วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๙-๗

ออท.ยูเครน ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคำนับ รอง นรม. และ รมว.กห.

พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. กล่าวว่า เมื่อ 6 ก.ค.59 เวลา 09.00 น. นาย Andriy Beshta (อันดรีย์เบชตา) ออท.ยูเครน/ไทย เข้าเยี่ยมคำนับและหารือกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนรม.และ รมว.กห. ณ ศาลาว่าการกลาโหม

ทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยออท.ยูเครนมีความเข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทย พร้อมทั้งสนับสนุนและให้กำลังใจรัฐบาลในการเดินหน้าสู่เป้าหมายตามโรดแมปที่กำหนด 
ขณะเดียวกัน ก็ได้รายงานให้ทราบถึงสถานการณ์ความไม่มั่นคงของประเทศที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ยูเครนไม่สามารถดำเนินอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ตามกำหนดที่ทำความตกลงกับนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทย 
ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ความรุนแรงภายในประเทศลดลง ส่งผลให้ยูเครนสามารถเริ่มดำเนินอุตสาหกรรมป้องกันประเทศต่อได้แล้ว โดยพร้อมจะทำการผลิตและส่งมอบยุทโธปกรณ์ ประเภทรถถัง ตามที่ได้ลงนามความตกลงกับกองทัพบก ภายใน มี.ค.60

ในขณะเดียวกัน ก็พร้อมที่จะสนับสนุนการขยายความเป็นหุ้นส่วนด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับไทย ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งแนวคิดการจัดตั้งโรงงานผลิตและซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ประเภทยานเกราะร่วมกับไทยในอนาคต 
พร้อมกับได้ใช้โอกาสนี้ เรียนเชิญ รอง นรม.และ รมว.กห. เดินทางไปเยือนยูเครน ในฐานะแขกของ กห. ยูเครน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง กห. ทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=489438577929644&id=304086039798233
https://www.facebook.com/โฆษกกระทรวงกลาโหม-304086039798233/

http://www.malyshevplant.com/uk/content/kursanti-kozhedubivci-znayomstvo-z-tankami-nazhivo

ในส่วนความคืบหน้าของโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot จากยูเครนนั้นทางเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทยก็ได้ชี้แจ้งทางไทยตามข้อมูลในข้างต้น
คือทางยูเครนจะพยายามผลิตและส่งมอบรถถังหลัก Oplot ที่เหลืออีก ๓๙คันจากจำนวนที่กองทัพบกไทยสั่งจัดหา ๔๙คันให้ครบตามสัญญาภายในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
เพิ่มเติมจากการแถลงของ พันเอก วินธัย สุวารี ที่กองบัญชาการกองทัพบกเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมว่ารถถังหลัก Oplot ชุดใหม่ ๕คันกำลังขนส่งทางเรือเดินทางมาไทย และอีก ๕คันกำลังตรวจรับมอบรถรอการขนส่งทางเรือมาไทยแล้ว
เหมือนเช่นที่เคยจัดส่งมาในชุดแรก ๕คันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗(2014) และชุดที่สองอีก ๕คันเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘(2015)

อย่างไรก็ตามถึงจะทางโรงงาน Malyshev และมีเผยแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ว่าโรงงานกำลังผลิตและทดสอบรถถังหลัก Oplot ที่ผลิตใหม่อย่างต่อเนื่องในช่วงปีนี้
แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็ยังไม่สามารถจะรับประกันได้อยู้ดีว่า กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ จะได้รถถังหลัก Oplot ประจำการครบอัตราหรือไม่
รวมถึงความคืบหน้าแนวคิดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมโรงงานผลิตและซ่อมบำรุงยานเกราะที่ยูเครนจะถ่ายทอด Technology ให้ไทยด้วยว่าจะเป็นรูปธรรมจริงหรือไม่
เพราะตอนนี้กองทัพบกไทย และนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ก็เป็นผู้ใช้งานรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล BTR-3E1 รวมจำนวนหลายคัน ถ้ามีการผลิตและซ่อมบำรุงได้ในประเทศไทยจะเป็นผลดีมากถ้าทำได้จริงครับ

แบบจำลองเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า(Conventional Submarine) ของ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) และ China Shipbuilding & offshore International(CSOC) 
ในงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้าครั้งที่๓ Ship Technology for the Next Decade หรือ Ship Tech.III (My Own Photo)

กรณีโครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ S26T จากสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นยังไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมอะไรมากนอกจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการทั้งทางตรงและอ้อม
ทั้งนี้ข้อมูลเพิ่มเติมออกมาเล็กน้อยเกี่ยวกับคุณสมบัติเรือว่าเรือดำน้ำ S26T ที่นั้นเป็นแบบเรือดำน้ำที่เป็นรุ่นส่งออกของเรือดำน้ำชั้น Type 039A/Type 039B(NATO กำหนดรหัส Yuan) โดยตรง
ซึ่งนอกจากระบบขับเคลื่อน AIP แล้ว ระวางขับน้ำเมื่อดำใต้น้ำ(submerged displacement)จะอยู่ที่ประมาณ 3,600tons ไม่ใช่ 2,600tons ตามที่สื่อส่วนใหญ่มักจะรายงาน

แบบเรือรบที่จีนออกแบบสร้างขึ้นมาสำหรับส่งออกในปัจจุบันจะกำหนดชื่อรหัสแบบตามประเภทเรือและระวางขับน้ำพื้นฐาน เช่น
เรือฟริเกตแบบ F25T หรือเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ๒ลำของกองทัพเรือไทย มีระวางขับน้ำปกติ(ตามคุณสมบัติ) 2,500tons ระวางขับน้ำปกติ(จริง) 2,800tons ระวางขับน้ำเต็มอัตรา 2,985tons ซึ่งเป็นเรือรบสำหรับส่งออกแบบแรกจีนที่ใช้ระบบผสมระหว่างจีนและตะวันตก
เรือฟริเกตแบบ F22P หรือเรือฟริเกตชั้น Zulfiquar ของกองทัพเรือปากีสถาน มีระวางขับน้ำปกติ 2,500tons ระวางขับน้ำเต็มอัตรา 3,144tons
เรือคอร์เวต Type 056 รุ่นส่งออกมีสองแบบคือ P18N เป็นรุ่นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองทัพเรือไนจีเรีย ตัวเรือยาว 95m ระวางขับน้ำปกติ 1,800tons และ C13B เป็นรุ่นเรือคอร์เวตของกองทัพเรือบังคลาเทศ ตัวเรือยาว 89m ระวางขับน้ำปกติ 1,330tons
เรือรบสำหรับส่งออกของจีนอีกแบบคือเรือคอร์เวตแบบ C28A ของกองทัพเรือแอลจีเรีย ระวางขับน้ำปกติ 2,880tons ระวางขับน้ำเต็มอัตรา 3,000tons

จากข้างต้นอาจจะอนุมานได้ว่าการกำหนดรหัสแบบเรือคือ P คือ Patrol ,C คือ Corvette และ F คือ Frigate
ตามด้วยสองเลขหน้าของระวางขับน้ำปกติของแบบเรือ(ตามการออกแบบขั้นต้นไม่ใช่ระวางขับน้ำเรือจริง)คือ 13 จาก 1,330tons, 18 จาก 1,800tons, 25 จาก 2,500tons และ 28 จาก 2,880tons
ตัวอักษรท้ายคือแบบเรือสำหรับประเทศนั้นๆ P= Pakistan, N=Nigeria, B=Bangladesh และ A=Algeria
สำหรับเรือดำน้ำแบบ S26T ถ้าใช้หลักการกำหนดชื่อแบบเรือที่จีนส่งออกในข้างต้น S= Submarine, 26= 2,6xxtons และ T=Thailand

แบบจำลองเรือคอร์เวต C13B Corvette ของ China Shipbuilding Industry Corporation(CSIC) และ China Shipbuilding & offshore International(CSOC) 
ในงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้าครั้งที่๓ Ship Technology for the Next Decade หรือ Ship Tech.III (My Own Photo)

