วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กองทัพเรือไทยมองจะจัดหาเครื่องบินลำเลียง C295 เพื่อสนับสนุนนาวิกโยธินไทย




The Royal Thai Army (RTA)'s C295W transport aircraft was supported the Royal Thai Marine Corps (RTMC)'s Airborne Marines course class 79 in Jumping into Sea phase at Hat Toei Ngam beach, Thai Marines bay, Sattahip District, Chonburi Province, Gulf of Thailand in July 2024. (Aniwat Pommarangsi)






Royal Thai Naval Air Division (RTNAD), Royal Thai Fleet (RTF), Royal Thai Navy (RTN) planned to seeking new two of tactical transport aircraft for support RTMC operations to replace retired Fokker F-27 MK400 (pictured from RTMC Airborne Marines course class 75 in 2021) in late 2023. (Royal Thai Navy)

โดดร่มลงน้ำทะเล
ส่งทางอากาศนาวิกโยธิน รุ่นที่ 79
VDO ช่อง https://www.youtube.com/channel/UCkRR-OEvVUnegFVsIYGsstw
ครั้งแรกของนักโดดที่ทุกท่านต้องผ่านการทดสอบโดดลงน้ำทะเล  ณ.สนามฝึกกองทัพเรือหาดเตยงาม อ่าวนาวิกโยธิน  สัตหีบ จังหวัดชลบุรี

Airbus, Thai Aviation Industries (TAI) to explore MRO (Maintenance, Repair and Overhaul) for government aircrafts.
Airbus and TAI have entered a memorandum of understanding (MOU) related to local MRO support for the Thai government fleet at Farnborough Airshow 2024 on 22 July 2024.

บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) และ บริษัท Airbus ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อสำรวจการพัฒนาขีดความสามารถด้านการให้บริการบำรุงรักษา ซ่อมแซม และยกเครื่องอากาศยาน (Maintenance, Repair and Overhaul หรือ MRO) สำหรับฝูงบินแอร์บัสของรัฐบาลของรัฐบาลในประเทศไทย 
พลอากาศเอกพิบูลย์ วรวรรณปรีชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด กับ Mr Anand Stanley ประธานกรรมการและหัวหน้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน เพื่อพัฒนาความร่วมมือสนับสนุนการส่งกำลังและซ่อมบำรุงอากาศยานปีกตรึงตระกูลแอร์บัสของกองทัพอากาศ อาทิ ACJ320, ACJ340, 
โดย Mr Oscar Alonnso หัวหน้าส่วนงานขาย ของ Airbus Defence and Space ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน เพื่อพัฒนาความร่วมมือสนับสนุนการส่งกำลังและซ่อมบำรุงอากาศยานปีกตรึงตระกูลแอร์บัส แบบ C295 
และ Mr Vincent Dubrule หัวหน้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคของ Airbus Helicopters ได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงร่วมกันเพื่อขยายความร่วมมือและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สำหรับเฮลิคอปเตอร์แบบ H125M, H175 และ H225 
โดยมี พลเอกสนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม, Mr Zaki Hamid หัวหน้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคของ Airbus Defence and Space, นาวาอากาศโทสุรศักดิ์ ภู่ทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฯ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างงานการแสดงอากาศยานฟาร์นโบโรห์ (Farnborough Airshow). เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 
ภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าว แอร์บัสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้าน MRO สำหรับอากาศยานให้กับ TAI โดยขยายขอบเขตการดูแลเฮลิคอปเตอร์ในปัจจุบันให้ครอบคลุมเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี รุ่นซี295 (C295) และเครื่องบินขนส่งบุคคลสำคัญสำหรับกองทัพไทย 
นอกจากนี้ พันธมิตรทั้งสององค์กรจะร่วมศึกษาโอกาสในการพัฒนาขยายความร่วมมือสำหรับกิจกรรมสนับสนุนเพิ่มเติม รวมถึงบริการชิ้นส่วนจากท้องถิ่น (Local Content) เข้ากับแพลตฟอร์มเฮลิคอปเตอร์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ TAI และ แอร์บัส ได้ร่วมเป็นพันธมิตรตั้งแต่ปี 2560 โดยได้เริ่มให้การสนับสนุนบริการหลังการขายกับฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ของรัฐบาลไทย 
ความร่วมมือทางอุตสาหกรรมนี้ได้ขยายเพิ่มเติมในปี 2564 โดย TAI ได้กลายเป็นผู้รับเหมาหลักของแอร์บัส และเป็นศูนย์กลางการประกอบขั้นตอนสุดท้ายเพื่อการขายและการจัดจำหน่ายเฮลิคอปเตอร์ที่สร้างโดยแอร์บัส ให้กับลูกค้าทั้งกองทัพและหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ของประเทศไทย 

