Gun Boat, PGB-561 HTMS Laemsing and M18 Fast Assault Boat, Por.51 Special Operations Craft of Royal Thai Navy (RTN); M25 Patrol Boat and M10 High Speed Patrol Boat (MKIII) of Marine Police, Royal Thai Police (RTP) at the Defense & Security 2023 show in Bangkok on 6-9 November 2023. (My Own Photos) 

On 10 December 2024, Mr. Ek-att Thitaram, Minister Counsellor, represented the Royal Thai Embassy in Muscat as witness in the signing ceremony of the contract between the Ministry of Defence of the Sultanate of Oman and Marsun Public Company Limited on Design, Build and Supply of Landing Craft Vessel for the Royal Navy of Oman. 
After the ceremony, the delegation including representatives of the Ministry of Defence of Thailand and the Royal Thai Navy met with H.E. Ms. Warunee Pan-krajang, Ambassador-Designate, to provide information on the company’s business operations and Thailand’s potential for defence industry.

Defence Ministry Inks Contract to Purchase Vessels


Muscat, 10 Dec (ONA) --- A contract was signed today with Marsun Public Company of Thailand to purchase several vessels.
The move stems from the attention accorded by His Majesty Sultan Haitham bin Tarik, the Supreme Commander.
It also comes within the framework of development and modernization plans of the Ministry of Defence and the Sultan’s Armed Forces (SAF). It also aims to boost the capabilities of the Royal Navy of Oman (RNO). 
The purchase contract was signed by Dr. Mohammed Nasser Al Za’abi, Secretary General at the Ministry of Defence and Patrawin Chongvisal, CEO of Marsun Public Company.
The signing ceremony was attended by Rear Admiral Saif Nasser Al Rahbi, Commander of the RNO and several senior officers from the Ministry of Defence.
Purchasing these vessels targets enhancing the performance and capabilities of the RNO. This also contributes to the march of comprehensive development in the Sultanate of Oman during the prosperous reign of His Majesty the Sultan, the Supreme Commander.

สถานเอกอัครราชทูตร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาระหว่างกระทรวงกลาโหมโอมานกับบริษัทมาร์ซัน จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567 นายเอกอรรถ ทิตาราม อัครราชทูตที่ปรึกษา เป็นผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาระหว่างกระทรวงกลาโหมโอมานกับบริษัทมาร์ซัน จำกัด (มหาชน) จัดหาเรือ Landing Craft จำนวน 4 ลำ สำหรับกองทัพเรือโอมาน 
โดยบ่ายวันเดียวกันคณะบริษัทมาร์ซันและผู้แทนกระทรวงกลาโหมและกองทัพเรือของไทยได้เข้าพบนางสาววารุณี ปั้นกระจ่าง เอกอัครราชทูต ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัท และศักยภาพของไทยด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

