An FTC-2000G was displayed at Airshow China 2016 in Zhuhai. (via top81)
http://www.janes.com/article/65428/sudanese-order-for-six-ftc-2000-jets-announced
ตามการให้สัมภาษณ์ของผู้อำนวยการทั่วไป Guizhou Aircraft Industries Corporation(GAIC) สาธารณรัฐประชาชนจีนต่อสื่อข่าวสารอากาศยานจีนเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า
ซูดานได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีฝึกไอพ่น FTC-2000 จำนวน 6เครื่องสำหรับกองทัพอากาศซูดาน ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของเครื่องบินฝึกไอพ่น Guizhou JL-9 ที่ประจำการในหน่วยฝึกบินของกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีนและกองบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
JL-9 เป็นเครื่องบินฝึกสองที่นั่งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbojet ความเร็วเหนือเสียง ซึ่งรุ่นส่งออกเรียกว่า FTC-2000 นั้นทำการตลาดโดย Aviation Industries Corporation of China(AVIC) รัฐวิสาหกิจกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานจีน
โดยเจ้าหน้าที่ AVIC จีนเคยให้ข้อมูลกับ Jane's ในงานแสดงการบิน Paris Airshow 2015 ที่ฝรั่งเศสว่ามีประเทศกลุ่มแอฟริกาที่ไม่เปิดเผยชื่อสั่งจัดหา FTC-2000 จากจีน
ประกอบกับวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ Website Pendulum East ลงข้อความการให้สัมภาษณ์ของ Wang Wenfei ผู้อำนวยการทั่วไปของ GAIC ในเครือ AVIC เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนว่า มีประเทศแถบแอฟริกาอีกหลายประเทศกำลังสนใจพิจารณาจัดหา FTC-2000
เครื่องบินฝึกไอพ่น FTC-2000 เปิดตัวครั้งแรกในงาน Zhuhai Airshow 2000 โดยพัฒนามจากเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง GAIC JJ-7 ซึ่งเป็นรุ่นฝึกของเครื่องบินขับไล่ Chengdu J-7(ซึ่งจีนลอกแบบเครื่องบินขับไล่ MiG-21 รัสเซียแบบผิดลิขสิทธิ)
JL-9 ได้นำส่วนปีกและแพนหางของ JJ-7 มาใช้และพัฒนาออกแบบส่วนหัวเครื่อง, ช่องอากาศเข้าเครื่องยนต์ และห้องนักบินแบบ Glass Cockpit ใหม่ ซึ่ง JL-9 มีราคาถูกและสมรรถนะด้อยกว่ากว่าเครื่องบินฝึกไอพ่น Hongdu L-15 หรือ JL-10 ที่ประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
ซึ่งรุ่นส่งออกล่าสุด FTC-2000G ที่มีคานอาวุธ 5ตำบลสำหรับติดอาวุธและถังเชื้อเพลิงนั้นเปิดตัวครั้งแรกในปี 2012 โดยตั้งเป้าทำการตลาดเป็นเครื่องบินรบเอนกประสงค์ทดแทนเครื่องขับไล่ F-7(J-7 รุ่นส่งออก) เครื่องบินฝึก FT-7(JJ-7 รุ่นส่งออก) และเครื่องบินโจมตี A-5(Q-5 รุ่นส่งออก)
ทั้งนี้ปัจจุบันกองทัพอากาศซูดานมีเครื่องบินขับไล่ F-7M และเครื่องบินโจมตี A-5 ที่จัดหาจากจีนประจำการอยู่แบบละราว 20เครื่อง รวมถึงเครื่องบินฝึกไอพ่น Hongdu K-8(หรือ JL-8 ในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน) จำนวน 6เครื่องด้วย
ในงานแสดงอากาศยานและอาวุธยุทโธปกรณ์ Airshow China 2016 ที่เมือง Zhuhai มณฑล Guangdong สาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ 1-6 พฤศจิกายนที่ผ่านไปแล้วนั้น