หลักสูตรส่งทางอากาศนาวิกโยธิน รุ่นที่๗๙ ของนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) ที่มีช่วงการฝึกห้วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมา นอกจากจะได้เห็นกำลังพลที่เป็นสุภาพสตรีเข้าร่วมการฝึกแล้ว ยังได้เห็นการสนับสนุนการฝึกโดดร่มจากเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W ของกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) เป็นครั้งแรกด้วย
ปัจจุบันกองพันบินที่๒๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก ศบบ.(21st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center) กองทัพบกไทยมีเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบที่๒ หรือเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W ประจำการแล้วจำนวน ๓เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/c295w.html)
โดยกองทัพบกไทยยังคงมีความต้องการจะจัดหาเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ C295W เพิ่มเติมอีก ๑เครื่องรวมทั้งหมด ๔เครื่อง ซึ่งเข้าใจว่าจะมีการสั่งจัดหาในภายหลังเมื่อมีงบประมาณเพียงพอ การนำ บ.ล.๒๙๕ C295W มาสนับสนุนการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศนาวิกโยธินนี้ยังเป็นการแสดงถึงความร่วมมือการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างกองทัพบกไทยและกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ด้วย

เดิมหลักสูตรส่งทางอากาศนาวิกโยธินของนาวิกโยธินไทยที่ผ่านมาจะได้รับการสนับสนุนการฝึกโดดร่มจากเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑ บ.ลล.๑ Fokker F-27 MK-400 จำนวน ๒เครื่องที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๑(201 Naval Air Squadron) กองบิน๒(Naval Air Wing 2) กองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย
อย่างไรก็ตามเครื่องบินลำเลียง บ.ลล.๑ F-27 MK-400 หมายเลข 2110 และหมายเลข 2111 ที่เข้าประจำการในกองการบินทหารเรือ กบร. กองทัพเรือไทยมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐(1987) นี้มีรายงานว่าได้ถูกปลดประจำการลงตั้งแต่ช่วงสิ้นปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ที่ผ่านมาแล้ว เป็นการสิ้นสุดการรับใช้ชาติและราชนาวีไทยที่ยาวนานราว ๓๖ปีลง
จึงมีรายงานตามมาว่าปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ที่จะเริ่มต้นในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ กองทัพเรือไทยมองที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่เพื่อสนับสนุนทางยุทธการให้แก่หน่วยนาวิกโยธิน จำนวน ๒เครื่อง วงเงินราว ๓,๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($109,725,152) เพื่อทดแทน บ.ลล.๑ F-27 MK-400 ที่ปลดประจำการแล้วของตน

ต่อมาในต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ พลเรือเอก วรวุธ พฤกษารุ่งเรือง เสนาธิการทหารเรือ ได้เข้าชี้แจงโครงการเครื่องบินลำเลียงเพื่อสนับสนุนทางยุทธการให้แก่หน่วยนาวิกโยธินต่อคณะอนุกรรมมาธิการครุภัณฑ์ ICT และทุนหมุนเวียน ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘ ของรัฐสภาไทยที่ทำการประชุมพิจารณางบประมาณของกระทรวงกลาโหมไทย
โดยกองทัพเรือไทยได้รับการอนุมัติงบประมาณในโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอยเรือหลวงช้าง(ลำที่๓) วงเงินราว ๒๔,๒๘๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($701,085,971) และโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี จำนวน ๒ลำ วงเงิน ๒,๘๒๙,๕๕๔,๐๐๐บาท($78,229,302) ไปแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/navantia-type-071et-lpd.html)
มีความเป็นไปได้ว่ากองทัพเรือไทยจะมองเครื่องบินลำเลียงใหม่ ๒เครื่องที่มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับ บ.ล.๒๙๕ C295W ของกองทัพบกไทย ซึ่งถ้ากองทัพเรือไทยเลือกจัดหาเครื่องบินลำเลียง C295W จริงก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการซ่อมบำรุงร่วมกันในไทย ซึ่งบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทยได้มีลงนามความร่วมมือกับบริษัท Airbus ยุโรปเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ครับ