วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A เกาหลีใต้มีความคืบหน้ามากขึ้น และการพัฒนากระเปาะ Laser ป้องกันตัวสำหรับเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศสหรัฐฯ

Korea F-35A Program Coming Together
F-35A Lightning II U.S.Air Force (Photo Credit: Courtesy of Lockheed Martin https://www.f35.com/about/variants/f35a)
http://www.defensenews.com/articles/korea-f-35-program-coming-together

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้รับสัญญาวงเงิน $7 million ในการส่งมอบฐานข้อมูล multispectral สำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightening II รุ่นขึ้นลงตามแบบ CTOL(Conventional Take Off and Landing)จำนวน 40เครื่องของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี
ตามประกาศขององค์การความร่วมมือด้านการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงสหรัฐฯ (DSCA: Defense Security Cooperation Agency) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น
สัญญาจัดหานี้อยู่รูปแบบโครงการ FMS(Foreign Military Sale) โดยมีกองบัญชาการระบบอากาศนาวีสหรัฐฯ(U.S. Naval Air Systems Command) ซึ่งมีที่ตั้งในมลรัฐ Maryland เป็นผู้รับสัญญา

ตามเอกสารของ DSCA สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการอนุมัติการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35A CTOL จำนวน 40เครื่องวงเงิน $7.06 billion จากสหรัฐฯ เมื่อเดือนเมษายน ปี 2013
ซึ่งตามเอกสารเดิมเกาหลีใต้ได้ร้องขอการจัดซื้อ F-35A จำนวน 60เครื่องวงเงิน 10.8 billion แต่ภายหลังได้มีการลดจำนวนเครื่องลงเป็น 40เครื่องในข้างต้นเนื่องจากเหตุผลด้านงบประมาณ
ต่อมาเดือนพฤษภาคม ปี 2013 ได้มีการอนุมัติการขายระบบอาวุธสำหรับ F-35 วงเงิน $793 million ให้เกาหลีใต้ประกอบด้วยเช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง AIM-120C-7 274นัด, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ AIM-9X-2 154นัด,
ชุดระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-31 JDAM(Joint Directed Attack Munition) พร้อมระเบิดเจาะเกราะทำลายที่มั่นแข็งแรง BLU-109 2,000lbs 530นัด, ระเบิดนำวิถีดาวเทียม GBU-39/B SDB(Small Diameter Bomb) 250lbs 542นัด และระเบิดนำวิถี Laser GBU-12 500lbs 780นัด

Israel’s First F-35 Lightning II Takes Flight
https://www.f35.com/news/detail/israels-first-f-35-lightning-ii-takes-flight

First Japan Air Self Defense Force F-35A Makes First Flight 
https://www.f35.com/news/detail/first-japan-air-self-defense-force-f-35a-makes-first-flight

ก่อนหน้านี้กองทัพอากาศอิสราเอลได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A Adir จำนวน 33เครื่องเมื่อเดือนตุลาคม ปี2010 โดยเครื่องแรกเปิดตัวที่โรงงานของ Lockheed Martin ใน Fort Worth มลรัฐ Texasเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน และทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2016 ที่ผ่านมา
และกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 42เครื่องเมื่อเดือนธันวาคม ปี2011 โดยเครื่องแรกจากชุดแรกที่สั่งจัดหา 28เครื่อง ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2016 ที่ผ่านมา
คาดว่ากองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A จาก Lockheed Martin ภายในปี 2018-2021 ครับ

Northrop Grumman to develop laser pod to protect USAF fighters
While current defensive systems typically divert incoming missiles away from the target aircraft, the SHiELD pod would instead use laser technology to destroy them. Source: US Air Force
http://www.janes.com/article/63185/northrop-grumman-to-develop-laser-pod-to-protect-usaf-fighters

บริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯได้รับสัญญาวงเงิน $39.3 million ในการพัฒนาระบบป้องกันตัวเองแบบ Laser สำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯ
สัญญาดังกล่าวถูกตั้งขึ้นโดยห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐฯ(AFRL: Air Force Research Laboratory) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา
สำหรับโครงการนำระบบสาธิต Laser พลังงานสูงป้องกันตนเอง SHiELD (Self-Protect High Energy Laser Demonstrator) ไปต่อยอดเป็นป้อมปืนวิจัยในผลกระทบทางอากาศ SHiELD หรือ STRAFE(SHiELD Turret Research in Aero-Effects)

Northrop Grumman จะพัฒนาและส่งมอบระบบควบคุมลำแสงขั้นก้าวหน้าสำหรับบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาวุธ Laser ที่สมบูรณ์เพื่อใช้เป็นกระเปาะทางยุทธวิธีสำหรับเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศสหรัฐฯ
ตามบันทึกของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯผลที่ได้จากโครงการ STRAFE จะเป็นการเพิ่มองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการรบกวนกล้อง Optic ทางอากาศในสภาวะความเร็วเหนือเสียงโดยการเก็บข้อมูลระหว่างสถานการณ์การปะทะที่จำลองขึ้น
ซึ่งคาดว่างานพัฒนานี้จะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2021

จุดมุ่งหมายสำคัญของการพัฒนากระเปาะอาวุธ Laser ป้องกันตนเอง SHiELD คือการเพิ่มขีดความสามารถของกำลังเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
อย่าง Boeing F-15 Eagle และ Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon ซึ่งจะยังคงประจำการต่อไปอีกหลายสิบปีให้อยู่รอดในการแข่งขันทางการรบในห้วงอากาศได้มากขึ้น
ทั้งนี้เครื่องบินขับไล่ยุคที่5ของกองทัพอากาศสหรัฐฯคือ Lockheed Martin F-22 Raptor และ F-35 Lightning II น่าจะไม่มีการติดตั้งกระเปาะแบบนี้เนื่องจากจะเป็นการหักล้างคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth)ของเครื่องลง

ระบบป้องกันตัวของอากาศยานรบอย่างเครื่องบินขับไล่ในปัจจุบันที่ใช้การต่อต้านระบบอาวุธปล่อยนำวิถีจะเข้าทำลายเป้าหมายโดยใช้วิธีการลวงให้อาวุธปล่อยนำวิถีออกห่างจากเป้าหมาย
เช่น การปล่อยเป้าลวงอย่าง พลุไฟ(Flare) สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีด้วยความร้อน Infrared หรือกลุ่มแถบโลหะ(Chaff) สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีด้วย Radar
การพัฒนากระเปาะ SHiELD ที่ใช้วิธีการยิงแสง Laser พลังงานสูงเข้าทำทำลายอาวุธปล่อยนำวิถีที่เล็งเป้ามายังอากาศยานที่ติดตั้งโดยตรงจากระยะไกลจึงเป็นแนวคิดแห่งอนาคตใหม่ที่ให้ผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพที่สูงอย่างมากครับ