วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สโลวีเนียรับมอบเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan อิตาลีเครื่องที่สองเป็นเครื่องสุดท้าย

Slovenia receives second and final Spartan airlifter





Slovenia now operates a pair of Leonardo C-27J Spartan airlifters, with the second aircraft being handed over on 17 December. (Slovenian Ministry of Defence)





สโลวีเนียได้รับมอบเครื่องบินลำเลียง Leonardo C-27J Spartan อิตาลีเครื่องที่สอง กระทรวงกลาโหมสโลวีเนียประกาศเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2024 โดยได้รับการตั้งชื่อของเครื่องบินตาม Edvard Rusjan ผู้บุกเบิกการบินชาวสโลวีเนีย
เครื่องบินลำเลียงสองเครื่องยนต์ใบพัด turboprop แบบ C-27J Spartan เครื่องที่สองได้ถูกส่งมอบแก่ฐานทัพอากาศ Cerklje ob Krki หลังจากที่เครื่องแรกได้มาถึง ณ ฐานบินที่เดียวกันในเดือนธันวาคม 2023(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/leonardo-c-27j-spartan.html)

เครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan ทั้ง 2เครื่องจะถูกประจำการใน กองการบินที่15(15th Aviation Wing, 15th PVL: 15th Polk Vojaskega Letalstva) หน่วยขึ้นตรงร่วมของกองทัพสโลวีเนีย(SAF: Slovenian Armed Forces, SV: Slovenska vojska)
สโลวีเนียได้ลงนามจัดหาเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan เครื่องที่สองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2023 เป็นการลงนามแก้ไขเพิ่มเติมต่อสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างเดิมในเดือนพฤศจิกายน 2021 สำหรับเครื่องบินลำเลียง C-27 หนึ่งเครื่อง

ตามการประกาศ สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมวงเงิน 48.85 million Euros($52.05 million ณ เวลานั้น) ได้เห็นเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan เครื่องที่สองถูกส่งมอบในรูปแบบเดียวกับเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan เครื่องแรก
มูลค่าทั้งหมดของการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan จำนวน 2เครื่องสำหรับสโลวีเนียอยู่ที่ 128.91 million Euros ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT: Value-Added Tax)(https://aagth1.blogspot.com/2021/01/c-27j-spartan.html)

เครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan รุ่นมาตรฐานมีน้ำหนักภารกรรมบรรทุกที่ 11tonne และมีพิสัยการบินเดินทางที่ 3,070nmi(5,685km, 3,532mile) ปัจจุบันบริษัท Leonardo อิตาลีได้เสนอเครื่องบินลำเลียง C-27J Next-Generation(NG) รุ่นใหม่
ที่รวมจอแสดงผลห้องนักบินใหม่, radar ตรวจการณ์สภาพอากาศ, ระบบนำร่องสมัยใหม่ และอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ เช่นเดียวกับ "คุณสมบัติทางอากาศพลศาสตร์ขั้นก้าวหน้า" ตามการอธิบายของบริษัท Leonardo

ขณะที่ไม่ได้ถูกระบุโดยบริษัท ชุดภาพของเครื่องบินลำเลียง C-27J NG ได้แสดงถึงคุณสมบัติทางอากาศพลศาสตร์เหล่านี้ได้รวมถึงปลายปีก winglets ขณะที่ใบพัด vanes, ครีบ strakes และชิ้นส่วนอื่นๆ
ได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง และด้วยเหตุนี้น้ำหนักบรรทุก/พิสัยการบิน/ระยะเวลาทำการบินยังน่าจะเพิ่มขึ้นด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/leonardo-c-27j-spartan-ng.html)

เครื่องบินลำเลียง C-27J Spartan ได้อยู่ในประจำการหรือได้รับการสั่งจัดหาแล้วโดยกองทัพของ ออสเตรเลีย, อาเซอร์ไบจาน(https://aagth1.blogspot.com/2023/06/c-27j-spartan.html), บัลแกเรีย, ชาด, กรีซ, อิตาลี, เคนยา, ลิทัวเนีย, เม็กซิโก, โมร็อกโก, เปรู, โรมาเนีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, แทนซาเนีย, 
เติร์กเมนิสถาน, สหรัฐฯ แม้ว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) จะเลิกใช้งานในปี 2013 และต่อมาได้โอนเครื่องให้แก่หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ(USCG: US Coast Guard) และกองบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ(USSOCOM: US Special Operations Command) ด้วยเหตุผลทางด้านงบประมาณ และแซมเบียครับ