แต่ทั้งนี้เรือดำน้ำนั้นจะมีระวางขับน้ำตัวเรือที่ต่างกันคือเมื่อเรือลอยอยู่ผิวน้ำ(surfaced displacement)และเมื่อตัวเรือดำอยู๋ใต้น้ำ(submerged displacement)
เช่น เรือดำน้ำชั้น Kilo รัสเซียซึ่งเป็นเรือดำน้ำแบบตัวเรือสองชั้น(light hull ชั้นนอก และ pressure hull ชั้นใน) จะมีระวางขับน้ำที่ผิวน้ำและใต้น้ำต่างกันมากคือ ระวางขับน้ำ 2,300-2,350tons ที่ผิวน้ำ และ3,000-4,000tons ที่ใต้น้ำ 
ต่างจากเรือดำน้ำแบบตัวเรือชั้นเดียวซึ่งเป็นรูปแบบเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบที่ใช้แพร่หลายในกองทัพเรือตะวันวนตกที่จะมีถังดำหลัก(main ballast tank) กลางเรือ และถังปรับสมดุลหน้าและท้ายเรือ(foreward/rear trim tank) 
เช่น เรือดำน้ำ Type 214 ของเยอรมนีสำหรับส่งออก จะมีระวางขับที่ผิวน้ำและขณะดำใต้น้ำไม่ต่างกันมากนักคือ ระวางขับน้ำ 1,690tons ที่ผิวน้ำ และ1,860tons ที่ใต้น้ำ 
ฉะนั้นถ้าจะกล่าวว่าเรือดำน้ำแบบ S26T จะมีระวางขับน้ำที่ผิวน้ำปกติที่ 2,6xxtonsหรือมากกว่าบ้าง และมีระวางขับน้ำเมื่อดำใต้น้ำที่ 3,600tons เช่นเดียวกับเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B ที่เป็นแบบพื้นฐานซึ่งใช้ตัวเรือสองชั้นก็น่าจะมีความเป็นไปได้ครับ

นั่นก็ทำให้ข้อวิจารณ์ที่ว่าเรือดำน้ำแบบ S26T นั้นเป็นเรือดำน้ำที่ออกแบบใหม่จากกระดาษเปล่า(Clean Sheet) ดูมีน้ำหนักน้อยลงไปเพราะน่าจะเป็นแบบเรือมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039A/B/C ที่สร้างและใช้งานในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนแล้วในปัจจุบัน
ในทางกลับกันข้อวิจารณ์สำคัญที่ตามมาคือสภาพภูมิศาสตร์ทางเรือในอ่าวไทยนั้นเรือดำน้ำที่มีระวางขับน้ำขณะดำใต้นั้นประมาณ 3,600tons นั้นถือว่าใหญ่เกินไปหรือไม่ แต่ที่ฝั่งทะเลอันดามันคงไม่เป็นปัญหานักเพราะเป็นมหาสมุทรเปิดขนาดใหญ่
แต่ทั้งนี่เองกองทัพเรือไทยก็ได้ทำการฝึกรวมกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่นำเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Los Angeles ที่มีระวางขับน้ำขณะดำใต้น้ำเกือบ 7,000tons มาฝึกที่ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันมาหลายครั้งแล้ว

หรือเมื่อยกตัวอย่างกองทัพเรือประเทศที่มีภูมิศาสตร์ทางทะเลที่ใกล้เคียงกับไทย เช่น
กองทัพเรืออิหร่านเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอ่าวเปอร์เซียที่มีเรือดำน้ำประจำการคือเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าชั้น Project 877EKM Kilo ๓ลำ รวมกับเรือดำน้ำขนาดเล็กอย่างชั้น Ghadir ที่อิหร่านสร้างเอง
โดยอ่าว Persia มีพื้นที่ ๒๕๑,๐๐๐ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 50m มีส่วนลึกที่สุด 90m ใกล้เคียงกับอ่าวไทยที่มีพื้นที่ ๓๒๐,๐๐๐ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 58m มีส่วนลึกที่สุด 85m
หรือทะเล Baltic ที่มีพื้นที่ ๑,๖๔๑,๖๕๐ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 55m มีส่วนลึกที่สุด 459m นอกจากจากกองทัพเรือเยอรมนีที่มีเรือดำน้ำชั้น Type 212A(U212A) ๖ลำ ระวางขับน้ำใต้น้ำ 1,830tons, 
กองทัพเรือสวีเดนที่มีเรือดำน้ำชั้น A17 Sodermanland ๒ลำ ระวางขับน้ำใต้น้ำ 1,500tons และเรือดำน้ำชั้น A19 Gotland ๓ลำ ระวางขับน้ำใต้น้ำ 1,600tons 
และกองทัพเรือโปแลนด์ที่มีโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่แทนเรือดำน้ำชั้น Project 877E Kilo คือ ORP Orzel ๑ลำ กับเรือดำน้ำชั้น Kobben(Type 207) มือสองจากกองทัพเรือนอร์เวย์เดิม ๔ลำแล้ว
อู่ต่อเรือ Admiralty Shipyard มหานคร Saint Petersburg รัสเซียเป็นสถานที่สร้างเรือดำน้ำชั้น Project 877 Kilo กับ Project 636 Improved Kilo มีระวางขับน้ำใต้น้ำมากกว่า 3,000tons และ Project 677 Lada ที่มีระวางขับน้ำใต้น้ำ 2,700tons
ซึ่งเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้ารัสเซียที่ประจำการในกองเรือ Balitic กองทัพเรือรัสเซีย ก็เคยมีรายงานการอ้างว่าเรือดำน้ำรัสเซียลุกล้ำน่านน้ำประเทศเป็นกลางในเขตทะเลบอลติกทั้งสวีเดนและฟินแลนด์ซึ่งถูกตรวจจับและต่อต้านได้ยากมาแล้ว

