Admiral Chalathis Nawanukroh, Deputy Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy
(RTN) and RTN officers visited the Naval Aviation Center (Puspenerbal),
Indonesian Navy in Surabaya, in the context of a demo flight of PTDI-produced
aircraft, using the CN235-220 MPA aircraft owned by Puspenerbal on 16 January
2025. (PTDI)
Royal Thai Naval Air Division (RTNAD), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy
planned to seeking new two of tactical transport aircraft for support
Royal Thai Marine Corps (RTMC) operations to replace retired Fokker F-27
MK400, as well as new three up of Maritime Patrol Aircraft (MPA) to replace
retired Lockheed P-3T Orion and Fokker F-27 MK200 Maritime Enforcer (ME).
พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ รองผู้บัญชาการทหารเรือ
และคณะนายทหารของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ที่เดินทางเยือนอินโดนีเซีย
ได้เยี่ยมชมกิจการของศูนย์การบินทหารเรือ(Naval Aviation Center, Puspenerbal:
Pusat Penerbangan Angkatan Laut) กองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy,
TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) ในมหานคร Surabaya
รวมถึงได้ชมการสาธิตสมรรถนะและขีดความสามารถของเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลอเนกประสงค์แบบ
CN235-220 MPA(Maritime Patrol Aircraft) หนึ่งใน ๖เครื่องของศูนย์การบินทหารเรืออินโดนีเซีย
ที่ผลิตโดย PT Dirgantara Indonesia(PTDI)
รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมอากาศยานอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025)
PTDI อินโดนีเซียเผยแพร่ชุดภาพในวันเดียวกันทางสื่อสังคม online ทางการของตน
การต้อนรับจากผู้อำนวยการฝ่ายการค้า, วิทยาการและการพัฒนาของ PTDI อินโดนีเซีย
Moh Arif Faisal และคณะผู้บริหารของ PTDI ได้นำเสนอแก่คณะนายทหารกองทัพเรือไทยว่า
เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล CN235-220 MPA
ของตนตรงตามความต้องการที่จำเป็นสำหรับทั้งภารกิจการลาดตระเวนทางทะเลและการลำเลียงทางทหาร
ในฐานะที่เป็นภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิตอากาศยานรายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จนถึงปี 2024 PTDI
อินโดนีเซียได้ประสบความสำเร็จในการส่งออกเครื่องบินลำเลียงตระกูล CN235-220
ที่ตนผลิตในประเทศจำนวน ๗๐เครื่องแก่ลูกค้าหลายประเทศทั่วโลก
รวมถึงไทยคือกองบินตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(RTP: Royal Thai Police
Aviation division) และกรมฝนหลวงและการบินเกษตร(Department of Royal Rainmaking
and Agricultural Aviation) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
ล่าสุดกองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division)
กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet)
กองทัพเรือไทยมีโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่เพื่อสนับสนุนทางยุทธการให้แก่หน่วยนาวิกโยธินไทย(RTMC:
Royal Thai Marine Corps) จำนวน ๒เครื่อง วงเงินราว
๓,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($109,725,152)
เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑ บ.ลล.๑ Fokker F-27 MK-400 จำนวน
๒เครื่องที่เคยประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๑(201 Naval Air Squadron) กองบิน๒(Naval Air
Wing 2) กองการบินทหารเรือ กบร.
ที่มีรายงานว่าได้ถูกปลดประจำการลงตั้งแต่ช่วงสิ้นปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/c295.html)
PTDI อินโดนีเซียได้เสนอเครื่องบินลำเลียง CN235-220 ของตนแก่กองทัพเรือไทยพร้อมข้อเสนอการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง, ซ่อมแก้ และซ่อมใหญ่(MRO: Maintenance,
Repair and Overhaul) ในไทยอย่างเต็มรูปแบบในความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมการบินของไทย เช่น
บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries)
ไทยที่มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศยานต่างๆในประเทศอยู่แล้ว
ในรูปแบบเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล CN235-220 MPA
ได้รับการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ตรวจจับหลากหลายแบบรวมถึง radar แบบ AN/APS-13C(V)3
OceanEye ที่มีขีดความสามารถในการตรวจจับ, พิสูจน์ทราบ
และติดตามเป้าหมายขนาดเล็กได้และเป้าเคลื่อนที่ภาคพื้น(GMTI: Ground-Moving
Target Indicator) ทั้งในสงครามเรือผิวน้ำ(ASuW: Anti-Surface Warfare)
และการค้นหาและกู้ภัย(SAR: Search and Rescue)
ซึ่งกองทัพเรือไทยยังมีความต้องการเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลจำนวน ๓เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2018/02/cn-235-220-mpa.html) เพื่อทดแทนเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำ บ.ตผ.๒ Lockheed P-3T Orion จำนวน
๓เครื่อง ที่เคยประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กบร.
และถูกปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014)(https://aagth1.blogspot.com/2019/03/blog-post_7.html)
รวมถึงเครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑ Fokker F-27 MK200 Maritime
Enforcer(ME) จำนวน ๓เครื่อง ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๑๐๒(102 Naval Air Squadron)
กองบิน๑(Naval Air Wing 1) กองการบินทหารเรือ กบร.(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/f-27-mk200.html) ที่มีรายงานว่าปลดประจำการไปแล้วในปีที่ผ่านมาเช่นกัน
ในรูปแบบเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี CN235-220 สามารถบรรทุกทหารได้
๔๙นายหรือพลร่มได้ ๓๙นาย มีประตู ramp
ท้ายเครื่องขนาดใหญ่สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสัมภาระ
และสามารถบินขึ้นลงทางวิ่งที่ไม่มีผิวทาง(unpaved runway) ได้
สอดคล้องกับการพัฒนาขีดความสามารถในอนาคตที่กองทัพเรือไทยให้ความสำคัญกับ
"การลดแบบ" อากาศยานเก่าที่ไม่คุ้มค่าต่อการซ่อมทำ และ
"เพิ่มจำนวน" อากาศยานใหม่ของตน
นั่นทำให้
PTDI อินโดนีเซียมองที่อาจจะได้รับการสั่งจัดหา CN235-220
จากกองทัพเรือไทยได้ถึง ๕เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/cn235-220m.html) อย่างไรก็ตามคู่แข่งที่เป็นไปได้น่าจะรวมถึงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล C295
MPA ที่ผลิตโดยบริษัท Airbus ยุโรปในสเปน ที่มีพื้นฐานร่วมกับเครื่องบินลำเลียง
บ.ล.๒๙๕ C295W ของกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/c295-mpa-c295-msa-16.html)