GAIC ได้แสดงภาพวีดิทัศน์ของเครื่องบินฝึกไอพ่น JL-9 ที่กำลังบินขึ้นจากทางวิ่ง Ski-Jump บนบก แบบเดียวกับที่มีบนเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน CV-16 Liaoning และ CV-17 ที่กำลังสร้างด้วยครับ
China offers anti-stealth radars for export
Chinese anti-stealth radars on display at the Airshow China 2016 in Zhuhai. From left to right are the JY-27A, YLC-8B, and SLC-7. Source: Via dy.163.com
http://www.janes.com/article/65452/china-offers-anti-stealth-radars-for-export
ในงานแสดงอาวุธ Airshow China 2016 เช่นกัน China Electronics Technology Group Corporation(CETC) รัฐวิสาหกิจด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าและการสื่อสารของรัฐบาลจีนได้เสนอผลิตภัณฑ์กลุ่ม Radar ป้องกันภัยทางอากาศของตนสำหรับส่งออกต่างประเทศ
ซึ่ง CETC อ้างว่า Radar ของตนมีความสามารถในการตรวจจับอากาศยานที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก(Stealth) อย่างเช่นเครื่องบินขับไล่ F-22 Raptor และ F-35 Lightning II ของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯได้
โดยสื่อจีนรายงานว่ากลุ่ม Radar ดังกล่าวกำลังถูกทำการตลาดเพื่อส่งออกลูกค้าต่างประเทศใดๆก็ตามที่ต้องการขีดความสามารถในการต่อต้านอากาศยาน Stealth ให้กับตนเอง
งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ Zhuhai Airshow 2016 นั้นไม่ใช่งานแรกที่ CETC จัดแสดงระบบอุปกรณ์ของตน แต่มีผู้ให้ความเห็นชาวจีนบางรายกล่าวว่างานนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าจีนเป็นผู้นำโลกในด้านระบบ Radar ต่อต้านอากาศยาน Stealth
ตามข้อมูลที่แสดงต่อสาธารณชนในงาน คุณสมบัติการทำงานที่ล้ำหน้านี้ใช้การเตรียมการล่วงหน้าน้อยมาก Radar ต่อต้าน Stealth นี้โดยทั่วไปจะทำงานที่ความถี่ 1GHz เนื่องจากเครื่องบินที่ตรวจจับได้ยากถูกออกแบบให้มีภาคตัดขวาง Radar(RCS: Radar Cross Section)ต่ำ
ทำงานในช่วงความถี่วิทยุครอบคลุมช่วงมาตรฐาน IEEE ที่ S, C และ X band(ความถี่กว้าง 2-12 GHz) ที่ความถี่ต่ำกว่าการสะท้อนของ Radar จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับความยาวคลื่นใกล้ขนาดทางกายภาพของชิ้นส่วนอากาศยานมากขึ้น
และนอกนั้นความสั่นพ้องอาจจะเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นในโครงสร้างอากาศยานโดยห้วงคลื่นของ Radar(radar pulse) เพิ่มความไวในการตรวจจับและติดตามอากาศยานมากขึ้น
สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ Nanjing(NRIET: Nanjing Research Institute of Electronic Technology) เป็นแถวหน้าในโครงการของ CETC และผลิต Radar สองระบบจัดแสดงในงานคือ YLC-8B และ SLC-7
YLC-8B เป็น Radar ตรวจการณ์สามมิติซึ่งทำงานในย่านความถี่ UHF(300MHz-1GHz) ซึ่งเปิดตัวตั้งแต่ปี 2014 ส่วน Radar แบบ SLC-7 เปิดตัวครั้งแรกในปีนี้
SLC-7 เป็น Radar ที่ทำงานในย่านความถี่ L-band(1-2GHz) ตามข้อมูลของ NRIET นั้นเป็นระบบ electronically scan แบบ phased array ในมุมทิศและมุมยก (azimuth and elevation) และยังทำงานแบบ Scan เชิงกล(mechanically) ในมุมทิศด้วยครับ