วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

Defense & Security 2023: Marsun ไทย และ TKMS เยอรมนีเสนอเรือฟริเกตเบา MEKO A-100 สำหรับกองทัพเรือไทย

Defense & Security 2023: Marsun, TKMS pitch A-100 light frigate for Thai navy



Marsun and TKMS are pitching the MEKO A-100 design to meet the Royal Thai Navy's long-term requirements for a new light frigate. (My Own Photos)




Hanwha Ocean displayed models of the Royal Thai Navy's Bhumibol Adulyadej-class frigate, 2000 ton export frigate and KSS-III submarine at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. 
Hanwha Ocean is still waiting for a contract of a second Bhumibol Adulyadej-class frigate from Royal Thai Navy. (My Own Photos)




CSSC displayed models of its products include 2600 ton submarine, 6000 ton frigate, 4000 ton frigate and 1500 ton light frigate at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. 
the Ministry of Defence of Thailand planned procurement of a frigate from China to replace Royal Thai Navy's suspended S26T submarine. (My Own Photos)

บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)(Marsun Public Company Limited) อู่ต่อเรือไทยได้ร่วมทีมกับบริษัท ThyssenKrupp Marine Systems(TKMS) เยอรมนีเพื่อจะเสนอแบบเรือฟริเกตเบา MEKO A-100 ของเยอรมนีแก่กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) 
ภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนบริษัท TKMS เยอรมนีจะส่งมอบการออกแบบและการสนับสนุนทางเทคนิดของแบบเรือฟริเกตเบา A-100 ขณะที่บริษัท Marsun ไทยจะทำหน้าที่ในฐานะผู้นำภาคอุตสาหกรรมของไทยในการสนับสนุนการสร้างเรือและความต้องการห่วงโซ่อุปทาน

เจ้าหน้าที่ Marsun ไทยกล่าวกับ Janes ณ งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2023 ที่อาคาร Challenger Hall 9-12 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ผ่านมาว่า
ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างบริษัท Marsun และ TKMS เยอรมนีได้มุ่งเป้าที่การสร้างขีดความสามารถทางเทคนิคและภาคอุตสาหกรรมของไทยเช่นเดียวกับการทำให้ตรงตามความต้องการสำหรับเรือฟริเกตในอนาคตของกองทัพเรือไทย

การสร้างเรือฟริเกต MEKO A-100 สามารถจะมีขึ้นได้ผ่านการเตรียมการจัดการของ Marsun ไทยกับอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ(RTND: Royal Thai Naval Dockyard) ในสัตหีบ จังหวัดชลบุรีของไทย
กิจการภาคอุตสาหกรรมของไทยรายอื่นๆจะถูกรวมไว้เพื่อจะผลิตชิ้่นส่วนต่างๆของเรือด้วย บริษัท Marsun กล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2017/11/tkms-meko-100-bae-systems-type-31.html

องค์ประกอบสำคัญอีกประการของการประมูลแข่งขันที่กล่าวโดยทั้งสองบริษัทคือการออกแบบที่เป็นแบบ modular ของเรือฟริเกตเบา MEKO A-100 "กองทัพเรือไทยจะสามารถที่จะปรับแต่งแบบเรือฟริเกตเบาได้ตามความต้องการของพวกเขา" เจ้าหน้าที่ TKMS กล่าว
การแข่งขันประกวดราคาเพื่อจัดหาเรือฟริเกตใหม่ยังไม่ถูกออกโครงการโดยกองทัพเรือไทย อย่างไรก็ตาม Marsun และ TKMS มีความมั่นใจว่าการตั้งโครงการความต้องการอย่างเป็นทางการจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ อาจจะเป็นราวปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)

"ยังไม่มีกำหนดระยะเวลาสำหรับการจัดหานี้ แต่เราเห็นความต้องการในกองทัพเรือไทยสำหรับเรือฟริเกตเบาเพิ่มเติม ๑ลำ และจากนั้นเพิ่มอีก ๓ลำในอีก ๑๔ปีข้างหน้า" เจ้าหน้าที่ Marsun ไทยกล่าว
เขาเสริมว่าความต้องการเหล่านี้ไม่รวมเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชที่จัดหาจากบริษัท Hanwha Ocean(เดิม DSME: Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering) สาธารณรัฐเกาหลีในเดือนธันวาคม ๒๕๖๑(2018) และแผนที่จะจัดหาเรือฟริเกตจากจีน

ความเห็นวิเคราะห์
เจ้าหน้าที่ Marsun กล่าวกับผู้เขียนว่า กองทัพเรือไทยน่าจะมีการตั้งโครงการเรือฟริเกตใหม่ขั้นต้น ๑ลำจาก ๔ลำเพื่อทดแทนเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัย และเรือฟริเกตชุดอื่นๆที่มีอายุการใช้งานมานาน(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/blog-post_03.html)
โดยแบบเรือฟริเกต MEKO A-100 ที่เป็นหุ้นส่วนกับ TKMS เยอรมนีนั้น ทาง Marsun ไทยยังจะต้องทำงานในส่วนการออกแบบพื้นที่ภายในตัวเรือและการบูรณาการระบบตามความต้องการของกองทัพเรือไทย รวมถึงร่วมมือกับกรมอู่ทหารเรือในการปรับปรุงอู่มหิดลฯเพื่อรองรับการสร้างเรือในไทยด้วย

แบบเรือ MEKO A-100 ของบริษัท TKMS เยอรมนีนั้นได้ประสบความสำเร็จในการส่งออกต่างประเทศแล้วคือ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ORP Ślązak(241) ของกองทัพเรือโปแลนด์(Polish Navy) ที่สั่งสร้างในปี 2015 และเข้าประจำการในปี 2019
และเรือฟริเกตชั้น Tamandaré จำนวน ๔ลำสำหรับกองทัพเรือบราซิล(Brazilian Navy, Marinha do Brasil) ซึ่งกำลังมีการสร้างเรือทั้งหมดในบราซิลโดยความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมของบราซิล(https://aagth1.blogspot.com/2020/03/tamandare-embraer-atech-tkms.html)

ขณะที่เจ้าหน้าที่จากบริษัท Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวกับผู้เขียนว่า บริษัทยังคงคาดหวังที่จะได้รับสัญญาสร้างเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ลำที่สองวงเงินราว ๑๗,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($470,653,500) ที่รอมานาน(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/dsme.html
โดยพร้อมเสนอทั้งการถ่ายทอดวิทยาการสร้างในไทยและตัวเลือกสร้างในสาธารณรัฐเกาหลีเหมือนลำแรก รวมถึงการเสนอแบบเรือฟริเกตขนาด 2,000ton สำหรับส่งออกในโครงการเรือฟริเกตเบาใหม่ ๔ลำ แต่บริษัทยังจะรอให้กองทัพเรือไทยออกความต้องการโครงการที่ชัดเจนก่อน

ในส่วนเรือดำน้ำ KSS-III ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) ในชื่อเรือดำน้ำชั้น Dosan An Chang-ho และกำลังแข่งขันในโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่ของโปแลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/hanwha-ocean-kss-iii.html),
ฟิลิปปินส์(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/hanwha-ocean-1400-kss-iii.html) และแคนาดานั้น สำหรับโอกาสในกองทัพเรือไทย ทาง Hanwha Ocean กล่าวกับผู้เขียนว่า บริษัทยังคงต้องรอให้กองทัพเรือไทยมีการติดต่อเพื่อขอข้อมูลจากตนก่อนจึงจะมีความชัดเจนในการนำเสนอ

ด้าน CSTC(China Shipbuilding Trading Co., Ltd.) ซึ่งเป็นส่วนกิจการส่งออกเรือต่างประเทศของ CSSC(China State Shipbuilding Corporation) กลุ่มรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆของตนในงาน Defense & Security 2023
รวมถึงแบบจำลองเรือฟริเกต 6000 ton ที่มีพื้นฐานจากเรือพิฆาตชั้น Type 052D, เรือฟริเกต 4000 ton ที่เป็นเรือฟริเกตชั้น Type 54A/P ที่ส่งออกให้ปากีสถาน และเรือฟริเกตเบา 1500 ton ที่มีพื้นฐานจากเรือคอร์เวตชั้น Type 056A เช่นเดียวกับแบบจำลองเรือดำน้ำ 2600 ton

กระทรวงกลาโหมไทยได้มีแนวคิดที่จะระงับโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ของกองทัพเรือไทยที่มีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B(NATO กำหนดรหัสชั้น Yuan) ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) และเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตใหม่จากจีน ๑ลำแทน
อย่างไรก็ตามการจัดหาเรือฟริเกตใหม่จากจีนที่คาดว่าจะมีวงเงินราว ๑๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($387,403,800) ทาง CSTC จีนไม่ได้ให้ความเห็นใดๆแก่ผู้เขียนโดยกล่าวเพียงว่านี่เป็นเรื่องที่จะต้องคุยในระดับรัฐบาลไทยกับจีนไม่ใช่กับบริษัทครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/s26t.html)