นั่นอาจจะพิสูจน์ได้บ้างว่าเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าขนาดใหญ่ก็สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพในเขตทะเลน้ำตื้นในอ่าวปิดได้ ถ้ากองทัพเรือไทยสามารถจัดหาเรือดำน้ำจีนได้จริงก็คงจะได้ทราบผลการปฏิบัติการจริงว่าใช้ปฏิบัติงานในอ่าวไทยได้จริงหรือไม่ครับ
(ถ้าสามารถจัดหาเรือมาได้ แต่ส่วนตัวเกรงอย่างเดียวว่าโครงการอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเสียมากกว่า เพราะมีการต่อต้านและปัจจัยความเสี่ยงอีกมาก
แม้ว่ากระแสการวิจารณ์จากสื่อมวลชนกระแสหลักและภาคประชาชนมีผลน้อยมากๆที่จะทำโครงการยุติได้ แต่กระบวนการล้มโครงการจัดหาเรือดำน้ำที่ผ่านๆมาก็เห็นจะมาจากกลุ่มบุคคลวงในที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยกันนี่ละ
หรืออาจจะมีแม้แต่ในเจ้าหน้าที่ใน กดน.เองบางนายหรือบางส่วนที่มีความคิดส่วนบุคคลต่อต้านการจัดหาเรือดำน้ำจีนด้วยซ้ำไป ซึ่งไม่ได้จากความคิดอคติส่วนบุคคลแต่จากประสบการณ์การใช้งานเรือจีนของกองทัพเรือ และการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบข้อมูลแบบเรือที่ผ่านมา
รวมถึงความไม่ถูกต้องของกระบวนการจัดหา ซึ่งกลุ่มนายทหารรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งดูจะไม่ยอมรับความคิดของทหารรุ่นก่อนที่ว่า "ให้อะไรมาก็ใช้ ใช้ไปจนกว่าจะพัง พังก็ซ่อม ซ่อมไม่ได้ก็จำหน่าย" แล้วครับ)

๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ พลอากาศตรี กฤษดา จันทร์อินทร์ ผู้บังคับศูนย์อำนวยการเครื่องบินพระราชพาหนะ 
เป็นประธานในพิธีต้อนรับเที่ยวบินนำส่ง เครื่องบินลำเลียงแบบ Sukhoi Superjet 100LR (model RRJ – 95LR) จำนวน ๑ เครื่อง ณ ท่าอากาศยานทหาร ๒ กองบิน ๖ ดอนเมือง
การจัดหาเครื่องบินลำเลียงแบบ SSJ-100LR เพื่อรองรับการปฏิบัติภารกิจลำเลียงทางอากาศ ที่มีแนวโน้มความต้องการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เครื่องบินสำหรับปฏิบัติภารกิจมีจำนวนจำกัด 
โดยได้ดำเนินการจัดหา จำนวน ๒ เครื่อง และอยู่ระหว่างการจัดหาเพิ่มเติมอีก ๑ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น อะไหล่ และการฝึกอบรม จากบริษัท Joint Stock Company “Sukhoi Civil Aircraft” 
สำหรับการบินนำส่งเครื่องบิน SSJ-100LR เครื่องที่ ๒ จะมีการบินนำส่งถึงประเทศไทยในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙
อนึ่ง กองทัพอากาศ กำหนดประกอบพิธีบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินดังกล่าว ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙

เครื่องบินโดยสาร Sukhoi Superjet 100 ซึ่งออกแบบผลิตโดย Sukhoi Civil Aircraft รัสเซียในเครือ United Aircraft Corporation รัสเซีย รวมกับหุ้นส่วนทางธุรกิจบริษัทตะวันตก เช่น Alenia Aermacchi ในเครือ Leonardo-Finmeccanica อิตาลี
นับเป็นอากาศยานแบบแรกของรัสเซียที่กองทัพอากาศไทยจัดหาเข้าประจำการ ถึงแม้ว่าจะออกแบบสร้างในรัสเซียแต่เครื่อง Sukhoi Superjet 100 ก็ใช้ระบบภายในต่างๆหลายส่วนจากตะวันตก และมีผู้ใช้งานเช่นสายการบินต่างๆอยู่จำนวนมากพอควรครับ