พิธีลงนามสัญญาจ้างสร้างเรือของกระทรวงกลาโหม รัฐสุลต่านโอมาน
เมื่อวันอังคารที่ 10 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหม รัฐสุลต่านโอมาน ลงนามในสัญญาจ้างสร้างเรือหลายลำกับบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) 
โดยโครงการดังกล่าว มาจากพระราชดำริของ His Majesty Sultan Haitham Bin Tarik, the Supreme Commander และแผนการพัฒนาของกระทรวงกลาโหม และกองทัพ (the Sultan’s Armed Forces: SAF) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพเรือของรัฐสุลต่านโอมาน (RNO) ในการป้องกันประเทศ
ในพิธีลงนามฯ ได้รับเกียรติจาก Dr. Mohammed Nasser Al Za’abi ปลัดกระทรวงกลาโหม ลงนามในสัญญา ร่วมกับนายภัทรวิน จงวิศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)
โดยสำนักข่าว Oman New Agency (ONA) รายงานว่า พิธีดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก Rear Admiral Saif Nasser Al Rahbi ผู้บัญชาการกองทัพเรือ รัฐสุลต่านโอมาน (RNO) และนายทหารอาวุโสจากกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีการจัดหาเรือครั้งนี้ 
มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถให้กับกองทัพเรือของรัฐสุลต่านโอมาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศได้อย่างบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนการพัฒนาประเทศของรัฐสุลต่านโอมาน 
บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจการต่อเรือ และซ่อมเรือ มาแล้วกว่า 45 ปี มีผลงานต่อสร้างเรือให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มาแล้วกว่า 455 ลำ อาทิเช่น 
เรือตรวจการณ์ความเร็วสูง เรือตรวจการณ์ติดอาวุธนำวิถี เรือรับส่งลูกเรือและบริการแทนขุดเจาะน้ำมัน เรือสำราญ เรือขจัดคราบน้ำมัน และเรืออเนกประสงค์ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังให้บริการด้านการออกแบบ ซ่อม และให้คำปรึกษาตามรายละเอียดที่ลูกค้าต้องการ 
ซึ่งเรือทุกลำที่ต่อสร้างโดยมาร์ซันฯ นั้น ล้วนแต่เป็นเรือที่มีสมรรถนะดี ตรงตามข้อกำหนดของลูกค้าทุกประการ ผ่านการทดสอบทดลองสมรรถนะของเรือจากสมาคมจัดชั้นเรือระดับสากลที่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก 
ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พัฒนา และวิจัยอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขยายตลาดไปยังต่างประเทศ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างดียิ่ง ส่งผลให้ “มาร์ซัน” ได้รับการคัดเลือกให้ต่อสร้างเรือในโครงการดังกล่าว 
จึงนับเป็นหมุดหมายใหม่ของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมต่อเรือของไทย ที่บริษัทของคนไทยได้รับการยอมรับ และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

การลงนามสัญญาสร้างเรือหลายลำ(น่าจะมากกว่า ๒ลำขึ้นไป)สำหรับกองทัพเรือโอมาน(RNO: Royal Navy of Oman) ระหว่างกระทรวงกลาโหมโอมาน และบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)(Marsun Public Company Limited) ไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมา ณ กรุง Muscat รัฐสุลต่านโอมาน นับเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ล่าสุดของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย 
บริษัท Marsun ไทยประกาศในบัญชีสื่อสังคม online ของตนตามมาเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ อย่างไรก็ตามทั้งโอมานและอู่เรือ Marsun ไทยไม่ได้เปิดเผยถึงมูลค่าวงเงินของสัญญา เนื้อหาข้อตกลง หรือกำหนดเวลาการส่งมอบเรือ และไม่ได้ให้รายละเอียดว่าเป็นเรือแบบใด แต่จากประกาศของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุง Muscat ระบุว่าเป็น "เรือระบายพล"(Landing Craft) จำนวน ๔ลำสำหรับกองทัพเรือโอมาน

ผลิตภัณฑ์ของอู่เรือ Marsun ที่สร้างส่งมอบเข้าประจำการในกองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) แล้วมีเป็นจำนวนมากตั้งแต่ เรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงแหลมสิงห์(M58 Patrol Gun Boat) สังกัดกองเรือตรวจอ่าว กตอ.(PS: Patrol Squadron) ซึ่ง เรือ ตกป. ร.ล.แหลมสิงห์ เป็นเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่อู่เรือ Marsun สร้างให้กองทัพเรือไทยจนถึงขณะนี้
กำลังรบหลักเกือบทั้งหมดของ กองเรือยามฝั่ง กยฝ.(CGS: Coast Guard Squadron) สร้างโดย Marsun ไทย คือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.111 ๓ลำ(เรือ ต.111, ต.112 และ ต.113) ,เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 ๒ลำ(เรือ ต.114 และ ต.115)(M36 Partrol Boat), เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 ๓ลำ(เรือ ต.991, ต.992 และ ต.993), เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 ๓ลำ(เรือ ต.994, ต.995 และ ต.996) 

และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997(เรือ ต.997 และ ต.998)(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/997-998.html), เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.227 ๑ลำ(เรือ ต.227), เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.228 ๓ลำ(เรือ ต.228, ต.229 และ ต.230), เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.232 ๖ลำ(เรือ ต.232, ต.233, ต.234, ต.235, ต.236 และ ต.237), เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.261 ๔ลำ(เรือ ต.261, ต.262, ต.263 และ ต.264), 
เรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.265 ๕ลำ(เรือ ต.265, ต.266, ต.267, ต.268 และ ต.269) และเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชุดเรือ ต.270 ๕ลำ(เรือ ต.270, ต.271, ต.272, ต.273 และ ต.274)(M21 Partrol Boat) รวมถึงเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษชุดเรือ พ.51(เรือ พ.51, พ.52, พ.53 และ พ.54)(M18 Fast Assault Boat) ของ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(NSWC: Naval Special Warfare Command/RTN SEALs)

เรือระบายพลขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงมัตโพน ๒ลำ ร.ล.มัตโพน และเรือหลวงราวี(M55 Landing Craft Utility) ของ กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ.(ACSSS: Amphibious and Combat Support Service Squadron) และเรือตรวจการณ์ลำน้ำของ กองเรือลำน้ำ(RS: Riverine Squadron) หลายชุดเช่น เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำชุด เรือ ล.125 ๔ลำ(M10 Riverine Patrol Boat MKII)(https://aagth1.blogspot.com/2023/07/125.html)
อู่เรือ Marsun ยังสร้างเรือให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆของไทยเช่น ตำรวจน้ำ(Marine Police) สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(RTP: Royal Thai Police)(M23 Catamaran, M25 Patrol Boat และ M10 High Speed Patrol Boat MKIII), กรมเจ้าท่า(Marine Department) กระทรวงคมนาคม(M39 Patrol Boat) และกรมศุลกากร(The Customs Department) กระทรวงการคลัง เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์อื่นๆของอู่เรือ Marsun ไทยยังรวมถึงเรือรับส่งบริการแท่นขุดเจาะน้ำมัน เรือสำราญ เรือขจัดคราบน้ำมัน และเรืออเนกประสงค์สำหรับพลเรือน Marsun ไทยยังเคยมีประสบการณ์การส่งออกแบบเรือรบของให้กองทัพต่างประเทศมาก่อนแล้วคือเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Jurrat ๒ลำ(M39) แก่กองทัพเรือปากีสถาน(PN: Pakistan Navy)(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/chaiseri-hisaar-4x4.html)
กองทัพเรือโอมานเป็นกองทัพเรือขนาดไม่ใหญ่มาก มีกำลังพลราว ๔,๒๐๐ นาย เรือรบหลักคือเรือคอร์เวตชั้น Khareef ๓ลำ(BAE Systems 99m Corvette) และเรือคอร์เวตชั้น Qahir ๓ลำซึ่งจัดหาจากสหราชอาณาจักร เรือตรวจการณ์และเรือฝึกรวม ๑๒ลำ และเรือยกพลขึ้นบกและส่งกำลังบำรุงต่างๆ ๓ลำซึ่งมีอายุการใช้งานมานาน และเรือสนับสนุนความเร็วสูง(HSSV: High Speed Support Vessel) ๒ลำจากสหรัฐฯ

เรือยกพลขึ้นบกและส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือโอมานเหล่านี้รวมถึงเช่น เรือลำเลียงพล L3 Al Dhaferah(เดิมชื่อ Fulk Al Salamah เปลี่ยนชื่อในปี 2016) สร้างโดยเยอรมนีเข้าประจำการในปี 1987 ที่เพิ่งจะปลดประจำการในปี 2024 และเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ L2 Nasr al Bahr สร้างโดยสหราชอาณาจักรเข้าประจำการในปี 1985 และเรือส่งกำลังบำรุง A2 Al Sultana สร้างโดยเนเธอร์แลนด์เข้าประจำการในปี 1975
เป็นที่เข้าใจว่าเรือระบายพลใหม่ ๔ลำที่จะถูกสร้างโดยอู่เรือ Marsun ไทยน่าจะถูกนำมาทดแทนเรือยกพลขึ้นบกและส่งกำลังบำรุงที่มีอายุการใช้งานมานานซึ่งส่วนหนึ่งได้ปลดประจำการไปแล้วตามความต้องการการขนส่งกำลังพลและยุทโธปกรณ์และการส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือโอมาน การที่โอมานเลือกจัดหาเรือกับไทยได้แสดงถึงความน่าเชื่อถือและขีดความสามารถอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทยในระดับสากลครับ