วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

มาเลเซียได้รับมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win ชุดแรก และกองทัพบกไทยทดสอบยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 บนรถสายพานลำเลียง Type 85

Chaiseri's First Win Infantry Fighting Vehicle for Malaysian Army as DEFTECH AV4 at Defense & Security 2015(My Own Photo)

Thailand’s First Win for Malaysia [INDODEF16-D3]

ข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทยที่มีรายงานจากงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Indo Defence 2016 ที่ Jakarta อินโดนีเซียระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤศจิกายนคือ
บริษัทชัยเสรี(Chaiseri Defense) ประเทศไทยได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่าได้กำลังส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win 4x4 LAV(Light Armoured Vehicles)รุ่นล่าสุดชุดแรกจำนวน ๒๐คัน ให้ DEFTECH มาเลเซียแล้ว
โดยทาง DEFTECH มาเลเซียจะดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆของตนเองกับรถและส่งมอบเข้าประจำการในกองทัพบกมาเลเซียต่อไปในชื่อ AV4 ซึ่งเพิ่มเติมจากนี้รถจะถูกใช้ในรูปแบบรถหุ้มเกราะลำเลียงพล(APC: Armoured Personnel Carrier)

รถหุ้มเกราะล้อยาง First Win ถูกทำการตลาดโดยบริษัท Chaiseri ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งเป็นรถหุ้มเกราะลำเลียงพล APC และรถรบทหารราบ IFV(Infantry Fighting Vehicle)
ในส่วนการจัดหาโดยหน่วยงานความั่นคงของไทยเอง กองทัพบกไทยได้รับมอบมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win LAV แล้ว จำนวน ๒๑คัน และคาดว่าจะมีการสั่งจัดหาเพิ่มเติมอีก ๑๕คัน
กรมสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรมไทย ก็ได้มีการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยาง First Win แล้ว ๑๘คัน
ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทยนั่นก็มีความต้องการรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win เช่นกัน โดยรถเกราะล้อยาง First Win ของตำรวจไทยคาดว่าจะใช้เครื่องยนต์ดีเซลของ Cummins กำลัง 250hp แทนรุ่น 300hp ที่ใช้กับ First Win รุ่นอื่นครับ









Thailand's Defence Technology Institute demonstrated test firing domestic DTI-2 122mm Multiple Rocket Launcher system on Type 85 Armoured Personnel Carrier chassis for Royal Thai Army at Artillery Center, 2 November 2016

อัพเดตผลงานวิจัยของ DTI

สวัสดีครับทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้ง สำหรับราชการแล้วก็ถือว่าปีนี้คือปีงบประมาณใหม่ในปี 2560 ดังนั้น DTI จึงมีโครงการอะไรใหม่ ๆ ขึ้นอีกอย่างแน่นอน นอกจากนั้นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องก็มีความคืบหน้าสำคัญหลายโครงการ

หนึ่งในนั้นก็คือโครงการพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ DTI-2 นั่นเองครับ

จรวดแบบนี้เกิดจากความกรุณาของกองทัพบกที่ได้มอบหมายให้ DTI ทำการพัฒนาจรวดขนาด 122 มม. เพื่อผลิตใช้เองในประเทศ โดยใช้กับเครื่องยิงจรวดที่กองทัพบกจัดหาจากต่างประเทศ 
เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤตเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติมากนัก

DTI ได้รับมอบภารกิจนี้มาและใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ที่เราได้รับจากการพัฒนา DTI-1 มาต่อยอดในการออกแบบและจัดสร้าง DTI-2 ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นผลงานการออกแบบของคนไทย 100% 
โดยปรับใช้สูตรดินขับและหัวรบให้เหมาะสมกับทรัพยากรและขีดความสามารถของประเทศ แต่มีประสิทธิภาพและระยะยิงเทียบเท่ากับจรวดที่จัดหาจากต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่า 
นอกจากนั้นเรายังว่าจ้างบริษัทเอกชนในประเทศรับงานบางส่วนของโครงการเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศบางส่วนให้กับเอกชนภายในประเทศอีกด้วย

โครงการดำเนินมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และมีการทดสอบยิงอย่างต่อเนื่องแทบทุกเดือน โดยในปีงบประมาณนี้เรามีกำหนดส่งมอบจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. ให้กับกองทัพบกเพื่อนำไปทดสอบและฝึกศึกษา โดยเราจะแจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าต่อไปครับ

ในระหว่างดำเนินการนั้น กองทัพบกมีแนวคิดที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของจรวดหลายลำกล้องขนาด 130 มม. ที่จัดหาจากต่างประเทศ แต่มีระยะยิงสั้นเพียง 10 กม. และใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว 
จึงได้มอบหมายให้ DTI ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบจรวดหลายลำกล้องระบบนี้

โดยนักวิจัยของ DTI ทำการศึกษาองค์ประกอบและคุณสมบัติของรถสายพานแบบ Type-85 และวางแผนในการเปลี่ยนแท่นยิงให้ทำการยิงจรวดขนาด 122 มม. ที่มีสมรรถนะสูงกว่าได้ 
โดยติดตั้งระบบแท่นหมุนไฟฟ้า ออกแบบแท่นยิงให้มีความเหมาะสมกับคุณลักษณะและขีดความสามารถทางยุทธวิธีที่หน่วยผู้ใช้ต้องการ พร้อมกับวางแผนปรับปรุงระบบต่าง ๆ ของรถเพื่อทำให้รถสามารถใช้งานในราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และแน่นอนครับ ถ้าทุกท่านไม่เคยเห็นแท่นยิงในลักษณะนี้ที่ไหนมาก่อน ก็เพราะว่าทั้งหมดนี้คือฝีมือและการออกแบบของคนไทยนั่นเอง

โดยเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2559 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ DTI ได้ทำการเปิดตัวและสาธิตสมรรถนะของระบบจรวดหลายลำกล้องขนาด 122 มม. ที่ติดตั้งบนรถสายพานแบบ Type-85 ให้กับนายทหารและผู้สังเกตุการณ์จากหลายหน่วยงานได้รับชม 
โดยได้สาธิตการยิงจรวด DTI-2 ซึ่งผลการยิงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จรวดทำการยิงเข้าเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

โดยหลังจากนี้ เราจะทำการปรับปรุงพัฒนาสมรรถนะของระบบเพื่อให้มีความพร้อมในการใช้งาน ก่อนที่จะส่งมอบให้กับหน่วยผู้ใช้ในกองทัพบกต่อไปครับ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.659320457561291.1073741832.364043297089010
https://www.facebook.com/dtithailand/


จรวดหลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122 มม.ฐานยิงหกเหลี่ยม(ท่อยิงจรวดวางซ้อนเรียงกัน 4 แถว แถวบน 4 ท่อ แถวที่สอง 5 ท่อ แถวที่สาม 6 ท่อ และแถวล่างสุด 5 ท่อ)
ตัวจรวดมีความยาว 2.43 เมตร น้ำหนัก 65 กก. ดินขับจรวดเป็นแบบเชื้อเพลิงแข็ง คอมโพสิต วิธีการจุดตัวทำการจุดด้วยระบบไฟฟ้า หัวรบเป็นชนิดระเบิดหรือชนิดควัน
สปท.ได้วิจัยและทำทั้งดินขับจรวดและชุดพวงหางด้วยตัวเอง จรวดมีระยะยิงไกล 10 ,20 และ 40 กม.ใช้ยิงครอบคลุมพื้นที่
ในวิดีโอเป็นการยิงระยะ 4.5 กม.โดยการเล็งจำลอง ลูกจรวดใช้เวลาวิ่ง 12 วินาที เป็นการยิงสาธิตครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมนี้
https://www.youtube.com/channel/UCjmlAeaoegxzuCwvED7LJqA

วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙(2016) ที่ผ่านมากองทัพบกไทยได้มีการสาธิตการยิงปืนใหญ่ ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่
ซึ่งการสาธิตการยิงครั้งนี้ได้รวมการยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122mm ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) ตามโครงการพัฒนาจรวดสมรรถนะสูง หนึ่งในโครงการพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคง

Model of DTI-2 MLRS on Type 85 APC at Defense & Security 2015(My Own Photo)

จรวด DTI-2 122mm นั้นเป็นการพัฒนาระบบจรวดและดินขับภายในไทยทั้งหมด ซึ่งรวมถึงแท่นยิงจรวดหลายลำกล้องขนาด 122mm แบบหกเหลี่ยม ๒๐ท่อยิง ซึ่งออกแบบให้จุดศูนย์ถ่วงต่ำทำให้เมื่อติดตั้งกับรถสายพานลำเลียงจะเคลื่อนที่ในภูมิประเทศได้เร็วและคล่องแคล่วมากขึ้น
โดยจะเห็นได้ว่าแท่นยิงเครื่องจรวดหลายลำกล้อง ๒๐ท่อยิงต้นแบบเดิมที่ติดตั้งบนรถสายพานลำเลียง รสพ.๓๐ Type 85 มีมีการจัดแสดงในการสาธิตการยิงเมื่อปีที่แล้วที่เป็นท่อยิงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแถวละ ๕ท่อยิงจำนวน ๔แถว

Type 82 130mm MLRS on Type 85 YW306 Royal Thai Army

เดิมทีเครื่องจรวดหลายลำกล้อง จลก.๓๑ Type 82 ขนาด 130mm ๓๐ท่อยิง ที่ติดตั้งบน รสพ.Type 85 ที่จัดหาจากจีนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988) เข้าประจำการในกองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๒๑ ต่อมาย้ายไปกองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กองพลทหารปืนใหญ่ จำนวน ๖ระบบนั้นมีระยะยิงเพียง 10km ซึ่งเป็นระบบที่ล้าสมัยแล้ว
การปรับปรุงโดยการเปลี่ยนจาก จลก.๓๑ 130mm บน รสพ.Type 85 มาเป็นเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 122mm ๒๐ท่อยิงของไทยล่าสุดจึงนับเป็นการยืดอายุการใช้งานยุทโธปกรณ์และเพิ่มสมรรถนะของระบบให้สูงยิ่งขึ้น

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1399239713438513&set=p.1399239713438513

อย่างไรก็ตามในสาธิตการยิงจรวดหลายลำกล้อง DTI-2 บนรถสายพานลำเลียง Type 85 ในครั้งล่าสุดนี้ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ คือในการยิงจรวดเป็นชุดมีจรวดนัดหนึ่งตกลงมาจากด้านท้ายท่อยิงขณะทำการยิงแต่โชคดีที่จรวดไม่ทำงานและไม่เกิดระเบิดขึ้น
รวมถึงความแม่นยำในการยิงเป้าหมายที่เป็นหน้าผาภูเขาที่ระยะ 4.5km ซึ่งยังมีการกระจายของกลุ่มจรวดครอบคลุมเป้าเป็นพื้นที่ในการยิง ที่อาจจะต้องได้รับการพัฒนาความแม่นยำเพิ่มเติมจากความต้องการให้จรวด DTI-2 มีระยะยิงไกลสุดที่ 40km
หลังจากที่กองทัพบกรับมอบระบบชุดแรกที่มีรถสายพานลำเลียง Type 85 ติดปรับปรุงแท่นยิง คจลก.DTI-2 ๑ระบบ และรถบรรทุกกระสุน ๑คันแล้ว
ถ้าจะมีการพัฒนาปรับปรุง จลก.๓๑ ที่ติดกับ รสพ.Type 85 ที่ยังเหลืออีก ๕ระบบให้เป็นแท่นยิง DTI-2 ทั้งหมดก็คงต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมกันอย่างต่อเนื่องต่อไปครับ