Defense & Security 2023: Babcock and Damen look to offer their frigate for Royal Thai Navy
Babcock International displayed model of its Arrowhead 140 frigate at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)
Damen displayed model of its SIGMA multi mission frigate at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)
Both companies are looking for local partners to meet the Royal Thai Navy (RTN)'s long-term requirements for a new light frigate.
BAE Systems and Bangkok Dock Company displayed models of RTN's OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, the Krabi-class offshore patrol vessel which builded in Thailand at the Defense & Security 2023 show in Bangkok. (My Own Photos)
BAE Systems also said, company will not pitching its light frigate for RTN's new light frigate requirements.
บริษัท Babcock International สหราชอาณาจักร และบริษัท Damen เนเธอร์แลนด์กำลังสนใจที่จะหาหุ้นส่วนในประเทศไทยเพื่อมองจะเสนอแบบเรือฟริเกตเบาของตนแก่กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) สำหรับความต้องการเรือฟริเกตใหม่ในระยะยาว
ทั้งสองบริษัทกล่าวกับผู้เขียน ณ งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2023 ที่อาคาร Challenger Hall 9-12 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๖-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ผ่านมา
ตัวแทน Babcock International สหราชอาณาจักรกล่าวว่าบริษัทสนใจที่จะเสนอแบบเรือฟริเกต Arrowhead 140 ของตนสำหรับความต้องการเรือฟริเกตเบาใหม่ ๑ลำ จาก ๔ลำในระยะยาวของกองทัพเรือไทย ซึ่งคาดว่าจะมีการตั้งโครงการในปี พ.ศ.๒๕๖๗(2024)
แบบเรือ Arrowhead 140 ถูกเลือกโดยกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(RN: Royal Navy) ในชื่อเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้น Type 31 Inspiration โดยบริษัท Babcock กำลังสร้างเรือภายใต้คำสั่งจัดหาจำนวน ๕ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2022/04/type-31-hms-venturer.html)
แบบเรือ Arrowhead 140 ยังประสบความสำเร็จในการส่งออกให้กับกองทัพเรือโปแลนด์(Polish Navy) ภายใต้โครงการเรือฟริเกตชั้น Miecznik จำนวน ๓ลำ ซึ่งได้เริ่มการสร้างเรือลำแรกในโปแลนด์แล้วในเดือนสิงหาคม 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/miecznik.html)
และส่งออกให้กับกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ในชื่อเรือฟริเกตชั้น Merah Putih ๒ลำ ซึ่งเรือลำแรกได้เริ่มสร้างในอินโดนีเซียในเดือนสิงหาคม 2023 เช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/merah-putih.html)
ตัวแทนบริษัท Babcock กล่าวกับผู้เขียนว่า บริษัทกำลังมองหาหุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศไทยเพื่อที่จะสนับสนุนการสร้างเรือในไทย เช่นเดียวกับที่ถ่ายทอดวิทยาการให้บริษัท Remontowa Shipbuilding โปแลนด์ และ PT PAL Indonesia รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมทางเรืออินโดนีเซีย
เธอยังกล่าวว่าแบบเรือฟริเกต Arrowhead 140 มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือไทย อีกทั้งยังมอบการสร้างงานให้กับอุตสาหกรรมทางเรือในไทยด้วย อย่างไรก็ตามความชัดเจนจะมีมากกว่านี้เมื่อกองทัพเรือไทยได้ออกความต้องการเพื่อการแข่งขัน
ตัวแทน Damen เนเธอร์แลนด์กล่าวว่าได้สนใจที่จะนำเสนอแบบเรือฟริเกตพหุภารกิจ SIGMA ของตนสำหรับความต้องการเรือฟริเกตเบาใหม่ของกองทัพเรือไทยเช่นกัน ซึ่ง Damen ได้จัดแสดงแบบจำลองเรือฟริเกตเบา SIGMA 10514 รุ่นใหม่ของตนในงาน Defense & Security 2023
แบบเรือ SIGMA ของ Damen ประกอบไปด้วยแบบเรือรบหลากหลายขนาดตั้งแต่เรือเร็วโจมตี เรือคอร์เวต และเรือฟริเกตเบา ซึ่งประสบความสำเร็จในการส่งออกแล้วหลายประเทศรวมถึง อินโดนีเซีย, โมร็อกโก(SIGMA 9813 และ Sigma 10513) เม็กซิโก(SIGMA 10514)
โดยเฉพาะกองทัพเรืออินโดนีเซียนั้น Damen ได้สร้างเรือคอร์เวต SIGMA 9113 ในชื่อเรือคอร์เวตชั้น Diponegoro ๔ลำ และถ่ายทอดวิทยาการและสิทธิบัตรการผลิตเพื่อสร้างเรือฟริเกต SIGMA 10514 ในชื่อเรือฟริเกตชั้น Martadinata ๒ลำในประเทศแก่ PT PAL อินโดนีเซีย
ตัวแทน Damen กล่าวว่าบริษัทกำลังมองหาหุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรมของไทยเพื่อที่จะลงทุนการพัฒนาสถานที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC: Eastern Economic Corridor) ในการรองรับการสร้างเรือในไทยด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/martadinata.html)
อย่างไรก็ตามด้านบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ซึ่งได้ให้สิทธิบัตรการผลิตแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 90m OPV(Offshore Patrol Vessel) ของตนแก่บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock Company) ในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ ๒ลำในไทยนั้น
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ คือเรือหลวงกระบี่ และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ทั้งสองลำถูกสร้างที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ(RTND: Royal Thai Naval Dockyard) โดยถูกนำเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) และ พ.ศ.๒๕๖๒(2019) ตามลำดับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/leonardo-7662-vulcano-ber.html)
ตัวแทนของบริษัท BAE Systems กล่าวกับผู้เขียนว่า ตนจะไม่เสนอแบบเรือฟริเกตเบาของตนเข้าร่วมการแข่งขันโครงการจัดหาใหม่ของกองทัพเรือไทย เธอกล่าวว่าบริษัทมองว่าแบบเรือของตนไม่ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือไทย และสนับสนุน Babcock จากประเทศเดียวกันในโครงการนี้
ขณะที่ตัวแทน Bangkok Dock ไทยกล่าวกับผู้เขียนว่า ขณะนี้บริษัทยังไม่ได้มองที่จะเข้าร่วมการแข่งขันเรือฟริเกตใหม่ ซึ่งอาจจะรอความชัดเจนหลังกองทัพเรือไทยตั้งโครงการก่อน และอาจจะมองหาแบบเรือใหม่ไม่ใช่ของ BAE Systems ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-90m-opv.html)